ปัจจุบันโรงพยาบาลของรัฐฯ มีหน่วยกู้ชีพ หรือหน่วยกู้ภัยมาช่วยในห้องฉุกเฉินด้วยหรือครับ

สวัสดีครับทุกคน ผมมีข้อข้องใจมารบกวนบุคลากรที่อยู่ในแวดวงครับ
คือคุณแม่ผมไปเข้ารับบริการที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลของรัฐประจำอำเภอครับ (องค์การมหาชน)
เนื่องด้วยคุณแม่ผมไปเดินจ่ายตลาด แล้วโดนสุนัขกัดเข้าที่นิ้วเท้าครับ (แผลไม่ใหญ่มากครับ)
วันแรกที่ไปโรงพยาบาลก็มีคุณพยาบาลมารักษาให้ครับ (ทำความสะอาด, ฉีดยา)
คุณแม่ของผมก็เริ่มสังเกตว่า ในห้องฉุกเฉินมีทั้งพยาบาล และหน่วยกู้ชีพเดินปะปนเป็นจำนวนไม่น้อยครับ
วันที่ 3 คุณแม่ก็ไปโรงพยาบาลตามใบนัดปกติครับ
แต่วันนี้แปลกไปครับคือ คุณพยาบาลมาทำความสะอาดแผลให้ครับ แต่ถึงขั้นตอนการฉีดยา
จะเป็นหน่วยกู้ชีพ (หน่วยกู้ภัย) มาทำให้แทนครับ (คุณแม่เล่าว่า สังเกตจากปักชื่อที่อกครับ ใส่เสื้อสีขาว และกางเกงสีขาวครับ)
หน่วยกู้ชีพก็มาปฏิบัติงานครับ คุณแม่ผมก็สังเกตได้ถึงความไม่ชำนาญการของผู้ปฏิบัติงานครับ
คือ ใช้นิ้วมือแตะ ๆ อยู่ที่หัวไหล่อยู่หลายครั้ง และจึงได้ใช้นิ้วมือวัดระยะจุดของการฉีดยาครับ
คุณแม่จะพูดเสมอกับทุกคนด้วยความเคยชินครับว่า "เบา ๆ มือหน่อยนะคะ"
และคุณแม่ก็รีบเอ่ยตอนแรกด้วยความไม่คุ้นชินว่า "จะฉีดยาผิดจุดหรือเปล่าคะเนี่ย (ตอนแตะหัวไหล่)"
เจ้าหน้าที่ก็ตอบกลับมาติดตลกว่า "อ่อ ต้องหาตำแหน่งก่อนนะค่ะ ฉีดโดนเส้นประสาทไปแย่แน่เลย"
พอถึงจุดนี้คุณแม่ผมก็ยิ่งกังวลใจมาก จึงมาปรึกษากับผม เพราะว่าไปรักษาตามใบนัดครั้งต่อไปจะวางใจกับเจ้าหน้าที่ได้ไหมเนี่ย

นี้แหละครับเหตุการณ์ที่ผมสงสัยว่า โรงพยาบาลให้หน่วยกู้ชีพมาช่วยงานแบบนี้ได้ด้วยหรือครับ
ผมเข้าใจจุดหนึ่งว่าคุณพยาบาลอาจมีบุคลากรไม่เพียงพอ จึงให้หน่วยกู้ชีพมาช่วยงาน
แต่การฉีดยามันเป็นเคสที่ยากเกินไปสำหรับเจ้าหน้าที่หรือเปล่าครับ

อาจจะยาว อ่านแล้วเวียนหัวสักหน่อย ขอบคุณทุกคนล่วงหน้าที่สละเวลามาอ่านและแสดงความคิดเห็นครับ
แท็กประเด็นผิด แจ้งผมได้เลยนะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่