ลงทุน "วอร์แรนต์"อย่างไร ไม่ให้เสี่ยง

กระทู้สนทนา
ลงทุน "วอร์แรนต์"อย่างไร ไม่ให้เสี่ยง



สภาวะการซื้อขายวอร์แรนต์เริ่มคึกคักขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อมีวอร์แรนต์หลายตัวจ่อคิวเข้ามาซื้อขายเพิ่มขึ้น จึงกลายเป็นเครื่องมือทางการเงินชนิดหนึ่ง ที่บริษัท จดทะเบียนหลายแห่งนิยมนำมาใช้ใน การแก้ไขปัญหาของบริษัท

ไม่ว่าจะเป็นวอร์แรนต์เป็นของแถม ที่มีค่า และเพิ่มแรงจูงใจให้แก่นักลงทุนทำให้การระดมทุนทำได้ง่าย และบริษัทก็ยังไม่ต้องเพิ่มจำนวนหุ้นในทันที การออกวอร์แรนต์แทนเงินปันผลหรือโบนัส และการใช้วอร์แรนต์ เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ก็ตาม

แม้ว่าวอร์แรนต์จะเป็นที่คุ้นเคย และไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่สำหรับนักลงทุนแต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่านักลงทุนส่วนใหญ่จะรู้จักวอร์แรนต์เพียงแค่ "มีการซื้อขาย ที่ขึ้นลงได้รวดเร็วกว่าหุ้นตัวแม่ มีมาร์จินสูงกว่า และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเท่านั้น "

โดยพื้นฐาน วอร์แรนต์เป็นสิ่งอันตรายอย่างยิ่ง เพราะวอร์แรนต์จะมีผลตอบแทนดีก็ต่อเมื่อภาวะตลาดหุ้นอยู่ในช่วงขาขึ้น (bullish market)

"นักลงทุนทั้งไทย และต่างประเทศไม่สนใจวอร์แรนต์เพราะสภาพคล่องไม่มี" ธนวัฒน์ ปัจฉิมกุล รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.ดีบีเอสไทยทนุ กล่าว

ถ้ามองกลับไปยังกระดาน วอร์แรนต์ในช่วงนี้นักลงทุนแทบไม่อยากมองว่า วอร์แรนต์ ที่ตนเองลงทุนไปนั้น มีมูลค่าเหลือ ที่ระดับเท่าไร เพราะในขณะนี้จะเห็นได้ว่าราคาหุ้นมีราคาต่ำกว่าราคาใช้สิทธิแทบทั้งสิ้น และหากว่าสภาพตลาดหุ้นเป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ โอกาส ที่จะทำกำไรแทบจะมองไม่เห็น

วอร์แรนต์ ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ Naked Warrant เช่น วอร์แรนต์ ที่ใช้ในการซื้อหุ้นสามัญ ที่บริษัทออกจำเป็นต้องออกหุ้นเพิ่มทุนใหม่ เพื่อรองรับการใช้สิทธิ "ดังนั้น การใช้สิทธิของวอร์แรนต์จึงทำให้จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นกำไรต่อหุ้นลดลง ซึ่งก็คือ มี dulution" ธนวัฒน์อธิบาย

Covered Warrant หรือวอร์แรนต์ ที่บริษัทผู้ออกได้มีหุ้นแม่อยู่ในมือแล้ว เมื่อผู้ถือวอร์แรนต์ใช้สิทธิบริษัทไม่ต้องออกหุ้นใหม่ ดังนั้น จำนวนหุ้นจึงไม่เพิ่มขึ้น กำไรต่อหุ้นจะไม่เปลี่ยนแปลงหรือไม่มี dulution

สำหรับ Derivative Warrant หรือใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์จะต่างจากวอร์แรนต์โดยทั่วไปคือ จะให้สิทธิซื้อหุ้นของบริษัทอื่น ที่มิใช่บริษัทผู้ออกวอร์แรนต์ การออก Derivative Warrant จะไม่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการระดมทุน และไม่มีผลกระทบต่อกำไรต่อหุ้นเนื่องจากบริษัทผู้ออกวอร์แรนต์จะส่งมอบหุ้น ที่มีอยู่แล้วหรือซื้อหุ้น ที่อยู่ในตลาดมาส่งมอบให้

"ดังนั้น Derivative Warrant จึงจัดอยู่ใน Covered Warrant ด้วย" ธนวัฒน์บอก

สำหรับมูลค่าของวอร์แรนต์จะประกอบไปด้วยมูลค่าการใช้สิทธิ (in-trinsic value) และมูลค่าตามเวลา (time value) เป็นมูลค่าของวอร์แรนต์ ที่ขึ้นอยู่ กับอายุ ที่เหลือ โดยหากวอร์แรนต์มีระยะเวลา ที่จะใช้สิทธิเหลืออยู่มาก มูลค่าของเวลาจะสูง แต่หากมีอายุคงเหลือสั้น มูลค่าของเวลาก็จะต่ำด้วย

ปัจจัย ที่ใช้ในการพิจารณาว่า วอร์แรนต์ ที่จะลงทุนนั้น น่าสนใจหรือไม่สิ่งสำคัญคือ การมองปัจจัยพื้นฐานของตัวแม่ เพราะการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นแม่ในการเลือกการลงทุนในวอร์แรนต์ จะต้องมองในเรื่องของภาวะธุรกิจ ผลประกอบการ และแนวโน้มในอนาคตของตัวแม่เป็นหลัก อีกทั้งเงินปันผลก็มีอิทธิพลต่อวอร์แรนต์ด้วย

เพราะทุกครั้ง ที่บริษัทจ่ายเงินปัน ผล ราคาหุ้นแม่จะลดลง โอกาส ที่มูลค่าของวอร์แรนต์จะเพิ่มสูงขึ้นก็มีน้อยเช่นกัน ดังนั้น การจ่ายเงินปันผลจะเป็นปัจจัย ลบต่อราคาวอร์แรนต์ " ที่สำคัญผู้ถือวอร์แรนต์ไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผลเหมือนกับผู้ถือหุ้นแม่" ธนวัฒน์บอก

นอกจากนี้ตัวแปร ที่บ่งบอกถึงความน่าสนใจ และกำหนดความสามารถในการทำกำไรของวอร์แรนต์ คือ ราคา ที่ใช้สิทธิหรือราคาแปลงสภาพ (exercise price) หากราคาหุ้นแม่เพิ่มสูงขึ้น มูลค่า ของวอร์แรนต์ก็จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย แต่ราคาใช้สิทธิ ที่สูงจะเป็นปัจจัยลบต่อราคา ของวอร์แรนต์ เช่น TISCO-W ที่มีราคาหุ้นแม่อยู่ ที่ 14.75 บาท และราคาใช้สิทธิ อยู่ ที่ 11.2 บาท สมมติว่าราคาใช้สิทธิเป็น 12.2 บาท มูลค่าการใช้สิทธิจะลดลง จาก 3.55 บาท เป็น 2.55 บาทตามราคา ใช้สิทธิเพิ่มขึ้น ในทำนองกลับกันหากราคาใช้สิทธิต่ำลงมูลค่าวอร์แรนต์ก็สูงขึ้น

ระยะเวลาในการใช้สิทธิ (time to maturity) ซึ่งหากระยะเวลาการใช้สิทธิยิ่งเหลือมากโอกาส ที่ราคาหุ้นแม่จะเพิ่มสูงขึ้นก็มีมาก เช่น กรณีของ S-ONE -W ที่จะหมดอายุกลางเดือนกันยายนนี้ โอกาส ที่ราคาหุ้นแม่ ซึ่งอยู่ ที่ 4.2 บาท จะเพิ่มขึ้นมาถึงราคาใช้สิทธิ ซึ่งอยู่ ที่ 42.7 บาท นับว่าน้อยมาก ในกรณีนี้นักลงทุน ที่ถือวอร์แรนต์ในราคา 0.3 บาทก็มีโอกาสสูญเงินทั้งหมดไป หาก S-ONE-W หมดอายุลงโดยที่ราคาหุ้นแม่ไม่สามารถขึ้นสูงกว่าราคาใช้สิทธิได้

จำนวนวอร์แรนต์ ที่เหลือ (remaining warrants) หากมีเหลืออยู่มาก เมื่อมีการใช้สิทธิซื้อหุ้นแม่จะทำให้จำนวนหุ้นแม่เพิ่มสูงขึ้น กำไรสุทธิต่อหุ้น ก็จะลดลงหรือเกิด dulution เพราะถ้าราคาหุ้นแม่ลดลงจะทำให้ราคาวอร์แรนต์ ลดลงไปด้วย นั่นหมายความว่าโอกาส ที่ นักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนมี 3 กรณี คือ ถ้าราคาหุ้นแม่ต่ำกว่าราคาแปลงสภาพมูลค่า ที่แท้จริง (intrinsic value) ของวอร์แรนต์จะเป็น "ศูนย์" คือ จะขาด ทุนทันทีหากแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ใคร่แปลงสภาพ กรณีนี้จะขาดทุนเท่ากับต้นทุน ที่ใช้ในการซื้อวอร์แรนต์ ส่วนถ้าราคาหุ้นแม่เท่ากับราคา แปลงสภาพมูลค่า ที่แท้จริงจะเท่ากับ "ศูนย์" และจะขาดทุนเท่ากับกรณีแรก ส่วนกรณีสุดท้าย ถ้าราคาหุ้นแม่สูงกว่าราคาแปลงสภาพ กรณีนี้จะมีการแปลงสภาพแต่จะได้กำไรหรือขาดทุนจะต้องคำนึงถึงต้นทุนของวอร์แรนต์ด้วย

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่