อันนี้เป็นกระทู้แรกของผม ปกติผมก็เข้าพันทิปมาดูนู่นนี่บ้าง แต่ก็จะเรียกว่าเล่นพันทิปจริงจังไม่ได้
ดังนั้นการเขียนผมอาจจะดูน่ารำคาญบ้าง อาจจะพิมพ์เวิ่นเว้อไปบ้าง ยาวไปบ้าง และอาจจะไม่ตรงใจใครบ้าง คงต้องขออภัยนะครับ
แต่ผมรู้สึกว่าอยากระบาย และอยากบอกถึงความคิดและมุมมองของผมให้ผู้ใหญ่หลายๆคนได้เห็นครับ
คือในเฟซตอนนี้ผมเห็นคนแชร์บทความนึงมาครับ
http://www.unigang.com/Article/23087
ซึ่งผมอ่านแล้วก็รู้สึกปวดใจกับความพังของระบบการศึกษาเราในตอนนี้ใช้ได้เลย
แต่แล้วผมก็มาขัดใจกับข้อความนี้ครับ
"เด็ก Gen Y-Z จบใหม่ห่วย ทำงานไม่ได้ คุณ Gen X มีหน้าที่ต้องช่วยสอน ช่วยโค้ช"
คือผมรู้สึกว่าสิ่งที่ทำให้การศึกษาไทยมันพัง ก็คือมุมมองของคนในระบบการศึกษานั้นก็ดูพังครับ
ออกตัวไว้ก่อน ปัจจุบันผมเรียนอยู่ปี 1 เรียกได้ว่าพ้นจากระบบการศึกษาในโรงเรียนมาแล้ว
คือผมอาจจะไม่ได้เข้าใจแนวคิดการศึกษาปัจจุบัน แต่ผมมั่นใจว่าผมได้เห็น”ความเป็นจริง”ในระบบนี้มากกว่าผู้ใหญ่หลายๆท่านที่กำลังบอกจะแก้ปัญหานี้ เพราะผมคือรุ่นที่เพิ่งผ่านมันมาหมาดๆ
คือผมรู้สึกว่าทุกๆครั้งที่เอ่ยถึงปัญหาการศึกษา รวมถึงสังคมเกี่ยวกับเด็กยุคใหม่ มีอะไรก็จะโทษว่าเด็กห่วย เด็กไม่ดี
แต่สำหรับผม เด็กทุกคนเกิดมาใกล้เคียงกัน แต่อยู่ที่การบ่มเพาะ การศึกษา(ซึ่งคนสอนก็ Gen X หรือแก่กว่านี่แหละ)
คือผมไม่ได้จะโทษคนยุคก่อนหน้าผมทั้งหมดนะ แต่ผมอยากให้ท่านเห็นว่า พวกท่านก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหานี้ ได้โปรดอย่าโทษแต่พวกผม
ประเด็นแรกคือเรื่องของบุคคลที่มาเป็น”ครู”
คือผมเชื่อว่าทุกโรงเรียนจะต้องมีครูในตำนาน อารมณ์ว่าสอนก็ไม่รู้เรื่อง ห้ามโต้แย้ง
แถมยังดูมีอำนาจยังไงก็ไม่รู้สิ
คือจริงๆมุมหนึ่งมันก็เป็นเรื่องเล่าขำๆนะ แต่อีกแง่หนึ่งก็สงสัย ว่าเราปล่อยให้บุคลากรที่ไร้ศักยภาพความเป็นครูแบบนี้ ทำงานในระบบนี้มาได้ยังไงเยอะแยะ
ผมเชื่อว่าปัญหาหนึ่งคือระบบคำว่า “อาวุโส”
คือผมไม่ได้จะบอกว่าการให้เกียรติผู้ใหญ่เป็นสิ่งไม่ดี แต่เหมือนคนไทยจะตีความคำนี้ผิดไป
โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใหญ่อาชีพครูนี่แหละ ที่มักจะใช้คำนี้ อ้างให้ตัวเองถูก และคงกระพันอยู่ในระบบนีได้
ดูเหมือนว่าสำหรับบุคคลเหล่านี้ คำว่าอาวุโสคือ อายุมากกว่า ตำแหน่งทางวิชาการสูงกว่า ฉะนั้นเขาต้องถูกที่สุดเสมอ
แต่สำหรับผม ความอาวุโสควรหมายถึง การมีประสบการณ์มากกว่า การมีความคิดมากกว่า ไม่ใช่แค่ความรู้มากกว่า
ซึ่งนั่นก็หมายถึงว่าบุคคลเหล่านี้จะพร้อมรับความคิดของนักเรียน และพร้อมจะใช้เหตุผมระหว่างกัน เพื่อหาคำตอบที่ถูกที่สุด ความคิดที่ดีที่สุด ซึ่งนั่นจะทำให้นักเรียนได้มีความคิด และมีความสุขกับการเรียน
ซึ่งก็เห็นๆกันอยู่ว่ามันไม่ได้เป็นเช่นนั้น
แล้วก็จะมาถึงประเด็นที่ว่า เด็กสมัยนี้ไม่อยากรู้อยากเรียน ไม่ชอบคิด
ซึ่งเอาจริงๆปัญหานี้มันก็เกิดจากการสั่งสมของปัญหาที่แล้วนั่นแหละ โดนปิดไม่ให้คิดแต่แรก ใครจะไปอยากคิดกันล่ะ
แล้วความไม่อยากรู้อยากเห็นเนี่ย คือผมรู้สึกเราถูกจำกัดคำว่า “อยากรู้” เอาไว้หมายถึงแค่เรื่องในหลักสูตร หลักสูตรที่ใครดูก็คงรู้ว่า พังมาตั้งนานแล้ว
ทีนี้ผมขอเอ่ยถึงหลักสูตรบ้างละกัน เอาแค่ม.ปลายที่ผมเพิ่งผ่านมาเนี่ยแหละ
คือผมเรียนในสายวิทย์ ฉะนั้นสิ่งที่ผมผ่านมาก็คือพวกวิชาวิทยาศาสตร์เป็นหลัก
คือผมเองก็รู้สึกประทับใจนะ กับการวางหลักสูตรให้เด็กไทยเป็นนักท่องตำราแบบจำๆยัดๆ แถมยังเป็นเครื่องคิดเลขที่สามารถคำนวณคณิตศาสตร์ระดับโหดๆได้
คือผมประทับใจว่าเนื้อหาทางวิชาการมีมากมาย แต่หลักสูตรนี้สามารถจับเอาส่วนที่ใช้ในชีวิตจริงแทบไม่ได้มารวมๆกัน
ตัวอย่างเช่นวิชาเลข ซึ่งผมก็บอกเลยว่าเด็กไทยเรียนเยอะมาก และที่สำคัญคือ ไม่ต้องใช้เครื่องคิดเลขด้วย สามารถชะมัด
แต่พอจบไปคำนวญจริง ใช้เครื่องคิดเลขไม่เป็นแฮะ ระบบช่วยเหลือเครื่องคิดเลขมีมากมายช่วยอะไรไม่ได้เลย หรืออย่างโปรแกรมพวก excel ที่ช่วยคำนวณและเก็บสถิติได้อย่างดีเยี่ยมนี่ ก็ใช้ไม่เป็นจ้า ทำไงได้ ใช้เป็นแต่คิดสดอ่ะ
หรืออย่างวิชาเคมี ที่บอกเลยว่าเด็กไทยเจ๋ง จำตารางธาตุได้จ้า เผลอๆต้องจำคุณสมบัติธาตุบางธาตุให้ได้ด้วย นี่ไม่นับว่าเวลาคำนวณก็คิดสดด้วยเลขที่โหดยิ่งกว่าวิชาเลขนะ
หรือวิชาฟิสิกส์ ที่เป็นวิชาที่หลายคนกลัวเพราะเป็นวิชาแห่งการท่องสูตร
ทั้งที่ฟิสิกส์ ไม่ได้เป็นอย่างนั้น ฟิสิกส์ควรจะเป็นการเข้าใจหลักการ และการมองเห็นความสัมพันธ์ที่จะนำมาซึ่งสูตรไม่ใช่เหรอ ไม่ใช่อยู่ๆมีสูตร แล้วก็แทนๆ กลายเป็นว่าทำงานจริง ก็ไม่เข้าใจหลักการอยู่ดี
ส่วนชีวะ ผมไม่ขอเอ่ยถึงละกัน เพราะผมเองก็ไม่รู้ว่าจริงๆควรจะเป็นแบบไหน
แต่พอออกข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยจริงๆ พระเจ้า คือถ้าเรียนแค่ในโรงเรียนนี่ไม่พอๆแน่ๆ สงสัยต้องมาเรียนกวดวิชาซะแล้วหล่ะ
ก็เลยเกิดปัญหาใหม่ ก็คือระบบกวดวิชานี่แหละ
ผมบอกเลยว่าผมเองก็เคยผ่านความน่าเบื่อของระบบกวดวิชามา
แล้วก็จะมีคนมาต่อต้านว่า เรียนทำไมกวดวิชา กวดวิชาเป็นปัญหา ทำไมไม่เรียนในโรงเรียน
คือผมขอบอกตรงนี้เลยนะ ถึงผมจะไม่ชอบกวดวิชา แต่ถ้าไม่มี ผมคงไม่ได้เรียนในสิ่งที่ฝัน
แต่ระบบกวดวิชานั้น ก็คือการสอนเพื่อสอบ สุดท้ายเด็กก็ไม่ได้อะไรนอกจากสอบได้
แต่พอเด็กเรียนกวดวิชา เริ่มทำข้อสอบได้ ข้อสอบกลับยากทิ้งกวดวิชาไปอีก สุดท้ายก็ยากไปเรื่อย คือไม่ต้องพูดถึงการเรียนในโรงเรียน คือไม่พอใช้นานแล้วล่ะ
คือถ้าโรงเรียนและระบบการสอบยังไม่คิดปรับปรุงตัวเอง เราก็คงต้องกวดวิชาอย่างหนักหน่วงกันต่อไป
และอีกเรื่องหนึ่ง คือความสามารถอื่นๆ และความรู้รอบตัว ที่รู้สึกว่าเด็กไทยไม่ได้รับการสนับสนุน
ดูเหมือนว่านอกจากหลักสูตรจะมีปัญหา ก็เหมือนว่าระบบการศึกษานี้จะทำเหมือนกับทั้งโลกมีแค่สิ่งที่อยู่ในหลักสูตร
นอกจากนั้น ไร้สาระอ่ะ อย่าไปสนใจ กลายเป็นว่ามุมมองต่อโลกของเด็กก็จะแคบ
สุดท้ายทุกคนกลายเป็นไปแย่งเข้าคณะใหญ่ๆอย่าง แพทย์ วิศวะ บลาๆ
เพราะการศึกษาไม่เปิดโอกาสให้พวกเขาเห็นอย่างอื่น ที่อาจจะใช่ตัวเขาเองมากกว่า
แต่ผมเองก็ไม่อยากไปโทษที่ตัวครูโดยตรง เพราะผมรู้สึกว่ามันพังที่ระบบโดยรวม รวมถึงค่านิยมทางสังคมกับอาชีพครู ที่ผ่านมาถึงสังคมไทยจะให้เกียรติครู แต่ให้แค่เกียรติ ไม่ให้เงินและสวัสดิการดีๆอย่างความสำคัญที่อาชีพนี้ทำได้ ทั้งๆที่อาชีพครูนั้นเป็นผู้สร้างเด็กไปเป็นอนาคตของชาติ ไปพัฒนาประเทศ
แล้วคนเก่งๆดีจะอยากมาเป็นครูมั้ยละ ต่อให้ใจรักการสอนจริงก็คงไปเรียนอย่างอื่นก่อน แล้วค่อยกลับมาเปิดกวดวิชาสอน สบายกว่า เงินดีกว่า เป็นที่รู้จักมากกว่า
แต่ยังไงมันก็ไม่ใกล้ชิด เหมือนครูในโรงเรียนแหละ
กลายเป็นว่าคนที่ศึกษาด้านครูยุคหลังๆจำนวนมากเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีทางเลือก เรียนอะไรดีวะ เรียนครูละกัน จบมามีงานทำ ทำให้กลายเป็นว่าคนเป็นครูใหม่ๆหลายๆคนก็จะไม่มีคุณภาพพอ
แต่พอมีคนเห็นว่าการศึกษามีปัญหา ก็จะหาทางแก้ ปฏิรูปแล้ว ปฏิรูปอีก แต่คนที่ทำการปฏิรูปกลับเป็นคนกลุ่มเดิมๆ ระบบเดิมๆ แนวคิดเดิมๆ ปัญหามันก็ไม่เคยแก้ได้
แต่ผมก็รู้สึกเล็กๆว่าหลายครั้งพวกเราก็ชอบหลอกตัวเองเพื่อปกปิดปัญหา คือเรามีเด็กโอลิมปิกเก่งๆมากมาย ใช่ครับเขาเหล่านั้นเก่งจริง และเขารู้เยอะมาก เพราะนอกจากเข้าจะรู้เนื้อหาในหลักสูตรอย่างแม่นยำแล้ว ยังรู้เกินนั้นไปอีก
แต่นี่ไม่ใช่การบอกว่าการศึกษาเราดีครับ คือจะมาบอกว่าจากเด็กรุ่นละเป็นแสน ได้ดีเพราะระบบนี้หลักสิบคน คือดีแล้วเนี่ย หลอกตัวเองครับ
ถ้างั้นก็เหมือนงบกี่ล้านที่ให้กับเด็กแสนคนมาได้ใช้จริงกับเด็กหลักสิบคนงั้นสิ
ปัญหานี้ต้องถูกแก้ครับ แต่ต้องถูกแก้ด้วยทุกคน ไม่ใช่ว่าพอหลุดจากการศึกษานี้มาได้ก็พยายามลืมมันไป ผมเชื่อว่าทุกๆคนเคยผ่านช่วงเวลาของการศึกษาที่มีปัญหานี้ครับ ฉะนั้นไม่ใช่ว่าพอจะแก้ที ปฏิรูปที ก็กลับให้กลุ่มคนหัวเก่าที่เคยสร้างปัญหาให้ระบบนี้ มาแก้ สุดท้ายก็ไม่มีอะไรดีขึ้น
คือผมอาจจะพิมพ์ทั้งหมดนี้ด้วยอคติและอารมณ์ไปบ้าง แต่ที่ผมอยากจะบอกคือ ผมห่วงอนาคตประเทศนี้จริงๆ การศึกษาคือรากฐานของประเทศ แต่ปัจจุบันนี้มันพังแบบ พังมากๆ
ไม่ใช่ว่าผมจะบอกว่าทุกอย่างมันแย่นะ ชีวิตนี้ผมได้ผ่านครูดีๆมากมากมาย และผมรู้สึกว่า ผมอยากให้มันเป็นแบบนั้นตลอด
มุมมองของผมที่มีต่อการศึกษาไทยปัจจุบัน จากการได้เห็นข่าวการสมัครครูของป.ตรีที่มีปัญหาครับ
ดังนั้นการเขียนผมอาจจะดูน่ารำคาญบ้าง อาจจะพิมพ์เวิ่นเว้อไปบ้าง ยาวไปบ้าง และอาจจะไม่ตรงใจใครบ้าง คงต้องขออภัยนะครับ
แต่ผมรู้สึกว่าอยากระบาย และอยากบอกถึงความคิดและมุมมองของผมให้ผู้ใหญ่หลายๆคนได้เห็นครับ
คือในเฟซตอนนี้ผมเห็นคนแชร์บทความนึงมาครับ
http://www.unigang.com/Article/23087
ซึ่งผมอ่านแล้วก็รู้สึกปวดใจกับความพังของระบบการศึกษาเราในตอนนี้ใช้ได้เลย
แต่แล้วผมก็มาขัดใจกับข้อความนี้ครับ
"เด็ก Gen Y-Z จบใหม่ห่วย ทำงานไม่ได้ คุณ Gen X มีหน้าที่ต้องช่วยสอน ช่วยโค้ช"
คือผมรู้สึกว่าสิ่งที่ทำให้การศึกษาไทยมันพัง ก็คือมุมมองของคนในระบบการศึกษานั้นก็ดูพังครับ
ออกตัวไว้ก่อน ปัจจุบันผมเรียนอยู่ปี 1 เรียกได้ว่าพ้นจากระบบการศึกษาในโรงเรียนมาแล้ว
คือผมอาจจะไม่ได้เข้าใจแนวคิดการศึกษาปัจจุบัน แต่ผมมั่นใจว่าผมได้เห็น”ความเป็นจริง”ในระบบนี้มากกว่าผู้ใหญ่หลายๆท่านที่กำลังบอกจะแก้ปัญหานี้ เพราะผมคือรุ่นที่เพิ่งผ่านมันมาหมาดๆ
คือผมรู้สึกว่าทุกๆครั้งที่เอ่ยถึงปัญหาการศึกษา รวมถึงสังคมเกี่ยวกับเด็กยุคใหม่ มีอะไรก็จะโทษว่าเด็กห่วย เด็กไม่ดี
แต่สำหรับผม เด็กทุกคนเกิดมาใกล้เคียงกัน แต่อยู่ที่การบ่มเพาะ การศึกษา(ซึ่งคนสอนก็ Gen X หรือแก่กว่านี่แหละ)
คือผมไม่ได้จะโทษคนยุคก่อนหน้าผมทั้งหมดนะ แต่ผมอยากให้ท่านเห็นว่า พวกท่านก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหานี้ ได้โปรดอย่าโทษแต่พวกผม
ประเด็นแรกคือเรื่องของบุคคลที่มาเป็น”ครู”
คือผมเชื่อว่าทุกโรงเรียนจะต้องมีครูในตำนาน อารมณ์ว่าสอนก็ไม่รู้เรื่อง ห้ามโต้แย้ง
แถมยังดูมีอำนาจยังไงก็ไม่รู้สิ
คือจริงๆมุมหนึ่งมันก็เป็นเรื่องเล่าขำๆนะ แต่อีกแง่หนึ่งก็สงสัย ว่าเราปล่อยให้บุคลากรที่ไร้ศักยภาพความเป็นครูแบบนี้ ทำงานในระบบนี้มาได้ยังไงเยอะแยะ
ผมเชื่อว่าปัญหาหนึ่งคือระบบคำว่า “อาวุโส”
คือผมไม่ได้จะบอกว่าการให้เกียรติผู้ใหญ่เป็นสิ่งไม่ดี แต่เหมือนคนไทยจะตีความคำนี้ผิดไป
โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใหญ่อาชีพครูนี่แหละ ที่มักจะใช้คำนี้ อ้างให้ตัวเองถูก และคงกระพันอยู่ในระบบนีได้
ดูเหมือนว่าสำหรับบุคคลเหล่านี้ คำว่าอาวุโสคือ อายุมากกว่า ตำแหน่งทางวิชาการสูงกว่า ฉะนั้นเขาต้องถูกที่สุดเสมอ
แต่สำหรับผม ความอาวุโสควรหมายถึง การมีประสบการณ์มากกว่า การมีความคิดมากกว่า ไม่ใช่แค่ความรู้มากกว่า
ซึ่งนั่นก็หมายถึงว่าบุคคลเหล่านี้จะพร้อมรับความคิดของนักเรียน และพร้อมจะใช้เหตุผมระหว่างกัน เพื่อหาคำตอบที่ถูกที่สุด ความคิดที่ดีที่สุด ซึ่งนั่นจะทำให้นักเรียนได้มีความคิด และมีความสุขกับการเรียน
ซึ่งก็เห็นๆกันอยู่ว่ามันไม่ได้เป็นเช่นนั้น
แล้วก็จะมาถึงประเด็นที่ว่า เด็กสมัยนี้ไม่อยากรู้อยากเรียน ไม่ชอบคิด
ซึ่งเอาจริงๆปัญหานี้มันก็เกิดจากการสั่งสมของปัญหาที่แล้วนั่นแหละ โดนปิดไม่ให้คิดแต่แรก ใครจะไปอยากคิดกันล่ะ
แล้วความไม่อยากรู้อยากเห็นเนี่ย คือผมรู้สึกเราถูกจำกัดคำว่า “อยากรู้” เอาไว้หมายถึงแค่เรื่องในหลักสูตร หลักสูตรที่ใครดูก็คงรู้ว่า พังมาตั้งนานแล้ว
ทีนี้ผมขอเอ่ยถึงหลักสูตรบ้างละกัน เอาแค่ม.ปลายที่ผมเพิ่งผ่านมาเนี่ยแหละ
คือผมเรียนในสายวิทย์ ฉะนั้นสิ่งที่ผมผ่านมาก็คือพวกวิชาวิทยาศาสตร์เป็นหลัก
คือผมเองก็รู้สึกประทับใจนะ กับการวางหลักสูตรให้เด็กไทยเป็นนักท่องตำราแบบจำๆยัดๆ แถมยังเป็นเครื่องคิดเลขที่สามารถคำนวณคณิตศาสตร์ระดับโหดๆได้
คือผมประทับใจว่าเนื้อหาทางวิชาการมีมากมาย แต่หลักสูตรนี้สามารถจับเอาส่วนที่ใช้ในชีวิตจริงแทบไม่ได้มารวมๆกัน
ตัวอย่างเช่นวิชาเลข ซึ่งผมก็บอกเลยว่าเด็กไทยเรียนเยอะมาก และที่สำคัญคือ ไม่ต้องใช้เครื่องคิดเลขด้วย สามารถชะมัด
แต่พอจบไปคำนวญจริง ใช้เครื่องคิดเลขไม่เป็นแฮะ ระบบช่วยเหลือเครื่องคิดเลขมีมากมายช่วยอะไรไม่ได้เลย หรืออย่างโปรแกรมพวก excel ที่ช่วยคำนวณและเก็บสถิติได้อย่างดีเยี่ยมนี่ ก็ใช้ไม่เป็นจ้า ทำไงได้ ใช้เป็นแต่คิดสดอ่ะ
หรืออย่างวิชาเคมี ที่บอกเลยว่าเด็กไทยเจ๋ง จำตารางธาตุได้จ้า เผลอๆต้องจำคุณสมบัติธาตุบางธาตุให้ได้ด้วย นี่ไม่นับว่าเวลาคำนวณก็คิดสดด้วยเลขที่โหดยิ่งกว่าวิชาเลขนะ
หรือวิชาฟิสิกส์ ที่เป็นวิชาที่หลายคนกลัวเพราะเป็นวิชาแห่งการท่องสูตร
ทั้งที่ฟิสิกส์ ไม่ได้เป็นอย่างนั้น ฟิสิกส์ควรจะเป็นการเข้าใจหลักการ และการมองเห็นความสัมพันธ์ที่จะนำมาซึ่งสูตรไม่ใช่เหรอ ไม่ใช่อยู่ๆมีสูตร แล้วก็แทนๆ กลายเป็นว่าทำงานจริง ก็ไม่เข้าใจหลักการอยู่ดี
ส่วนชีวะ ผมไม่ขอเอ่ยถึงละกัน เพราะผมเองก็ไม่รู้ว่าจริงๆควรจะเป็นแบบไหน
แต่พอออกข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยจริงๆ พระเจ้า คือถ้าเรียนแค่ในโรงเรียนนี่ไม่พอๆแน่ๆ สงสัยต้องมาเรียนกวดวิชาซะแล้วหล่ะ
ก็เลยเกิดปัญหาใหม่ ก็คือระบบกวดวิชานี่แหละ
ผมบอกเลยว่าผมเองก็เคยผ่านความน่าเบื่อของระบบกวดวิชามา
แล้วก็จะมีคนมาต่อต้านว่า เรียนทำไมกวดวิชา กวดวิชาเป็นปัญหา ทำไมไม่เรียนในโรงเรียน
คือผมขอบอกตรงนี้เลยนะ ถึงผมจะไม่ชอบกวดวิชา แต่ถ้าไม่มี ผมคงไม่ได้เรียนในสิ่งที่ฝัน
แต่ระบบกวดวิชานั้น ก็คือการสอนเพื่อสอบ สุดท้ายเด็กก็ไม่ได้อะไรนอกจากสอบได้
แต่พอเด็กเรียนกวดวิชา เริ่มทำข้อสอบได้ ข้อสอบกลับยากทิ้งกวดวิชาไปอีก สุดท้ายก็ยากไปเรื่อย คือไม่ต้องพูดถึงการเรียนในโรงเรียน คือไม่พอใช้นานแล้วล่ะ
คือถ้าโรงเรียนและระบบการสอบยังไม่คิดปรับปรุงตัวเอง เราก็คงต้องกวดวิชาอย่างหนักหน่วงกันต่อไป
และอีกเรื่องหนึ่ง คือความสามารถอื่นๆ และความรู้รอบตัว ที่รู้สึกว่าเด็กไทยไม่ได้รับการสนับสนุน
ดูเหมือนว่านอกจากหลักสูตรจะมีปัญหา ก็เหมือนว่าระบบการศึกษานี้จะทำเหมือนกับทั้งโลกมีแค่สิ่งที่อยู่ในหลักสูตร
นอกจากนั้น ไร้สาระอ่ะ อย่าไปสนใจ กลายเป็นว่ามุมมองต่อโลกของเด็กก็จะแคบ
สุดท้ายทุกคนกลายเป็นไปแย่งเข้าคณะใหญ่ๆอย่าง แพทย์ วิศวะ บลาๆ
เพราะการศึกษาไม่เปิดโอกาสให้พวกเขาเห็นอย่างอื่น ที่อาจจะใช่ตัวเขาเองมากกว่า
แต่ผมเองก็ไม่อยากไปโทษที่ตัวครูโดยตรง เพราะผมรู้สึกว่ามันพังที่ระบบโดยรวม รวมถึงค่านิยมทางสังคมกับอาชีพครู ที่ผ่านมาถึงสังคมไทยจะให้เกียรติครู แต่ให้แค่เกียรติ ไม่ให้เงินและสวัสดิการดีๆอย่างความสำคัญที่อาชีพนี้ทำได้ ทั้งๆที่อาชีพครูนั้นเป็นผู้สร้างเด็กไปเป็นอนาคตของชาติ ไปพัฒนาประเทศ
แล้วคนเก่งๆดีจะอยากมาเป็นครูมั้ยละ ต่อให้ใจรักการสอนจริงก็คงไปเรียนอย่างอื่นก่อน แล้วค่อยกลับมาเปิดกวดวิชาสอน สบายกว่า เงินดีกว่า เป็นที่รู้จักมากกว่า
แต่ยังไงมันก็ไม่ใกล้ชิด เหมือนครูในโรงเรียนแหละ
กลายเป็นว่าคนที่ศึกษาด้านครูยุคหลังๆจำนวนมากเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีทางเลือก เรียนอะไรดีวะ เรียนครูละกัน จบมามีงานทำ ทำให้กลายเป็นว่าคนเป็นครูใหม่ๆหลายๆคนก็จะไม่มีคุณภาพพอ
แต่พอมีคนเห็นว่าการศึกษามีปัญหา ก็จะหาทางแก้ ปฏิรูปแล้ว ปฏิรูปอีก แต่คนที่ทำการปฏิรูปกลับเป็นคนกลุ่มเดิมๆ ระบบเดิมๆ แนวคิดเดิมๆ ปัญหามันก็ไม่เคยแก้ได้
แต่ผมก็รู้สึกเล็กๆว่าหลายครั้งพวกเราก็ชอบหลอกตัวเองเพื่อปกปิดปัญหา คือเรามีเด็กโอลิมปิกเก่งๆมากมาย ใช่ครับเขาเหล่านั้นเก่งจริง และเขารู้เยอะมาก เพราะนอกจากเข้าจะรู้เนื้อหาในหลักสูตรอย่างแม่นยำแล้ว ยังรู้เกินนั้นไปอีก
แต่นี่ไม่ใช่การบอกว่าการศึกษาเราดีครับ คือจะมาบอกว่าจากเด็กรุ่นละเป็นแสน ได้ดีเพราะระบบนี้หลักสิบคน คือดีแล้วเนี่ย หลอกตัวเองครับ
ถ้างั้นก็เหมือนงบกี่ล้านที่ให้กับเด็กแสนคนมาได้ใช้จริงกับเด็กหลักสิบคนงั้นสิ
ปัญหานี้ต้องถูกแก้ครับ แต่ต้องถูกแก้ด้วยทุกคน ไม่ใช่ว่าพอหลุดจากการศึกษานี้มาได้ก็พยายามลืมมันไป ผมเชื่อว่าทุกๆคนเคยผ่านช่วงเวลาของการศึกษาที่มีปัญหานี้ครับ ฉะนั้นไม่ใช่ว่าพอจะแก้ที ปฏิรูปที ก็กลับให้กลุ่มคนหัวเก่าที่เคยสร้างปัญหาให้ระบบนี้ มาแก้ สุดท้ายก็ไม่มีอะไรดีขึ้น
คือผมอาจจะพิมพ์ทั้งหมดนี้ด้วยอคติและอารมณ์ไปบ้าง แต่ที่ผมอยากจะบอกคือ ผมห่วงอนาคตประเทศนี้จริงๆ การศึกษาคือรากฐานของประเทศ แต่ปัจจุบันนี้มันพังแบบ พังมากๆ
ไม่ใช่ว่าผมจะบอกว่าทุกอย่างมันแย่นะ ชีวิตนี้ผมได้ผ่านครูดีๆมากมากมาย และผมรู้สึกว่า ผมอยากให้มันเป็นแบบนั้นตลอด