คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๑๐. สัพพลหุสสูตร
[๑๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาตอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ใน
เปรตวิสัย วิบากแห่งปาณาติบาตอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความเป็นผู้มีอายุน้อย
ให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อทินนาทานอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งอทินนาทานอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความพินาศแห่งโภคะให้เป็นไปแก่
ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาเมสุมิจฉาจารอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจารอย่างเบาที่สุด ย่อมยังศัตรูและเวรให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิด
เป็นมนุษย์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มุสาวาทอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งมุสาวาทอย่างเบาที่สุด ย่อมยังการกล่าวตู่ด้วยคำไม่เป็นจริงให้เป็นไปแก่
ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปิสุณาวาจาอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งปิสุณาวาจาอย่างเบาที่สุด ย่อมยังการแตกจากมิตรให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิด
เป็นมนุษย์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผรุสวาจาอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งผรุสวาจาอย่างเบาที่สุด ย่อมยังเสียงที่ไม่น่าพอใจให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิด
เป็นมนุษย์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมผัปปลาปะอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งสัมผัปปลาปะอย่างเบาที่สุด ย่อมยังคำไม่ควรเชื่อถือให้เป็นไปแก่ผู้มา
เกิดเป็นมนุษย์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันบุคคลเสพแล้ว
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งการดื่มสุราและเมรัยอย่างเบาที่สุด ย่อมยัง
ความเป็นบ้าให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๕๑๒๗ - ๕๑๖๗. หน้าที่ ๒๒๑ - ๒๒๓.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=5127&Z=5167&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=130
********************************
อำนาจกรรม
http://ppantip.com/topic/30912599/comment10
สัทธา ความเชื่อ;
ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก
ท่านแสดงสืบๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ
๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม
๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม
๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต;
วิบาก ของ อกุศลกรรมบถ และ บุญกิริยาวัตถุ ที่ส่งผลภายหลังการเกิด
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=21279
อนึ่งมนุษย์ที่มีสภาพแตกต่างกันนั้น มูลปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย แสดงไว้ว่า
ฆ่าสัตว์ ไม่มีความกรุณา เป็นเหตุให้ อายุสั้น
ไม่ฆ่าสัตว์ มีความกรุณา เป็นเหตุให้ อายุยืน
เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้ มีโรคมาก
ไม่เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้ มีโรคน้อย
มักโกรธ มีความคับแค้นใจมาก เป็นเหตุให้ ผิวพรรณทราม
ไม่โกรธ ไม่มีความคับแค้นใจ เป็นเหตุให้ ผิวพรรณผุดผ่อง
มีใจประกอบด้วยความริษยาผู้อื่น เป็นเหตุให้ มีอานุภาพน้อย
มีใจไม่ริษยาผู้อื่น เป็นเหตุให้ มีอานุภาพมาก
ไม่บริจาคทาน เป็นเหตุให้ ยากจน อนาถา
บริจาคทาน เป็นเหตุให้ มีโภคสมบัติมาก
กระด้าง ถือตัว เป็นเหตุให้ เกิดในสกุลต่ำ
ไม่กระด้าง ไม่ถือตัว เป็นเหตุให้ เกิดในสกุลสูง
ไม่อยากรู้ ไม่ไต่ถามผู้มีปัญญา เป็นเหตุให้ มีปัญญาน้อย
อยากรู้ หมั่นไต่ถามผู้มีปัญญา เป็นเหตุให้ มีปัญญามาก
*******************************
อำนาจกรรม
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=8827&page=1
อำนาจกรรม ๒
http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=8831&page=1
กรรมประเภทที่ ๓ เวลาแห่งการให้ผลของกรรม
เหตุเป็นที่ตั้งแห่งผล ธรรมทั้งหลายย่อมมีผลและธรรมทั้งหลายย่อมไหลมาแต่เหตุ หลักพุทธศาสนาไม่ได้เพ่งเล็งแต่ความรุ่นแรงหรือเพียงแค่เหตุอันเป็นการกระทำโดยเจตนาในบุญและบาป (เจตนาในอกุศล ๑๒ มหากุศล ๘ รูปาวจรกุศล ๔ = ๒๙ ) เท่านั้น
พระพุทธองค์ยังได้พิจารณาวางหลักเกณฑ์ไว้อีกว่า ผลกรรมที่กระทำไว้ในขณะจิตใดๆ (ชวนจิตการเสพอารมณ์) จะส่งผลให้แก่ผู้กระทำในช่วงระยะเวลาใดบ้าง ( ปัจจุบัน อนาคตชาติ) นี่คือความละเอียดและสลับซับซ้อนในเรื่องของกรรม
การระบุเวลาของการที่จะให้ผลของกรรมนั้น แบ่งเป็น ๔ ช่วงคือ
๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม เป็นกรรมที่ให้ผลในชาตินี้
๒. อุปปัชชเวทนียกรรม เป็นกรรมที่ส่งผลในชาติหน้า
๓. อปราปรเวทนียกรรม เป็นกรรมที่ส่งผลในชาติหน้าต่อๆไป
๔. อโหสิกรรม เป็นกรรมที่มีอยู่แต่ไม่สามารถส่งผลให้เจ้าของกรรมได้
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๑๐. สัพพลหุสสูตร
[๑๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาตอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ใน
เปรตวิสัย วิบากแห่งปาณาติบาตอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความเป็นผู้มีอายุน้อย
ให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อทินนาทานอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งอทินนาทานอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความพินาศแห่งโภคะให้เป็นไปแก่
ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาเมสุมิจฉาจารอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจารอย่างเบาที่สุด ย่อมยังศัตรูและเวรให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิด
เป็นมนุษย์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มุสาวาทอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งมุสาวาทอย่างเบาที่สุด ย่อมยังการกล่าวตู่ด้วยคำไม่เป็นจริงให้เป็นไปแก่
ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปิสุณาวาจาอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งปิสุณาวาจาอย่างเบาที่สุด ย่อมยังการแตกจากมิตรให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิด
เป็นมนุษย์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผรุสวาจาอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งผรุสวาจาอย่างเบาที่สุด ย่อมยังเสียงที่ไม่น่าพอใจให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิด
เป็นมนุษย์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมผัปปลาปะอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งสัมผัปปลาปะอย่างเบาที่สุด ย่อมยังคำไม่ควรเชื่อถือให้เป็นไปแก่ผู้มา
เกิดเป็นมนุษย์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันบุคคลเสพแล้ว
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งการดื่มสุราและเมรัยอย่างเบาที่สุด ย่อมยัง
ความเป็นบ้าให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๕๑๒๗ - ๕๑๖๗. หน้าที่ ๒๒๑ - ๒๒๓.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=5127&Z=5167&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=130
********************************
อำนาจกรรม
http://ppantip.com/topic/30912599/comment10
สัทธา ความเชื่อ;
ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก
ท่านแสดงสืบๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ
๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม
๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม
๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต;
วิบาก ของ อกุศลกรรมบถ และ บุญกิริยาวัตถุ ที่ส่งผลภายหลังการเกิด
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=21279
อนึ่งมนุษย์ที่มีสภาพแตกต่างกันนั้น มูลปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย แสดงไว้ว่า
ฆ่าสัตว์ ไม่มีความกรุณา เป็นเหตุให้ อายุสั้น
ไม่ฆ่าสัตว์ มีความกรุณา เป็นเหตุให้ อายุยืน
เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้ มีโรคมาก
ไม่เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้ มีโรคน้อย
มักโกรธ มีความคับแค้นใจมาก เป็นเหตุให้ ผิวพรรณทราม
ไม่โกรธ ไม่มีความคับแค้นใจ เป็นเหตุให้ ผิวพรรณผุดผ่อง
มีใจประกอบด้วยความริษยาผู้อื่น เป็นเหตุให้ มีอานุภาพน้อย
มีใจไม่ริษยาผู้อื่น เป็นเหตุให้ มีอานุภาพมาก
ไม่บริจาคทาน เป็นเหตุให้ ยากจน อนาถา
บริจาคทาน เป็นเหตุให้ มีโภคสมบัติมาก
กระด้าง ถือตัว เป็นเหตุให้ เกิดในสกุลต่ำ
ไม่กระด้าง ไม่ถือตัว เป็นเหตุให้ เกิดในสกุลสูง
ไม่อยากรู้ ไม่ไต่ถามผู้มีปัญญา เป็นเหตุให้ มีปัญญาน้อย
อยากรู้ หมั่นไต่ถามผู้มีปัญญา เป็นเหตุให้ มีปัญญามาก
*******************************
อำนาจกรรม
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=8827&page=1
อำนาจกรรม ๒
http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=8831&page=1
กรรมประเภทที่ ๓ เวลาแห่งการให้ผลของกรรม
เหตุเป็นที่ตั้งแห่งผล ธรรมทั้งหลายย่อมมีผลและธรรมทั้งหลายย่อมไหลมาแต่เหตุ หลักพุทธศาสนาไม่ได้เพ่งเล็งแต่ความรุ่นแรงหรือเพียงแค่เหตุอันเป็นการกระทำโดยเจตนาในบุญและบาป (เจตนาในอกุศล ๑๒ มหากุศล ๘ รูปาวจรกุศล ๔ = ๒๙ ) เท่านั้น
พระพุทธองค์ยังได้พิจารณาวางหลักเกณฑ์ไว้อีกว่า ผลกรรมที่กระทำไว้ในขณะจิตใดๆ (ชวนจิตการเสพอารมณ์) จะส่งผลให้แก่ผู้กระทำในช่วงระยะเวลาใดบ้าง ( ปัจจุบัน อนาคตชาติ) นี่คือความละเอียดและสลับซับซ้อนในเรื่องของกรรม
การระบุเวลาของการที่จะให้ผลของกรรมนั้น แบ่งเป็น ๔ ช่วงคือ
๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม เป็นกรรมที่ให้ผลในชาตินี้
๒. อุปปัชชเวทนียกรรม เป็นกรรมที่ส่งผลในชาติหน้า
๓. อปราปรเวทนียกรรม เป็นกรรมที่ส่งผลในชาติหน้าต่อๆไป
๔. อโหสิกรรม เป็นกรรมที่มีอยู่แต่ไม่สามารถส่งผลให้เจ้าของกรรมได้
แสดงความคิดเห็น
เชื่อเรื่องเวรกรรมไหมคะ มีตัวอย่างมาเล่ากันบ้างมั้ยคะ
จะเป็นเรื่องตัวเอง หรือของคนใกล้ตัวก็ได้ค่ะ
โดยส่วนตัว ของ จขกท เวลาทำอะไรที่ไม่ดี กรรมจะตามมาแบบติดจรวดเลย
เริ่มจากกังวลใจ
อย่างถ้าเรื่องแฟน สิ่งที่เราทำกับแฟนในอดีต มันก็มันจะมีเหตุการณ์ทำนองเดียวกันย้อนกลับมาหาเรา แค่สลับกันว่าใครเป็นผู้ถูกกระทำ โดยที่ทั้งเราและแฟนไม่ได้ตังใจ แต่สถานการณ์รอบตัวมันพาไปให้เป็นแบบนั้น เหมือนเป็นวงเวียนเลยค่ะ แต่ไม่ได้เป้นเรื่องในเชิงชู้สาวนะคะ ส่วนใหญ่จะเป็นเหตุการณ์หรืออุปสรรคที่ทำให้ทะเลาะไม่เข้าใจกันมากกว่า
ทุกวันนี้เลยไม่กล้าทำอะไรที่ ไม่ดีเลย แม้แต่คิดไม่ดี หรือวิจารณ์ใครในใจก็จะพยายามเตือนตัวเองให้หยุดคิด เพราะสำหรับตัวเรา เวรกรรมตามติดจรวดมากเลยค่ะ ทั้งๆที่ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงเลย แต่ยอมรับว่าเวลาไม่ทำเรื่องไม่ดี ชีวิตก็จะโชคดีมากๆ ชีวิตจะถือว่าโชคดีซะส่วนใหญ่เลยค่ะ แต่ทุกข์ก็สาหัสเช่นกัน
ส่วนในขณะบางคนที่ชอบว่าร้ายคนอื่น อิจฉาริษยา หลายใจ ทำร้ายจิตใจคนใกล้ตัว เราไม่เห็นว่าเค้าจะได้รับอะไรเลยค่ะ เราได้เห็นแค่ภาพรวมแค่นั้นว่า คนที่ขี้อิจฉา ใส่ร้ายเราส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะทำยังไงชีวิตเค้าจะไม่ดีไปกว่าเรา แต่ก็ไม่ถึงกับเวรกรรมตามทันติดจรวจซะทีเดียว