ดัน พ.ร.บ.บุหรี่ ฉบับใหม่ ด้านธุรกิจยาสูบขึ้นป้ายค้าน อ้างกระทบรายได้ร้านค้าปลีก ด้าน สธ. สวน ร้านค้าไม่ได้ขายบุหรี่อย่างเดียว
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2558 นพ. รัชตะ รัชนะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึง พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ว่า ตอนนี้ได้ปรับปรุงร่าง พ.ร.บ. แล้ว โดยผนวกกฎหมายเดิม 2 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 ที่ใช้มาร่วม 22 ปี เพื่อทำให้สอดคล้องกับกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลก ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าว ไม่มีประเด็นการกีดกันทางการค้าหรือขัดกฎกติกาการค้าโลก แต่เป็นการปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับการตลาดยุคนี้ ทำให้เยาวชนเข้าถึงบุหรี่ได้ยากขึ้น
นพ. รัชตะ กล่าวต่ออีกว่า หาก พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ จะช่วยลดจำนวนเยาวชนไทยที่จะติดบุหรี่ใหม่ปีละ 1 แสนคน ซึ่งถ้าหากป้องกันให้เด็กไม่ติดบุหรี่ 1 คน จะประหยัดค่ารักษาโรคได้คนละ 156,000 บาท และหากเด็กติดบุหรี่แล้ว ร้อยละ 70 จะไม่สามารถเลิกได้ตลอดชีวิต ส่วนอีกร้อยละ 30 สามารถเลิกได้ แต่ใช้เวลา 20 ปี
ด้าน นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า การขึ้นป้ายโจมตี พ.ร.บ. ฉบับนี้ ว่าเป็นการทำลายธุรกิจค้าปลีกนั้น ต้องเอาความจริงมาพูดกันว่า ยอดจำหน่ายบุหรี่ต่อปีคือ 2,008 ล้านซอง ร้านขายปลีกขายได้ 8 ซองต่อวันหรือ 240 ซองต่อเดือน กำไรของอุตสาหกรรมยาสูบอยู่ที่ปีละ 9,000 ล้านบาท เป็นของโรงงานยาสูบ 6,000 ล้านบาท และถ้าหากออกกฎหมายฉบับใหม่ กำไรจะลดลงร้อยละ 10 ทำให้ธุรกิจร้านค้าปลีกกำไรหายไป 84 บาทเท่านั้น แต่อุตสาหกรรมบุหรี่ จะมีรายได้ที่หายไปมากกว่า จึงอยู่เบื้องหลังการขึ้นป้ายต่อต้าน
สุดท้าย นพ. ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล ที่ปรึกษา รมว.สธ. เปิดเผยว่า การที่ภาคธุรกิจขึ้นป้ายโฆษณา แล้วนำผู้ค้าปลีกมาอ้างว่าได้รับผลกระทบ ถือว่าไม่ใช่ความจริง เพราะผู้ค้าปลีกยังสามารถขายสินค้าอื่น ๆ มากกว่าขายบุหรี่ได้
" อยากสนับสนุนให้ พรบ. นี้เกิดขึ้นให้ได้ และ ทำให้ ยอดนักสูบหน้าใหม่ ลดลงไปเรื่อย ๆ "
พ.ร.บ.บุหรี่ ฉบับใหม่ เจอป้ายค้านบอก กระทบค้าปลีก !
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2558 นพ. รัชตะ รัชนะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึง พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ว่า ตอนนี้ได้ปรับปรุงร่าง พ.ร.บ. แล้ว โดยผนวกกฎหมายเดิม 2 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 ที่ใช้มาร่วม 22 ปี เพื่อทำให้สอดคล้องกับกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลก ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าว ไม่มีประเด็นการกีดกันทางการค้าหรือขัดกฎกติกาการค้าโลก แต่เป็นการปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับการตลาดยุคนี้ ทำให้เยาวชนเข้าถึงบุหรี่ได้ยากขึ้น
นพ. รัชตะ กล่าวต่ออีกว่า หาก พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ จะช่วยลดจำนวนเยาวชนไทยที่จะติดบุหรี่ใหม่ปีละ 1 แสนคน ซึ่งถ้าหากป้องกันให้เด็กไม่ติดบุหรี่ 1 คน จะประหยัดค่ารักษาโรคได้คนละ 156,000 บาท และหากเด็กติดบุหรี่แล้ว ร้อยละ 70 จะไม่สามารถเลิกได้ตลอดชีวิต ส่วนอีกร้อยละ 30 สามารถเลิกได้ แต่ใช้เวลา 20 ปี
ด้าน นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า การขึ้นป้ายโจมตี พ.ร.บ. ฉบับนี้ ว่าเป็นการทำลายธุรกิจค้าปลีกนั้น ต้องเอาความจริงมาพูดกันว่า ยอดจำหน่ายบุหรี่ต่อปีคือ 2,008 ล้านซอง ร้านขายปลีกขายได้ 8 ซองต่อวันหรือ 240 ซองต่อเดือน กำไรของอุตสาหกรรมยาสูบอยู่ที่ปีละ 9,000 ล้านบาท เป็นของโรงงานยาสูบ 6,000 ล้านบาท และถ้าหากออกกฎหมายฉบับใหม่ กำไรจะลดลงร้อยละ 10 ทำให้ธุรกิจร้านค้าปลีกกำไรหายไป 84 บาทเท่านั้น แต่อุตสาหกรรมบุหรี่ จะมีรายได้ที่หายไปมากกว่า จึงอยู่เบื้องหลังการขึ้นป้ายต่อต้าน
สุดท้าย นพ. ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล ที่ปรึกษา รมว.สธ. เปิดเผยว่า การที่ภาคธุรกิจขึ้นป้ายโฆษณา แล้วนำผู้ค้าปลีกมาอ้างว่าได้รับผลกระทบ ถือว่าไม่ใช่ความจริง เพราะผู้ค้าปลีกยังสามารถขายสินค้าอื่น ๆ มากกว่าขายบุหรี่ได้