เอา อมตะวรรณกรรมการเมือง มาฝากครับ ... อ่านแกล้มลมหนาว ก็จะสุขไม่น้อย ...

กระทู้สนทนา
เก่ามากแล้วววว    คงจะเคยอ่านกันมาหมดแล้วล่ะ .. (ผมอ่าน รอบสามแล้ว  ชอบ)

แต่เอามาเผื่อ เผื่อมีคนพลาด ... สนุกดี   ตีแผ่ ความปลิ้นปล้อน เห็นแก่ตัว ของมนุษย์ (ผ่านตัวลคร ที่เป็นสัตว์) ได้ดีนักแล ..

ทู้นี้ไม่จำกัด ฟายแดง หรือ สลิ่มนะครับ ..

อ่านเล่นๆ กัน  แกล้ม  ลมหนาว ...

ปอลอ.  ถือว่า ชดเชย  เอาของดีๆมาให้ หลังจาก ปากอ๋า ไล่ด่า สลิ่ม มาเป็นระยะเวลาช่วงนึงนะครับ  5 5 5


ตัวอย่าง ....


Animal Farm เป็นวรรณะกรรมอมตะ แนวเสียดสีการเมือง ประพันธ์โดย George Orwell นักเขียนชาวอังกฤษ

ตีพิมพ์จำหน่ายครั้งแรกเมื่อ17 สิงหาคม ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488) แปลเป็นภาษาไทยหลายเวอร์ชั่น มีการนำไปสร้างเป็นภาพยนต์ และมีการนำไปแสดงเป็นละครเวทีด้วย……

โครงสร้างของเรื่อง Animal Farm ผู้ประพันธ์ต้องการวิพากษ์วิจารณ์เสียดสีการเมืองของสหภาพโซเวียตรัสเซีย ในสมัยที่มีการปฏิวัติล้มล้างการปกครอง ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงยุคผู้นำที่มีชื่อว่า “โจเซฟ สตาลิน”

โดยสมมุติตัวละครเป็นสัตว์นานาชนิดที่มีชีวิตอยู่ร่วมกัน ในฟาร์มแห่งหนึ่งชื่อ “ไร่แมนเนอร์”  ซึ่งมีชาวนาขี้เมาเป็นเจ้าของ แต่เพราะฤทธิ์สุราทำให้เขาละเลยและไม่รับผิดชอบ ไม่ใส่ใจดูแลบรรดาสัตว์ต่างๆเป็นเหตุให้พวกสัตว์ทั้งหลายรวมตัวกันปฏิวัติ

โดยมีผู้นำเป็นหมู 2 ตัวชื่อ สโนว์บอล และ นโปเลียน เข้ายึดอำนาจจากเจ้าของฟาร์ม

เริ่มจากค่ำคืนหนึ่ง เฒ่าเมเจอร์ หมูเก่าแก่ที่สัตว์ทุกตัวนับถือ ได้ปลุกอุดมการณ์ของเหล่าสัตว์ว่ามนุษย์เป็นสัตว์ชนิดเดียวที่บริโภคโดยไม่ผลิต

ทั้งยังกดขี่สัตว์ให้ทำงานแลกกับส่วนแบ่งอันน้อยนิดแล้วก็กอบโกยผลผลิตไปแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งก็ได้ผล สัตว์ทั้งหมดร่วมกันก่อการปฏิวัติ

“จงจำไว้ว่าอุดมการณ์ของเจ้าจะต้องไม่หยุดชะงักไม่มีการตกลงใดๆ ที่จะทำให้เจ้าหลงทาง
อย่าฟัง หากมีมันคนใดกล่าวว่ามนุษย์และสัตว์มีผลประโยชน์ร่วมกัน” เฒ่าเมเจอร์ กล่าว ก่อนจะตายจากไปด้วยความชรา


สัตว์ทุกตัวซึมซับอุดมการณ์เหล่านั้น และต่างมีเป้าหมายของการปฏิวัติตรงกันคือ เพื่ออิสรภาพ

แนวคิดแบบสัตว์นิยมก่อร่างขึ้น แต่ก็เกิดคำถามที่ท้าทายสวนทางกับจิตวิญญาณของสัตว์นิยมสัตว์

บางตัวพูดถึง ความภักดีต่อ ‘เจ้านาย’ ผู้ให้อาหาร

โดยเฉพาะเจ้าม้ามอลลี่ที่ถามว่า

“เมื่อปฏิวัติแล้วจะมีน้ำตาลก้อนกินไหม แล้วจะมีริบบิ้นผูกคอไหม”

คำตอบ ที่มอลลี่ได้ก็คือ

“สัตว์ไม่มีเครื่องมือสำหรับทำน้ำตาลก้อน และน้ำตาลก้อนจะไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไป

เพราะสัตว์จะได้ครอบครองข้าวโอ้ตและฟางทั้งหมด และริบบิ้นเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นทาส”

มอลลี่เห็นด้วย แต่ไม่ค่อยสบายใจ…

แล้วการปฏิวัติก็สำเร็จ นายโจนส์ถูกเหล่าสัตว์ขับไล่ออกไป แมนเนอร์ฟาร์มถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “แอนิมอลฟาร์ม”

โดยพวกหมูสรุปหลักการแนวคิดแบบลัทธิสัตว์นิยม ออกมาเป็น บัญญัติเจ็ดประการ คือ

อะไรก็ตามที่เดินด้วยสองขาคือศัตรู
อะไรก็ตามที่เดินด้วยสี่ขาหรือมีปีกคือมิตร
สัตว์จะต้องไม่สวมเสื้อผ้าสัตว์
จะต้องไม่นอนบนเตียงสัตว์
จะต้องไม่ดื่มเหล้าสัตว์
จะต้องไม่ฆ่าสัตว์ด้วยกันเอง
สัตว์ทุกตัวมีความเท่าเทียมกัน

สัตว์ทุกตัวต้องเรียนวิธีอ่านและเขียน แต่ไม่ใช่ทั้งหมดที่สามารถอ่านและเขียนได้คล่องแคล่ว

บัญญัติเจ็ดประการจึงถูกย่อลงสั้นๆ เหลือคติพจน์ที่ว่า ‘สี่ขาดี สองขาเลว’


ตัวอย่างที่เหลือ ไปอ่านต่อใน  http://www.teeraphong.com/politics/animal-farm-%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/

นะครับ ....


ส่วน ฉบับเต็ม ลองหาโหลดดูเอาเองละกันนะ ... มีทั้ง ภาษาอังกฤษ  ภาษาไทยเลย ...


ไปล่ะ ..

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่