เสวนา
ทั้งบาลี ทั้งไทย เขียนเหมือนกัน อ่านว่า เส-วะ-นา
“เสวนา” รากศัพท์มาจาก เสวฺ (ธาตุ = เสพ, คบหา) + ยุ ปัจจัย แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), ถ้าลง อา ปัจจัยอีก ก็เป็นอิตถีลิงค์
: เสวฺ + ยุ > อน = เสวน (เส-วะ-นะ, เป็นนปุงสกลิงค์= คำไม่แสดงเพศ)
: เสวน + อา = เสวนา (เส-วะ-นา, เป็นอิตถีลิงค์ = คำเพศหญิง)
เสวน, เสวนา แปลทับศัพท์ว่า “การเสพ” หมายถึง การติดตาม, การคบหาสมาคม, การอยู่ร่วมกัน (following, associating with, cohabiting)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“เสวนะ, เสวนา : (คำกริยา) คบ เช่น ควรเสวนากับบัณฑิต ไม่ควรเสวนากับคนพาล, (ภาษาปาก) พูดจากัน เช่น หมู่นี้พวกเราไม่ค่อยได้พบปะเสวนากันเลย. (คำนาม) การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เช่น กลุ่มวรรณกรรมจัดเสวนาเรื่องสุนทรภู่. (ป.).”
ในภาษาไทย แม้พจนานุกรมจะบอกไว้ว่า เสวนะ เสวนา หมายถึง “คบ” (คือคบหาสมาคมกัน) แต่เวลานี้มักเข้าใจกันว่า เสวนา หมายถึง “พูดจากัน” ซึ่งความหมายนี้พจนานุกรมก็บอกไว้ชัดๆ ว่าเป็นภาษาปาก หรือที่เรามักเรียกเป็นคำฝรั่งว่า “สแลง”
อย่างไรก็ตาม พจนานุกรมก็บอกต่อมาอีกว่า เสวนะ เสวนา ยังหมายถึง “การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน” อีกด้วย
อาจเป็นเพราะคำนิยามนี้กระมัง คนส่วนมากจึงพากันเข้าใจว่า “เสวนา” มีความหมายอย่างเดียวกับ “สนทนา”
และไม่ได้นึกถึงความหมายในภาษาเดิมที่ว่า เสวนา คือ “คบหาสมาคม”
จนกระทั่งมีการเข้าใจกันว่า เสวนา คือ “คุยกัน” และ “ไม่เกี่ยวกับการคบหาสมาคม”
ตรวจสอบ :
ธาตุ (รากศัพท์) ที่มีคำแสดงความหมายว่า “พูดคุยสนทนา” เช่น -
กถฺ ธาตุ : กถเน ในความหมายว่า กล่าว
ภาสฺ ธาตุ : กถาย ในความหมายว่า พูด
วจฺ ธาตุ : ภาสเน ในความหมายว่า กล่าว, วาจายํ : ในความหมายว่า พูด
ส่วน เสวฺ ธาตุ (อ่านว่า เส-วะ) ซึ่งเป็นรากศัพท์ของ “เสวนา” มีคำแสดงความหมายว่า -
: เสวเน ในความหมายว่า เสพ, คบหา
: อาราธเน ในความหมายว่า ยินดี
: อุปภุญฺชเน ในความหมายว่า บริโภค
: อาสเย ในความหมายว่า อาศัย, คบหา, เสพ
จะเห็นได้ว่า เสวฺ ธาตุ ไม่ปรากฏคำแสดงความหมายว่า พูดคุย สนทนา
ยิ่งถ้าดูคำแปล “เสวนา” เป็นภาษาอังกฤษ ที่ว่า following, associating with, cohabiting ก็จะยิ่งเห็นชัดว่า
มิได้เล็งไปที่การพูดคุยสนทนาแต่ประการใดเลย
เพราะฉะนั้น ถ้าว่าตามหลักบาลี แทนที่จะว่า “เสวนา คือคุยกัน ไม่เกี่ยวกับคบหาสมาคม” ก็จะต้องว่า “เสวนา คือคบหาสมาคม ไม่เกี่ยวกับคุยกัน”
ตามที่เป็นจริง การคบหาสมาคมย่อมจะรวมการพูดคุยกันไว้ด้วยแล้ว ในขณะที่การพูดคุยกันไม่จำเป็นต้องมีการคบหาสมาคมกันเลยก็ได้ เช่น จัดเสวนาเรื่องสุนทรภู่ มีคนจากที่ต่างๆ มาพูดคุยกัน จบแล้วก็แยกย้ายกันไปโดยที่ไม่จำเป็นต้องรู้จักหรือคบหากัน
สรุปว่า:
เสวนาไทย - แค่สนทนาพาที
เสวนาบาลี - ถึงขั้นคบหาสมาคม
ที่มา
https://www.facebook.com/hashtag/บาลีวันละคำ?source=feed_text&story_id=764969650263441
อเสวนา แปลว่า ไม่คบหาสมาคมด้วย ไม่ได้แปลว่า ไม่สนทนาด้วย
ทั้งบาลี ทั้งไทย เขียนเหมือนกัน อ่านว่า เส-วะ-นา
“เสวนา” รากศัพท์มาจาก เสวฺ (ธาตุ = เสพ, คบหา) + ยุ ปัจจัย แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), ถ้าลง อา ปัจจัยอีก ก็เป็นอิตถีลิงค์
: เสวฺ + ยุ > อน = เสวน (เส-วะ-นะ, เป็นนปุงสกลิงค์= คำไม่แสดงเพศ)
: เสวน + อา = เสวนา (เส-วะ-นา, เป็นอิตถีลิงค์ = คำเพศหญิง)
เสวน, เสวนา แปลทับศัพท์ว่า “การเสพ” หมายถึง การติดตาม, การคบหาสมาคม, การอยู่ร่วมกัน (following, associating with, cohabiting)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“เสวนะ, เสวนา : (คำกริยา) คบ เช่น ควรเสวนากับบัณฑิต ไม่ควรเสวนากับคนพาล, (ภาษาปาก) พูดจากัน เช่น หมู่นี้พวกเราไม่ค่อยได้พบปะเสวนากันเลย. (คำนาม) การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เช่น กลุ่มวรรณกรรมจัดเสวนาเรื่องสุนทรภู่. (ป.).”
ในภาษาไทย แม้พจนานุกรมจะบอกไว้ว่า เสวนะ เสวนา หมายถึง “คบ” (คือคบหาสมาคมกัน) แต่เวลานี้มักเข้าใจกันว่า เสวนา หมายถึง “พูดจากัน” ซึ่งความหมายนี้พจนานุกรมก็บอกไว้ชัดๆ ว่าเป็นภาษาปาก หรือที่เรามักเรียกเป็นคำฝรั่งว่า “สแลง”
อย่างไรก็ตาม พจนานุกรมก็บอกต่อมาอีกว่า เสวนะ เสวนา ยังหมายถึง “การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน” อีกด้วย
อาจเป็นเพราะคำนิยามนี้กระมัง คนส่วนมากจึงพากันเข้าใจว่า “เสวนา” มีความหมายอย่างเดียวกับ “สนทนา”
และไม่ได้นึกถึงความหมายในภาษาเดิมที่ว่า เสวนา คือ “คบหาสมาคม”
จนกระทั่งมีการเข้าใจกันว่า เสวนา คือ “คุยกัน” และ “ไม่เกี่ยวกับการคบหาสมาคม”
ตรวจสอบ :
ธาตุ (รากศัพท์) ที่มีคำแสดงความหมายว่า “พูดคุยสนทนา” เช่น -
กถฺ ธาตุ : กถเน ในความหมายว่า กล่าว
ภาสฺ ธาตุ : กถาย ในความหมายว่า พูด
วจฺ ธาตุ : ภาสเน ในความหมายว่า กล่าว, วาจายํ : ในความหมายว่า พูด
ส่วน เสวฺ ธาตุ (อ่านว่า เส-วะ) ซึ่งเป็นรากศัพท์ของ “เสวนา” มีคำแสดงความหมายว่า -
: เสวเน ในความหมายว่า เสพ, คบหา
: อาราธเน ในความหมายว่า ยินดี
: อุปภุญฺชเน ในความหมายว่า บริโภค
: อาสเย ในความหมายว่า อาศัย, คบหา, เสพ
จะเห็นได้ว่า เสวฺ ธาตุ ไม่ปรากฏคำแสดงความหมายว่า พูดคุย สนทนา
ยิ่งถ้าดูคำแปล “เสวนา” เป็นภาษาอังกฤษ ที่ว่า following, associating with, cohabiting ก็จะยิ่งเห็นชัดว่า
มิได้เล็งไปที่การพูดคุยสนทนาแต่ประการใดเลย
เพราะฉะนั้น ถ้าว่าตามหลักบาลี แทนที่จะว่า “เสวนา คือคุยกัน ไม่เกี่ยวกับคบหาสมาคม” ก็จะต้องว่า “เสวนา คือคบหาสมาคม ไม่เกี่ยวกับคุยกัน”
ตามที่เป็นจริง การคบหาสมาคมย่อมจะรวมการพูดคุยกันไว้ด้วยแล้ว ในขณะที่การพูดคุยกันไม่จำเป็นต้องมีการคบหาสมาคมกันเลยก็ได้ เช่น จัดเสวนาเรื่องสุนทรภู่ มีคนจากที่ต่างๆ มาพูดคุยกัน จบแล้วก็แยกย้ายกันไปโดยที่ไม่จำเป็นต้องรู้จักหรือคบหากัน
สรุปว่า:
เสวนาไทย - แค่สนทนาพาที
เสวนาบาลี - ถึงขั้นคบหาสมาคม
ที่มา https://www.facebook.com/hashtag/บาลีวันละคำ?source=feed_text&story_id=764969650263441