สนามบินหันตาวดี (Hanthawaddy)
ว่าที่สนามบินนานาชาติแห่งใหม่ของพม่า ทันสมัยไฉไลไม่แพ้เพื่อนบ้าน สร้างใหม่เพื่อนรองรับการขยายตัวของนักท่องเที่ยวและนักลงทุนที่เริ่มเดินทางเข้ามาในประเทศมากขึ้นหลังมีการเปิดประเทศโดยเฉพาะ
โปรเจคท์ก่อสร้างสนามบินนานาชาติหันตาวดีเพิ่งผ่านการประมูลก่อสร้างมาได้สด ๆ ร้อน ๆ เมื่อปลายเดือนตุลาคม ๒๕๕๗โดยบริษัทของสิงคโปร์ร่วมกับญี่ปุ่นเป็นผู้ประมูลได้ไป โดยคาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จและสามารถเปิดใช้ได้ในเดือนธันวาคม ๒๕๖๒ ที่จะถึงนี้ หรืออีกเพียง ๕ปีข้างหน้าเท่านั้นเอง ใครคิดจะไปเยือนพม่าโดยนั่งเครื่องไปลงที่สนามบินแห่งก็คงจะสมใจในเวลาไม่นานเกินรอ
สนามบินนานาชาติหันตาวดีจะอยู่ห่างตัวเมืองย่างกุ้งออกไป ๘๐กิโลเมตร และคาดว่าสามารถรองรับนักเดินทางได้กว่า ๑๒ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าหลายเท่าเมื่อเทียบกับสนามบินนานาชาติย่างกุ้งที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งค่อนข้างมีความแออัด รองรับนักท่องเที่ยวได้ราว ๒.๗ล้านคนต่อปีเท่านั้น
นับว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่น่าจับตามองมากทีเดียวสำหรับประเทศที่ไม่ต่างจากน้องใหม่ในโลกกว้างอย่างพม่า ซึ่งหากสนามบินแห่งนี้เสร็จสิ้นลงเมื่อไร นอกจากจะกระตุ้นเศรษฐกิจพม่าและสร้างงานให้ชาวพม่า ทั้งในแง่การจ้างงานและรายได้จากการท่องเที่ยวแล้ว เราคงจะได้เห็นความเจริญอีกหลาย ๆ ด้านเฟื่องฟูติดตามกันมาอีกมากมายแน่นอน : เรียบเรียงข้อมูลโดยkapook.com
ภาพประกอบจาก facebook Department of Civil Aviation Myanmar
สนามบินแห่งใหม่ของพม่า ดูจากหลุมแล้ว เยอะอยู่ แต่ทำไมรองรับ ผดส. ได้แค่๑๒ล้านคนต่อปี
ว่าที่สนามบินนานาชาติแห่งใหม่ของพม่า ทันสมัยไฉไลไม่แพ้เพื่อนบ้าน สร้างใหม่เพื่อนรองรับการขยายตัวของนักท่องเที่ยวและนักลงทุนที่เริ่มเดินทางเข้ามาในประเทศมากขึ้นหลังมีการเปิดประเทศโดยเฉพาะ
โปรเจคท์ก่อสร้างสนามบินนานาชาติหันตาวดีเพิ่งผ่านการประมูลก่อสร้างมาได้สด ๆ ร้อน ๆ เมื่อปลายเดือนตุลาคม ๒๕๕๗โดยบริษัทของสิงคโปร์ร่วมกับญี่ปุ่นเป็นผู้ประมูลได้ไป โดยคาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จและสามารถเปิดใช้ได้ในเดือนธันวาคม ๒๕๖๒ ที่จะถึงนี้ หรืออีกเพียง ๕ปีข้างหน้าเท่านั้นเอง ใครคิดจะไปเยือนพม่าโดยนั่งเครื่องไปลงที่สนามบินแห่งก็คงจะสมใจในเวลาไม่นานเกินรอ
สนามบินนานาชาติหันตาวดีจะอยู่ห่างตัวเมืองย่างกุ้งออกไป ๘๐กิโลเมตร และคาดว่าสามารถรองรับนักเดินทางได้กว่า ๑๒ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าหลายเท่าเมื่อเทียบกับสนามบินนานาชาติย่างกุ้งที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งค่อนข้างมีความแออัด รองรับนักท่องเที่ยวได้ราว ๒.๗ล้านคนต่อปีเท่านั้น
นับว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่น่าจับตามองมากทีเดียวสำหรับประเทศที่ไม่ต่างจากน้องใหม่ในโลกกว้างอย่างพม่า ซึ่งหากสนามบินแห่งนี้เสร็จสิ้นลงเมื่อไร นอกจากจะกระตุ้นเศรษฐกิจพม่าและสร้างงานให้ชาวพม่า ทั้งในแง่การจ้างงานและรายได้จากการท่องเที่ยวแล้ว เราคงจะได้เห็นความเจริญอีกหลาย ๆ ด้านเฟื่องฟูติดตามกันมาอีกมากมายแน่นอน : เรียบเรียงข้อมูลโดยkapook.com
ภาพประกอบจาก facebook Department of Civil Aviation Myanmar