ประเทศไทยติดอันดับการคอรัปชั่นในระดับสูงของโลก องค์กรความโปร่งใสระหว่างประเทศ หรือ Transparency International (TI) จัดอันดับประเทศคอรัปชั่นทั่วโลก ไทยติดอันดับ 3 คอรัปชั่นสูงสุดในภูมิภาคอาเซียน ขณะที่โพลชี้คนไทยเชื่อเกือบทุกโครงการรัฐฯ โกงกินสูง
เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2013 องค์กรความโปร่งใสระหว่างประเทศ หรือ Transparency International (TI) เปิดเผยผลสำรวจสถานการณ์การติดสินบนในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ประจำปีนี้ ปรากฏว่าไทย ถูกจัดเป็นประเทศที่มีอัตราการติดสินบน 18 % ของโลก เป็นอันดับ 3 ของภูมิภาคอาเซียน รองจากมาเลเซีย 3 % และฟิลิปปินส์ 12 % โดยมีกัมพูชาเป็นประเทศที่มีอัตราการติดสินบนมากที่สุดที่ 57 %
การคอรัปชั่นกลายเป็นประเด็น Talk of the town และมีข้อเสนอออกมามากมาย เช่น การเพิ่มโทษ การกำหนดให้คดีคอรัปชั่นไม่มีอายุความ การรณรงค์ให้ยึดหลักคุณธรรม สร้างจิตสำนึกให้รังเกียจคนโกง ฯลฯ แต่ยังไม่มีข้อเสนอให้สร้างระบบขึ้นมาที่ทำให้การคอรัปชั่น จะสร้างปัญหาตามมาอย่างไม่รู้จบแบบระบบอเมริกัน ซึ่งทำให้คนที่ต้องการคอรัปชั่นขยาด และเป็นการลดปัญหาการคอรัปชั่นไปโดยปริยาย
หลายๆคดีที่มีการตัดสินผู้กระทำความผิด แต่ให้มีการรอการลงอาญา เพราะว่าจำเลยไม่เคยทำความผิดมาก่อน หรือเคยทำความดีมาก่อน หรือ สารภาพ และให้การที่เป็นประโยชน์ ซึ่งเป็นระบบยุติธรรมที่มีแห่งเดียวในโลกที่มีระเบียบหรือประเพณีเช่นนี้ บ้านเมืองจึงเปรียบเสมือนไม่มีขื่อ ไม่มีแป เพราะคนทำผิดไม่ต้องติดคุก ไม่ต้องชดใช้กรรม ทั้งๆที่การทำความผิดนั้น เป็นความผิดในตัวของมันเอง เช่น การฆ่าคนตาย เป็นความผิดในตัวเอง แม้ว่าฆาตกรจะไม่เคยฆ่าใครมาก่อน แล้วจะยกมาเป็นข้ออ้างหรือเป็นความดีเพื่อลดหย่อนโทษ หรือ รอการลงอาญาไม่ได้ ฉันใด ฉันนั้น
การทำเรื่องง่ายทำให้เป็นเรื่องยาก
กระบวนการยุติธรรมที่เนิ่นนาน คือ การปฏิเสธความยุติธรรม ( Justice delayed is justice denied, William Penn) กรณีการคอรัปชั่นสามารถทำให้เรื่องยากเป็นเรื่องง่ายได้ โดยใช้กระบวนการเอกสารมาพิสูจน์ แทนกระบวนการศาลยุติธรรมที่เนิ่นนาน และเป็นการปฏิเสธความยุติธรรม โดยใช้ตัวอย่างที่ใช้ได้ผลแล้วของกรมสรรพากรอเมริกา
ข้อเสนอให้เพิ่มโทษ ก็มีปัญหาเรื่องการบังคับใช้ เพราะผู้ที่คอรัปชั่นมักเป็นคนใหญ่คนโต มีอำนาจให้คุณให้โทษ อัยการซึ่งเป็นทนายของแผ่นดิน ก็ขายตัว ทำคดีให้อ่อน หรือไม่ยอมอุทธรณ์ หรือ เกียจคร้าน ไหนจะมีเจ้าหน้าที่ไม่พอ ไหนจะกระบวนการศาลชักช้าเนิ่นนาน เพราะมีคดีล้นศาล บางคดีใช้เวลาเกิน 10 ปี จนคดีหมดอายุความ เช่น คดี โรงบำบัดน้ำเสียคลองด่านที่มีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท คดีฉ้อโกงในการสนามบินสุวรรรภูมิ รวมทั้งการจัดซื้อจัดจ้าง เกือบทุกโครงการ คดีซีทีเอ๊กซ์ คดีเครื่องตรวจจับระเบิด จีที 200 คดีป.ร.ศ.ฯลฯ
ข้อเสนอเรื่องการรณรงค์ เรียกร้องการสร้างจิตสำนึกให้ยึดคุณธรรม เป็นเรื่องเพ้อเจ้อ เพราะคนที่มีจิตสำนึก มีคุณธรรมก็ไม่ไปคอรัปชั่นอยู่แล้ว แต่พวกที่คอรัปชั่น ก็ล้วนเป็นคนมือถือสาก ปากถือศีล เป็นคนไร้ศาสนา ไร้คุณธรรม เข้าวัดเข้าวาเป็นพิธีกรรม สังสรรค์เสวนาในหมู่พวกเดียวกัน จึงไม่กลัวบาปบุญคุณโทษ ไม่กลัวตกนรก ดังนั้นจะไปรณรงค์เรียกร้องอย่างไรกับคนพวกนี้ก็ไร้ผล เสียเวลา เสียเงินทองเปล่าๆ
สูตรการปราบปรามการคอรัปชั่นของอเมริกา
สูตรการปราบปรามการคอรัปชั่นของอเมริกาที่ใช้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง แม่แต่มาเฟียใหญ่อย่าง
อัล คาโปน ที่หลุดรอดคดีอาญาทุกคดี ก็ยังมาจอดด้วยคดีนี้ คือ คดีหนีภาษี ซึ่งมีโทษทางอาญาอย่างหนักด้วย เพราะ ถือว่า เป็นการโกงบ้านโกงเมือง
การตรวจสอบทรัพย์สิน และยึดทรัพย์ของนักการเมืองและนักธุรกิจ นักค้ายาเสพย์ติด ฯลฯ ที่ได้มาอย่างไม่ถูกกฎหมายแบบระบบอเมริกันในการมอบอำนาจเต็มกับ กรมสรรพากร หรือ IRS(Internal Revenue Service) ที่ทำงานเป็นอิสระและขึ้นต่อกระทรวงยุติธรรม มีอำนาจออกคำสั่งยึดทรัพย์ที่ไม่มีหลักฐานพิสูจน์ที่มาอย่างถูกฎหมายและได้จ่ายภาษีมาแล้ว โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการศาล แต่ใช้หลักการว่า ถ้าพิสูจน์ว่าได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมายไม่ได้ ก็แสดงว่าต้องได้มาอย่างผิดกฎหมาย จนกว่าจะหาหลักฐานมาพิสูจน์ได้ก็ขอคืนได้ เช่น มีเงินเพิ่ม 100 ล้านบาท ต้องจ่ายภาษีอัตรา ร้อยละ 50 ถ้ายังไม่ได้จ่าย ก็จะถูกหักออกไป 50 ล้านเป็นค่าภาษีก่อน ส่วนอีก 50 ล้านถ้าไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ในระยะเวลที่กำหนด ก็จะถูกยึด โดยกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง คือ Racketeer Influenced and Corrupt Organizations Act, commonly referred to as the RICO Act
อำนาจในการยึดทรัพย์ รวมถึงการห้ามเดินทางออกนอกประเทศสำหรับผู้ไม่จ่ายภาษี ของ IRS เรียกว่า Levy
นักการเมือง นักค้ายาเสพย์ติด นักธุรกิจ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จำนวนไม่น้อยที่ซุกซ่อนเงินสดที่ได้มาหรือ โกงมาโดยไม่เคยจ่ายภาษีและเก็บไว้ในตู้เซฟ ในตู้เย็น ในเครื่องซักผ้า ในห้องลับ ห้องใต้ดิน ในกระเป๋าเดินทางในบ้านเป็นจำนวนมาก โดยที่กฎหมายไทยไม่เคยเอาผิดได้ แต่ถ้านำเอาวิธีการข้างต้นของอเมริกามาใช้ โดยเปิดช่องให้ประชาชนทุกคนแจ้งเบาะแส ชี้เป้า หรือ ฟ้องร้องกล่าวหาได้ กรมสรรพากรก็ต้องเข้าไปตรวจสอบขอหลักฐานการจ่ายภาษีเป็นเบื้องต้น ถ้าไม่มีก็ยึดในจำนวนที่ต้องจ่ายตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ส่วนที่เหลือก็ให้ป.ป.ง. หรือ ป.ป.ช. ตรวจสอบต่อไป
วิธีการของอเมริกานี้น่าจะปราบคอรัปชั่นในประเทศไทยได้ในระดับที่ไม่ต้องติดอันดับให้อายชาวโลกต่อไปอีก เพราะว่าโกงมาแล้วก็อยู่ไม่เป็นสุข และเก็บไว้ไม่ได้ ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยอย่างเป็นพิรุธไม่ได้ เพราะจะโดนแจ้งให้ตรวจสอบได้ง่ายๆโดยใครก็ได้
*****สูตรสำเร็จปราบคอรัปชั่นจากอเมริกา//ชงกฎหมายคอรัปชั่นไม่มีหมดอายุความ*****(อินทรีเเดง รีเทิร์น)
ประเทศไทยติดอันดับการคอรัปชั่นในระดับสูงของโลก องค์กรความโปร่งใสระหว่างประเทศ หรือ Transparency International (TI) จัดอันดับประเทศคอรัปชั่นทั่วโลก ไทยติดอันดับ 3 คอรัปชั่นสูงสุดในภูมิภาคอาเซียน ขณะที่โพลชี้คนไทยเชื่อเกือบทุกโครงการรัฐฯ โกงกินสูง
เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2013 องค์กรความโปร่งใสระหว่างประเทศ หรือ Transparency International (TI) เปิดเผยผลสำรวจสถานการณ์การติดสินบนในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ประจำปีนี้ ปรากฏว่าไทย ถูกจัดเป็นประเทศที่มีอัตราการติดสินบน 18 % ของโลก เป็นอันดับ 3 ของภูมิภาคอาเซียน รองจากมาเลเซีย 3 % และฟิลิปปินส์ 12 % โดยมีกัมพูชาเป็นประเทศที่มีอัตราการติดสินบนมากที่สุดที่ 57 %
การคอรัปชั่นกลายเป็นประเด็น Talk of the town และมีข้อเสนอออกมามากมาย เช่น การเพิ่มโทษ การกำหนดให้คดีคอรัปชั่นไม่มีอายุความ การรณรงค์ให้ยึดหลักคุณธรรม สร้างจิตสำนึกให้รังเกียจคนโกง ฯลฯ แต่ยังไม่มีข้อเสนอให้สร้างระบบขึ้นมาที่ทำให้การคอรัปชั่น จะสร้างปัญหาตามมาอย่างไม่รู้จบแบบระบบอเมริกัน ซึ่งทำให้คนที่ต้องการคอรัปชั่นขยาด และเป็นการลดปัญหาการคอรัปชั่นไปโดยปริยาย
หลายๆคดีที่มีการตัดสินผู้กระทำความผิด แต่ให้มีการรอการลงอาญา เพราะว่าจำเลยไม่เคยทำความผิดมาก่อน หรือเคยทำความดีมาก่อน หรือ สารภาพ และให้การที่เป็นประโยชน์ ซึ่งเป็นระบบยุติธรรมที่มีแห่งเดียวในโลกที่มีระเบียบหรือประเพณีเช่นนี้ บ้านเมืองจึงเปรียบเสมือนไม่มีขื่อ ไม่มีแป เพราะคนทำผิดไม่ต้องติดคุก ไม่ต้องชดใช้กรรม ทั้งๆที่การทำความผิดนั้น เป็นความผิดในตัวของมันเอง เช่น การฆ่าคนตาย เป็นความผิดในตัวเอง แม้ว่าฆาตกรจะไม่เคยฆ่าใครมาก่อน แล้วจะยกมาเป็นข้ออ้างหรือเป็นความดีเพื่อลดหย่อนโทษ หรือ รอการลงอาญาไม่ได้ ฉันใด ฉันนั้น
การทำเรื่องง่ายทำให้เป็นเรื่องยาก
กระบวนการยุติธรรมที่เนิ่นนาน คือ การปฏิเสธความยุติธรรม ( Justice delayed is justice denied, William Penn) กรณีการคอรัปชั่นสามารถทำให้เรื่องยากเป็นเรื่องง่ายได้ โดยใช้กระบวนการเอกสารมาพิสูจน์ แทนกระบวนการศาลยุติธรรมที่เนิ่นนาน และเป็นการปฏิเสธความยุติธรรม โดยใช้ตัวอย่างที่ใช้ได้ผลแล้วของกรมสรรพากรอเมริกา
ข้อเสนอให้เพิ่มโทษ ก็มีปัญหาเรื่องการบังคับใช้ เพราะผู้ที่คอรัปชั่นมักเป็นคนใหญ่คนโต มีอำนาจให้คุณให้โทษ อัยการซึ่งเป็นทนายของแผ่นดิน ก็ขายตัว ทำคดีให้อ่อน หรือไม่ยอมอุทธรณ์ หรือ เกียจคร้าน ไหนจะมีเจ้าหน้าที่ไม่พอ ไหนจะกระบวนการศาลชักช้าเนิ่นนาน เพราะมีคดีล้นศาล บางคดีใช้เวลาเกิน 10 ปี จนคดีหมดอายุความ เช่น คดี โรงบำบัดน้ำเสียคลองด่านที่มีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท คดีฉ้อโกงในการสนามบินสุวรรรภูมิ รวมทั้งการจัดซื้อจัดจ้าง เกือบทุกโครงการ คดีซีทีเอ๊กซ์ คดีเครื่องตรวจจับระเบิด จีที 200 คดีป.ร.ศ.ฯลฯ
ข้อเสนอเรื่องการรณรงค์ เรียกร้องการสร้างจิตสำนึกให้ยึดคุณธรรม เป็นเรื่องเพ้อเจ้อ เพราะคนที่มีจิตสำนึก มีคุณธรรมก็ไม่ไปคอรัปชั่นอยู่แล้ว แต่พวกที่คอรัปชั่น ก็ล้วนเป็นคนมือถือสาก ปากถือศีล เป็นคนไร้ศาสนา ไร้คุณธรรม เข้าวัดเข้าวาเป็นพิธีกรรม สังสรรค์เสวนาในหมู่พวกเดียวกัน จึงไม่กลัวบาปบุญคุณโทษ ไม่กลัวตกนรก ดังนั้นจะไปรณรงค์เรียกร้องอย่างไรกับคนพวกนี้ก็ไร้ผล เสียเวลา เสียเงินทองเปล่าๆ
สูตรการปราบปรามการคอรัปชั่นของอเมริกา
สูตรการปราบปรามการคอรัปชั่นของอเมริกาที่ใช้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง แม่แต่มาเฟียใหญ่อย่าง
อัล คาโปน ที่หลุดรอดคดีอาญาทุกคดี ก็ยังมาจอดด้วยคดีนี้ คือ คดีหนีภาษี ซึ่งมีโทษทางอาญาอย่างหนักด้วย เพราะ ถือว่า เป็นการโกงบ้านโกงเมือง
การตรวจสอบทรัพย์สิน และยึดทรัพย์ของนักการเมืองและนักธุรกิจ นักค้ายาเสพย์ติด ฯลฯ ที่ได้มาอย่างไม่ถูกกฎหมายแบบระบบอเมริกันในการมอบอำนาจเต็มกับ กรมสรรพากร หรือ IRS(Internal Revenue Service) ที่ทำงานเป็นอิสระและขึ้นต่อกระทรวงยุติธรรม มีอำนาจออกคำสั่งยึดทรัพย์ที่ไม่มีหลักฐานพิสูจน์ที่มาอย่างถูกฎหมายและได้จ่ายภาษีมาแล้ว โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการศาล แต่ใช้หลักการว่า ถ้าพิสูจน์ว่าได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมายไม่ได้ ก็แสดงว่าต้องได้มาอย่างผิดกฎหมาย จนกว่าจะหาหลักฐานมาพิสูจน์ได้ก็ขอคืนได้ เช่น มีเงินเพิ่ม 100 ล้านบาท ต้องจ่ายภาษีอัตรา ร้อยละ 50 ถ้ายังไม่ได้จ่าย ก็จะถูกหักออกไป 50 ล้านเป็นค่าภาษีก่อน ส่วนอีก 50 ล้านถ้าไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ในระยะเวลที่กำหนด ก็จะถูกยึด โดยกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง คือ Racketeer Influenced and Corrupt Organizations Act, commonly referred to as the RICO Act
อำนาจในการยึดทรัพย์ รวมถึงการห้ามเดินทางออกนอกประเทศสำหรับผู้ไม่จ่ายภาษี ของ IRS เรียกว่า Levy
นักการเมือง นักค้ายาเสพย์ติด นักธุรกิจ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จำนวนไม่น้อยที่ซุกซ่อนเงินสดที่ได้มาหรือ โกงมาโดยไม่เคยจ่ายภาษีและเก็บไว้ในตู้เซฟ ในตู้เย็น ในเครื่องซักผ้า ในห้องลับ ห้องใต้ดิน ในกระเป๋าเดินทางในบ้านเป็นจำนวนมาก โดยที่กฎหมายไทยไม่เคยเอาผิดได้ แต่ถ้านำเอาวิธีการข้างต้นของอเมริกามาใช้ โดยเปิดช่องให้ประชาชนทุกคนแจ้งเบาะแส ชี้เป้า หรือ ฟ้องร้องกล่าวหาได้ กรมสรรพากรก็ต้องเข้าไปตรวจสอบขอหลักฐานการจ่ายภาษีเป็นเบื้องต้น ถ้าไม่มีก็ยึดในจำนวนที่ต้องจ่ายตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ส่วนที่เหลือก็ให้ป.ป.ง. หรือ ป.ป.ช. ตรวจสอบต่อไป
วิธีการของอเมริกานี้น่าจะปราบคอรัปชั่นในประเทศไทยได้ในระดับที่ไม่ต้องติดอันดับให้อายชาวโลกต่อไปอีก เพราะว่าโกงมาแล้วก็อยู่ไม่เป็นสุข และเก็บไว้ไม่ได้ ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยอย่างเป็นพิรุธไม่ได้ เพราะจะโดนแจ้งให้ตรวจสอบได้ง่ายๆโดยใครก็ได้