สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
สำหรับไทยนะ ฝรั่งคิดอีกแบบนึง
โรงหนังได้ครึ่งนึงของรายได้ทั้งหมด
ดารา ผกก. ทีมงานได้เป็นค่าจ้าง คือรวมอยู่ในทุนหนังแหละ มีวิธีคิดสองแบบคือเป็นคิวกับเหมา
เป็นคิวคือเรทออกกอง 12 ชั่วโมง แล้วแต่ใครเรทเท่าไหร่ เช่นดาราคนนี้คิวละห้าหมื่น ออกสามคิวได้แสนห้า ตากล้องคิวละหมื่นออกยี่สิบคิวได้สองแสน ถ้าถ่ายเกิน 12 ชั่วโมงต่อวัน จะได้โอที คิดเป็นชั่วโมง
แบบเหมาคือออกกองสามสิบคิวแสนนึง แต่แบบนี้จะไม่ได้โอที มักใช้กับทีมงานที่ต้องมาออกกองทุกวัน ผู้กำกับก็โดนเหมาในบางครั้ง กี่หมื่นกี่แสนก็ว่าไป
คนเขียนบทได้เงินสองแบบเหมือนกัน แบบเงินเดือนกับแบบเงินก้อน
เงินเดือนก็คือพนักงานเขียนบทประจำ มีไม่กี่ที่ที่ใช้ระบบนี้เช่น GTH ถ้าเขียนบทหนังยาวก็จะได้เงินก้อนประมาณนึง
เงินก้อนก็คือคนเขียนบทฟรีแลนซ์ มีทั้งแบบรับจ้างเขียนบทหรือขายบท รับจ้างระหว่างเขียนอาจจะได้เงินเป็นงวดๆ หรือเป็นก้อนทีเดียวแล้วแต่ตกลง เรื่องนึงก็ได้ก้อนนึง ก้อนใหญ่กว่าของทางเงินเดือน ส่วนใหญ่หลักแสนอัพ
ตัดต่อมีสองแบบ ตัดออฟไลน์กับตัดออนไลน์
ตัดออฟไลน์คือการเรียงลำดับภาพ ผ่านโปรแกรมตัดต่อ ค่าจ้างก็หลักแสน ตัดเสร็จก็เอ็กพอร์ตโค้ดออกมา ถึงหน้าที่ของการตัดออนไลน์
ตัดออนไลน์คือเอาโค้ดที่ได้จากการตัดอินไลน์มาเรียงให้ไฟล์ดิบขนาดใหญ่ (ไฟล์ดิบพวกนี้ใหญ่เกินกำลังคอมพ์บ้านๆ ฟุตทั้งหมดก็หลายร้อยกิ๊ก) แล้วก็แก้สี ทำซีจี ใส่ไตเติ้ล ซึ่งต้องทำในแล็บ พวกนี้คิดค่าห้องแล็บเป็นชั่วโมง ชั่วโมงละกี่พันกี่หมื่นก็แล้วแต่ที่
ทำเสียง เสียงส่วนใหญ่ในหนังต้องทำเพิ่ม เพราะการอัดเสียงไม่มีทางเก็บได้หมด (เสียงวางแก้วน้ำไรงี้) ตัดต่อเสร็จก็ทำในห้องมิกซ์เสียง คิดค่าห้องเป็นชั่วโมงเช่นกัน
ใส่เพลง ก็แล้วแต่จะใส่เพลงที่มีอยู่แล้วหรือแต่งขึ้นมาใหม่ ถ้ามีอยู่แล้วก็ซื้อลิขสิทธิ์มา ถ้าแต่งขึ้นใหม่ก็จ่ายค่าจ้างคนแต่ง คนเพอร์ฟอร์ม โปรดิวเซอร์เพลง คนเรียบเรียงเพลง เหมือนการทำเพลงปกติ อ้อ กรณีที่โคฟเวอร์เพลงก็จ่ายทั้งสองแบบนะ ค่าลิขสิทธิ์ กับค่าทำเพลงขึ้นมาใหม่
รายได้หลังหักค่าส่วนแบ่งโรงหนัง เงินก็เข้าค่ายหนัง หรือ executive producer (คนออกตังค์)
โรงหนังได้ครึ่งนึงของรายได้ทั้งหมด
ดารา ผกก. ทีมงานได้เป็นค่าจ้าง คือรวมอยู่ในทุนหนังแหละ มีวิธีคิดสองแบบคือเป็นคิวกับเหมา
เป็นคิวคือเรทออกกอง 12 ชั่วโมง แล้วแต่ใครเรทเท่าไหร่ เช่นดาราคนนี้คิวละห้าหมื่น ออกสามคิวได้แสนห้า ตากล้องคิวละหมื่นออกยี่สิบคิวได้สองแสน ถ้าถ่ายเกิน 12 ชั่วโมงต่อวัน จะได้โอที คิดเป็นชั่วโมง
แบบเหมาคือออกกองสามสิบคิวแสนนึง แต่แบบนี้จะไม่ได้โอที มักใช้กับทีมงานที่ต้องมาออกกองทุกวัน ผู้กำกับก็โดนเหมาในบางครั้ง กี่หมื่นกี่แสนก็ว่าไป
คนเขียนบทได้เงินสองแบบเหมือนกัน แบบเงินเดือนกับแบบเงินก้อน
เงินเดือนก็คือพนักงานเขียนบทประจำ มีไม่กี่ที่ที่ใช้ระบบนี้เช่น GTH ถ้าเขียนบทหนังยาวก็จะได้เงินก้อนประมาณนึง
เงินก้อนก็คือคนเขียนบทฟรีแลนซ์ มีทั้งแบบรับจ้างเขียนบทหรือขายบท รับจ้างระหว่างเขียนอาจจะได้เงินเป็นงวดๆ หรือเป็นก้อนทีเดียวแล้วแต่ตกลง เรื่องนึงก็ได้ก้อนนึง ก้อนใหญ่กว่าของทางเงินเดือน ส่วนใหญ่หลักแสนอัพ
ตัดต่อมีสองแบบ ตัดออฟไลน์กับตัดออนไลน์
ตัดออฟไลน์คือการเรียงลำดับภาพ ผ่านโปรแกรมตัดต่อ ค่าจ้างก็หลักแสน ตัดเสร็จก็เอ็กพอร์ตโค้ดออกมา ถึงหน้าที่ของการตัดออนไลน์
ตัดออนไลน์คือเอาโค้ดที่ได้จากการตัดอินไลน์มาเรียงให้ไฟล์ดิบขนาดใหญ่ (ไฟล์ดิบพวกนี้ใหญ่เกินกำลังคอมพ์บ้านๆ ฟุตทั้งหมดก็หลายร้อยกิ๊ก) แล้วก็แก้สี ทำซีจี ใส่ไตเติ้ล ซึ่งต้องทำในแล็บ พวกนี้คิดค่าห้องแล็บเป็นชั่วโมง ชั่วโมงละกี่พันกี่หมื่นก็แล้วแต่ที่
ทำเสียง เสียงส่วนใหญ่ในหนังต้องทำเพิ่ม เพราะการอัดเสียงไม่มีทางเก็บได้หมด (เสียงวางแก้วน้ำไรงี้) ตัดต่อเสร็จก็ทำในห้องมิกซ์เสียง คิดค่าห้องเป็นชั่วโมงเช่นกัน
ใส่เพลง ก็แล้วแต่จะใส่เพลงที่มีอยู่แล้วหรือแต่งขึ้นมาใหม่ ถ้ามีอยู่แล้วก็ซื้อลิขสิทธิ์มา ถ้าแต่งขึ้นใหม่ก็จ่ายค่าจ้างคนแต่ง คนเพอร์ฟอร์ม โปรดิวเซอร์เพลง คนเรียบเรียงเพลง เหมือนการทำเพลงปกติ อ้อ กรณีที่โคฟเวอร์เพลงก็จ่ายทั้งสองแบบนะ ค่าลิขสิทธิ์ กับค่าทำเพลงขึ้นมาใหม่
รายได้หลังหักค่าส่วนแบ่งโรงหนัง เงินก็เข้าค่ายหนัง หรือ executive producer (คนออกตังค์)
แสดงความคิดเห็น
หนังเรื่องนึงนี่รายได้ตกที่ ดารา ผู้กำกับ โรงหนัง กี่เปอเซนหรอครับ