เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. ที่กรุงลิมา ประเทศเปรู องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) จัดให้มีการประชุมใหญ่การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศโลก (UN Climate Change:UNFCC ) ประจำปี 2014 โดยมีผู้นำ ผู้บริหารระดับสูงทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรเอ็นจีโอ จากประเทศสมาชิกทั่วโลกร่วมสัมมนา โดยนายบัน คิม มูน เลขาธิการองค์การสหประชาติ ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ ยกย่องผู้ได้รับรางวัลในฐานะผู้มีส่วนสำคัญในการดูแลโลกให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ ยูเอ็นได้พิจารณาคัดเลือกสตรีที่ประสบความสำเร็จ ในการทำงานที่ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีแก่มนุษยชาติ (Momentum For Change : Change for Good) ซึ่งปีนี้ได้มอบรางวัล Leading a Woman Powered Solar energy Transformation ให้กับ นางวันดี กุญชรยาคง ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) ในฐานะเป็นผู้นำในการบุกเบิกการพัฒนา โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่เป็นพลังงานสะอาดเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จเป็นคนแรกของไทย
นางวันดี กล่าวว่า ได้เริ่มพัฒนาโครงการโซลาร์ฟาร์มในประเทศไทย 36 แห่งแล้วเสร็จ ส่งผลทำให้สถาบันการเงินและนักลงทุนทั้งในและจากทั่วโลก ให้ความสนใจมาลงทุนพัฒนาโครงการโซลาร์ฟาร์มในประเทศไทย เนื่องจากมีความเข้มแสงอาทิตย์ที่ดี มีสถาบันการเงินสนับสนุนเงินกู้ โดยมีนโยบายภาครัฐที่ให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อม และการลดโลกร้อน โดยเมื่อปลายปี 2556 ปริมาณการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เติบโตกว่า 10 เท่าตัว เมื่อเทียบกับปี 2554 ที่มีเพียง 500 เมกะวัตต์ และจากแผนพัฒนาพลังงานทางเลือกของประเทศไทย ที่กำหนดให้ต้องใช้พลังงานหมุนเวียน และพลังงานทางเลือกอื่นๆ ภายในปี 2564 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด โดยมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์กว่า 3,000 เมกะวัตต์
นางวันดี กล่าวต่อว่า SPCG สามารถพัฒนาโครงการโซลาร์ฟาร์ม 36 แห่ง กำลังผลิต 250 เมกะวัตต์ ด้วยเงินลงทุนกว่า 25,000 ล้านบาท สำเร็จตามแผน เป็นโครงการที่ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นพลังงานสะอาด ไม่มีมลภาวะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยสร้างงานแก่สตรีในท้องถิ่น และช่วยสร้างแรงบันดาลใจแก่สตรีทั่วภูมิภาค ในการก้าวรุกขึ้นมาทำธุรกิจพลังงานสะอาด เพื่อส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อม
สำหรับ SPCG ได้ให้ความสำคัญในการขยายรูปแบบ ธุรกิจการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ไปยังประเทศพม่า ซึ่งมีประชากรเพียง 13% ที่มีไฟฟ้าใช้จากการปักเสาพาดสาย ส่วนอีกกว่า 43 ล้านคน ยังใช้ไฟฟ้าจากเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งมีต้นทุนสูงและมลภาวะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบ Mini Grid สามารถพัฒนาได้ด้วยความรวดเร็ว และกระจายการผลิต การใช้ได้รวดเร็วในทุกพื้นที่ของประเทศพม่า อันจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และลดความยากจนได้ด้วย
ข่าวสด
http://bit.ly/เพจข่าวดี
ยูเอ็นยกย่อง วันดี กุญชรยาคง หญิงไทยผู้บุกเบิกโซลาร์ฟาร์ม-สร้างพลังงานสะอาด
เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. ที่กรุงลิมา ประเทศเปรู องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) จัดให้มีการประชุมใหญ่การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศโลก (UN Climate Change:UNFCC ) ประจำปี 2014 โดยมีผู้นำ ผู้บริหารระดับสูงทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรเอ็นจีโอ จากประเทศสมาชิกทั่วโลกร่วมสัมมนา โดยนายบัน คิม มูน เลขาธิการองค์การสหประชาติ ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ ยกย่องผู้ได้รับรางวัลในฐานะผู้มีส่วนสำคัญในการดูแลโลกให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ ยูเอ็นได้พิจารณาคัดเลือกสตรีที่ประสบความสำเร็จ ในการทำงานที่ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีแก่มนุษยชาติ (Momentum For Change : Change for Good) ซึ่งปีนี้ได้มอบรางวัล Leading a Woman Powered Solar energy Transformation ให้กับ นางวันดี กุญชรยาคง ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) ในฐานะเป็นผู้นำในการบุกเบิกการพัฒนา โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่เป็นพลังงานสะอาดเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จเป็นคนแรกของไทย
นางวันดี กล่าวว่า ได้เริ่มพัฒนาโครงการโซลาร์ฟาร์มในประเทศไทย 36 แห่งแล้วเสร็จ ส่งผลทำให้สถาบันการเงินและนักลงทุนทั้งในและจากทั่วโลก ให้ความสนใจมาลงทุนพัฒนาโครงการโซลาร์ฟาร์มในประเทศไทย เนื่องจากมีความเข้มแสงอาทิตย์ที่ดี มีสถาบันการเงินสนับสนุนเงินกู้ โดยมีนโยบายภาครัฐที่ให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อม และการลดโลกร้อน โดยเมื่อปลายปี 2556 ปริมาณการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เติบโตกว่า 10 เท่าตัว เมื่อเทียบกับปี 2554 ที่มีเพียง 500 เมกะวัตต์ และจากแผนพัฒนาพลังงานทางเลือกของประเทศไทย ที่กำหนดให้ต้องใช้พลังงานหมุนเวียน และพลังงานทางเลือกอื่นๆ ภายในปี 2564 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด โดยมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์กว่า 3,000 เมกะวัตต์
นางวันดี กล่าวต่อว่า SPCG สามารถพัฒนาโครงการโซลาร์ฟาร์ม 36 แห่ง กำลังผลิต 250 เมกะวัตต์ ด้วยเงินลงทุนกว่า 25,000 ล้านบาท สำเร็จตามแผน เป็นโครงการที่ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นพลังงานสะอาด ไม่มีมลภาวะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยสร้างงานแก่สตรีในท้องถิ่น และช่วยสร้างแรงบันดาลใจแก่สตรีทั่วภูมิภาค ในการก้าวรุกขึ้นมาทำธุรกิจพลังงานสะอาด เพื่อส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อม
สำหรับ SPCG ได้ให้ความสำคัญในการขยายรูปแบบ ธุรกิจการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ไปยังประเทศพม่า ซึ่งมีประชากรเพียง 13% ที่มีไฟฟ้าใช้จากการปักเสาพาดสาย ส่วนอีกกว่า 43 ล้านคน ยังใช้ไฟฟ้าจากเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งมีต้นทุนสูงและมลภาวะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบ Mini Grid สามารถพัฒนาได้ด้วยความรวดเร็ว และกระจายการผลิต การใช้ได้รวดเร็วในทุกพื้นที่ของประเทศพม่า อันจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และลดความยากจนได้ด้วย
ข่าวสด
http://bit.ly/เพจข่าวดี