คนเก่งไม่ใช่คนที่ทำข้อสอบได้ แต่คือคนออกข้อสอบหรือเปล่าครับ ?

ทำข้อสอบได้กือว่าใชได้ แต่คนเก่งคือคนออกข้อสอบ
เพราะบางข้อ ซับซ้อนมากไม่รู้คิดได้ไง บางข้อมีข้อเดียวแต่ต้องใช้ความรู้หลายอย่างประกอบกัน ทำทีละสเตปๆกว่าจะออก
บางข้อวิธีคิดยาวมาก คำนวณเยอะ แต่โจทย์ออกมาตัวเลขสวย ไม่เป็นทศนิยม ตัดแล้วออกมาเป๊ะๆ เป็นจำนวนเต็ม

อาจารย์ส่วนใหญ่ก็เอาข้อสอบมาจากหนังสือทั้งนั้นไม่ได้คิดเองหรอก หรือแค่เปลี่ยนตัวเลข แต่รายละเอียดรูปแบบของโจทย์ก็ไปลอกเขามา
ผมอยากรู้ว่าไอ้คนออกข้อสอบพวกฟิสิกส์ คณิตศาสตร์เขาเป็นใคร มาจากไหน
ทำไมสามารถออกข้อสอบที่ซับซ้อนคิดหลากหลายแต่ คำตอบออกมาเลขสวยมาก เขาทำได้อย่างไรครับ


คำถาม

1.คนเก่งไม่ใช่คนที่ทำข้อสอบได้ แต่คือคนออกข้อสอบหรือเปล่าครับ ?


2. อาจารย์ส่วนใหญ่ก็เอาข้อสอบมาจากหนังสือทั้งนั้นไม่ได้คิดเองหรอก หรือแค่เปลี่ยนตัวเลข แต่รายละเอียดรูปแบบของโจทย์ก็ไปลอกเขามา  ผมอยากรู้ว่าไอ้คนออกข้อสอบพวกฟิสิกส์ คณิตศาสตร์เขาเป็นใคร มาจากไหน  ?


3.ถ้าไม่รวมถึงแค่เปลี่ยนตัวเลข คนไทยสามารถออกข้อสอบเองได้ไหม หรือว่าโจทย์ทั้งหมดส่วนใหญ่แปลมาจากเทกฝรั่งทั้งนั้น ?
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 17
ถ้าเป็นโจทย์ธรรมดา ออกข้อสอบกับทำข้อสอบไม่น่าต่างกัน

ถ้าเป็นโจทย์ยากๆ เห็นด้วยว่าการออกข้อสอบยากกว่าการทดข้อสอบมาก ถ้าโจทย์ที่ออกมานั้นสามารถทำได้และออกมาคำตอบสวยๆนะ
ผมไม่รู้หรอกว่าอาจารย์ออกข้อสอบกันยังไง แต่ผมสอนพิเศษ และออกโจทย์ให้เด็กทำเล่นๆบ่อยๆ
วิธีออกข้อสอบฟิสิกส์คือออกข้อสอบด้วย general solution ก่อน แล้วยัดเลขไปทีหลัง

ตัวอย่างเช่น วัตถุไหลบนพื้นเอียง คิดๆแล้วจะพบว่าค่า tan (มุมยกพื้นเอียง) = สปส.ความเสียดทานเสมอ
ดังนั้นเวลาใส่โจทย์ ผมจะใส่มวลวัตถุเท่าไหร่ก็ได้ แต่ต้องคงความสัมพันธ์นี้ไว้
แต่กับผมชอบใส่เป็นตัวแปรไปเลยนี่แหละ วัดความรู้ได้ดีที่สุดละ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่