บุญบาปของแต่ละศาสนา กับ กฏแห่งกรรม

เนื่องจากเรื่องนี้ มีประเด็นที่น่าสนใจ ผมก็เลยคิดว่าควรนำมาตั้งเป็นกระทู้ใหม่ต่างหากนะครับท่าน

จากกระทู้ของท่านมองฯ สมาชิกท่านหนึ่งได้กล่าวอย่างนี้ว่า


ความคิดเห็นที่ 27

...เรารู้สึกว่าบาปก็บาป เรารู้สึกว่าไม่บาปก็ไม่บาป แล้วแต่บทบัญญัติ ผู้ถือศาสนาอื่น จะไปพลอยมีบุญมีบาป ด้วยศาสนาอื่นอีกศาสนาหนึ่งนั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าบัญญัติไว้ต่างกัน แล้วจิตใจของเราก็เชื่อมั่นในศาสนานั้นๆ เป็นความรู้สึกของจิตใจตามบทบัญญัติที่มนุษย์แต่งตั้งขึ้น ไม่ใช่สัจธรรม หรือปรมัตถธรรมของธรรมชาติ (พุทธทาส)

= พุทธทาสกำลังสนับสนุนลัทธิอุบาทว์
เช่นที่พวกอัลกออิดะห์ เชื่อว่าฆ่าคนที่เป็นข้าศึกกับศาสนาอิสลามแล้วจะได้ไปสวรรค์
หรือลัทธิโอมชินเกียว ฆ่าคนเพราะเชื่อว่าพวกเขาคือ ผู้ปลดปล่อยคนจากความทุกข์

...บาปหรือไม่บาปตามศาสนาของเขา เพราะว่าบาปหรือบุญนี้เป็นเรื่องของศีลธรรม เป็นเรื่องของการบัญญัติ ไม่ใช่ปรมัตถธรรมของธรรมชาติ(ไม่ใช่สัจจะ) (พุทธทาส)

= พุทธทาสกำลังล้มล้างอริยสัจธรรม(สัจจะ 4 อย่าง) ว่าด้วยเรื่องมรรค 8
เพราะมรรคแยกย่อยออกมาก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
คัดศีลออกไม่ให้เป็นสัจจะแล้วมรรค 8 จะเหลืออะไร

ปล. ปรมัตถธรรมก็คืออีกนัยหนึ่งของอริยสัจ(สัจธรรม) แต่อริยสัจเข้าใจง่ายกว่า ผมเลยยกมาแค่นี้ ไม่พูดถึงปรมัตถธรรม

ตอบกลับ
0 0   
สมาชิกหมายเลข 1265297  
2 ชั่วโมงที่แล้ว


ความคิดเห็นที่ 27-1

คิดเอง เออเองล่ะสิ

ตอบกลับ
0 0   
สมาชิกหมายเลข 1893246  
41 นาทีที่แล้ว


ความคิดเห็นที่ 27-2

แล้วความเห็นผมผิดตรงไหนหรือครับ?

บอกมาเลย ผมยินดีรับฟัง
ตอบกลับ
0 0   
สมาชิกหมายเลข 1265297  
27 นาทีที่แล้ว


ความคิดเห็นที่ 28

ขออนุญาตสอบถาม ท่านความคิดเห็นที่ยี่สิบเจ็ดนะครับ

คืออ่านเท่าที่ท่านโพสต์มา ผมฟังแล้ว เข้าใจว่า บุญบาปของแต่ละศาสนา บัญญัติไว้แตกต่างกัน ซึ่งนั่นมันเป็นเรื่องบุญบาป ในระดับบัญญัตินี่ครับ ซึ่งคำที่กล่าวมานั้น ถือว่าถูกต้องแล้ว

คือ บุญบาปแบบนี้มันขึ้นอยู่กับการบัญญัติของแต่ละศาสนาว่าอะไรบาปอะไรไม่บาป มันเป็นเรื่องของความคิดความเชื่อในใจของแต่ละบุคคล

ประเด็นปัญหามันจึงอยู่ที่ว่า บุญบาปที่แต่ละศาสนาบัญญัติขึ้นมานั้น มันสอดคล้องกับกฏแห่งกรรมมากน้ิอยแค่ไหนต่างหาก นะครับท่าน

ในฐานะที่เป็นชาวพุทธ ผมเข้าใจว่า บุญบาปในพระพุทธศาสนามีความสอดคล้องกับกฏแห่งกรรม แต่ศาสนาอื่นจะเป็นอย่างไร ผมไม่ทราบ เพราะยังไม่ได้พิจารณา

คำถามก็คือ การกล่าวอย่างนี้ ความเข้าใจอย่างนี้ มันจะกลายเป็นการไปสนับสนุนลัทธิอุบาทว์ อะไรต่อมิอะไร ไปได้อย่างไรครับท่าน ?

มันก็แค่เป็นการกล่าวอธิบายไปตามข้อเท็จจริง ที่แตกต่างกันไปในแต่ละศาสนาเท่านั้นเองนี่ครับ ผมยังฟังรู้เรื่องเลย แล้วเหตุใด ผู้มีปัญญาอย่างพวกท่าน จึงจะฟังไม่รู้เรื่องเล่าครับ ?

อย่างไรก็ตาม ผมขอฟังคำอธิบายจากท่านเพิ่มเติมอีกสักครั้งหนึ่งก็แล้วกันนะครับ ว่ามีความเข้าใจที่แตกต่างกันอย่างไรกันแน่ ?

นะครับท่าน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่