กระทู้เก่าที่ผ่านมา
โรงไฟฟ้าโซล่าเซลล์ งบ 100,000
http://ppantip.com/topic/31941422
/// กระทู้นี้ มีหลายคอมเมนต์ที่เป็นห่วงกลัว (แบต) จะตายก่อน ตอนนี้ครบปีแล้ว แบตยังหนุ่มฟ้อหล่อเฟี้ยว จะรีวิว QC ครบ 1 ปี ให้ชมที่นี่ เร็วๆนี้ ///
รีวิววิธีผ่าวงจร แผ่นซันเทค
http://ppantip.com/topic/31766481
หาเหตุสร้างบุญ ถวายให้วัดห่างไกลไฟฟ้า
http://ppantip.com/topic/32223675
ประกอบโซล่าเซลล์ ชุดยอดดอย
http://ppantip.com/topic/32952926
-----------------------------------------
กระทู้นี้เกิดงานที่ผ่านมาเกือบปีแล้ว จึงขอนำเสนอเพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่สนใจ ได้นำไปต่อยอด หรือ เป็นแนวทางในการวางระบบโซล่าเซลล์ แบบบ้านๆ ใช้งานได้จริง ซึ่งทำระบบแบบผสมผสาน ในงบราว 120,000 บาท รวมค่าใช้จ่ายเกือบทุกอย่าง ยกเว้น อุปกรณ์บางตัวที่มีผู้บริจาค โดยมีเจตนาทำบุญสร้างบารมี กับ พระสงฆ์ในวัดที่ห่างไกลสายส่งของการไฟฟ้าหลวง
หน้างานนี้ เป็นสำนักสงฆ์เล็กๆแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่มีไฟใช้มามากกว่า 20 ปี โดยวางระบบโซล่าเซลล์ให้ตอบโจทย์ได้หลากหลายในงบที่ไม่สูงเกินไป
โจทย์ของที่นี่คือ
- สำคัญแรกคือใช้ไฟส่องสว่าง ในบริเวณพื้นที่ เพื่อกันพี่ใหญ่ซึ่งมักเข้ามาเยี่ยมบ่อยๆ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พี่ใหญ่ที่มาเยี่ยมเยียน เครดิตภาพจากเน็ต
- รองลงมา ตู้เย็นขนาด 5.5 คิว จุดประสงค์หลักแช่ยา และ น้ำปานะ (ที่ผ่านมาต้องซื้อน้ำแข็งทุกวัน)
- รองลงไปอีก เครื่องปั่นแห้ง (ซักผ้า) เพื่ออำนวยประโยชน์ให้กับ พระ และ ผู้ปฏิบัติธรรม ส่วนอุปสรรคคือ หากเป็นฤดูฝน ฝนตกยาวนาน ตกทั้งวัน ทุกวัน ตกจนบางครั้งตากผ้าไม่แห้งเลยต้องนำไปผิงไฟแทน
การวางแผนงานจึงแยกระบบการใช้ไฟออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ
1. ใช้ไฟส่องสว่าง ด้วยแรงดันกระแสไฟจากแบต 48 v. ชารจ์แบตด้วยแผ่นแบบอะมอฟัส ไวแสง
2. ใช้ไฟส่องสว่าง ด้วยแรงดันกระแสไฟจากแบต 12 v. ชารจ์แบตด้วยแผ่นโมโน
3. ใช้ไฟตู้เย็น และ เครื่องซักผ้า (เน้นช่องปั่นแห้ง) 220 v. ด้วยอินเวคเตอร์แปลงไฟจากแบต 12 v. - 220 v. กำลังไฟ 2,000 w.
ข้อ 1. ระบบไฟส่องสว่างจากแบต 48 v.
ภาพรวมของกุฎิในสำนักนี้คือ แต่ละหลัง รวมถึงโรงครัว อยู่ห่างกันเป็นร้อยเมตร จากแหล่งจ่ายไฟ (แบต) อีกทั้งหน้าฝนตกชุกมาก
ตรงนี้จึงเลือกใช้แผ่นแบบอะมอฟัส 90 v. 50 w. เกือบ 1 A. จำนวน 6 แผ่น ซึ่งไวต่อการรับแสงมากกว่าแผ่นแบบโมโน มาต่อขนานได้กระแสที่ 4.5 A. แล้วชารจ์ลงแบต 12 v. 45 A. ต่ออนุกรมกัน 4 ลูก ได้ไฟ 48 v. ซึ่งเพียงพอต่อการใช้ไฟส่องสว่างในทุกจุด โดยต่อผ่านอุปกรณ์ลดแรงดัน คอนเวคเตอร์ 48 v. เหลือ 12 v. 10 A.
จากที่ว่าไว้ กุฏิและโรงครัวอยู่ห่างจากจุดตั้งแผงโซล่าที่สามารถรับแสงแดดได้ดีที่สุดตลอดวันเป็นร้อยเมตร จึงใช้แรงดันไฟ 48 v. นี้ (ที่สามารถจ่ายกระแสไปได้ไกลถึง 400 ม.) ดึงสายไฟไปทุกกุฏิ และ โรงครัว + กุฏิผู้ปฏิบัติธรรม + ห้องน้ำ 10 ห้อง แล้วใช้คอนเวคเตอร์ลดแรงดันให้เหลือ 12 v. เพื่อใช้กับหลอด Led 12 v. ได้ในทุกๆ ที่ๆต้องการ
ภาพการจัดวางอุปกรณ์ ในตู้ครั้งแรกก่อนน้องมดคันไฟบุกเข้าทำรัง
ภาพในตู้ หลังจากน้อง ม ด คั น ไ ฟ บุ ก เข้าทำรัง จึงขาวโพลนไปด้วยแป้งเย็นๆ
ภาพขยายวิธีเดินสาย ในตู้คัทเอาท์ 5
ภาพวิธีต่อสายจากแบต 12 v. ต่ออนุกรม 4 ลูกนำไฟไปใช้ 48 v. จ่ายไฟไปกุฏิทุกหลัง กุฏิผู้ปฏิบัติศีล ๕ โรงครัว ห้องน้ำ และไฟ 12 v. โดยแยกสายกราวด์ (G) ด้วยคัทเอาท์สามขา เพื่อเผื่อไว้เป็นไฟสำรองฉุกเฉิน
อุปกรณ์คอนเวอร์เตอร์/จุด เพื่อลดแรงดันไฟจาก 48 v. เหลือ 12 v. ในทุกๆจุดที่ต้องการใช้ไฟส่องสว่าง
- ใช้หลอด Led 12 v. 4 w. กุฏิละ 3 หลอด จำนวน 5 หลัง
- กุฏิศีล เพิ่ม หลอดนีออน Led 12 v. 10 w. 2 หลอด
- โรงครัว หลอด Led 12 v. 8 w. 2 หลอด
- ห้องน้ำ 10 ห้อง หลอด Led 12 v. 4 w. 4 หลอด
จากการคำนวนการกินกระแสไฟ หากเปิดพร้อมกันทั้งหมด = ประมาณ 10.5 A./ช.ม. แบต 45 A. จ่ายไฟ 60 % = 27 A. การเปิดหลอดไฟเปิดได้เพียง 2 ช.ม. นิดๆ บริเวณกุฏิผู้ถือศีล 5 และ โรงครัว รวมถึงห้องน้ำ จึงเดินสายและติดตั้งระบบไฟส่องสว่าง 220 v. ไว้ต่างหาก เผื่อมีผู้มาพัก จะได้ลดการใช้หลอด Led บริเวณนี้ไป
2. ใช้ไฟส่องสว่าง และ 3. ไฟ 220 v. ด้วยแรงดันกระแสไฟจากแบต 12 v. ชารจ์แบตด้วยแผ่นโมโน
จุดที่ตั้งของโครงรับแผ่นโซล่าเซลล์ เป็นทำเลที่ได้รับแสงแดดสูงสุดต่อวัน และ อยู่ระหว่างศาลาใหญ่ทั้ง 2 หลัง (ไม่เกิน 30 เมตร) ด้วยระยะห่างแค่นี้หากเดินสายไฟ 2.5 - 4 mm. จะใช้หลอดไฟส่องสว่างด้วยหลอด Led 12 v. ได้สบายๆ จึงเลือกใช้แผ่นซันเทค มือสอง มาผ่าวงจร เพื่อเพิ่มแอมป์ให้ได้มากที่สุดในงบที่น้อยที่สุด บวกกับแผ่นโซล่าตรอนที่มีผู้บริจาคมา 1 แผ่น เมื่อผ่าวงจรซันเทคแล้ว และนำมาต่อขนานกัน โวลต์ของแผ่นจะจ่ายกระแสไฟเท่ากัน คือ 18 v. แอมป์รวมกันทั้งสามแผ่นได้ 35 A./ช.ม. ซึ่งมากพอที่จะชารจ์ไฟลงแบตในแต่ละวัน เพื่อนำมาเป็นทุนสำรองใช้ทั้งไฟ 12 v. และ แปลงเป็น 220 v.
เรื่องการผ่าวงจรแผ่นซันเทคนั้น หากเราทำความเข้าใจ การทำงานจะง่ายขึ้นเยอะ
http://linkadded.blogspot.com/2014/03/blog-post_26.html จากข้อมูลบล็อกนี้เรื่องแท็บลายวงจร ของแผ่นซันเทค
จุดสังเกตุ ภาพแรก เซลจะเรียงต่อเป็นอนุกรมทั้งหมด 6 แถวๆละ 6 v. x 6 = 36 v.
ให้แบ่งแถวเซลออกเป็น 3 คู่ๆละ 12 v. x 3 = 36 v.
ภาพที่สอง ให้สังเกตุแถวคู่ที่ 2 (วงจร 2) เอาคัตเตอร์ขูดหลังแผ่นแล้วตัดแท็บลายตะกั่วให้ขาดออกจากกัน วงจรของเซลอนุกรมจะแยกออกเป็นฝั่งซ้ายและขวา = 18 v. x 2 = 36 v. ถึงตรงนี้ให้บัคกรีสายไฟที่แท็บลายตะกั่ว ทั้งสองจุดออกมา แล้วนำสายไฟที่ได้ไปต่อขนานกัน ดังภาพข้างล่างนี้
หลังจากศึกษาทำความเข้าใจจากบล็อกนี้ ให้เข้าไปดูขั้นตอนวิธีการผ่าตัดวงจรของแผ่นซันเทคที่
http://linkadded.blogspot.com/2014/01/1-1.html
การเชื่อมสายไฟระหว่างแผ่นซันเทค ที่ผ่าวงจรแล้ว รวมถึงแผ่นโซล่าตรอน นำสายทั้งสามแผ่นมาต่อขนานกันด้วยสายตู้เชื่อม 25 sqm.
จากการแนะนำของกูรูใหญ่ของวงการโซล่าเซลล์ ว่าไว้การที่จะใช้สายไฟต่อจากหลังแผ่นไปลงแบต ควรเป็นสายไฟเส้นใหญ่เพื่อให้กระแสไฟที่แผ่นโซล่าผลิตได้จริง ชารจ์ลงแบตแบบไม่มีการกั๊กกระแสที่สาย เปรียบเหมือนเส้นทางมา 8 เลน แต่ทางออกลดลงเหลือ 2 เลน ปริมาณรถหรือกระแสไฟแอมป์ วิ่งไม่ได้กลายเป็นคอขวด การใช้สายใหญ่ของตู้เชื่อมจึงเปรียบเสมือน ทางมา 8 ออก 8 คือ แอมป์ตามเนมเพลทแจ้งไว้เท่าไร ก็ออกเท่านั้นได้แอมป์เต็มๆ
งานนี้จึงเลือกใช้สาย No. 25 sqm. ของตู้เชื่อม โดยจุดต่อสายต้องเชื่อมบัคกรีทุกจุด เพื่อกันการสปาร์คของไฟ ดีซี
คอลโทรลชารจ์ ทั้งแบบโมโน 12 v. และ แบบอะมอฟัส 48 v. (สั่งพิเศษ)
เลือกใช้ของช่างไทย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://solarwato.com/index.php/-100-300- ซึ่งรับกระแสชารจ์ได้สูงถึง 160 A. ไม่จุกจิกหรือเสียง่าย
อุปกรณ์แปลงไฟ อินเวอร์เตอร์ 12 v. - 220 v. 2000 w.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://solarwato.com/index.php/2000
จากการหาข้อมูลในตลาด อินเวอร์เตอร์ที่มี input เพื่อรองรับสายใหญ่อย่าง 25 - 35 sqm. นั้นหายาก เหตุที่ใช้อินพุทเพื่อจัมพ์สายใหญ่จากแบต 12 v.เพื่อเผื่อการดึงไฟมากๆ หากมีการใช้โหลดพร้อมๆกัน เช่น ปั๊มสูบน้ำ เครื่องซักผ้า
ภาพการต่อสายกราวด์กับโครงเหล็กที่รองรับแผ่นโซล่า + กรอบแผ่นอลูมิเนียม รวมถึง สายบวก และ ลบ ของแผ่นโซล่าก่อนชารจ์ลงแบต กับหลักดินกรีดมะเฟือง 2 ต้น เพื่อกันฟ้าฝน รวมถึง ติดล่อฟ้าแรงดันต่ำที่สายไฟ หลัง อินเวอร์เตอร์ ก่อนถึงเซฟทีคัทของบอร์ดจ่ายไฟ 220 v. ให้อุปกรณ์ใช้ไฟฟ้า ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ฯลฯ
สรุปเป็นผังกราฟ การทำงานได้ดังภาพด้านล่าง
ผังกราฟแยกการทำงาน ของไฟ DC 12 v. เพื่อระบบจ่ายไฟส่องสว่างหลอด Led 12 v.
ผังกราฟแยกการทำงาน ของอินเวอร์เตอร์ 12 v. - 220 v. 2000 w. เพื่อจ่ายไฟให้อุปกรณ์ใช้ไฟฟ้า 220 v.
คอนเวอร์เตอร์ usb เป็นอุปกรณ์แปลงไฟ DC 12 v. เป็น DC 5 โวลต์ เพื่อชารจ์มือถือได้ 3 เครื่องในเวลาเดียวกัน เป็นการลดขั้นตอนของการชารจ์มือถือที่ปกติต้องไปใช้เครื่องแปลงไฟอินเวอร์เตอร์ 12 v. - 220 v.
งบ แสนสอง จ่ายอะไรบ้าง
- ค่าแผ่นอะมอฟัส 15000
- ค่าแผ่นโมโน 9000
- ค่าแบตดีฟ 7 ลูก 40600
- ค่าแบต 12 v. 4 ลูก 4800
- อินเวอร์เตอร์ 12 v. - 220 v. 2000 w. = 18000
- คอลโทรลชาร์จแบต 3000
ที่เหลือเป็นอุปกรณ์อย่างอื่นๆ ที่นับรวมกันก็ราคาตามนั้น
ทั้งหมดเป็นภาพตัวอย่างที่พยายามสรุปให้เห็นงานว่า ระบบรวมมิตรนี้ทำงานประสานกันอย่างไร แต่ด้วยรายละเอียดต่างๆ ที่ทำหน้างานมีมากกว่านี้มาก เพราะเป็นการทำทั้งระบบ คือ เดินสายไฟและติดตั้งสวิตต์ต่างๆ ทั้ง 2 ศาลา กุฏิ 5 หลัง โรงครัว ห้องน้ำ สายไฟระหว่างกุฏิร้อยด้วยท่อพีอีกันกระรอกและหนูป่า กว่าจะเสร็จทั้งระบบทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลา 3 เดือน
ทั้งหมดนี้ จขกท. และผู้ช่วย ในฐานะผู้ทำและวางระบบ และใช้แรงกายเพื่อน้อมใจทำถวายแก่สงฆ์ทั้ง 4 ทิศ ขอให้ความรู้ทั้งหมดนี้ที่ข้าพเจ้าได้ถ่ายทอดลงมาเพื่อเป็นประโยชน์ในพระศาสนา (ศาสนาพุทธ) ขอน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมะบูชา สังฆบูชา และ ขอน้อมถวายกตเวทิตาคุณแด่องค์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาร่วมกับทางเจ้าภาพทุกๆท่านที่ได้มีส่วนร่วมในกิจของสงฆ์และขออนุโมทนากับทุกๆท่านที่มีส่วนร่วมในครั้งต่อๆไปด้วยเทอญ
เชิญเพื่อนสมาชิกทุกท่านฯ ร่วมอนุโมทนา สาธุ
จขกท.ศรัทธาคนโซล่าทั่วไทยต่อยอดไปไกลกว่าที่คิด ขออนุญาติแทรกเผื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้เริ่มต้นทุกๆท่าน
https://www.facebook.com/video.php?v=764196193659515
https://www.facebook.com/video.php?v=763257237086744
https://www.facebook.com/video.php?v=719892278089907
หมายเหตุ ถ้า จขกท. นึกอะไรออกจะมาเพิ่มให้น่ะ
[CR][SR] งบ 120,000 บาท......ระบบโซล่าเซลล์รวมมิตร
โรงไฟฟ้าโซล่าเซลล์ งบ 100,000
http://ppantip.com/topic/31941422
/// กระทู้นี้ มีหลายคอมเมนต์ที่เป็นห่วงกลัว (แบต) จะตายก่อน ตอนนี้ครบปีแล้ว แบตยังหนุ่มฟ้อหล่อเฟี้ยว จะรีวิว QC ครบ 1 ปี ให้ชมที่นี่ เร็วๆนี้ ///
รีวิววิธีผ่าวงจร แผ่นซันเทค
http://ppantip.com/topic/31766481
หาเหตุสร้างบุญ ถวายให้วัดห่างไกลไฟฟ้า
http://ppantip.com/topic/32223675
ประกอบโซล่าเซลล์ ชุดยอดดอย
http://ppantip.com/topic/32952926
-----------------------------------------
กระทู้นี้เกิดงานที่ผ่านมาเกือบปีแล้ว จึงขอนำเสนอเพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่สนใจ ได้นำไปต่อยอด หรือ เป็นแนวทางในการวางระบบโซล่าเซลล์ แบบบ้านๆ ใช้งานได้จริง ซึ่งทำระบบแบบผสมผสาน ในงบราว 120,000 บาท รวมค่าใช้จ่ายเกือบทุกอย่าง ยกเว้น อุปกรณ์บางตัวที่มีผู้บริจาค โดยมีเจตนาทำบุญสร้างบารมี กับ พระสงฆ์ในวัดที่ห่างไกลสายส่งของการไฟฟ้าหลวง
หน้างานนี้ เป็นสำนักสงฆ์เล็กๆแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่มีไฟใช้มามากกว่า 20 ปี โดยวางระบบโซล่าเซลล์ให้ตอบโจทย์ได้หลากหลายในงบที่ไม่สูงเกินไป
โจทย์ของที่นี่คือ
- สำคัญแรกคือใช้ไฟส่องสว่าง ในบริเวณพื้นที่ เพื่อกันพี่ใหญ่ซึ่งมักเข้ามาเยี่ยมบ่อยๆ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
- รองลงมา ตู้เย็นขนาด 5.5 คิว จุดประสงค์หลักแช่ยา และ น้ำปานะ (ที่ผ่านมาต้องซื้อน้ำแข็งทุกวัน)
- รองลงไปอีก เครื่องปั่นแห้ง (ซักผ้า) เพื่ออำนวยประโยชน์ให้กับ พระ และ ผู้ปฏิบัติธรรม ส่วนอุปสรรคคือ หากเป็นฤดูฝน ฝนตกยาวนาน ตกทั้งวัน ทุกวัน ตกจนบางครั้งตากผ้าไม่แห้งเลยต้องนำไปผิงไฟแทน
การวางแผนงานจึงแยกระบบการใช้ไฟออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ
1. ใช้ไฟส่องสว่าง ด้วยแรงดันกระแสไฟจากแบต 48 v. ชารจ์แบตด้วยแผ่นแบบอะมอฟัส ไวแสง
2. ใช้ไฟส่องสว่าง ด้วยแรงดันกระแสไฟจากแบต 12 v. ชารจ์แบตด้วยแผ่นโมโน
3. ใช้ไฟตู้เย็น และ เครื่องซักผ้า (เน้นช่องปั่นแห้ง) 220 v. ด้วยอินเวคเตอร์แปลงไฟจากแบต 12 v. - 220 v. กำลังไฟ 2,000 w.
ข้อ 1. ระบบไฟส่องสว่างจากแบต 48 v.
ภาพรวมของกุฎิในสำนักนี้คือ แต่ละหลัง รวมถึงโรงครัว อยู่ห่างกันเป็นร้อยเมตร จากแหล่งจ่ายไฟ (แบต) อีกทั้งหน้าฝนตกชุกมาก
ตรงนี้จึงเลือกใช้แผ่นแบบอะมอฟัส 90 v. 50 w. เกือบ 1 A. จำนวน 6 แผ่น ซึ่งไวต่อการรับแสงมากกว่าแผ่นแบบโมโน มาต่อขนานได้กระแสที่ 4.5 A. แล้วชารจ์ลงแบต 12 v. 45 A. ต่ออนุกรมกัน 4 ลูก ได้ไฟ 48 v. ซึ่งเพียงพอต่อการใช้ไฟส่องสว่างในทุกจุด โดยต่อผ่านอุปกรณ์ลดแรงดัน คอนเวคเตอร์ 48 v. เหลือ 12 v. 10 A.
จากที่ว่าไว้ กุฏิและโรงครัวอยู่ห่างจากจุดตั้งแผงโซล่าที่สามารถรับแสงแดดได้ดีที่สุดตลอดวันเป็นร้อยเมตร จึงใช้แรงดันไฟ 48 v. นี้ (ที่สามารถจ่ายกระแสไปได้ไกลถึง 400 ม.) ดึงสายไฟไปทุกกุฏิ และ โรงครัว + กุฏิผู้ปฏิบัติธรรม + ห้องน้ำ 10 ห้อง แล้วใช้คอนเวคเตอร์ลดแรงดันให้เหลือ 12 v. เพื่อใช้กับหลอด Led 12 v. ได้ในทุกๆ ที่ๆต้องการ
ภาพการจัดวางอุปกรณ์ ในตู้ครั้งแรกก่อนน้องมดคันไฟบุกเข้าทำรัง
ภาพในตู้ หลังจากน้อง ม ด คั น ไ ฟ บุ ก เข้าทำรัง จึงขาวโพลนไปด้วยแป้งเย็นๆ
ภาพขยายวิธีเดินสาย ในตู้คัทเอาท์ 5
ภาพวิธีต่อสายจากแบต 12 v. ต่ออนุกรม 4 ลูกนำไฟไปใช้ 48 v. จ่ายไฟไปกุฏิทุกหลัง กุฏิผู้ปฏิบัติศีล ๕ โรงครัว ห้องน้ำ และไฟ 12 v. โดยแยกสายกราวด์ (G) ด้วยคัทเอาท์สามขา เพื่อเผื่อไว้เป็นไฟสำรองฉุกเฉิน
อุปกรณ์คอนเวอร์เตอร์/จุด เพื่อลดแรงดันไฟจาก 48 v. เหลือ 12 v. ในทุกๆจุดที่ต้องการใช้ไฟส่องสว่าง
- ใช้หลอด Led 12 v. 4 w. กุฏิละ 3 หลอด จำนวน 5 หลัง
- กุฏิศีล เพิ่ม หลอดนีออน Led 12 v. 10 w. 2 หลอด
- โรงครัว หลอด Led 12 v. 8 w. 2 หลอด
- ห้องน้ำ 10 ห้อง หลอด Led 12 v. 4 w. 4 หลอด
จากการคำนวนการกินกระแสไฟ หากเปิดพร้อมกันทั้งหมด = ประมาณ 10.5 A./ช.ม. แบต 45 A. จ่ายไฟ 60 % = 27 A. การเปิดหลอดไฟเปิดได้เพียง 2 ช.ม. นิดๆ บริเวณกุฏิผู้ถือศีล 5 และ โรงครัว รวมถึงห้องน้ำ จึงเดินสายและติดตั้งระบบไฟส่องสว่าง 220 v. ไว้ต่างหาก เผื่อมีผู้มาพัก จะได้ลดการใช้หลอด Led บริเวณนี้ไป
2. ใช้ไฟส่องสว่าง และ 3. ไฟ 220 v. ด้วยแรงดันกระแสไฟจากแบต 12 v. ชารจ์แบตด้วยแผ่นโมโน
จุดที่ตั้งของโครงรับแผ่นโซล่าเซลล์ เป็นทำเลที่ได้รับแสงแดดสูงสุดต่อวัน และ อยู่ระหว่างศาลาใหญ่ทั้ง 2 หลัง (ไม่เกิน 30 เมตร) ด้วยระยะห่างแค่นี้หากเดินสายไฟ 2.5 - 4 mm. จะใช้หลอดไฟส่องสว่างด้วยหลอด Led 12 v. ได้สบายๆ จึงเลือกใช้แผ่นซันเทค มือสอง มาผ่าวงจร เพื่อเพิ่มแอมป์ให้ได้มากที่สุดในงบที่น้อยที่สุด บวกกับแผ่นโซล่าตรอนที่มีผู้บริจาคมา 1 แผ่น เมื่อผ่าวงจรซันเทคแล้ว และนำมาต่อขนานกัน โวลต์ของแผ่นจะจ่ายกระแสไฟเท่ากัน คือ 18 v. แอมป์รวมกันทั้งสามแผ่นได้ 35 A./ช.ม. ซึ่งมากพอที่จะชารจ์ไฟลงแบตในแต่ละวัน เพื่อนำมาเป็นทุนสำรองใช้ทั้งไฟ 12 v. และ แปลงเป็น 220 v.
เรื่องการผ่าวงจรแผ่นซันเทคนั้น หากเราทำความเข้าใจ การทำงานจะง่ายขึ้นเยอะ
http://linkadded.blogspot.com/2014/03/blog-post_26.html จากข้อมูลบล็อกนี้เรื่องแท็บลายวงจร ของแผ่นซันเทค
จุดสังเกตุ ภาพแรก เซลจะเรียงต่อเป็นอนุกรมทั้งหมด 6 แถวๆละ 6 v. x 6 = 36 v.
ให้แบ่งแถวเซลออกเป็น 3 คู่ๆละ 12 v. x 3 = 36 v.
ภาพที่สอง ให้สังเกตุแถวคู่ที่ 2 (วงจร 2) เอาคัตเตอร์ขูดหลังแผ่นแล้วตัดแท็บลายตะกั่วให้ขาดออกจากกัน วงจรของเซลอนุกรมจะแยกออกเป็นฝั่งซ้ายและขวา = 18 v. x 2 = 36 v. ถึงตรงนี้ให้บัคกรีสายไฟที่แท็บลายตะกั่ว ทั้งสองจุดออกมา แล้วนำสายไฟที่ได้ไปต่อขนานกัน ดังภาพข้างล่างนี้
หลังจากศึกษาทำความเข้าใจจากบล็อกนี้ ให้เข้าไปดูขั้นตอนวิธีการผ่าตัดวงจรของแผ่นซันเทคที่ http://linkadded.blogspot.com/2014/01/1-1.html
การเชื่อมสายไฟระหว่างแผ่นซันเทค ที่ผ่าวงจรแล้ว รวมถึงแผ่นโซล่าตรอน นำสายทั้งสามแผ่นมาต่อขนานกันด้วยสายตู้เชื่อม 25 sqm.
จากการแนะนำของกูรูใหญ่ของวงการโซล่าเซลล์ ว่าไว้การที่จะใช้สายไฟต่อจากหลังแผ่นไปลงแบต ควรเป็นสายไฟเส้นใหญ่เพื่อให้กระแสไฟที่แผ่นโซล่าผลิตได้จริง ชารจ์ลงแบตแบบไม่มีการกั๊กกระแสที่สาย เปรียบเหมือนเส้นทางมา 8 เลน แต่ทางออกลดลงเหลือ 2 เลน ปริมาณรถหรือกระแสไฟแอมป์ วิ่งไม่ได้กลายเป็นคอขวด การใช้สายใหญ่ของตู้เชื่อมจึงเปรียบเสมือน ทางมา 8 ออก 8 คือ แอมป์ตามเนมเพลทแจ้งไว้เท่าไร ก็ออกเท่านั้นได้แอมป์เต็มๆ
งานนี้จึงเลือกใช้สาย No. 25 sqm. ของตู้เชื่อม โดยจุดต่อสายต้องเชื่อมบัคกรีทุกจุด เพื่อกันการสปาร์คของไฟ ดีซี
คอลโทรลชารจ์ ทั้งแบบโมโน 12 v. และ แบบอะมอฟัส 48 v. (สั่งพิเศษ)
เลือกใช้ของช่างไทย [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ซึ่งรับกระแสชารจ์ได้สูงถึง 160 A. ไม่จุกจิกหรือเสียง่าย
อุปกรณ์แปลงไฟ อินเวอร์เตอร์ 12 v. - 220 v. 2000 w. [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จากการหาข้อมูลในตลาด อินเวอร์เตอร์ที่มี input เพื่อรองรับสายใหญ่อย่าง 25 - 35 sqm. นั้นหายาก เหตุที่ใช้อินพุทเพื่อจัมพ์สายใหญ่จากแบต 12 v.เพื่อเผื่อการดึงไฟมากๆ หากมีการใช้โหลดพร้อมๆกัน เช่น ปั๊มสูบน้ำ เครื่องซักผ้า
ภาพการต่อสายกราวด์กับโครงเหล็กที่รองรับแผ่นโซล่า + กรอบแผ่นอลูมิเนียม รวมถึง สายบวก และ ลบ ของแผ่นโซล่าก่อนชารจ์ลงแบต กับหลักดินกรีดมะเฟือง 2 ต้น เพื่อกันฟ้าฝน รวมถึง ติดล่อฟ้าแรงดันต่ำที่สายไฟ หลัง อินเวอร์เตอร์ ก่อนถึงเซฟทีคัทของบอร์ดจ่ายไฟ 220 v. ให้อุปกรณ์ใช้ไฟฟ้า ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ฯลฯ
สรุปเป็นผังกราฟ การทำงานได้ดังภาพด้านล่าง
ผังกราฟแยกการทำงาน ของไฟ DC 12 v. เพื่อระบบจ่ายไฟส่องสว่างหลอด Led 12 v.
ผังกราฟแยกการทำงาน ของอินเวอร์เตอร์ 12 v. - 220 v. 2000 w. เพื่อจ่ายไฟให้อุปกรณ์ใช้ไฟฟ้า 220 v.
คอนเวอร์เตอร์ usb เป็นอุปกรณ์แปลงไฟ DC 12 v. เป็น DC 5 โวลต์ เพื่อชารจ์มือถือได้ 3 เครื่องในเวลาเดียวกัน เป็นการลดขั้นตอนของการชารจ์มือถือที่ปกติต้องไปใช้เครื่องแปลงไฟอินเวอร์เตอร์ 12 v. - 220 v.
งบ แสนสอง จ่ายอะไรบ้าง
- ค่าแผ่นอะมอฟัส 15000
- ค่าแผ่นโมโน 9000
- ค่าแบตดีฟ 7 ลูก 40600
- ค่าแบต 12 v. 4 ลูก 4800
- อินเวอร์เตอร์ 12 v. - 220 v. 2000 w. = 18000
- คอลโทรลชาร์จแบต 3000
ที่เหลือเป็นอุปกรณ์อย่างอื่นๆ ที่นับรวมกันก็ราคาตามนั้น
ทั้งหมดเป็นภาพตัวอย่างที่พยายามสรุปให้เห็นงานว่า ระบบรวมมิตรนี้ทำงานประสานกันอย่างไร แต่ด้วยรายละเอียดต่างๆ ที่ทำหน้างานมีมากกว่านี้มาก เพราะเป็นการทำทั้งระบบ คือ เดินสายไฟและติดตั้งสวิตต์ต่างๆ ทั้ง 2 ศาลา กุฏิ 5 หลัง โรงครัว ห้องน้ำ สายไฟระหว่างกุฏิร้อยด้วยท่อพีอีกันกระรอกและหนูป่า กว่าจะเสร็จทั้งระบบทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลา 3 เดือน
ทั้งหมดนี้ จขกท. และผู้ช่วย ในฐานะผู้ทำและวางระบบ และใช้แรงกายเพื่อน้อมใจทำถวายแก่สงฆ์ทั้ง 4 ทิศ ขอให้ความรู้ทั้งหมดนี้ที่ข้าพเจ้าได้ถ่ายทอดลงมาเพื่อเป็นประโยชน์ในพระศาสนา (ศาสนาพุทธ) ขอน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมะบูชา สังฆบูชา และ ขอน้อมถวายกตเวทิตาคุณแด่องค์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาร่วมกับทางเจ้าภาพทุกๆท่านที่ได้มีส่วนร่วมในกิจของสงฆ์และขออนุโมทนากับทุกๆท่านที่มีส่วนร่วมในครั้งต่อๆไปด้วยเทอญ
เชิญเพื่อนสมาชิกทุกท่านฯ ร่วมอนุโมทนา สาธุ
จขกท.ศรัทธาคนโซล่าทั่วไทยต่อยอดไปไกลกว่าที่คิด ขออนุญาติแทรกเผื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้เริ่มต้นทุกๆท่าน
https://www.facebook.com/video.php?v=764196193659515
https://www.facebook.com/video.php?v=763257237086744
https://www.facebook.com/video.php?v=719892278089907
หมายเหตุ ถ้า จขกท. นึกอะไรออกจะมาเพิ่มให้น่ะ
**SR - Sponsored Review : ผู้เขียนรีวิวนี้ไม่ได้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง แต่มีผู้สนับสนุนสินค้าหรือบริการนี้ให้แก่ผู้เขียนรีวิว โดยที่ผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนอื่นใดในการเขียนรีวิว