คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
1. ระยะสายตาเราที่มองเห็นวัตถุ สามารถมองเห็นได้ไม่จำกัด หากแสงส่องถึง? ผมเข้าใจถูกใช่มั๊ยครับ?
- ไม่ถูกต้องครับ
การมองเห็นของมนุษย์จะถูกจำกัดด้วย "การแยกแยะวัตถุ" ซึ่งจำกัดด้วยความละเอียดของ Retina
การที่เรามองวัตถุชิ้นหนึ่งไกลมาก ๆ แสงที่สะท้อนจากวัตถุก้อนนั้นจะเดินทางมาที่ตาเรา
และ "แยกแยะ" โดยเซลล์รับภาพที่ retnia ซึ่งที่จุดนี้เอง ที่ retina สามารถแยกแยะได้จำกัด
อย่างที่ 2 คือปรากฏการณ์ Rayleigh Criterion ของแสง
กรณีที่วัตถุ 1 ชิ้น หรือ 2 ชิ้นใกล้ ๆ กันที่อยู่ห่างจากตาของเรามาก ๆ
แสงที่สะท้อนจากวัตถุนั้นจะเดินทางไกลมาเข้าสู่ตาของเรา
แต่ การเดินทางของแสงที่ระยะไกล ๆ นั้นจะเกิดปรากฏการณ์ Rayleigh Criterion ขึ้นได้
ทำให้แสงที่เข้าสู่ตาของเรา "มีค่าไม่ถูกต้อง" ตั้งแต่แรก กล่าวคือแสงจากวัตถุ 2 ชิ้น
ได้ "รวมกัน" ไปแล้วกลายเป็น 1 ชิ้นเข้าสู่ตาของเราครับ อันนี้เป็นธรรมชาติของแสง
ที่ไม่มีทางแก้ไขได้ แม้ว่าแสงนั้นส่องเพียงพออย่างที่ จขกท.สงสัยแล้วก็ตามครับ
ที่อธิบายไป 2 ประเด็นด้านบนนั้นเป็นเรื่องการแยกแยะภาพครับ
แต่ในกรณีแค่ "แสงสว่าง" นั้นก็ขอตอบว่า หากวัตถุนั้นมีแสงแรงกล้าเพียงพอ
แสงจากวัตถุนั้นก็สามารถเดินทางมาหาเราได้ ซึ่งเราก็จะมองเห็นได้นั่นเองครับ
อย่างเช่นดาว Alnilam (Epsilon Orionis) ซึ่งเป็นหนึ่งในสามดวงของดาวไถ
ห่างจากเราถึง 1,380 ปีแสง เราก็ยังเห็นได้ครับ เพราะแสงจากดาวดวงนั้นแรงกล้ามาก ๆ
2. ถ้าเป็นแบบนั้นแสดงว่า ประสาทการมองเห็นเราไวกว่าแสงรึเปล่าครับ เพราะเรามองเห็นกลุ่มดาวที่อยู่ไกลๆได้ ก่อนที่ไฟฉายจะส่องไปถึง
- การมองกลุ่มดาวบนท้องฟ้านั้น
ไม่ได้เกิดจาก "แสงไฟที่ส่องไป" ครับ แต่เกิดจากแสงของดาวฤกษ์นั้น ๆ เอง
แสงจากกลุ่มดาวทุกกลุ่ม เกิดจากแสงของดาวดวงนั้น หรือ กลุ่มนั้นเอง
โดยเดินทางมาไกลมากหลายร้อยหลายพันปีแสงครับ ซึ่งระยะทางไกลขนาดนั้น
ไม่สามารถสะท้อนจากอะไรได้เลย ต้องเป็นแสงจากดาวดวงนั้นกำเนิดเองครับ
- ไม่ถูกต้องครับ
การมองเห็นของมนุษย์จะถูกจำกัดด้วย "การแยกแยะวัตถุ" ซึ่งจำกัดด้วยความละเอียดของ Retina
การที่เรามองวัตถุชิ้นหนึ่งไกลมาก ๆ แสงที่สะท้อนจากวัตถุก้อนนั้นจะเดินทางมาที่ตาเรา
และ "แยกแยะ" โดยเซลล์รับภาพที่ retnia ซึ่งที่จุดนี้เอง ที่ retina สามารถแยกแยะได้จำกัด
อย่างที่ 2 คือปรากฏการณ์ Rayleigh Criterion ของแสง
กรณีที่วัตถุ 1 ชิ้น หรือ 2 ชิ้นใกล้ ๆ กันที่อยู่ห่างจากตาของเรามาก ๆ
แสงที่สะท้อนจากวัตถุนั้นจะเดินทางไกลมาเข้าสู่ตาของเรา
แต่ การเดินทางของแสงที่ระยะไกล ๆ นั้นจะเกิดปรากฏการณ์ Rayleigh Criterion ขึ้นได้
ทำให้แสงที่เข้าสู่ตาของเรา "มีค่าไม่ถูกต้อง" ตั้งแต่แรก กล่าวคือแสงจากวัตถุ 2 ชิ้น
ได้ "รวมกัน" ไปแล้วกลายเป็น 1 ชิ้นเข้าสู่ตาของเราครับ อันนี้เป็นธรรมชาติของแสง
ที่ไม่มีทางแก้ไขได้ แม้ว่าแสงนั้นส่องเพียงพออย่างที่ จขกท.สงสัยแล้วก็ตามครับ
ที่อธิบายไป 2 ประเด็นด้านบนนั้นเป็นเรื่องการแยกแยะภาพครับ
แต่ในกรณีแค่ "แสงสว่าง" นั้นก็ขอตอบว่า หากวัตถุนั้นมีแสงแรงกล้าเพียงพอ
แสงจากวัตถุนั้นก็สามารถเดินทางมาหาเราได้ ซึ่งเราก็จะมองเห็นได้นั่นเองครับ
อย่างเช่นดาว Alnilam (Epsilon Orionis) ซึ่งเป็นหนึ่งในสามดวงของดาวไถ
ห่างจากเราถึง 1,380 ปีแสง เราก็ยังเห็นได้ครับ เพราะแสงจากดาวดวงนั้นแรงกล้ามาก ๆ
2. ถ้าเป็นแบบนั้นแสดงว่า ประสาทการมองเห็นเราไวกว่าแสงรึเปล่าครับ เพราะเรามองเห็นกลุ่มดาวที่อยู่ไกลๆได้ ก่อนที่ไฟฉายจะส่องไปถึง
- การมองกลุ่มดาวบนท้องฟ้านั้น
ไม่ได้เกิดจาก "แสงไฟที่ส่องไป" ครับ แต่เกิดจากแสงของดาวฤกษ์นั้น ๆ เอง
แสงจากกลุ่มดาวทุกกลุ่ม เกิดจากแสงของดาวดวงนั้น หรือ กลุ่มนั้นเอง
โดยเดินทางมาไกลมากหลายร้อยหลายพันปีแสงครับ ซึ่งระยะทางไกลขนาดนั้น
ไม่สามารถสะท้อนจากอะไรได้เลย ต้องเป็นแสงจากดาวดวงนั้นกำเนิดเองครับ
แสดงความคิดเห็น
ระยะสายตาเราที่มองเห็นวัตถุ สามารถมองเห็นได้ไม่จำกัด หากแสงส่องถึง?
ถ้าเป็นแบบนั้นแสดงว่า ประสาทการมองเห็นเราไวกว่าแสงรึเปล่าครับ เพราะเรามองเห็นกลุ่มดาวที่อยู่ไกลๆได้ ก่อนที่ไฟฉายจะส่องไปถึง