+ + + + ที่มาของราคายางพาราที่ตกต่ำ... (เพชรน้ำนิล) + + + +


ดินแดนอันไกลโพ้นในระบบสุริยจักยาน อันมีดาวพระเคราะห์ตามา เป็นดาวบริวาลรวมอยู่ด้วย (หลังจากแยกทางกันเดินโดยสิ้นเชิงจดทะเบียนหย่าเรียบร้อยแล้วกับดาวยายมี) ประเทศกาลาแลนด์ (Kalaland) ได้ประสบปัญหาข้าวถูกแต่แอปเปิลที่ถูกกัดกินไปแล้วคำหนึ่งกลับแพงลิบลิ่ว

ยางอาย อันเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่เคยทำรายได้ให้ประชาชนภายใต้กะลาเป็นกอบเป็นกระบุง ราคาตกต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีแสง จากที่เคยสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 90 บาทา (สกุลเงินของกาลาแลนด์) และเคยสูงเสียดฟ้ากาลาแลนด์มาแล้วถึงกว่า 170 บาทา จากน้ำลายของพรรคกาลาวิบัติ พรรคการเมืองเก่าแก่ของประเทศนี้มาแล้ว ด้วยการปั่นราคาอยากเอาชนะพรรคคู่แข่ง ทิ้งทวนให้ชาวบ้านจดจำชื่อ ก่อนจะถูกถีบให้ออกจากการเป็นรัฐบาลมาแล้ว (อ้าว ! ระบบสุริยจักรยาน ก็ต้องถีบน่ะถูกแล้ว)

เนื่องจากราคาที่สูงเสียดฟ้ากาลาแลนด์นี้  ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกะลาอู้ฟู่เหลือจะกล่าว  ต่างพากันซื้อบ้าน ซื้อยานอวกาศ ท่องเที่ยวไปในดาวอื่นกันคึกคัด (ดาวนาเม็กซ์ จะเป็นดาวยอดนิยมที่สุดนะ รู้สึกว่า) ไม่เว้นแม้แต่การกินอยู่ก็ต้องกินหลากหลาย บางคนถึงกับเก็บความภูมิอกภูมิใจนี้ไม่อยู่  ต้องออกมาพูดจาเสียดสีเยาะเย้ยคนดาวอื่นที่ไม่ได้กินหลากหลายเหมือนตนก็มี

เรื่องราวอันแสนรันทนของชาวกะลาเริ่มต้นขึ้นจากตรงนี้  วัฏจักรของระบบชีวิตย่อมมีขึ้นมีลง ต่อมาไม่นานราคายางอายเริ่มลดระดับต่ำลงเรื่อยๆ เพื่อเข้าสู่ความสมดุลของความน่าจะเป็นตามเหตุการณ์ปกติ ภายใต้การบริหารงานใหม่ของพรรคเพื่อกะลา โดยมีหญิงสาวผู้สวยงามสง่าเป็นผู้นำคนแรกของประเทศนี้ ยังนำมาซึ่งความไม่พอใจและอิจฉาริษยาของชาวกะลาส่วนหนึ่งเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพวกสาวกของพรรคกาลาวิบัติ  

เมื่อราคาของยางอายมาหยุดอยู่ที่ประมาณ กก.ละ 80  บาทา ชาวสวนยางอายสาวกพรรคกาลาวิบัติก็ถูกมนต์สเน่ห์น้ำลายของนักการเมืองพรรคนี้ยุยงปลุกปั่น  ให้ออกมาประท้วงก่อความวุ่นวายให้กับรัฐบาล โดยยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลประกันราคายางอยู่ที่ กก. ละ 120 บาทา เป็นอย่างต่ำ

รัฐบาลภายใต้การนำของนายกฯหญิงผู้งามสง่านั้น  พยายามต่อรองราคายางอายลงมาให้อยู่ในราคาที่สมเหตุสมผลคือ กก.ละ 90 บาทา  ทั้งนี้ก็เนื่องจากประเทศไชนาซึ่งเมื่อก่อนเป็นประเทศคู่ค้ายางอายรายใหญ่กับกาลาแลนด์  ได้หันไปปลูกยางอายเพื่อใช้บริโภคภายในประเทศทดแทนการนำเข้า เนื่องจากความต้องการบริโภคในประเทศสูง จึงจำเป็นต้องคิดหาวิธีป้องกันเงินไม่ให้รั่วไหลออกนอกประเทศ ความต้องการยางอายจากกาลาแลนด์จึงลดลง

เหตุการณ์จากไชนาครั้งนี้ทำให้นายกฯหญิงจากพรรคเพื่อกะลา ต้องเดินทางไปต่างประเทศเพื่อหาพันธมิตรและเชื่อมสัมพันธ์การค้ากับประเทศอื่น เพื่อรองรับความเสี่ยงหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีกแทบทั่วจักรยาน  แต่ชาวกะลาสาวกของกาลาวิบัติหาได้มีสมองคิดไม่  กลับเดินหน้าปั่นป่วน ทำลายทุบหม้อข้าวหม้อแกง ปิดทางเดินยานอาวกาศเข้า ออก บ้านของตัวเอง (เอาสมองส่วนไหนคิดวะ  ... อ้อ ! ไม่มีสมองนิหว่า) เพื่อจะเอาราคายางอายอยู่ที่ 120 บาทาให้ได้ ถ้าไม่ใช่ กก. ละ 120 บาทา  สาวกกาลาวิบัติไม่ได้กินหลากหลายอยู่ไม่ได้  สุดท้ายฟากฝ่ายรัฐบาลต้องยอมยกเลิก กก. ละ 90 ไป

ต่อมาพรรคกาลาวิบัติ เห็นท่าทีประนีประนอมของรัฐบาล จึงได้ใจ ส่งตัวแทนจรกาพาลี ออกมาเป็นผู้นำปลุกปั่นสาวก ให้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล สร้างความวุ่นวายเสียหายให้กับกาลาแลนด์เป็นอย่างมาก จนในที่สุดก็เกิดการปฏิลูบหน้าประเทศขึ้น กาลาแลนด์จึงตกอยู่ภายใต้การนำของผู้มีอำนาจถือขีปนาวุธยุทโธปกรณ์  ใครหือก็เอาสากกระเบือตีหัวแล้วลากเข้าถ้ำไปปรับทัศนคติจนเข็ดหลาบ (เฮ้ย ! ไม่ใช่ยุคมนุษย์หินฟินสโตน!!!)  ท่ามกลางความอิดหนาระอาใจของเหล่าประเทศเพื่อนร่วมจักรยานเป็นอันมาก  ทุกประเทศต่างเมินหน้าหนี เพราะใครๆก็ไม่อยากคบกับมนุษย์หลงยุคเยี่ยงนี้

เมื่อใครๆต่างเมินหน้าหนี กาลาแลนด์ก็เริ่มโดดเดี่ยว จะคุยจะค้าขายกับใครเค้าก็ไม่รับ นอกจาไชน่า เพราะมันคอยจ้องจะบีบกาลาแลนด์ให้น่วมเป็นลูกไก่ในกำมือ  เหตุการณ์เป็นเยี่ยงนี้  ราคาพืชผลโดยเฉพาะราคายางอายก็ยิ่งดิ่งเหว ลดลงฮวบๆ เหมือนตัวอูฐกินน้ำ ในราคา กก.ละ 30 กว่าบาทา หรือ 3 โล 100  และมีแนวโน้มว่าจะลดลงเรื่อยๆ โดยที่มนุษย์กะลาสาวกพรรคกาลาวิบัติได้แต่นั่งมองตาปริบๆ ไม่กล้าหืออือใดๆทั้งสิ้น เพราะกลัวโดนลากเข้าถ้ำ  ไอ้ที่เย้วๆเก่งๆ  เป่านกหวีดปิ๊ดๆไล่นายกฯหญิง เสียงดังสนั่นแบบเมื่อก่อน  ตอนนี้หันมาเป่าสากเป็นที่เรียบร้อยกาลาแลนด์แย๊วคัฟฟฟ ....
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่