ดาวเทียมดวงหนึ่งของนาซ่า (NASA) ถ่ายภาพนี้ตอนบ่ายวันพฤหัสบดี 4 ธ.ค. 2557 เจาะทะลุเข้าไปใน Eyed of Storm หรือ "นัยน์ตาแห่งพายุ" ของซูเปอร์ไต้ฝุ่นฮากูปี๊ต (Hagupit) ในทะเลแปซิฟิก "อุโมงค์" ที่เห็นในภาพนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลางหลายสิบกิโลเมตร มองทะลุลงไปเห็นผืนน้ำทะเลสีครามอยู่เบื้องล่าง องค์การบริหารการบินและการอวกาศของสหรัฐ ยังไม่ได้ให้รายละเอียดอื่นใดอีกเกี่ยวกับภาพถ่ายและการถ่ายภาพชิ้นนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 1 ปี ที่ดาวเทียมสามารถจับภาพทะลุนัยน์ตา ของพายุใหญ่อีกลูกหนึ่งได้. -- ภาพ: องค์การสมุทรศาสตร์และชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐ/นาซ่า.
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - องค์การนาซ่า ได้เผยแพร่ภาพถ่ายจากอวกาศภาพหนึ่งในวันศุกร์ 5 ธ.ค.นี้ เป็นภาพที่ดาวเทียมขององค์การบริหารการบินและการอวกาศแห่งสหรัฐฯ (NASA) ถ่ายทะลุเข้าไปในช่องว่าง ในศูนย์กลางของไต้ฝุ่นฮากูปี๊ต (Hagupit) ขณะหมุนติ้วอยู่ในทะเลแปซิฟิก ซึ่งนับเป็นอีกครั้งหนึ่งในรอบ 1 ปี นับตั้งแต่เดือน พ.ย.ปีที่แล้ว ที่คนทั่วไปได้เห็นผลงานของเทคโนโลยีชั้นสูง จากการหมุนมาพบกันอย่างลงตัวของดาวเทียมลูกหนึ่ง กับพายุขนาดใหญ่มหึมาอีกลูกหนึ่งในเขตร้อนของโลก ทำให้ได้เห็นความน่าอัศจรรย์จากชั้นบรรยากาศ
ภาพจากดาวเทียมชิ้นล่าสุดนี้ ถ่ายในตอนบ่ายวันพฤหัสบดี 4 ธ.ค.ที่ผ่านมา ขณะไต้ฝุ่นระดับ 5 กำลังเร่งความเร็วใกล้ศูนย์กลาง อยู่ห่างจากย่านใจกลางหมู่เกาะฟิลิปปินส์ไปทางทิศวันออกกว่า 400 กิโลเมตร เป็นอีกครั้งหนึ่งที่คนบนพื้นโลกมีโอกาสได้เห็นด้วยสายตาของตนเอง เกี่ยวกับสภาพภายในส่วนที่เรียกว่า Eye of Storm หรือ “นัยน์ตาแห่งพายุ” ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดอื่นๆ อีกจำนวนมาก ที่เปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์ทางด้านนี้ได้ศึกษาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
นาซ่ายังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดอื่นใดอีกเกี่ยวกับการถ่ายภาพไต้ฝุ่นลูกล่าสุด
วันที่ 6 พ.ย. ปีที่แล้ว ดาวเทียมอะควา (Aqua) ของนาซ่า ได้ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า MODIS หรือ Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer ถ่ายภาพสวยงามอีกภาพหนึ่ง ในเวลาเที่ยงวันเศษ ขณะซูเปอร์ไต้ฝุ่นไห่แย่น (Haiyan) อยู่ห่างหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ไปทางทิศตะวันออก 100 กม.เศษ ภาพนั้นได้เผยให้เห็นรายละเอียดต่างๆ จำนวนมาก รวมทั้งสายฟ้าแลบแปลบปลาบที่เกิดจากฟ้าผ่าภายในแก่นใจกลางของพายุอีกด้วย
เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพราะว่าดาวเทียมจะต้องโคจรเข้าไปอยู่ในตำแหน่งที่พอดีๆ และ ทำมุมกับ “นัยน์ตาแห่งพายุ” อย่างเหมาะเจาะเท่านั้นจึงจะมีภาพเช่นนี้ออกมาให้เห็นได้ และ บ่ายวันที่ 4 ธ.ค.ที่ผ่านมา ก็เป็นความบังเอิญอย่างลงตัวอีกครั้งหนึ่ง ระหว่างธรรมชาติกับเทคโนโลยีล้ำหน้าขององค์การนาซ่าสหรัฐฯ
จนถึงบ่ายวันศุกร์ 5 ธ.ค.นี้ ซูเปอร์ไต้ฝุ่นฮากูปี๊ต ยังคงความแรงอย่างคงเส้นคงว่า ถึงแม้ว่าจะอ่อนลงจากเมื่อ 24 ขั่วโมงก่อนหน้านี้ ในขณะเคลื่อนที่เร็วกว่าเดิม แต่ก็ยังคงระดับ “ซูเปอร์ไต้ฝุ่น” เอาไว้อย่างครบเครื่อง องค์การพยากรณ์อากาศแห่งฟิปปินส์ หรือ PAGASA ได้ออกจดหมายพยากรณ์อากาศเวลาตอนเที่ยงวันศุกร์ว่า ไต้ฝุ่นจะถึงฝั่งในคืนวันเสาร์ที่ 6 ธ.ค.นี้ ขณะอ่อนกำลังเป็นไต้ฝุ่นระดับ 4 เร็วกว่าที่เคยพยากรณ์เอาไว้ครั้งก่อนหลายชั่วโมง
ด่านแรกที่จะต้องเผชิญกับไต้ฝุ่นระดับ 4 ก็คือ เกาะซามาร์ (Samar) ซึ่งเป็นเกาะใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ นอกจากนั้น ทั่วภูมิภาคในเขตวิซายาส (Visayas) หรือหมู่เกาะภาคกลาง จะเริ่มมีฝนตกหนักจนถึงฝนกระจายทั่วไปตั้งแต่เช้าวันเสาร์
ศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์แห่งชาติเวียดนาม ได้ออกคำเตือนเมื่อเวลา 15.30 น. วันศุกร์นี้ ให้ชาวเรือระวังคลื่นสูงกับลมแรงตั้งแต่วันเสาร์นี้เช่นกัน และไม่ควรออกจับปลาไกลฝั่ง รวมทั้งแนะนำให้ติดตามการพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิดเป็นรายชั่วโมง ทั้งนี้ เนื่องจากไต้ฝุ่นฮากูปี๊ต มีพัฒนาการอย่างผันผวนตลอดเวลา
แผนภูมิพยากรณ์ชิ้นล่าสุดที่ออกเมื่อเวลา 15.32 น. ได้แสดงให้เห็นพายุที่คาดว่าจะเชิดหัวขึ้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเล็กน้อยในอีก 2 วันข้างหน้า แต่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์กลางของเวียดนามยังไม่ได้แสดงปลายทางสุดท้ายของไต่ฝุ่นฮากูปี๊ต ขณะที่สำนักพยากรณ์อากาศชั้นนำแห่งอื่นๆ ในย่านนี้ ตือ ทั้งในฮ่องกง ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และไกลออกไปจนถึงศูนย์ร่ววมเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐฯ (Joint Typhoon Warning Center) ในนครโฮโนลูลู ต่างก็ลากเส้นตรงล่วงหน้า ไปจนถึงย่านตะวันออกทะเลจีนใต้ แสดงแนวเคลื่อนตัวของไต้ฝุ่นฮากูปี๊ตต้นสัปดาห์หน้า
“ในระยะ 48-72 ชั่วโมงข้างหน้านี้ พายุอาจจะเคลื่อนตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ ด้วยความเร็วราว 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีความเป็นได้อย่างมากที่ไต้ฝุ่นฮากูปี๊ต จะเคลื่อนเข้าสู่ทะเลตะวันออก (ทะเลจีนใต้) ในขณะที่กำลังพัฒนาไปอย่างสลับซับซ้อน .. จึงควรติดตามการพยากรณ์อากาศต่อไปอย่างใกล้ชิด” ศูนย์อุตุนิยมวิทยาฯ ในกรุงฮานอยกล่าว.
ภาพหาดูได้ยากจากอวกาศ ดาวเทียมNASAถ่ายเจาะนัยน์ตาไต้ฝุนมหึมา “ฮากูปี๊ต” ถล่มปินส์
ดาวเทียมดวงหนึ่งของนาซ่า (NASA) ถ่ายภาพนี้ตอนบ่ายวันพฤหัสบดี 4 ธ.ค. 2557 เจาะทะลุเข้าไปใน Eyed of Storm หรือ "นัยน์ตาแห่งพายุ" ของซูเปอร์ไต้ฝุ่นฮากูปี๊ต (Hagupit) ในทะเลแปซิฟิก "อุโมงค์" ที่เห็นในภาพนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลางหลายสิบกิโลเมตร มองทะลุลงไปเห็นผืนน้ำทะเลสีครามอยู่เบื้องล่าง องค์การบริหารการบินและการอวกาศของสหรัฐ ยังไม่ได้ให้รายละเอียดอื่นใดอีกเกี่ยวกับภาพถ่ายและการถ่ายภาพชิ้นนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 1 ปี ที่ดาวเทียมสามารถจับภาพทะลุนัยน์ตา ของพายุใหญ่อีกลูกหนึ่งได้. -- ภาพ: องค์การสมุทรศาสตร์และชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐ/นาซ่า.
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - องค์การนาซ่า ได้เผยแพร่ภาพถ่ายจากอวกาศภาพหนึ่งในวันศุกร์ 5 ธ.ค.นี้ เป็นภาพที่ดาวเทียมขององค์การบริหารการบินและการอวกาศแห่งสหรัฐฯ (NASA) ถ่ายทะลุเข้าไปในช่องว่าง ในศูนย์กลางของไต้ฝุ่นฮากูปี๊ต (Hagupit) ขณะหมุนติ้วอยู่ในทะเลแปซิฟิก ซึ่งนับเป็นอีกครั้งหนึ่งในรอบ 1 ปี นับตั้งแต่เดือน พ.ย.ปีที่แล้ว ที่คนทั่วไปได้เห็นผลงานของเทคโนโลยีชั้นสูง จากการหมุนมาพบกันอย่างลงตัวของดาวเทียมลูกหนึ่ง กับพายุขนาดใหญ่มหึมาอีกลูกหนึ่งในเขตร้อนของโลก ทำให้ได้เห็นความน่าอัศจรรย์จากชั้นบรรยากาศ
ภาพจากดาวเทียมชิ้นล่าสุดนี้ ถ่ายในตอนบ่ายวันพฤหัสบดี 4 ธ.ค.ที่ผ่านมา ขณะไต้ฝุ่นระดับ 5 กำลังเร่งความเร็วใกล้ศูนย์กลาง อยู่ห่างจากย่านใจกลางหมู่เกาะฟิลิปปินส์ไปทางทิศวันออกกว่า 400 กิโลเมตร เป็นอีกครั้งหนึ่งที่คนบนพื้นโลกมีโอกาสได้เห็นด้วยสายตาของตนเอง เกี่ยวกับสภาพภายในส่วนที่เรียกว่า Eye of Storm หรือ “นัยน์ตาแห่งพายุ” ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดอื่นๆ อีกจำนวนมาก ที่เปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์ทางด้านนี้ได้ศึกษาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
นาซ่ายังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดอื่นใดอีกเกี่ยวกับการถ่ายภาพไต้ฝุ่นลูกล่าสุด
วันที่ 6 พ.ย. ปีที่แล้ว ดาวเทียมอะควา (Aqua) ของนาซ่า ได้ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า MODIS หรือ Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer ถ่ายภาพสวยงามอีกภาพหนึ่ง ในเวลาเที่ยงวันเศษ ขณะซูเปอร์ไต้ฝุ่นไห่แย่น (Haiyan) อยู่ห่างหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ไปทางทิศตะวันออก 100 กม.เศษ ภาพนั้นได้เผยให้เห็นรายละเอียดต่างๆ จำนวนมาก รวมทั้งสายฟ้าแลบแปลบปลาบที่เกิดจากฟ้าผ่าภายในแก่นใจกลางของพายุอีกด้วย
เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพราะว่าดาวเทียมจะต้องโคจรเข้าไปอยู่ในตำแหน่งที่พอดีๆ และ ทำมุมกับ “นัยน์ตาแห่งพายุ” อย่างเหมาะเจาะเท่านั้นจึงจะมีภาพเช่นนี้ออกมาให้เห็นได้ และ บ่ายวันที่ 4 ธ.ค.ที่ผ่านมา ก็เป็นความบังเอิญอย่างลงตัวอีกครั้งหนึ่ง ระหว่างธรรมชาติกับเทคโนโลยีล้ำหน้าขององค์การนาซ่าสหรัฐฯ
จนถึงบ่ายวันศุกร์ 5 ธ.ค.นี้ ซูเปอร์ไต้ฝุ่นฮากูปี๊ต ยังคงความแรงอย่างคงเส้นคงว่า ถึงแม้ว่าจะอ่อนลงจากเมื่อ 24 ขั่วโมงก่อนหน้านี้ ในขณะเคลื่อนที่เร็วกว่าเดิม แต่ก็ยังคงระดับ “ซูเปอร์ไต้ฝุ่น” เอาไว้อย่างครบเครื่อง องค์การพยากรณ์อากาศแห่งฟิปปินส์ หรือ PAGASA ได้ออกจดหมายพยากรณ์อากาศเวลาตอนเที่ยงวันศุกร์ว่า ไต้ฝุ่นจะถึงฝั่งในคืนวันเสาร์ที่ 6 ธ.ค.นี้ ขณะอ่อนกำลังเป็นไต้ฝุ่นระดับ 4 เร็วกว่าที่เคยพยากรณ์เอาไว้ครั้งก่อนหลายชั่วโมง
ด่านแรกที่จะต้องเผชิญกับไต้ฝุ่นระดับ 4 ก็คือ เกาะซามาร์ (Samar) ซึ่งเป็นเกาะใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ นอกจากนั้น ทั่วภูมิภาคในเขตวิซายาส (Visayas) หรือหมู่เกาะภาคกลาง จะเริ่มมีฝนตกหนักจนถึงฝนกระจายทั่วไปตั้งแต่เช้าวันเสาร์
ศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์แห่งชาติเวียดนาม ได้ออกคำเตือนเมื่อเวลา 15.30 น. วันศุกร์นี้ ให้ชาวเรือระวังคลื่นสูงกับลมแรงตั้งแต่วันเสาร์นี้เช่นกัน และไม่ควรออกจับปลาไกลฝั่ง รวมทั้งแนะนำให้ติดตามการพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิดเป็นรายชั่วโมง ทั้งนี้ เนื่องจากไต้ฝุ่นฮากูปี๊ต มีพัฒนาการอย่างผันผวนตลอดเวลา
แผนภูมิพยากรณ์ชิ้นล่าสุดที่ออกเมื่อเวลา 15.32 น. ได้แสดงให้เห็นพายุที่คาดว่าจะเชิดหัวขึ้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเล็กน้อยในอีก 2 วันข้างหน้า แต่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์กลางของเวียดนามยังไม่ได้แสดงปลายทางสุดท้ายของไต่ฝุ่นฮากูปี๊ต ขณะที่สำนักพยากรณ์อากาศชั้นนำแห่งอื่นๆ ในย่านนี้ ตือ ทั้งในฮ่องกง ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และไกลออกไปจนถึงศูนย์ร่ววมเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐฯ (Joint Typhoon Warning Center) ในนครโฮโนลูลู ต่างก็ลากเส้นตรงล่วงหน้า ไปจนถึงย่านตะวันออกทะเลจีนใต้ แสดงแนวเคลื่อนตัวของไต้ฝุ่นฮากูปี๊ตต้นสัปดาห์หน้า
“ในระยะ 48-72 ชั่วโมงข้างหน้านี้ พายุอาจจะเคลื่อนตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ ด้วยความเร็วราว 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีความเป็นได้อย่างมากที่ไต้ฝุ่นฮากูปี๊ต จะเคลื่อนเข้าสู่ทะเลตะวันออก (ทะเลจีนใต้) ในขณะที่กำลังพัฒนาไปอย่างสลับซับซ้อน .. จึงควรติดตามการพยากรณ์อากาศต่อไปอย่างใกล้ชิด” ศูนย์อุตุนิยมวิทยาฯ ในกรุงฮานอยกล่าว.