หรือว่า Philae ได้เล็มหญ้าที่ปากปล่องภูเขาไฟ ระหว่างที่มันกระดอนในครั้งแรก?

สำหรับผู้ที่สงสัยว่า อะไรคือ Philae และ Rosetta
Philae คือยานอวกาศที่ไปลงจอดบนดาวหาง และ Rosetta คือยานที่พา Philae ไปที่นั่นครับ
ลองเข้าไปดูกระทู้เก่าที่นี่นะครับ http://ppantip.com/topic/32843199

ข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมโดย ROMAP [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้จากยาน Philae ซึ่งจะถูกนำมาสร้างเป็นเส้นทางการโคจรของ Philae ไปจนถึงพื้นที่ลงจอดสุดท้ายได้
จากที่ได้มีการอธิบายใว้ก่อนหน้านี้[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ว่าข้อมูลจากสนามแม่เหล็กนั้น สามารถนำมาใช้ในการตรวจสอบเส้นทางการลงจอดได้
เพราะทั้งบน Rosetta และ Philae นั้น มีวงจรสร้างสนามแม่เหล็กขนาดเล็กอยู่ ซึ่งสนามแม่เหล็กเหล่านี้ จะเข้าไปเป็นสัญญาณรบกวนในข้อมูล ซึ่งปรกติแล้วมันจะถูกลบออกไปจากข้อมูลในขั้นตอนของการวิเคราะห์สนามแม่เหล็กจากดาวหาง และลมสุริยะ
แต่ระหว่างการลงจอดของยาน Philae นั้น สัญญาณรบกวนเหล่านี้ จะถูกวัด และติดตามว่า มีอะไรที่เกิดขึ้นบ้าง ระหว่างการลงจอด


ภาพแสดงความหนาแน่นของ สเปกตรัมพลังงานแบบ ไดนามิก




ROMAP timeline
ในตอนนี้นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้ข้อมูลจาก ROMAP ในการลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ระหว่างการลงจอดในวันที่ 12 พฤศจิกายนได้แล้ว

- ช่วงการแยกตัวนั้น ถูกยืนยันจากการหายไปของการรบกวนจากสนามแม่เหล็ก ซึ่งลดลงตามระยะที่ห่างจาก Rosetta
ในช่วงนี้ Philae นั้น มีการหมุน ด้วยความเร็วประมาณ 1 รอบ ในเวลา 5 นาที

- Landing Gear ได้กางออกอย่างสมบูรณ์ พร้อมกับความเร็วในการหมุนที่ลดลงเหลือ 1 รอบ ใน 8 นาทีครึ่ง

- แขน ROMAP ได้ยื่นออกไปแล้ว และการรบกวนที่ลดลงของสนามแม่เหล็ก ก็สอดคล้องกบั ระยะที่เพิ่มขึ้นของ ROMAP เมื่อเทียบกับจุดเดิม

- ระหว่างการลงจอดที่ยาวนานถึง 7 ชั่วโมง ระบบเครื่องมือวัดทุกอย่างปรกติดี และ ROMAP ได้บันทึกว่ามีการลงจอดครั้งแรก ณ เวลา 15.34.04 GMT
ซึ่งสามารถรับสัญญาณได้หลังจากนั้น 28 นาที และถูกยืนยันที่เวลา 16.03 GMT

- หลังจากการลงจอดครั้งแรก การหมุนเริ่มเร็วขึ้น ขณะที่ Philae กระดอนจากพื้นผิวดาว ส่วนควบคุม Flywheel ของยานถูกปิดลง ไปนาน 40 นาที
ซึ่ง Flywheel นี้มีหน้าที่สร้างโมเมนตัมเชิงมุมให้กับ Philae หลังจากจุดนี้ Philae มีอาการหมุนด้วยความเร็ว 1 รอบ ใน 13 วินาที

- ในเวลา 16.20 GMT Philae ได้ชนเข้ากับพื้นผิวบางอย่าง เช่น ขอบของผิวดาว
"มันไม่เหมือนกับการลงจอดในครั้งแรก เพราะมันไม่มีลักษณะของการชะลอตัวในแนวดิ่ง แต่มีการลดลงเพียงเล็กน้อยของ Boom ของ ROMAP
เหมือนการลงจอดในครั้งแรก เราคิดว่า Philae อาจจะแตะพื้นด้วยขาเพียงข้างเดียว และอาจจะมีการไถลไปบนขอบของผิวดาว
และหลังจากนั้น Philae ก็ร่วงลงมา เราไม่เห็นว่ามี การหมุนธรรมดาในแกนดิ่งเลย มันเป็นการเคลื่อนที่ที่ซับซ้อน
กับสัญญาณสนามแม่เหล็กที่วัดได้ค่อนข้างแรง"

- ตามด้วยการลดลงของความเร็วในการหมุน มาอยู่ที่ 1 รอบ ใน 24 วินาที

- เวลา 17.25.26 GMT Philae ได้ลงจอดอีกครั้ง ในตอนแรกเหมือนจะแตะด้วยขาข้างเพียงเดียว แต่สุดท้ายแล้ว ก็ได้รับสัญญาณแตะพื้นครบทั้งสามขา

- เวลา 17.31.17 GMT หลังจากมีการเดินทางเพิ่มขึ้นไม่อีกกี่เมตร Philae ก็ได้ลงจอดอย่างสมบูรณ์แบบ

การทำความเข้าใจ ภาพแสดงความหนาแน่นของ สเปกตรัมพลังงานแบบ ไดนามิก
ในภาพนั้นแสดงรายละเอียด สัญญาณการลงจอดของ Philae ระหว่างการลงจอดครั้งแรก และครั้งที่สอง
ในทั้งสามภาพ จากบนลงล่าง แสดงถึงส่วนประกอบ X , Y และ Z ตามลำดับ สีจะแสดงถึงขนาดความเข้มของพลังงานของความถี่นั้นๆ
เช่น สีแดง จะมีความเข้มของพลังงานมากกว่าสีฟ้า

เส้นสีแดงบางๆ ในองค์ประกอบ X และ Y คือเส้นที่แสดงการเพิ่มขึ้นของความถี่(ส่วนสีส้ม) ขณะที่ Philae หมุนเร็วขึ้น Flywheel จะต้องหมุนช้าลง
เพื่อเป็นการรักษาโมเมนตั้มของระบบ และถ้าหากไม่มีการแตะที่พื้นผิวดาว โมเมนตั้มนี้ควรจะถูกรักษาใว้ไปเรื่อยๆ
(ค่าความเสียดทานจากบรรยากาศมีไม่มากจนมีนัยสำคัญ) และความถี่ทั้งหมดควรจะคงที่หลังจาก Flywheel ได้ถ่ายเทโมเมนตั้มทั้งหมดให้กับ Philae
แต่เนื่องจาก Flywheel ได้ถูกปิดลง และแรงเฉื่อยการหมุนของ Philae ไม่ได้ตรงกับ แกน X , Y และ Z อย่างสมบูรณ์
การลดลงของความเร็วในการหมุนนั้นสามารถพบได้ในช่วงเวลาประมาณ 16.15 GMT และมีการเอียงเล็กน้อยของแกนการหมุน

แต่ในเวลาประมาณ 16.20 นั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงความเร็วในการหมุนอย่างรวดเร็ว สามารถเห็นได้จากทั้ง 3 องค์ประกอบ (X , Y และ Z )
ซึ่งได้มีการทำเครื่องหมายเป็นแถบสีแดงแนวตั้งใว้เพื่อแสดงว่า นี่คือจุดเริ่มที่ความเร็วในการหมุนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
และจุดนี้กลับมาเห็นได้อย่างเด่นชัดในองค์ประกอบของ Z (แถบสีเหลือ และสีส้ม ที่ไม่เคยมีมาก่อนหน้า) ซึ่งแสดงถึงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
ในการเปลี่ยนแกนหมุน มีเพียงสิ่งเดียวที่สามารถอธิบายเหตุการณ์นี้ได้คือ เกิดการชนกับพื้นซึ่งทำให้เกิดจุดหมุน
และนั่นทำให้ Philae มีการเปลี่ยนแปลงของแกนการหมุน

เริ่มต้นอย่างลำบาก แต่จบอย่างสวยงาม
แม้การลงจอดบนดาวหางนี้จะเริ่มต้นด้วยความขรุขระ เครื่องมือวัดทั้งหมดของ Philae จะถูกใช้งานนาน 2 วัน
ในบล๊อกล่าสุดนั้นได้มีการอธิบายผลการศึกษาเบื้องต้นจาก MUPUS , SD2 และ SESAME
แต่การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์นั้นกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ

จุดลงจอดสุดท้ายของ Philae นั้น ยังอยู่ในระหว่างการค้นหา มีการนำข้อมูลจาก ROMAP ร่วมกับเครื่องมือวัดต่างๆ ทั้งจาก Rosetta และ Philae
มาวิเคราะห์เพื่อสร้างเส้นทางการลงจอดของ Philae และระบุว่าจุดลงจอดสุดท้ายของ Philae นั้น น่าจะเป็นที่ใด

และในระหว่างที่ Philae กำลังพักอยู่นั้น เราหวังว่าพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่มันจะได้รับหลังจากนี้นั้นมากพอที่จะกลับมาทำภารกิจบนดาวหาง 67P ต่อไป
ในขณะเดียวกัน Rosetta ก็จะทำการตรวจสอบวงโคจรของดาวหางต่อไป ซึ่งปัจจุบันนี้มันอยู่ในระยะห่าง 30 กิโลเมตร จากดาวหาง
และจะยังคงศึกษาดาวหาง ในขณะที่มันกำลังถูกเผาจากการเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ในเดือนสิงหาคม 2015 นี้ด้วย

http://blogs.esa.int/rosetta/2014/11/11/tracking-philaes-descent-with-magnetic-data/

ปล. ชื่อหัวกระทู้ พอดีใช้ Google แปลแล้วถูกใจดี เลยเอามาตั้งครับ
และแน่นอนครับ ไม่มีหญ้าบนดาวหาง ถึงจะมีแต่ Philae คงไม่เล็มหญ้าแน่นอน
แต่ถ้าเป็นจับกบ ก็ไม่แน่นะครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่