พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔
อริยสัจ ๔ คือ หลักคำสอนเพื่อความหลุดพ้นจากความทุกข์ที่จิตโง่สร้างขึ้นมาเอง
การที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์ของจิตโง่ ก็ต้องมีปัญญาที่เห็นแจ้งชีวิตเป็นตัวนำ โดยมีสมาธิเป็นกำลัง และมีศีลเป็นพื้นฐาน
ปัญญา คือความรู้แจ้งเห้นจริงในชีวิต ในโลก ว่ามันไม่ได้มีสิ่งใดเป็นตัวตนของมันเอง (อนัตตา) ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงสิ่งที่ถูกปรุงแต่งหรือสร้างให้เกิดขึ้นมาเป็นตัวตนชั่วคราวเท่านั้น (อนิจจัง) แม้เมื่อยังตั้งอยู่ มันก็ยังต้องทนที่จะประคับประคองตัวตนชั่วคราวของมันเอาไว้ด้วยความยากลำบาก (ทุกขัง) ซึ่งทั้งร่างกายและจิตใจที่สมมติเรียกว่าเป็นตัวเรานี้ก็ตกอยู่ในลักษณะนี้ด้วยเหมือนกัน ไม่มียกเว้น
สมาธิ ก็คือ จิตที่บริสุทธิ์จากกิเลสและนิวรณ์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นความชั่วร้ายที่ครอบงำจิตทำให้จิตไม่มีสมาธิและปัญญา แล้วก็ทำให้จิตเศร้าหมองและเป็นทุกข์ อีกทั้งสมาธิยังเป็นจิตที่ตั้งมั่น เข้มแข็ง และอ่อนโยนควรคู่แก่การงาน โดยเฉพาะงานดับทุกข์
ศีล คือ จิตที่ปกติเพราะมีการรักษากายและวาจาให้ถูกต้องดีงามอยู่เสมอ โดยการรักษากายก็คือการมีเจตนาที่จะไม่เบียดเบียนชีวิตและทรัพย์สินรวมทั้งกามารมณ์ของผู้อื่น ส่วนการรับษาวาจาก็คือ การมีเจตนาที่จะไม่พูดคำหยาบ โกหก ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ (ข้อนี้ก็สำคัญแต่คนทั่วไปมักทำกันไม่ค่อยได้)
เมื่อมีศีลก็จะทำให้จิตปกติและมีสมาธิได้ง่าย แล้วก็ทำให้จิตสงบตั้งมั่น สามารถพิจารณาความจริงของร่างกายและจิตใจจนเกิดปัญญาเห็นแจ้งความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาได้ แล้วก็ทำให้จิตปล่อยวางความยึดถือว่าร่างกายและจิตใจนี้คือตนเอง (ตัวเรา-ของเรา) ลงได้ (แม้เพียงชั่วคราว) เมื่อจิตไม่มีความยึดถือ (ความยึดถือก็คือกิเลส) มันก็ไม่มีทุกข์ เมื่อไม่มีทุกข์ มันก็นิพพาน (สงบเย็น)
นี่คือหนทางสู่ความพ้นทุกข์ตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้าโดยสรุป (ศึกษาโดยละเอียดได้ที่นี่
http://www.whatami.net/ )
วิถีพุทธ คือ ทางเดินสู่ความพ้นทุกข์
อริยสัจ ๔ คือ หลักคำสอนเพื่อความหลุดพ้นจากความทุกข์ที่จิตโง่สร้างขึ้นมาเอง
การที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์ของจิตโง่ ก็ต้องมีปัญญาที่เห็นแจ้งชีวิตเป็นตัวนำ โดยมีสมาธิเป็นกำลัง และมีศีลเป็นพื้นฐาน
ปัญญา คือความรู้แจ้งเห้นจริงในชีวิต ในโลก ว่ามันไม่ได้มีสิ่งใดเป็นตัวตนของมันเอง (อนัตตา) ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงสิ่งที่ถูกปรุงแต่งหรือสร้างให้เกิดขึ้นมาเป็นตัวตนชั่วคราวเท่านั้น (อนิจจัง) แม้เมื่อยังตั้งอยู่ มันก็ยังต้องทนที่จะประคับประคองตัวตนชั่วคราวของมันเอาไว้ด้วยความยากลำบาก (ทุกขัง) ซึ่งทั้งร่างกายและจิตใจที่สมมติเรียกว่าเป็นตัวเรานี้ก็ตกอยู่ในลักษณะนี้ด้วยเหมือนกัน ไม่มียกเว้น
สมาธิ ก็คือ จิตที่บริสุทธิ์จากกิเลสและนิวรณ์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นความชั่วร้ายที่ครอบงำจิตทำให้จิตไม่มีสมาธิและปัญญา แล้วก็ทำให้จิตเศร้าหมองและเป็นทุกข์ อีกทั้งสมาธิยังเป็นจิตที่ตั้งมั่น เข้มแข็ง และอ่อนโยนควรคู่แก่การงาน โดยเฉพาะงานดับทุกข์
ศีล คือ จิตที่ปกติเพราะมีการรักษากายและวาจาให้ถูกต้องดีงามอยู่เสมอ โดยการรักษากายก็คือการมีเจตนาที่จะไม่เบียดเบียนชีวิตและทรัพย์สินรวมทั้งกามารมณ์ของผู้อื่น ส่วนการรับษาวาจาก็คือ การมีเจตนาที่จะไม่พูดคำหยาบ โกหก ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ (ข้อนี้ก็สำคัญแต่คนทั่วไปมักทำกันไม่ค่อยได้)
เมื่อมีศีลก็จะทำให้จิตปกติและมีสมาธิได้ง่าย แล้วก็ทำให้จิตสงบตั้งมั่น สามารถพิจารณาความจริงของร่างกายและจิตใจจนเกิดปัญญาเห็นแจ้งความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาได้ แล้วก็ทำให้จิตปล่อยวางความยึดถือว่าร่างกายและจิตใจนี้คือตนเอง (ตัวเรา-ของเรา) ลงได้ (แม้เพียงชั่วคราว) เมื่อจิตไม่มีความยึดถือ (ความยึดถือก็คือกิเลส) มันก็ไม่มีทุกข์ เมื่อไม่มีทุกข์ มันก็นิพพาน (สงบเย็น)
นี่คือหนทางสู่ความพ้นทุกข์ตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้าโดยสรุป (ศึกษาโดยละเอียดได้ที่นี่ http://www.whatami.net/ )