พอดี พ่อผมได้รับ ข้อความ fwd มา เกี่ยวกับ การออมเงิน มาตรา40
ที่ว่า ออมเงิน แล้วจะรัฐจะสมทบให้อีกเท่านึง อ่านแล้ว ก็ยังสงสัย แล้วก็ไม่ค่อยแน่ใจเท่าไรว่า เป็นจริงหรือเปล่า
แล้วมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง
....... เพราะมันดูง่ายเกินไป ที่ว่าออม200บาท รัฐจ่ายสมทบ150บาท เท่ากับ เราจะได้350บาท
แล้วสามารถถอนออกเมื่อไรก็ได้ เท่ากับถ้าผม ฝากไป 3 เดือน ผมอยากถอนออก
ผมก็จะได้ 1350 บาท (เป็นเงินเราเอง600บาท รัฐสมทบให้450บาท) เลยหรอครับ
มีใครเคยออมเงิน มาตรา40 แล้วมั่งครับ อยากถามรายละเอียดหน่อยครับ
ขอบคุณครับ
--------------------------------------------------------------------
ข้อความที่ได้รับการ fwd มาครับ รายละเอียดด้านล่าง
เรื่องที่ผู้สูงวัยหรือลูกหลานควรอ่าน เพื่อประโยชน์ของผู้สูงวัยโดยเฉพาะ
ผู้สูงวัยในที่นี้ คือผู้สูงอายุตามที่กฏหมายบัญญัติไว้ คือบุคคลที่มีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์
เรื่องนี้ เป็นเรื่องของผู้สูงวัยทุกคน
หลายท่านอาจจะทราบมาบ้างแล้ว แต่ก็อีกหลายท่านยังไม่เคยรับทราบมาก่อน
ถือเป็นการย้ำเตือนและเป็นความรู้ใหม่สำหรับท่านที่ไม่เคยทราบมาก่อนก็แล้วกันครับ
คือเรื่องการสร้างความมั่นคงให้ชีวิต กับการประกันตนตามมาตรา 40 ซึ่งบัญญัติว่า...
“บุคคลอื่นใดซึ่งมิใช่ลูกจ้างตามมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ โดยให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ.....…”
ง่ายๆ สั้นๆ... ก็คือทุกคนที่มีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ สามารถสมัครออมเงินตามมาตรา 40 ได้ ไม่ว่าจะเคยมีอาชีพใดหรือไม่เคยมีอาชีพใดมาก่อน ซึ่งถือเป็นการออมเงินวิธีหนึ่ง แล้วรัฐออกให้อีกส่วนหนึ่ง
แต่อย่าเพิ่งดีใจนะครับ รัฐไม่ได้สบทบให้เป็นร้อยละหรือตามที่เราต้องการออมหรอก เพราะหากต้องการออมเดือนละหมื่นสองหมื่น แล้วรัฐออกให้ส่วนหนึ่ง รัฐเจ็งแน่นอน
สำนักงานประกันสังคมได้กำหนดเพดานในการออมไว้ว่า คนหนึ่งออมได้จำนวนเท่าไรและรัฐจ่ายให้อีกจำนวนเท่าไร
โดยได้แยกประเภทของผู้สูงอายุออกเป็น 2 ประเภท...
ประเภทแรก คือผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปี แต่ไม่ถึง 65 ปี
ประเภทที่สอง
คือผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป
ประเภทแรก มีทางเลือกในการออมถึง 5 วิธี แต่แนะนำให้เลือกวิธีที่ 5 ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด คือ ออม 200 บาท แล้วรัฐจ่ายให้ 150 บาท
ส่วนประเภทที่สองนั้น เลือกได้เฉพาะทางเลือกที่สามออมเดือนละ 100 บาท รัฐสบทบให้ 100 บาท
และสามารถออมย้อนหลังไปได้ถึงเดือนพฤศจิกายน 2555
ที่สำคัญที่สุดก็คือ เงินที่ออมไว้แล้วนั้น อยากจะลาออกเมื่อไรก็ได้นะครับ ได้เงินที่ออมไว้ทั้งหมดคืนมาพร้อมรับเงินที่รัฐออกสบทบให้ด้วย
คุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้ม โดยเฉพาะผู้สูงวัย
สำหรับประเภทที่สอง ได้เงินเพิ่มขึ้นมาร้อยละร้อยเลยนะครับ
แต่ท่านไม่ต้องสนใจเรื่องประเภทไหนหรอกครับ เพราะเจ้าหน้าที่สำนักประกันสังคมเขาจะแนะนำทางเลือกที่ดีที่สุดให้แก่ท่านเอง
ที่สำคัญเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมที่ผู้เขียนได้สัมผัสนั้น แต่ละท่านต้อนรับขับสู้ด้วยหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส น่าคุยด้วย
ผู้เขียนไปจัดการออมเรียบร้อยแล้วที่สำนักประกันสังคม เขต 2 ประชาชื่น จ่ายเงินย้อนหลังและล่วงหน้าเท่าที่ที่จ่ายได้ไปเรียบร้อยแล้ว4,000 บาท
ได้พบกับเจ้าหน้าที่ประกันสังคมชื่อ..
"คุณวิไลภรณ์ รอดจันทร์" ซึ่งเป็นผู้มีอัธยาศัยไมตรีอันดียิ่ง
ยิ่งทราบว่าจะนำไปเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ด้วยแล้ว เธออธิบายให้ฟังอย่างละเอียดยิบเลยครับ
เธอย้ำว่าหากท่านใดประสงค์จะออมเงินตามมาตรา 40ก็รีบไปดำเนินการด้วย
"ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 8 ธันวาคม 2557 เท่านั้น"
ดีใจแทนท่านเลขาธิการประกันสังคมด้วยนะครับที่มีเจ้าหน้าที่ประกันสังคมซึ่งให้บริการประชาชนด้วยใจ
พุธทรัพย์ มณีศรี
puthsup@gmail.com
ออมเงินแล้วได้เพิ่มเป็นเท่าตัว
ที่ว่า ออมเงิน แล้วจะรัฐจะสมทบให้อีกเท่านึง อ่านแล้ว ก็ยังสงสัย แล้วก็ไม่ค่อยแน่ใจเท่าไรว่า เป็นจริงหรือเปล่า
แล้วมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง
....... เพราะมันดูง่ายเกินไป ที่ว่าออม200บาท รัฐจ่ายสมทบ150บาท เท่ากับ เราจะได้350บาท
แล้วสามารถถอนออกเมื่อไรก็ได้ เท่ากับถ้าผม ฝากไป 3 เดือน ผมอยากถอนออก
ผมก็จะได้ 1350 บาท (เป็นเงินเราเอง600บาท รัฐสมทบให้450บาท) เลยหรอครับ
มีใครเคยออมเงิน มาตรา40 แล้วมั่งครับ อยากถามรายละเอียดหน่อยครับ
ขอบคุณครับ
--------------------------------------------------------------------
ข้อความที่ได้รับการ fwd มาครับ รายละเอียดด้านล่าง
เรื่องที่ผู้สูงวัยหรือลูกหลานควรอ่าน เพื่อประโยชน์ของผู้สูงวัยโดยเฉพาะ
ผู้สูงวัยในที่นี้ คือผู้สูงอายุตามที่กฏหมายบัญญัติไว้ คือบุคคลที่มีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์
เรื่องนี้ เป็นเรื่องของผู้สูงวัยทุกคน
หลายท่านอาจจะทราบมาบ้างแล้ว แต่ก็อีกหลายท่านยังไม่เคยรับทราบมาก่อน
ถือเป็นการย้ำเตือนและเป็นความรู้ใหม่สำหรับท่านที่ไม่เคยทราบมาก่อนก็แล้วกันครับ
คือเรื่องการสร้างความมั่นคงให้ชีวิต กับการประกันตนตามมาตรา 40 ซึ่งบัญญัติว่า...
“บุคคลอื่นใดซึ่งมิใช่ลูกจ้างตามมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ โดยให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ.....…”
ง่ายๆ สั้นๆ... ก็คือทุกคนที่มีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ สามารถสมัครออมเงินตามมาตรา 40 ได้ ไม่ว่าจะเคยมีอาชีพใดหรือไม่เคยมีอาชีพใดมาก่อน ซึ่งถือเป็นการออมเงินวิธีหนึ่ง แล้วรัฐออกให้อีกส่วนหนึ่ง
แต่อย่าเพิ่งดีใจนะครับ รัฐไม่ได้สบทบให้เป็นร้อยละหรือตามที่เราต้องการออมหรอก เพราะหากต้องการออมเดือนละหมื่นสองหมื่น แล้วรัฐออกให้ส่วนหนึ่ง รัฐเจ็งแน่นอน
สำนักงานประกันสังคมได้กำหนดเพดานในการออมไว้ว่า คนหนึ่งออมได้จำนวนเท่าไรและรัฐจ่ายให้อีกจำนวนเท่าไร
โดยได้แยกประเภทของผู้สูงอายุออกเป็น 2 ประเภท...
ประเภทแรก คือผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปี แต่ไม่ถึง 65 ปี
ประเภทที่สอง
คือผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป
ประเภทแรก มีทางเลือกในการออมถึง 5 วิธี แต่แนะนำให้เลือกวิธีที่ 5 ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด คือ ออม 200 บาท แล้วรัฐจ่ายให้ 150 บาท
ส่วนประเภทที่สองนั้น เลือกได้เฉพาะทางเลือกที่สามออมเดือนละ 100 บาท รัฐสบทบให้ 100 บาท
และสามารถออมย้อนหลังไปได้ถึงเดือนพฤศจิกายน 2555
ที่สำคัญที่สุดก็คือ เงินที่ออมไว้แล้วนั้น อยากจะลาออกเมื่อไรก็ได้นะครับ ได้เงินที่ออมไว้ทั้งหมดคืนมาพร้อมรับเงินที่รัฐออกสบทบให้ด้วย
คุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้ม โดยเฉพาะผู้สูงวัย
สำหรับประเภทที่สอง ได้เงินเพิ่มขึ้นมาร้อยละร้อยเลยนะครับ
แต่ท่านไม่ต้องสนใจเรื่องประเภทไหนหรอกครับ เพราะเจ้าหน้าที่สำนักประกันสังคมเขาจะแนะนำทางเลือกที่ดีที่สุดให้แก่ท่านเอง
ที่สำคัญเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมที่ผู้เขียนได้สัมผัสนั้น แต่ละท่านต้อนรับขับสู้ด้วยหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส น่าคุยด้วย
ผู้เขียนไปจัดการออมเรียบร้อยแล้วที่สำนักประกันสังคม เขต 2 ประชาชื่น จ่ายเงินย้อนหลังและล่วงหน้าเท่าที่ที่จ่ายได้ไปเรียบร้อยแล้ว4,000 บาท
ได้พบกับเจ้าหน้าที่ประกันสังคมชื่อ..
"คุณวิไลภรณ์ รอดจันทร์" ซึ่งเป็นผู้มีอัธยาศัยไมตรีอันดียิ่ง
ยิ่งทราบว่าจะนำไปเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ด้วยแล้ว เธออธิบายให้ฟังอย่างละเอียดยิบเลยครับ
เธอย้ำว่าหากท่านใดประสงค์จะออมเงินตามมาตรา 40ก็รีบไปดำเนินการด้วย
"ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 8 ธันวาคม 2557 เท่านั้น"
ดีใจแทนท่านเลขาธิการประกันสังคมด้วยนะครับที่มีเจ้าหน้าที่ประกันสังคมซึ่งให้บริการประชาชนด้วยใจ
พุธทรัพย์ มณีศรี
puthsup@gmail.com