คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ข้อ 1 ไม่ทราบครับ
ข้อ 2 ผมหามาจากเนทนี่แหละครับ
มาตรา 34 “ในการใช้ทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป หรือที่ได้จัดช่องเดินรถประจำทางไว้ในช่องเดินรถซ้ายสุด(อันนี้ส่วนมากต่างจังหวัดไม่มี) ผู้ขับขี่ต้องขับรถในช่องซ้ายสุด” ถนนลักษณะนี้ คือ ทางหลวงทั่วๆ ไป เช่น พหลโยธิน สุขุมวิท เพชรเกษม หรือเส้นอื่นๆ ที่มีช่องเดินรถทั้งฝั่งขาขึ้น-ขาล่อง ฝั่งละอย่างน้อย 2 เลนขึ้นไป อาจเป็น 3 เลนขึ้นไปก็ได้ครับในบางช่วง อันนี้โดยหลักคือ ต้องขับในเลนซ้ายก่อนครับ ยกเว้นกรณี (1)-(5) ที่กฎหมายอนุญาตให้วิ่งในเลนขวาได้ สรุปคือ
(1) ในเลนซ้ายมีสิ่งกีดขวาง หรือถูกปิด
(2) ถนนเส้นนี้เป็นทางเดินรถทางเดียว(One Way) เดี๋ยวขออธิบายที่หลังครับ
(3) จะต้องเข้าช่องทางให้ถูกต้องเมื่อถึงทางแยก
(4) เมื่อจะแซงรถคันอื่น
(5) เมื่อผู้ขับขี่ขับรถด้วยความเร็วสูงกว่ารถในช่องเดินรถด้านซ้าย หรือก็คือการแซงยาวๆ นั่นแหละครับ
กรณีที่มักเกิดปัญหาก็คือ ข้อ (4) กับ (5)
เริ่มด้วยข้อ (4) เมื่อจะแซงรถคันอื่น อันนี้คือ เมื่อเราแซงรถที่เราต้องการแซงแล้ว และไม่มีรถทางด้านซ้ายให้แซงอีก ผู้ขับขี่ก็จะต้องกลับเข้ามาขับในเลนซ้ายเหมือนเดิมครับ ตามมาตรา 34 ที่อธิบายข้างต้น
คราวนี้มาข้อ (5) เมื่อผู้ขับขี่ขับรถด้วยความเร็วสูงกว่ารถในช่องเดินรถด้านซ้าย หรือก็คือการแซงยาวๆ นั่นแหละครับ อันนี้คือ เมื่อเราแซงรถที่เราต้องการแซงแล้ว และยังมีรถทางด้านซ้ายที่วิ่งช้ากว่าเราอยู่ ผู้ขับขี่สามารถขับแซงในเลนขวาต่อเนื่องได้ครับ จนกว่าจะไม่มีรถทางด้านซ้ายให้แซงอีก จากนั้นก็จะต้องเข้ามาขับในเลนซ้ายเหมือนกันครับ
มาตรา 35 “รถที่วิ่งช้า หรือความเร็วต่ำกว่า รถคันอื่นที่ขับในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบทางเดินรถด้านซ้ายเท่าที่จะทำได้” อันนี้ความหมายค่อนข้างชัดเจนว่ารถช้ากว่าต้องวิ่งทางซ้ายครับ
ต่อมาคือ รถบรรทุก รถโดยสาร จยย. ในการใช้ทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป ก็คือถนนที่อธิบายไว้ในมาตรา 34 ช่วงแรกครับ เช่น สุขุมวิท รถ 3 ประเภทนี้ต้องขับรถในเลนซ้ายสุดเท่านั้น ตรงนี้คือบังคับเลยครับ
ส่วนข้อยกเว้นว่า “ความในวรรคสองไม่ให้ใช้บังคับกับรถบรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักไม่เกิน หนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม(ปิคอัพ) และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน(รถตู้) ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์” นั้น ให้พวกเราคิดแบบนี้ครับ
ให้ลองสมมติสภาพถนนที่มีขาขึ้น-ขาล่อง ฝั่งละ 3 เลน แล้วเป็นสภาพที่ถนนโล่งๆ ที่มีรถวิ่งอยู่ไม่กี่คัน คราวนี้ทั้งรถบรรทุก รถโดยสาร จยย. รถทั้ง 3 ประเภทนี้ที่วิ่งอยู่บนถนน ก็ยังคงต้องวิ่งในเลนซ้ายสุดเท่านั้น ไม่สามารถที่จะไปวิ่งในเลนกลางได้แม้สภาพถนนจะโล่งก็ตาม ไม่ต้องไปคิดถึงเลนขวาสุดครับ แต่ถามว่าแล้วรถบรรทุกสามารถแซงรถคันหน้าที่ช้ากว่าได้ไหม คำตอบคือแซงได้ครับ แต่แซงแล้วต้องรีบกลับเข้าเลนซ้ายทันที แต่ไม่สามารถวิ่งตลอดอยู่ในเลนกลางได้
แต่ในขณะเดียวกัน รถเก๋ง รถปิคอัพ ที่วิ่งอยู่บนถนนในขณะนั้น จะสามารถมาวิ่งตลอดในเลนกลางได้ครับ เพราะเข้าข้อยกเว้นข้างต้น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม รถเก๋ง ปิคอัพ ก็ไม่สามารถไปวิ่งตลอดในเลนขวาสุดได้อยู่ดี เพราะก็ต้องย้อนกลับไปปฏิบัติตามมาตรา 34 ที่บอกว่า “ในการใช้ทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป ผู้ขับขี่ต้องขับรถในช่องซ้ายสุด” ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นครับ ดังนั้นที่บอกว่ารถเก๋ง กับปิคอัพวิ่งขวาได้ จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนครับ
เครดิต https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=663040083724536&id=519620474733165
ข้อ 2 ผมหามาจากเนทนี่แหละครับ
มาตรา 34 “ในการใช้ทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป หรือที่ได้จัดช่องเดินรถประจำทางไว้ในช่องเดินรถซ้ายสุด(อันนี้ส่วนมากต่างจังหวัดไม่มี) ผู้ขับขี่ต้องขับรถในช่องซ้ายสุด” ถนนลักษณะนี้ คือ ทางหลวงทั่วๆ ไป เช่น พหลโยธิน สุขุมวิท เพชรเกษม หรือเส้นอื่นๆ ที่มีช่องเดินรถทั้งฝั่งขาขึ้น-ขาล่อง ฝั่งละอย่างน้อย 2 เลนขึ้นไป อาจเป็น 3 เลนขึ้นไปก็ได้ครับในบางช่วง อันนี้โดยหลักคือ ต้องขับในเลนซ้ายก่อนครับ ยกเว้นกรณี (1)-(5) ที่กฎหมายอนุญาตให้วิ่งในเลนขวาได้ สรุปคือ
(1) ในเลนซ้ายมีสิ่งกีดขวาง หรือถูกปิด
(2) ถนนเส้นนี้เป็นทางเดินรถทางเดียว(One Way) เดี๋ยวขออธิบายที่หลังครับ
(3) จะต้องเข้าช่องทางให้ถูกต้องเมื่อถึงทางแยก
(4) เมื่อจะแซงรถคันอื่น
(5) เมื่อผู้ขับขี่ขับรถด้วยความเร็วสูงกว่ารถในช่องเดินรถด้านซ้าย หรือก็คือการแซงยาวๆ นั่นแหละครับ
กรณีที่มักเกิดปัญหาก็คือ ข้อ (4) กับ (5)
เริ่มด้วยข้อ (4) เมื่อจะแซงรถคันอื่น อันนี้คือ เมื่อเราแซงรถที่เราต้องการแซงแล้ว และไม่มีรถทางด้านซ้ายให้แซงอีก ผู้ขับขี่ก็จะต้องกลับเข้ามาขับในเลนซ้ายเหมือนเดิมครับ ตามมาตรา 34 ที่อธิบายข้างต้น
คราวนี้มาข้อ (5) เมื่อผู้ขับขี่ขับรถด้วยความเร็วสูงกว่ารถในช่องเดินรถด้านซ้าย หรือก็คือการแซงยาวๆ นั่นแหละครับ อันนี้คือ เมื่อเราแซงรถที่เราต้องการแซงแล้ว และยังมีรถทางด้านซ้ายที่วิ่งช้ากว่าเราอยู่ ผู้ขับขี่สามารถขับแซงในเลนขวาต่อเนื่องได้ครับ จนกว่าจะไม่มีรถทางด้านซ้ายให้แซงอีก จากนั้นก็จะต้องเข้ามาขับในเลนซ้ายเหมือนกันครับ
มาตรา 35 “รถที่วิ่งช้า หรือความเร็วต่ำกว่า รถคันอื่นที่ขับในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบทางเดินรถด้านซ้ายเท่าที่จะทำได้” อันนี้ความหมายค่อนข้างชัดเจนว่ารถช้ากว่าต้องวิ่งทางซ้ายครับ
ต่อมาคือ รถบรรทุก รถโดยสาร จยย. ในการใช้ทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป ก็คือถนนที่อธิบายไว้ในมาตรา 34 ช่วงแรกครับ เช่น สุขุมวิท รถ 3 ประเภทนี้ต้องขับรถในเลนซ้ายสุดเท่านั้น ตรงนี้คือบังคับเลยครับ
ส่วนข้อยกเว้นว่า “ความในวรรคสองไม่ให้ใช้บังคับกับรถบรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักไม่เกิน หนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม(ปิคอัพ) และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน(รถตู้) ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์” นั้น ให้พวกเราคิดแบบนี้ครับ
ให้ลองสมมติสภาพถนนที่มีขาขึ้น-ขาล่อง ฝั่งละ 3 เลน แล้วเป็นสภาพที่ถนนโล่งๆ ที่มีรถวิ่งอยู่ไม่กี่คัน คราวนี้ทั้งรถบรรทุก รถโดยสาร จยย. รถทั้ง 3 ประเภทนี้ที่วิ่งอยู่บนถนน ก็ยังคงต้องวิ่งในเลนซ้ายสุดเท่านั้น ไม่สามารถที่จะไปวิ่งในเลนกลางได้แม้สภาพถนนจะโล่งก็ตาม ไม่ต้องไปคิดถึงเลนขวาสุดครับ แต่ถามว่าแล้วรถบรรทุกสามารถแซงรถคันหน้าที่ช้ากว่าได้ไหม คำตอบคือแซงได้ครับ แต่แซงแล้วต้องรีบกลับเข้าเลนซ้ายทันที แต่ไม่สามารถวิ่งตลอดอยู่ในเลนกลางได้
แต่ในขณะเดียวกัน รถเก๋ง รถปิคอัพ ที่วิ่งอยู่บนถนนในขณะนั้น จะสามารถมาวิ่งตลอดในเลนกลางได้ครับ เพราะเข้าข้อยกเว้นข้างต้น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม รถเก๋ง ปิคอัพ ก็ไม่สามารถไปวิ่งตลอดในเลนขวาสุดได้อยู่ดี เพราะก็ต้องย้อนกลับไปปฏิบัติตามมาตรา 34 ที่บอกว่า “ในการใช้ทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป ผู้ขับขี่ต้องขับรถในช่องซ้ายสุด” ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นครับ ดังนั้นที่บอกว่ารถเก๋ง กับปิคอัพวิ่งขวาได้ จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนครับ
เครดิต https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=663040083724536&id=519620474733165
แสดงความคิดเห็น
ขับขวายาว บางนา-ชลบุรี ไม่มีเพื่อนร่วมเลน พร้อมกับโดนชักไฟเตือน งงครับ
ผมวิ่งขวายาวๆเลย ขับค่อนข้างเร็วครับ
ระหว่างทางสังเกตว่า ไม่มีใครขับเลนขวาเลย (เลนขวาจะมีป้าย "ขับช้า ชิดซ้าย" เป็นระยะๆ)
มีแต่ขับเลนกลาง(ส่วนใหญ่) และมีขับซ้ายสุดบ้างประปราย
และที่สำคัญ เลนฝั่งตรงข้าม มีรถเลนขวาเหมือนกัน ชักไฟใส่หลายคัน(ตอนกลางวัน)
และแน่นอนว่าขับไปซักพัก จะเจอกับกล้องจับความเร็ว
คำถามนะครับ...
1. ที่ชักไฟใส่ เค้าไม่ได้ชักไฟใส่รถฝั่งเดียวกับเค้า แต่ชักไฟใส่ผมใช่มั้ยครับ? เพื่อเตือนว่าข้างหน้ามียิงจับความเร็วนะ
2. ทำไมไม่มีใครมาวิ่งเลนขวาเลย ความบังเอิญ หรือกลัวข้อหาวิ่งขวายาว (ข้อหานี้ตลกจริงๆ มีจริงเหรอครับ???)
ขอบคุณครับ
ปล. ผมขับไม่เกิน 120 แน่นอน เพราะผมไม่รู้เลยว่าตรงไหนมีกล้องจับความเร็วบ้าง ไม่อยากเสียเงินโดยใช่เหตุ และที่สำคัญมันเกินที่จราจรอนุโลมครับ
ถึงจะรีบแค่ไหน ก็จะรักษาระดับไว้ที่ 110-117