คือไม่เข้าใจว่าทำไมเวลาเจอคนที่เขาเครียดๆ ซึมเศร้า มีปัญหา
แล้วเราไปพูดแนะนำเขาคนนั้นว่า "ลองหานักจิตวิทยา/จิตแพทย์ดูสิ "
แล้วเรามักจะถูกมองค้อนกลับมาว่าเเป็นการไปด่าเขาซะงั้น???
ทั้งที่การกระทำแบบนี้ (บอกให้ไปหาหมอ) มันดีต่อตัวเขาเองแท้ๆ
มันก็เหมือนเวลาไม่สบายทางกาย เช่น ไข้ขึ้น เราก็บอกเขาไม่หาหมอสิ
แต่นี่คือเขามีความทุกข์ คือไม่สบายใจ เราก็บอกให้ไปโรงพยาบาลจิตเวชดู
เขาทำสีหน้าไม่พอใจเลย คืองง ทั้งที่มันก็เป็นคำแนะนำในทำนองเดียวกันเลยนะ
การไปหาหมอมันแปลกตรงไหน
เราคิดว่า
คนไทยควรปรับทัศนคติใหม่
ไม่อยากให้มองการไปพบนักจิตวิทยาคือพฤติกรรมในทาง negative
ส่วนตัวคิดว่า การไปโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่ดี และควรทำมากๆ
ยิ่งสมัยนี้มีกระบวนการบำบัดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ใครเคยไปหาหมอจิตเวช จะเข้าใจดี
ส่วนพวกที่มัวแต่คิดว่ามันเป็นการดูถูก ก็จมอยู่กับความคิดลบของตัวเองต่อไปแล้วกัน อันนี้ช่วยไม่ได้
ถ้ารักษาตัวเองได้ หรือมีการรักษาทางเลือกอื่น อย่างไปเข้าวัดเข้าวา อะไรก็ตามแต่วิธีการของตนเอง ฯลฯ
แต่อยากบอกว่าอาการทางจิตหลายอย่าง จำเป็นต้องกิน "ยา" นะ ถึงจะหาย
มัวไปให้ใครที่ไหนไม่รู้มาเป่าน้ำมนต์พ่นน้ำลายจนหน้าเป็นกรากก็ไม่หายหรอก
และคนจะจ่ายยาได้ ไม่ใช่พระ ไม่ใช่หมอมดหมอผีที่ไหน แต่ต้องให้จิตแพทย์เป็นวินิจฉัยคนสั่งยาให้
ฉะนั้น ถ้ารักษาตัวเองไม่หาย เราแนะนำไปโรงพยาบาลดีที่สุด ค่าใช้จ่ายก็ไม่ถึงกับแพงหูฉี่
ก็แค่คนยังไม่ชินกับการเข้าแผนกจิตประสาทเท่าไหร่นัก เลยไม่รู้ว่ามันเป็นยังไง
ถ้าเราให้ข้อมูลกับเขา (ผู้ป่วย) เขาก็จะเกิดความตระหนักว่า การไปหาหมอคือสิ่งที่ควรทำ
นักจิตวิทยากล่าไว้ว่าเมื่อไรห่ที่เรามีความคิดว่า "เราควรจะหาหมอดีมั้ย" เมื่อนั้นแหละที่เราควรจะไปหาทันที
เพราะคุณมีความคิดแบบนี้ขึ้นมา แสดงว่ามีความกังวลใจต่ออะไรบางอย่าง ผสมกับความไม่แน่ใจ
เพราะคนป่วยจริงๆ บางคนเขาแคร์ภาพลักษณ์ตัวเองมากๆ เช่น เป็นเจ้าคนนายคน คนรู้จักเยอะ เลยไม่กล้าไปหาหมอ
ถ้าใครเขาได้ยินเข้าว่าหานักจิตวิทยามา ก็คงอายกันหมดเเล้ว เวลาบอกใครว่าไปรพ.ศรีธัญญามา อะไรงี้
อยากฝากไว้ว่า คนเข้า รพ.จิตเวช ก็คือคนปรกตินี่แหละ "ใครๆก็ไปได้"
ไม่เห็นน่าอายเลย ดูอย่างคนฝรั่งเขาเข้าๆ ออกๆ เป็นปรกติ อกหัก ทะเลาะกับคนรัก หมาตาย เอ็นไม่ติด
ก็เห็นเขาไปนั่งคุยระบาย เพราะนักจิตวิทยาจะเป็นผู้กุมความลับไว้ได้ดี (แต่ส่วนใหญ่คนรวยๆไปกัน เพราะค่าบริการแพงมาก)
เรื่องบางเรื่องเราไปเล่าให้เพื่อนสนิทไม่ได้ ไประบายกับพ่อแม่ก็กระไรอย่ เลยเอาไปลงกับนักจิตนี่หละ ดีที่สุด
ที่พร่ำมานี้ ก็แค่อยากให้ทุกคนมองมุมกลับ ปรับมุมมอง
ถึงเวลาแล้วที่ยุคนี้ ประโยค "ไปโรงพยาบาลศรีธัญญา" (หรือ รพ.อื่นๆ) ว่าเป็นประโยคเชิงบวก
เป็นการแนะนำที่ยอดเยี่ยม เท่าที่เราจะแนะนำเขาได้
ส่วนพวกที่มีมุมมองลบๆ ต่อการไป รพ.
หรือไปติเตียน ยัดเยียด ให้เขากลายเป็น second class citizen ในสังคม แล้วพาไปหาหมอมดหมอผี พวกนี้น่าจะจิตกว่านะ
พวกสื่อเองก็เหมือนกัน สมัยก่อนไปสร้างภาพลบๆ ไว้เยอะ ว่าภายใน รพ. น่ากลัว เป็นที่สำหรับคน second class เท่านั้น
ตัวคุณเองก็ไม่ได้ดีไปกว่าเขาเท่าไหร่หรอก รัก โลภ โกรธ หลง ใครจะควบคุมได้ ของพวกนี้ จิตใจมนุษย์ยากแท้หยั่งถึง
ให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เขาศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์มาเขาช่วยรักษาคุณดีกว่า
คุณคิดว่าประโยค "ไปให้จิตแพทย์เช็คหน่อยก็ดีนะ" เป็นคำพูดเชิงลบหรือเชิงบวก ?
แล้วเราไปพูดแนะนำเขาคนนั้นว่า "ลองหานักจิตวิทยา/จิตแพทย์ดูสิ "
แล้วเรามักจะถูกมองค้อนกลับมาว่าเเป็นการไปด่าเขาซะงั้น???
ทั้งที่การกระทำแบบนี้ (บอกให้ไปหาหมอ) มันดีต่อตัวเขาเองแท้ๆ
มันก็เหมือนเวลาไม่สบายทางกาย เช่น ไข้ขึ้น เราก็บอกเขาไม่หาหมอสิ
แต่นี่คือเขามีความทุกข์ คือไม่สบายใจ เราก็บอกให้ไปโรงพยาบาลจิตเวชดู
เขาทำสีหน้าไม่พอใจเลย คืองง ทั้งที่มันก็เป็นคำแนะนำในทำนองเดียวกันเลยนะ
การไปหาหมอมันแปลกตรงไหน
เราคิดว่า
คนไทยควรปรับทัศนคติใหม่
ไม่อยากให้มองการไปพบนักจิตวิทยาคือพฤติกรรมในทาง negative
ส่วนตัวคิดว่า การไปโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่ดี และควรทำมากๆ
ยิ่งสมัยนี้มีกระบวนการบำบัดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ใครเคยไปหาหมอจิตเวช จะเข้าใจดี
ส่วนพวกที่มัวแต่คิดว่ามันเป็นการดูถูก ก็จมอยู่กับความคิดลบของตัวเองต่อไปแล้วกัน อันนี้ช่วยไม่ได้
ถ้ารักษาตัวเองได้ หรือมีการรักษาทางเลือกอื่น อย่างไปเข้าวัดเข้าวา อะไรก็ตามแต่วิธีการของตนเอง ฯลฯ
แต่อยากบอกว่าอาการทางจิตหลายอย่าง จำเป็นต้องกิน "ยา" นะ ถึงจะหาย
มัวไปให้ใครที่ไหนไม่รู้มาเป่าน้ำมนต์พ่นน้ำลายจนหน้าเป็นกรากก็ไม่หายหรอก
และคนจะจ่ายยาได้ ไม่ใช่พระ ไม่ใช่หมอมดหมอผีที่ไหน แต่ต้องให้จิตแพทย์เป็นวินิจฉัยคนสั่งยาให้
ฉะนั้น ถ้ารักษาตัวเองไม่หาย เราแนะนำไปโรงพยาบาลดีที่สุด ค่าใช้จ่ายก็ไม่ถึงกับแพงหูฉี่
ก็แค่คนยังไม่ชินกับการเข้าแผนกจิตประสาทเท่าไหร่นัก เลยไม่รู้ว่ามันเป็นยังไง
ถ้าเราให้ข้อมูลกับเขา (ผู้ป่วย) เขาก็จะเกิดความตระหนักว่า การไปหาหมอคือสิ่งที่ควรทำ
นักจิตวิทยากล่าไว้ว่าเมื่อไรห่ที่เรามีความคิดว่า "เราควรจะหาหมอดีมั้ย" เมื่อนั้นแหละที่เราควรจะไปหาทันที
เพราะคุณมีความคิดแบบนี้ขึ้นมา แสดงว่ามีความกังวลใจต่ออะไรบางอย่าง ผสมกับความไม่แน่ใจ
เพราะคนป่วยจริงๆ บางคนเขาแคร์ภาพลักษณ์ตัวเองมากๆ เช่น เป็นเจ้าคนนายคน คนรู้จักเยอะ เลยไม่กล้าไปหาหมอ
ถ้าใครเขาได้ยินเข้าว่าหานักจิตวิทยามา ก็คงอายกันหมดเเล้ว เวลาบอกใครว่าไปรพ.ศรีธัญญามา อะไรงี้
อยากฝากไว้ว่า คนเข้า รพ.จิตเวช ก็คือคนปรกตินี่แหละ "ใครๆก็ไปได้"
ไม่เห็นน่าอายเลย ดูอย่างคนฝรั่งเขาเข้าๆ ออกๆ เป็นปรกติ อกหัก ทะเลาะกับคนรัก หมาตาย เอ็นไม่ติด
ก็เห็นเขาไปนั่งคุยระบาย เพราะนักจิตวิทยาจะเป็นผู้กุมความลับไว้ได้ดี (แต่ส่วนใหญ่คนรวยๆไปกัน เพราะค่าบริการแพงมาก)
เรื่องบางเรื่องเราไปเล่าให้เพื่อนสนิทไม่ได้ ไประบายกับพ่อแม่ก็กระไรอย่ เลยเอาไปลงกับนักจิตนี่หละ ดีที่สุด
ที่พร่ำมานี้ ก็แค่อยากให้ทุกคนมองมุมกลับ ปรับมุมมอง
ถึงเวลาแล้วที่ยุคนี้ ประโยค "ไปโรงพยาบาลศรีธัญญา" (หรือ รพ.อื่นๆ) ว่าเป็นประโยคเชิงบวก
เป็นการแนะนำที่ยอดเยี่ยม เท่าที่เราจะแนะนำเขาได้
ส่วนพวกที่มีมุมมองลบๆ ต่อการไป รพ.
หรือไปติเตียน ยัดเยียด ให้เขากลายเป็น second class citizen ในสังคม แล้วพาไปหาหมอมดหมอผี พวกนี้น่าจะจิตกว่านะ
พวกสื่อเองก็เหมือนกัน สมัยก่อนไปสร้างภาพลบๆ ไว้เยอะ ว่าภายใน รพ. น่ากลัว เป็นที่สำหรับคน second class เท่านั้น
ตัวคุณเองก็ไม่ได้ดีไปกว่าเขาเท่าไหร่หรอก รัก โลภ โกรธ หลง ใครจะควบคุมได้ ของพวกนี้ จิตใจมนุษย์ยากแท้หยั่งถึง
ให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เขาศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์มาเขาช่วยรักษาคุณดีกว่า