มีคนในเครื่องแบบคนนึง เข้าใจเอาว่าเขากำลังศึกษากฎหมาย ได้ให้นิยามว่า
"เพราะ ความจริง ที่รู้ ที่เห็น ที่ได้ยิน ที่ได้ฟัง ที่ได้อ่าน อาจจะ... ไม่ใช่ ข้อเท็จจริง.
ความจริง นั้น จริงที่ไหน? จริงของใคร? จริงเวลาใด?
ความจริงอาจถูกสร้างขึ้นมาเพื่อลบเลือน หรือ กลบเกลื่อน ข้อเท็จจริง หรือ จริง แค่ช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง ก็เป็นได้ !!"
ซึ่งมันไม่ตรงกลับความเข้าใจเรามาตลอดเราก็เลยเม้นเค้าไปว่า
"รู้สึกจะกลับกัน ความจริงนี่เป็นจริงนิรันดร์ไม่ว่าคนจะพิสูจน์ได้หรือไม่ ข้อเท็จจริงนี่ มีความเป็นได้ทั้งจริงและเท็จต้องรอการพิสูจน์นะ คิดว่าเข้าใจไม่ผิด"
เขาก็ยกข้ออธิบายกลับมา
" 1. คำว่า Fact [อ่านว่า แฟคทฺ] (n.) หมายถึง "สิ่งที่มีอยู่จริง หรือเป็นเหตุกาณ์ที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจริงตามที่ว่านี้ไม่อาจโต้แย้งหรือโต้เถียงได้" ตัวอย่างเช่น..
- It is a fact that the earth is round.
แปลว่า เป็นความจริงที่โลกนี้กลม
- That sugar is sweet is a fact.
แปลว่า ที่ว่าน้ำตาลหวานเป็นความจริง
2. คำว่า Truth [อ่านว่า ทรูธ] (n.) หมายถึง "ความจริงที่อาจมีผลคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงก็ได้ คือสามารถโต้เถียงได้ คัดค้านได้ (คือไม่จริง 100% อย่าง fact) ตัวอย่างเช่น
- He tries to tell the truth that he didn't steal her wrist watch.
แปลว่า เขาพยายามบอกความจริงว่าเขาไม่ได้ขโมยนาฬิกาข้อมือของหล่อนไป(พอสอบสวนหนักเข้าก็รับสารภาพ)
- Tell me the truth.
แปลว่า พูดความจริงกับฉันสิ"
และยกตัวอย่างมาสองข้อ
" สมมุติ คุณ อยากรู้นิสัย ของคนที่ชื่อ ก เมื่อ 100 ปีก่อน พบ หลักฐาน แค่เพียงหนังสืองานศพ ที่ลูกเขาเขียนไว้ ความจริงในหนังสือคือ พ่อเขาดีมากรักครอบครัว แต่ถ้าข้อเท็จจริง คือเขาเจ้าชู้ มีเมียน้อยตบตีลูกล่ะ
ความจริงที่รู้จากหนังสือ กับ ข้อเท็จจริง ที่เกิดขึ้น ไม่เหมือนกัน (คงไม่มีลูกคนไหน เขียนประวัติพ่อตัวเองเลวให้เขาอ่านหรอก)
"
"สมมุติว่า คุณเห็น A ถือปืนจะยิง B แล้วจู่ๆB ก็ถูกยิงตาย ภาพ ความจริง ที่คุณเห็น คือ A ถือปืน+ยิงBแน่นอน โดยที่คุณไม่เห็นว่ามีC แอบยิง ข้อเท็จจริงคือ C ยิง แล้วคุณคือคนเดียวที่เห็นเหตุการณ์ คุณบอกนักข่าว นักข่าวลงข่าวว่า A ยิง B โดยคุณเป็นพยานเห็นเหตุการณ์ คนอ่านข่าว ก็ อ่านความจริง จาก หนังสือพิมพ์ ที่ เขียนความจริงที่คุณบอก ก็เชื่อว่า มันเป็น ความจริง แต่ ข้อเท็จจริงคือ A ไม่ได้ยิง แต่Cยิง ...นี่คือ"ความจริง(ของคุณ)" คนทั่วไปก็ ได้รับ ความจริง(ของคุณ) และคิดว่า เป็น ความจริง โดย ข้อเท็จจริงคือ A ไม่ได้ยิง แต่Cยิง"
คือเราไม่สนิทกับเค้าเราเลยไม่กล้าเถียง
แต่ในใจเราก็ยังรู้สึค้านอย่างมาก เราหาข้อมูลเพิ่มเติมก็ได้ข้อมุลสนับสนุนว่าเราคิดถูกแล้วนะ หรือเราคิดผิดจริงๆ ความจริงและข้อเท็จจริงทางกฎหมายตีความอย่างนี้หรอ เราเริ่มสับสนแล้วเนี่ย
พอเราหาข้อมูลเสร็จเราก็พยามสรุปความเอาเองใหม่ ไม่รู้ว่าถูกไหมผู้รู้ช่วยด้วย
ความจริงมีสองแบบ แบบจริง exactly และ approximately(แต่จริงๆเราเชื่อว่าความจริงเป็นนิรันดร์นะ)
ข้อเท็จจริง มีทั้งข้อเท็จจริงและข้อจริง
ที่นี้ไม่ว่าเราจะสืบหาความจริงอะไรสักอย่าง ข้อมูลที่ได้นั้นถือเป็นข้อเท็จจริงและเป็นข้อจริงนั้นๆโดยปริยายหรือเปล่า
แต่ก็ยังไม่ใช่ความจริง(คือไม่ว่าจะพูดจริงหรือไม่จริงก้เป็นความจริงนั้นๆ แต่ไม่ใช้ความจริงที่ต้องการพิสูจน์)
เราอ่านข้อความนึงว่าเวลาขึ้นศาลหาความจริง ก่อนจะพิจารณาคดี ศาลก็จะให้ทั้งโจทก์และจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งคู่ก่อน
ดังนั้นการตัดสินความจึงเป็นการหาน้ำหนักของหลักฐาน การตัดสินความทุกครั้งจึงเป็นการหาความจริงแบบค่าประมาณทั้งหมด ยกเว้นถ้าฝ่ายที่ถูกจริงๆให้ข้อมูลที่พิสูจน์ได้ว่าบริสุทธิ์จริงจึงจะเป็น exactly แต่ก็อยู่บนฐานของการประมาณความจริง
ซึ่งประเด็นคือทางกฎหมายไม่มีความจริงที่เป็นแบบนิรันดร์หรือเม่นตรงใช่หรือไม่
แล้วการยกตัวอย่างและอธิบายของนักเรียนในเครื่องแบบคนนั้นถูกต้องตามกฎหมายไหม
ข้อเท็จจริงกับความจริง ของคนทั่วไปกับกฎหมายนิยามในมุมกลับกันหรือเปล่า
รบกวนผู้รู้ด้วยคะตอนนี้เราง่วงมาแต่หลับไม่ลงมันคาใจแล้วเริ่มงงมาก
ปล.แท็กผิดห้องขออภัยด้วย และพยามจัดหน้ากระดาษแล้วไม่รู้ว่ามันจะไหลรวมเหมือนเม้นอื่นที่เราเคยเม้นยาวๆหรือเปล่า โทษที
ความจริงและข้อเท็จจริง ช่วยนิยามหน่อยค่ะเพราะตอนนี้งงมาก
"เพราะ ความจริง ที่รู้ ที่เห็น ที่ได้ยิน ที่ได้ฟัง ที่ได้อ่าน อาจจะ... ไม่ใช่ ข้อเท็จจริง.
ความจริง นั้น จริงที่ไหน? จริงของใคร? จริงเวลาใด?
ความจริงอาจถูกสร้างขึ้นมาเพื่อลบเลือน หรือ กลบเกลื่อน ข้อเท็จจริง หรือ จริง แค่ช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง ก็เป็นได้ !!"
ซึ่งมันไม่ตรงกลับความเข้าใจเรามาตลอดเราก็เลยเม้นเค้าไปว่า
"รู้สึกจะกลับกัน ความจริงนี่เป็นจริงนิรันดร์ไม่ว่าคนจะพิสูจน์ได้หรือไม่ ข้อเท็จจริงนี่ มีความเป็นได้ทั้งจริงและเท็จต้องรอการพิสูจน์นะ คิดว่าเข้าใจไม่ผิด"
เขาก็ยกข้ออธิบายกลับมา
" 1. คำว่า Fact [อ่านว่า แฟคทฺ] (n.) หมายถึง "สิ่งที่มีอยู่จริง หรือเป็นเหตุกาณ์ที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจริงตามที่ว่านี้ไม่อาจโต้แย้งหรือโต้เถียงได้" ตัวอย่างเช่น..
- It is a fact that the earth is round.
แปลว่า เป็นความจริงที่โลกนี้กลม
- That sugar is sweet is a fact.
แปลว่า ที่ว่าน้ำตาลหวานเป็นความจริง
2. คำว่า Truth [อ่านว่า ทรูธ] (n.) หมายถึง "ความจริงที่อาจมีผลคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงก็ได้ คือสามารถโต้เถียงได้ คัดค้านได้ (คือไม่จริง 100% อย่าง fact) ตัวอย่างเช่น
- He tries to tell the truth that he didn't steal her wrist watch.
แปลว่า เขาพยายามบอกความจริงว่าเขาไม่ได้ขโมยนาฬิกาข้อมือของหล่อนไป(พอสอบสวนหนักเข้าก็รับสารภาพ)
- Tell me the truth.
แปลว่า พูดความจริงกับฉันสิ"
และยกตัวอย่างมาสองข้อ
" สมมุติ คุณ อยากรู้นิสัย ของคนที่ชื่อ ก เมื่อ 100 ปีก่อน พบ หลักฐาน แค่เพียงหนังสืองานศพ ที่ลูกเขาเขียนไว้ ความจริงในหนังสือคือ พ่อเขาดีมากรักครอบครัว แต่ถ้าข้อเท็จจริง คือเขาเจ้าชู้ มีเมียน้อยตบตีลูกล่ะ
ความจริงที่รู้จากหนังสือ กับ ข้อเท็จจริง ที่เกิดขึ้น ไม่เหมือนกัน (คงไม่มีลูกคนไหน เขียนประวัติพ่อตัวเองเลวให้เขาอ่านหรอก)
"
"สมมุติว่า คุณเห็น A ถือปืนจะยิง B แล้วจู่ๆB ก็ถูกยิงตาย ภาพ ความจริง ที่คุณเห็น คือ A ถือปืน+ยิงBแน่นอน โดยที่คุณไม่เห็นว่ามีC แอบยิง ข้อเท็จจริงคือ C ยิง แล้วคุณคือคนเดียวที่เห็นเหตุการณ์ คุณบอกนักข่าว นักข่าวลงข่าวว่า A ยิง B โดยคุณเป็นพยานเห็นเหตุการณ์ คนอ่านข่าว ก็ อ่านความจริง จาก หนังสือพิมพ์ ที่ เขียนความจริงที่คุณบอก ก็เชื่อว่า มันเป็น ความจริง แต่ ข้อเท็จจริงคือ A ไม่ได้ยิง แต่Cยิง ...นี่คือ"ความจริง(ของคุณ)" คนทั่วไปก็ ได้รับ ความจริง(ของคุณ) และคิดว่า เป็น ความจริง โดย ข้อเท็จจริงคือ A ไม่ได้ยิง แต่Cยิง"
คือเราไม่สนิทกับเค้าเราเลยไม่กล้าเถียง
แต่ในใจเราก็ยังรู้สึค้านอย่างมาก เราหาข้อมูลเพิ่มเติมก็ได้ข้อมุลสนับสนุนว่าเราคิดถูกแล้วนะ หรือเราคิดผิดจริงๆ ความจริงและข้อเท็จจริงทางกฎหมายตีความอย่างนี้หรอ เราเริ่มสับสนแล้วเนี่ย
พอเราหาข้อมูลเสร็จเราก็พยามสรุปความเอาเองใหม่ ไม่รู้ว่าถูกไหมผู้รู้ช่วยด้วย
ความจริงมีสองแบบ แบบจริง exactly และ approximately(แต่จริงๆเราเชื่อว่าความจริงเป็นนิรันดร์นะ)
ข้อเท็จจริง มีทั้งข้อเท็จจริงและข้อจริง
ที่นี้ไม่ว่าเราจะสืบหาความจริงอะไรสักอย่าง ข้อมูลที่ได้นั้นถือเป็นข้อเท็จจริงและเป็นข้อจริงนั้นๆโดยปริยายหรือเปล่า
แต่ก็ยังไม่ใช่ความจริง(คือไม่ว่าจะพูดจริงหรือไม่จริงก้เป็นความจริงนั้นๆ แต่ไม่ใช้ความจริงที่ต้องการพิสูจน์)
เราอ่านข้อความนึงว่าเวลาขึ้นศาลหาความจริง ก่อนจะพิจารณาคดี ศาลก็จะให้ทั้งโจทก์และจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งคู่ก่อน
ดังนั้นการตัดสินความจึงเป็นการหาน้ำหนักของหลักฐาน การตัดสินความทุกครั้งจึงเป็นการหาความจริงแบบค่าประมาณทั้งหมด ยกเว้นถ้าฝ่ายที่ถูกจริงๆให้ข้อมูลที่พิสูจน์ได้ว่าบริสุทธิ์จริงจึงจะเป็น exactly แต่ก็อยู่บนฐานของการประมาณความจริง
ซึ่งประเด็นคือทางกฎหมายไม่มีความจริงที่เป็นแบบนิรันดร์หรือเม่นตรงใช่หรือไม่
แล้วการยกตัวอย่างและอธิบายของนักเรียนในเครื่องแบบคนนั้นถูกต้องตามกฎหมายไหม
ข้อเท็จจริงกับความจริง ของคนทั่วไปกับกฎหมายนิยามในมุมกลับกันหรือเปล่า
รบกวนผู้รู้ด้วยคะตอนนี้เราง่วงมาแต่หลับไม่ลงมันคาใจแล้วเริ่มงงมาก
ปล.แท็กผิดห้องขออภัยด้วย และพยามจัดหน้ากระดาษแล้วไม่รู้ว่ามันจะไหลรวมเหมือนเม้นอื่นที่เราเคยเม้นยาวๆหรือเปล่า โทษที