หม้อเพิ่มไฟ ใครพอจะอธิบายได้บ้างว่าทำไม output จึงมากกว่า input

ตอนนี้ที่บ้านกำลังประสบปัญหาไฟตก เนื่องจากอยู่ปลายทางของระบบส่งไฟฟ้า ของการไฟฟ้า

ตอนที่ยังไม่มีโหลดใดๆ วัดแรงดันไฟฟ้าได้ 216 V  พอเปิดเครื่องทำน้ำอุ่นขนาด 4500 W
ตอนนี้อากาศหนาว เลยซื้อเครื่องวัตต์สูงหน่อย เปิดปุ๊บ งงเลยทำไมน้ำมันแค่พออุ่นๆ แต่ไม่สามารถทำให้ร้อน ถึงระดับอาบแบบทั่วไปได้
เลยปิดเครื่อง และอาบน้ำเย็นตรงๆ น้ำมันก็ไม่ได้เย็นมากนิ แค่พอเย็นๆ

อมยิ้ม11อมยิ้ม11อมยิ้ม11อมยิ้ม11อมยิ้ม11อมยิ้ม11อมยิ้ม11

เลยเปิดเครื่องใหม่ บิดไปที่ร้อนสุด น้ำก็ไม่อุ่น เหมือนเดิม แต่ลองเอามิเตอร์ลองจิ้มวัดไฟดู  โอววว ไฟเหลือ 186 V เอง
งั้นสรุปได้ไม๊ว่า 4500W/186V = 24.19A

เอาล่ะสิ ทำไง   เลยนั่งหาข้อมูลไปๆ มาๆ เจอเจ้าอุปกรณ์ที่เรียกว่า หม้อเพิ่มไฟ

หรูหน่อยก็เรียก Voltage stabilizer ถ้าเจ๊งขึ้นมาอีกก็จะมีแบบปรับออโต้ได้อีก

แต่ก็ยังหาเวบที่อธิบายหลักการทำงานแบบชัดๆ ไม่ได้ว่าทำไม

รู้แค่ว่ามันช่วยรักษาระดับแรงดัน และกระแสได้ คงที่ ให้มี power ได้ตามเสปก เช่น 10KVA  >> 10000/220 = 45.45A
นั่นหมายถึง ระบบจ่ายไฟการไฟฟ้าต้องจ่ายได้ มากกว่า 10KVA ให้บ้านผมก่อนจะเข้าหม้อเพิ่มไฟ ใช่ไม๊ครับ
ถ้าตามหลักที่เคยเรียนมา ไม่เคยเห็นมีเครื่องมืออะไรที่จะมีประสิทธิภาพได้ถึง 100% แน่ๆ ทุกอย่างต้องมีการสูญเสียในระบบแน่นอน

และเมื่อเราพยายามจะใช้พลังงานให้มากขึ้น แรงดันไฟเข้าก็น่าจะยิ่งตกตามถ้ามีกระแสไหลในวงจรมากขึ้น มีแรงดันตกคร่อมในสายมากขึ้น
อาจจะเหลือ 170 160 150 V  จนหม้อเพิ่มไฟไม่สามารถทำงานได้

จุดสงสัย
1 แล้วเป็นไปได้ไม๊ว่า ค่า power ของเครื่องทำน้ำอุ่น ในตอนที่ไฟตก ไม่ได้ทำงานที่ 4500W จริงๆ อาจจะเหลือแค่ 1500W
2 หม้อเพิ่มไฟ ใช้ขดลวด ทุติยภูมิเส้นใหญ่เลยจ่ายกระแสได้มาก กว่าแหล่งจ่ายไฟ >> แล้วมันจะผิดหลักการ Output/Input <100% น่ะสิ

เอ......ผมเข้าใจอะไรผิด หรือผมยังไม่รู้ในเรื่องไหนอีกครับ

เพิ่มเติมอีกนิด ใครพอทราบหลักการเลือกซื้อ หม้อเพิ่มไฟไม๊ครับ แบบไหนดี แนะนำด้วยค้าบบบบบ

อมยิ้ม17อมยิ้ม17อมยิ้ม17อมยิ้ม17อมยิ้ม17อมยิ้ม17อมยิ้ม17อมยิ้ม17
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่