Written by: F- (จขกท.) & Arkat Vinyapiroath
โปรเจกต์งานดนตรีทดลองครั้งนี้จัดขึ้นที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ตรงข้าม MBK (มาบุญครองเซ็นเตอร์) ที่เชื่อมต่อกับ BTS สนามกีฬาแห่งชาติ โดย SO ON Dry Flower และฝ่ายนิทรรศการของ BACC
ส่วนตัวแล้วผมเอง (F-) ก็ได้ติดตามผลงานของ โอเรน อัมบาร์ชี (Oren Ambarchi) มาได้สักพักแล้ว ก็ไม่นึกไม่ฝันว่าเขาจะมาเล่นด้วย มันเหมือนฝันที่เป็นจริงที่จะได้ดูเขาแสดงตรงหน้าแบบตัวเป็นๆ โดยคราวนี้เขาขึ้นแสดงคู่ก็จะมี คริส โคล (Crys Cole) สาวสวยมากประสบการณ์จากแคนาดาที่ได้ร่วมงานกันมาก่อนแล้ว (รวมถึงอัลบั้มใหม่ของโอเรนที่ชื่อว่า Quixotism ด้วย) ส่วนศิลปินต่างชาติที่มาร่วมแสดงในงานนี้อีกสองท่านก็ประกอบไปด้วย โก๊ะ ลี ควาง (Goh Lee Kwang) นักศิลปะเสียงระดับแนวหน้าของมาเลเซีย และ โรเบิร์ต ปีโอโตรวิกซ์ (Robert Piotrowicz) หนุ่มเดรดล็อคมาดนิ่งจากโปแลนด์ ส่วนศิลปินไทยที่มาร่วมงานด้วยในคราวนี้ก็คือ คุณอานนท์ นงเยาว์ ที่จัดการติดตั้งเสียง (Sound Installation) ไว้ที่ทางเชื่อมจากหอศิลป์ฯไปที่ BTS ด้วย
1st Day - Duration : Improvisation (7 Nov. 2014)
วันแรกนี้ก็จะเป็นการแจมสดกันที่ห้องเอนกประสงค์ ชั้น 1 ครั้งนี้เป็นการแจมโดยคำนึงถึงเรื่องของเวลา (Duration) เป็นหลัก ซึ่งให้ผู้แสดงทั้งหมดจัดการกับเรื่องของเวลาด้วยวิธี “สุ่ม” เวลาที่ศิลปินแต่ละกลุ่มจะได้รับ โดยที่ศิลปินไม่สามารถคาดเดาหรือกำหนดเองได้ และให้ทางศิลปินทั้งหมดจัดการวางแผนเวลาทั้งหมดที่ได้รับว่าจะนำเสนอสิ่งใดบ้าง ซึ่งให้อิสระแก่ศิลปินเลือกที่จะแสดงหรือนั่งเฉยๆก็ได้ หรืออาจจะเลือกแสดงเป็นช่วงๆก็ได้ โดยเรื่องของ Duration จัดเป็น 1 ในหัวข้อสำคัญของการจัดกิจกรรมเสียงทดลองในครั้งนี้ เริ่มต้นด้วยการแบ่งกลุ่มและจับฉลากเพื่อกำหนดระยะเวลาที่จะใช้ในการแสดงซึ่งแบ่งออกเป็น 5, 10 หรือ 15 นาทีตามลำดับ หากจับฉลากได้ FREE หมายความว่าจะบรรเลงกันกี่นาทีก็ได้ (อยู่ในขอบเขตเวลาที่ไม่เกิน 20 นาที) ศิลปินรับเชิญจากต่างประเทศที่ร่วมแสดงในวันนี้ได้แก่ คริส โคล,โรเบิร์ต ปีโอโตรวิกซ์ และ โก๊ะ ลี ควาง โดยมีนักดนตรีไทยรับเชิญมาร่วมแสดงด้วยอีกสามท่าน ได้แก่ The Photo Sticker Machine, คุณโจ จากวงฟองน้ำ และคุณสุทธิภัทร สุทธิวาณิช นักร้องนำวง Zweedz n’ Roll ส่วนโอเรนไม่ได้ร่วมแสดงด้วย สำหรับการแบ่งกลุ่มก็แบ่งเป็นกลุ่มละสามท่าน ซึ่งผมสังเกตได้ว่า ในการเปลี่ยนกลุ่มแต่ละครั้ง จะมีนักดนตรีหนึ่งท่านที่จะอยู่เล่นในกลุ่มถัดไป โดยแบ่งเป็นกลุ่มต่อไปนี้
1. Goh Lee Kwang + Crys Cole + Joe Fongnaam - 15 นาที
2. Joe Fongnaam + Sutipat Sutiwanit + Robert Piotrowicz - 10 นาที
3. Robert Piotrowicz + Goh Lee Kwang + The Photo Sticker Machine - Free (ร่วม 15 นาที)
4. The Photo Sticker Machine + Crys Cole + Sutipat Sutiwanit - 5 นาที
5. ทุกคน (All Artist) - 15 นาที
สำหรับการแจมครั้งดูเหมือนนักดนตรีหลักอย่าง โก๊ะ, คริส และ โรเบิร์ต อาจจะยังไม่ปล่อยของกันมากนัก คงเพราะเป็นการเล่นด้วยกันเป็นครั้งแรก (คริสมากับอุปกรณ์ชุดเล็ก) ส่วนคุณโจและคุณภัทรที่ไม่คุ้นเคยกับดนตรีทดลองมาก่อนก็ด้นสดได้ดีเช่นกัน ส่วนตัวแล้วคิดว่ากลุ่มที่โดดเด่นที่สุดน่าจะเป็นกลุ่มที่ 3 ที่ The Photo Sticker Machine เปิดตัวมาได้หนักหน่วงและค่อยๆผ่อนเบาสลับกันไปทำให้มีช่องให้โก๊ะซัดฟี้ดแบ็คผนวกกับโรเบิร์ตที่คุมในภาคแอมเบียนท์ได้อรรถรสมาก ทั้งสองค่อยๆเร่งกดดันบรรยากาศในงานขึ้นมาทีละนิดจนกระทั่งโชว์แทคทีมเดินทางมาจนถึงนาทีที่มวลเสียงของทั้งสามถึงจุดยอดทางอารมณ์แผดสนั่นลั่นออกมาร่วมกันด้วยความเกรี้ยวกราดสักพักหนึ่งจนจบ หลังการแสดงเสร็จสิ้น ทางผู้จัดก็ให้นักดนตรีแต่ละท่านได้พูดถึงอุปกรณ์ที่ใช้และบรรยายความรู้สึกหลังจากที่ได้แสดงร่วมกัน แล้วก็ได้เปิดโอกาสให้ผู้ชมได้มีส่วนร่วมด้วย แต่ดูเหมือนทุกท่านจะไม่มีคำถาม ทางผู้จัดจึงสุ่มเลือกผู้ชมและผมก็เป็นหนึ่งในนั้น...
-------
2nd Day to be Continued on Comment...
ปล. ผมแท็กได้แค่นี้เพราะไม่มีแท็กที่เกี่ยวกับดนตรีทดลองเลย และที่แท็กร็อกเพราะ Oren Ambarchi มีผลงานในสาขาเมทัลด้วย
Review: Drift Project #1 Duration @ BACC 7-8 NOV. 2014
Written by: F- (จขกท.) & Arkat Vinyapiroath
โปรเจกต์งานดนตรีทดลองครั้งนี้จัดขึ้นที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ตรงข้าม MBK (มาบุญครองเซ็นเตอร์) ที่เชื่อมต่อกับ BTS สนามกีฬาแห่งชาติ โดย SO ON Dry Flower และฝ่ายนิทรรศการของ BACC
ส่วนตัวแล้วผมเอง (F-) ก็ได้ติดตามผลงานของ โอเรน อัมบาร์ชี (Oren Ambarchi) มาได้สักพักแล้ว ก็ไม่นึกไม่ฝันว่าเขาจะมาเล่นด้วย มันเหมือนฝันที่เป็นจริงที่จะได้ดูเขาแสดงตรงหน้าแบบตัวเป็นๆ โดยคราวนี้เขาขึ้นแสดงคู่ก็จะมี คริส โคล (Crys Cole) สาวสวยมากประสบการณ์จากแคนาดาที่ได้ร่วมงานกันมาก่อนแล้ว (รวมถึงอัลบั้มใหม่ของโอเรนที่ชื่อว่า Quixotism ด้วย) ส่วนศิลปินต่างชาติที่มาร่วมแสดงในงานนี้อีกสองท่านก็ประกอบไปด้วย โก๊ะ ลี ควาง (Goh Lee Kwang) นักศิลปะเสียงระดับแนวหน้าของมาเลเซีย และ โรเบิร์ต ปีโอโตรวิกซ์ (Robert Piotrowicz) หนุ่มเดรดล็อคมาดนิ่งจากโปแลนด์ ส่วนศิลปินไทยที่มาร่วมงานด้วยในคราวนี้ก็คือ คุณอานนท์ นงเยาว์ ที่จัดการติดตั้งเสียง (Sound Installation) ไว้ที่ทางเชื่อมจากหอศิลป์ฯไปที่ BTS ด้วย
1st Day - Duration : Improvisation (7 Nov. 2014)
วันแรกนี้ก็จะเป็นการแจมสดกันที่ห้องเอนกประสงค์ ชั้น 1 ครั้งนี้เป็นการแจมโดยคำนึงถึงเรื่องของเวลา (Duration) เป็นหลัก ซึ่งให้ผู้แสดงทั้งหมดจัดการกับเรื่องของเวลาด้วยวิธี “สุ่ม” เวลาที่ศิลปินแต่ละกลุ่มจะได้รับ โดยที่ศิลปินไม่สามารถคาดเดาหรือกำหนดเองได้ และให้ทางศิลปินทั้งหมดจัดการวางแผนเวลาทั้งหมดที่ได้รับว่าจะนำเสนอสิ่งใดบ้าง ซึ่งให้อิสระแก่ศิลปินเลือกที่จะแสดงหรือนั่งเฉยๆก็ได้ หรืออาจจะเลือกแสดงเป็นช่วงๆก็ได้ โดยเรื่องของ Duration จัดเป็น 1 ในหัวข้อสำคัญของการจัดกิจกรรมเสียงทดลองในครั้งนี้ เริ่มต้นด้วยการแบ่งกลุ่มและจับฉลากเพื่อกำหนดระยะเวลาที่จะใช้ในการแสดงซึ่งแบ่งออกเป็น 5, 10 หรือ 15 นาทีตามลำดับ หากจับฉลากได้ FREE หมายความว่าจะบรรเลงกันกี่นาทีก็ได้ (อยู่ในขอบเขตเวลาที่ไม่เกิน 20 นาที) ศิลปินรับเชิญจากต่างประเทศที่ร่วมแสดงในวันนี้ได้แก่ คริส โคล,โรเบิร์ต ปีโอโตรวิกซ์ และ โก๊ะ ลี ควาง โดยมีนักดนตรีไทยรับเชิญมาร่วมแสดงด้วยอีกสามท่าน ได้แก่ The Photo Sticker Machine, คุณโจ จากวงฟองน้ำ และคุณสุทธิภัทร สุทธิวาณิช นักร้องนำวง Zweedz n’ Roll ส่วนโอเรนไม่ได้ร่วมแสดงด้วย สำหรับการแบ่งกลุ่มก็แบ่งเป็นกลุ่มละสามท่าน ซึ่งผมสังเกตได้ว่า ในการเปลี่ยนกลุ่มแต่ละครั้ง จะมีนักดนตรีหนึ่งท่านที่จะอยู่เล่นในกลุ่มถัดไป โดยแบ่งเป็นกลุ่มต่อไปนี้
1. Goh Lee Kwang + Crys Cole + Joe Fongnaam - 15 นาที
2. Joe Fongnaam + Sutipat Sutiwanit + Robert Piotrowicz - 10 นาที
3. Robert Piotrowicz + Goh Lee Kwang + The Photo Sticker Machine - Free (ร่วม 15 นาที)
4. The Photo Sticker Machine + Crys Cole + Sutipat Sutiwanit - 5 นาที
5. ทุกคน (All Artist) - 15 นาที
สำหรับการแจมครั้งดูเหมือนนักดนตรีหลักอย่าง โก๊ะ, คริส และ โรเบิร์ต อาจจะยังไม่ปล่อยของกันมากนัก คงเพราะเป็นการเล่นด้วยกันเป็นครั้งแรก (คริสมากับอุปกรณ์ชุดเล็ก) ส่วนคุณโจและคุณภัทรที่ไม่คุ้นเคยกับดนตรีทดลองมาก่อนก็ด้นสดได้ดีเช่นกัน ส่วนตัวแล้วคิดว่ากลุ่มที่โดดเด่นที่สุดน่าจะเป็นกลุ่มที่ 3 ที่ The Photo Sticker Machine เปิดตัวมาได้หนักหน่วงและค่อยๆผ่อนเบาสลับกันไปทำให้มีช่องให้โก๊ะซัดฟี้ดแบ็คผนวกกับโรเบิร์ตที่คุมในภาคแอมเบียนท์ได้อรรถรสมาก ทั้งสองค่อยๆเร่งกดดันบรรยากาศในงานขึ้นมาทีละนิดจนกระทั่งโชว์แทคทีมเดินทางมาจนถึงนาทีที่มวลเสียงของทั้งสามถึงจุดยอดทางอารมณ์แผดสนั่นลั่นออกมาร่วมกันด้วยความเกรี้ยวกราดสักพักหนึ่งจนจบ หลังการแสดงเสร็จสิ้น ทางผู้จัดก็ให้นักดนตรีแต่ละท่านได้พูดถึงอุปกรณ์ที่ใช้และบรรยายความรู้สึกหลังจากที่ได้แสดงร่วมกัน แล้วก็ได้เปิดโอกาสให้ผู้ชมได้มีส่วนร่วมด้วย แต่ดูเหมือนทุกท่านจะไม่มีคำถาม ทางผู้จัดจึงสุ่มเลือกผู้ชมและผมก็เป็นหนึ่งในนั้น...
-------
2nd Day to be Continued on Comment...
ปล. ผมแท็กได้แค่นี้เพราะไม่มีแท็กที่เกี่ยวกับดนตรีทดลองเลย และที่แท็กร็อกเพราะ Oren Ambarchi มีผลงานในสาขาเมทัลด้วย