สาธารณสุขยืนยัน สมุนไพรยับยั้งและลดพิษงูเห่าได้ ตรงนี้น่าจะไปต่อยอดนะคะ

กระทู้สนทนา
ตรงนี้ไม่ทราบว่า  ได้เอาไปวิจัย ทดลองในระดับไหน ได้ผลยังไง
ข่าวนี้ ตรงกับข้อเท็จจริงมากเท่าไหร่

เเต่ถ้าเป็นจริง  น่าจะเอาไปทำประโยชน์ได้นะคะ
หลายๆที่ก็ไม่ได้มีหมอมีเซรุ่ม   น่าจะวิจัยพัฒนา  เป็นยาเเผนปัจจุบัน เเจกจ่าย หรือถ้าไม่สะดวก  
ก็เเค่เเจกพันธ์ให้ปลูกกันทั่วไป  ให้ความรู้เรื่องการใช้

----

แล้วก็อย่าลืมเรื่องการจดสิทธิบัตรด้วย  ถ้ามันมีประสิทธิภาพจริงๆ
ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นยาพื้นบ้านแล้วก็ใช้เฉพาะกลุ่มเล็กๆ หาสมุนไพรยาก  หรือสาบสูญไป

อาจารย์เราบอกว่าพวกตำรายาสมุนไพรโบราณ พวกต่างชาติก็มาศึกษานะคะ
อย่าเปล้าน้อย   เค้าก็เอาไปวิจัยพัฒนา Plaunotol จนผลิตขายเเพร่หลายไป

เราก็อดไปตามระเบียบ  

เเต่พูดก็พูดนะ  เรามองกันในเเง่เราถูกขโมยทรัพย์สิน  ต้องไปซื้อยากินเเพงๆ  มันก็จริง

เเต่ในเเง่นึง   คนทั้งโลกก็จะได้ประโยชน์จากความเจ็บไข้ได้ป่วยด้วย
จำได้ว่าตอนPlaunotol  ออก จำหน่าย  กลไกการรักษา มันก็ไม่เหมือนยากะเพาะอื่นๆตอนนั้น(ถ้าจำไม่ผิดนะ นานละ เเล้วไม่ได้ใช้ความรู้มานานละ)

เเล้วคนไทยก็ไม่ยอมวิจัยพัฒนาซะที  มองข้ามไปหรือมัวช้าอยู่

คนไข้ก็ไม่ได้ประโยชน์ตรงนี้  

ดังนั้น ต่อไป ถ้าเจออะไร เข้าท่า  ก็น่าจะรีบวิจัย พัฒนา  เพื่อใช้กับคนไข้  ได้ขายด้วย  ได้ทรัพย์สินทางปัญญาด้วย
ได้ช่วย ผู้ป่วยด้วย เราว่าก็วิน วินนะ

----



        สุรินทร์ - พบผู้เฒ่าชาวสุรินทร์วัย 72 ปีนำว่านโลดทะนงแดง ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา มาแก้พิษงูกัดได้ทุกชนิด จนกระทรวงสาธารณสุขยอมรับ มอบใบประกอบโรคศิลปะแพทย์แผนไทย รับเป็นหมออาสาร่วมกับแพทย์ทั้ง 3 โรงพยาบาล
      
        รายงานข่าวจาก จ.สุรินทร์แจ้งว่า นายยิ้มะ สายกระสุน หรือ “หมอยิ้มะ” อายุ 72 ปี อยู่บ้านเลขที่ 63 หมู่ 3 ต.บักได อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ปราชญ์ชาวบ้านที่นำว่านโลดทะนงแดงมาฝน (หิน) ลงในน้ำสะอาด ผสมหมากแห้ง ดื่มกินหรือโปะบาดแผลงูกัด ได้ทำหน้าที่เป็นหมออาสาร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบัน ที่โรงพยาบาลกาบเชิง โรงพยาบาลปราสาท และโรงพยาบาลพนมดงรัก
      
        โดยหากผู้ถูกสัตว์มีพิษกัดจะรีบเดินทางไปรักษาทันที และทุกวันต้องออกตรวจเยี่ยมผู้ที่มารักษาตัวทั้ง 3 โรงพยาบาลโดยไม่คิดค่าบริการ ส่วนว่านโลดทะนงแดงเปิดให้บูชาชุดละ 100 บาท ซึ่งก่อนหน้านี้จะให้ฟรี แต่ทุกวันนี้ว่านโลดทะนงแดงเริ่มจะหายากมาก ต้องขออนุญาตเข้าหาในเขตพื้นที่ของทหาร ติดกับเขตชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน
      
        หมอยิ้มะเล่าว่า เมื่อปี 2514 ได้ศึกษาเรื่องการแก้รักษาพิษงูหลังแม่ถูกงูเห่ากัดจนเสียชีวิต ซึ่งทุกคนช่วยอะไรไม่ได้เลย ตั้งแต่นั้นมาได้ขอคำแนะนำจากผู้รู้ คือ ลุง รวมทั้งศึกษาด้วยตนเอง จนมาพบว่านโลดทะนงแดงมีสรรพคุณแก้พิษงูได้ ต่อมาปี 2523 ได้ช่วยเหลือชาวบ้านที่ถูกงูกัด เนื่องจากโรงพยาบาลอยู่ไกลกว่า 40 กิโลเมตร ประกอบกับสถานีอนามัยสมัยนั้นไม่มีเซรุ่มแก้พิษงู ชาวบ้านใกล้ไกลจึงพากันมารักษาจำนวนมาก เกิดการยอมรับในภูมิปัญญาจากสมุนไพร
      
        ขณะที่โรงพยาบาลกาบเชิงได้ศึกษาเรื่องของสมุนไพรด้านพิษงู จึงได้เชิญเข้าร่วมรักษาผู้ป่วยพร้อมกับแพทย์แผนปัจจุบัน และโรงพยาบาลปราสาท ให้เข้าร่วมรักษาเมื่อปี 2525 ขณะที่โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อำเภอพนมดงรัก ก็รู้กิตติศัพท์จนเป็นที่ยอมรับ กระทั่งกระทรวงสาธารณสุขได้ขึ้นทะเบียนใบประกอบโรคศิลปะแพทย์แผนไทยให้ ปัจจุบันเป็นหมออาสารักษาผู้ป่วยทั้ง 3 โรงพยาบาลตามแนวชายแดนด้วย
      
        สำหรับวิธีการใช้ยา จะนำรากโลดทะนงแดง 1 หัวมาฝนกับหมากแห้ง ใช้น้ำสะอาดเป็นกระสายยา ฝนจนกระทั่งน้ำเป็นสีขุ่น แล้วให้ผู้ป่วยดื่ม รอสัก 3-5 นาทีจะอาเจียนออกมา หลังจากนั้นให้ดื่มซ้ำอีก ขณะเดียวกันทำยาปิดปากแผลที่งูกัด โดยบีบมะนาวเป็นกระสายยา นำรากโลดทะนงแดงและหมากแห้งมาฝน ปิดบริเวณปากแผลงูกัด ทำซ้ำไปเรื่อยๆ ทุก 2 ชั่วโมง ส่วนกรณีมีรอยไหม้ แผลเน่า ให้ใช้ว่านอึ่งทุบปิดแผล เด็กต้องลดปริมาณตามขนาด ซึ่งการใช้ยาไม่มีคาถากำกับแต่อย่างใด
      
        อย่างไรก็ตาม ทางการแพทย์ได้นำรากว่านโลดทะนงแดงไปทดลองแล้ว พบว่าสามารถยับยั้งและลดพิษงูเห่าได้ ซึ่งขณะนี้แพทย์แผนไทยได้ขึ้นทะเบียนเรียบร้อยแล้ว



http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9570000132843
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่