MADE IN CHINA!!! สื่อจีนงง!!! STEALTH พันธุ์ไหน!!! เครื่องบินรบ STEALTH ของจีน ปล่อยควันดำโขมง!!!

กระทู้ข่าว
"จีนขาดแคลนเครื่องยนต์ไอพ่นสำหรับเครื่องบินรบอย่างสาหัส เนื่องจากไม่สามารถพัฒนาคุณภาพต่อไปได้
และที่ผ่านมา เครื่องบินรบทุกรุ่นของจีน ส่วนใหญ่ยังคงใช้เครื่องยนต์สำหรับ Su-27 รุ่นหนึ่ง
ที่ซื้อจากรัสเซียกว่า 100 เครื่องเมื่อกว่า 10 ปีก่อน และจีนได้นำไปผลิตออกมาเองอีกราว 100 เครื่อง"

"แต่เครื่องรุ่นใหม่ของรัสเซีย ที่ก้าวหน้ากว่านั้น จีนไม่สามารถ ก๊อป หรือ Reverse Engineering ได้อีกต่อไป"

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สื่อจีนงง!!! STEALTH พันธุ์ไหน!!! เครื่องบินรบ STEALTH ของจีน ปล่อยควันดำโขมง!!!

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์     17 พฤศจิกายน 2557

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ





ASTVผู้จัดการออนไลน์ - งานแสดงอากาศยานเมืองจู่ไห่ ประจำปี 2557 เพิ่งจะผ่านไปแบบอลังการงานสร้าง เพราะปีนี้มีการระดมอากาศยาน กับอาวุธยุทโธปกรณ์ชั้นเยี่ยมไปร่วมมากมาย รวมทั้งหลายรายการที่เปิดตัวเป็นครั้งแรก แต่การปรากฏตัวของ J-31 “สเตลธ์” เครื่องบินรบล่องหนยุคที่ 5 ของประเทศเจ้าภาพเอง ซึ่งเป็นไฮไลต์สำคัญ กลับดูไม่น่าประทับใจเท่าไรนัก แม้กระทั่งในบรรดาสื่อออนไลน์ชั้นนำของจีนเอง ที่ตั้งคำถามว่า J-31 เป็นสเตลธ์พันธุ์ไหน เพราะเครื่องยนต์ปล่อยควันดำออกมาโขมงทุกครั้งเร่งเครื่อง หรือบินผาดแผลง ราวกับ “เครื่องยนต์หลวม” หรือเครื่องยนต์เก่าจนเริ่มมีปัญหาการเผาผลาญเชื้อเพลิง
       
       เว็บไซต์ซินา (Sina) ที่ทรงอิทธิพลของจีนได้ตีพิมพ์ภาพ J-31 ทั้งในระหว่างขึ้นบินฝึกซ้อมก่อนงานจูไห่ และระหว่างการบินแสดงในงาน ท่ามกลางแขกเหรื่อมากมาย และบริษัทผู้ผลิตคือ เสิ่นหยางแอร์คาฟท์ (Shenyang Aircraft) ประกาศจะผลิตสเตลธ์รุ่นเรือธงนี้ เพื่อส่งออกให้เป็นทางเลือกสำหรับประเทศที่เอื้อมไม่ถึง F-22 “แร็ปเตอร์” (Rapter) หรือ F-35 “สายฟ้า” (Lighning) ของสหรัฐฯ ที่ราคาแพงลิ่ว หรือสหรัฐฯ ไม่ขายให้
       
       เมื่อภาพเหล่านี้เผยแพร่ออกไปก็ได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ติดตามมามากมาย ไม่เฉพาะในบรรดาผู้อ่านชาวจีนเท่านั้น หากยังรวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องบินรบในเว็บไซต์ต่างแดน ที่ได้จังหวะ และบางรายกล่าวว่าภาพเหล่านี้ได้ช่วยตอบโจทย์ที่ตัวเองสงสัยมานานเช่นกัน
       
       ยังไม่มีผู้ใดทราบรายละเอียดว่า J-31 ของจีนใช้เครื่องยนต์อะไร รุ่นไหน แต่หลายแหล่งบอกว่า เป็นเครื่องยนตร์ที่บริษัทเสิ่นหยางบอกว่าอัปเกรดให้เป็น RD-93 ซึ่งก็คือเวอร์ชันใหม่ของ RD-33 ที่จีนซื้อจากรัสเซียเมื่อกว่า 10 ปีก่อน และนั่นคือเครื่องยนตร์ที่รัสเซียพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับเครื่องบินรบแบบ MiG-29 ตั้งแต่เมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว ปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้ว MiG-29K ที่ใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบินแทน Su-33 นั้น ใช้เครื่องยนต์รุ่นใหม่ที่ให้แรงบิดสูงกว่า แต่ประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่า และไม่ปล่อยควันดำโขมงอีกต่อไป
       
       ผู้อ่านหลายคนชี้ไปยังวิดีโอคลิปเมื่อไม่นานมานี้ ที่แสดงให้เห็นการบินผาดแผลงของ “จอมโจรควันโขมง” (Smokey Bandits) ฝูงบิน MiG-29 กองทัพอากาศมาเลเซียที่เหลือบินได้อยู่ราว 10 ลำ และจำนวนหนึ่งถูกโยกไปใช้งานด้านบินโชว์ บินสาธิต หรือออกแสดงในงานแอร์โชว์ที่จัดขึ้นในประเทศ

ถ้าหากรายงานต่างๆ เหล่านี้เป็นจริง ก็แสดงให้เห็นว่าเครื่องบินรบยุคที่ 5 ของจีน ได้เปิดเผยจุดอ่อนที่สำคัญคือ ยังใช้เครื่องยนต์ของเครื่องบินรบยุคเก่า ที่ใช้มาเป็นเวลาเกือบ 30 ปี การปล่อยควันดำมากมายแบบนี้ไม่มีโอกาสได้เห็นในเคื่องบินรบยุคที่ 5 ของรัสเซีย ซึ่งรวมทั้ง T-50 PAKFA กับ MiG-35 และเครื่องบินต้นแบบ Su-45 ทั้งในขณะบินปฏิบัติการปกติ และบินผาดแผลง
       
       นอกจากนั้น ก็จะไม่ได้เห็นทั้งใน “แร็ปเตอร์” และ “สายฟ้า” แม้กระทั่งใน F-35B ซึ่งเป็นเวอร์ชันสำหรับกองกำลังนาวิกโยธินสหรัฐฯ แม้ในยามที่ต้องขึ้นลงในแนวดิ่งบนดาดฟ้าเรือโจมตียกพลขึ้นบก ที่จะต้องใช้แรงขับดัน หรือแรงต้านจากเครื่องไอพ่นอย่างมหาศาลก็ตาม
       
       ควันดำเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับกันได้ในเครื่องบินรบยุคที่ 5 เพราะจะทำให้เครื่องบินสเตลธ์ไม่สามารถจะ “ล่องหน” ได้ ขีดความสามารถในการหลบเลี่ยงการตรวจจับด้วยเรดาร์ของฝ่ายตรงข้ามจะถูกลดทอนลงอย่างมากมาย จนอาจจะถึงขั้นเปิดตัวตนอย่างล่อนจ้อน ขณะออกปฏิบัติภารกิจเสี่ยงเป็นเสี่ยงภัยบนท้องฟ้า
       
       ยังไม่ทราบว่า J-31 เวอร์ชันส่งออกจะได้อะไรไปบ้าง แต่ทันทีที่จีนแย้มเรื่องนี้ออกมา ก็ได้รับการขานรับเป็นอย่างดีจากหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่าสาวกอาวุธยุทโธปกรณ์ราคาถูกของจีนในย่านเอเชีย ซึ่งรวมทั้งปากีสถาน กับบังกลาเทศ และไกลออกไปถึงแอฟริกา

เมื่อเดือนที่แล้ว เว็บไซต์แห่งหนึ่งของรัสเซียได้ออกรายงานที่น่าตกอกตกใจว่า ในปัจจุบันจีนขาดแคลนเครื่องยนต์ไอพ่นสำหรับเครื่องบินรบอย่างสาหัส เนื่องจากไม่สามารถพัฒนาคุณภาพต่อไปได้ และที่ผ่านมา เครื่องบินรบทุกรุ่นของจีน ส่วนใหญ่ยังคงใช้เครื่องยนต์สำหรับ Su-27 รุ่นหนึ่งที่ซื้อจากรัสเซียกว่า 100 เครื่องเมื่อกว่า 10 ปีก่อน และจีนได้นำไปผลิตออกมาเองอีกราว 100 เครื่อง แต่เครื่องรุ่นใหม่ของรัสเซีย ที่ก้าวหน้ากว่านั้น จีนไม่สามารถ ก๊อป หรือ Reverse Engineering ได้อีกต่อไป
       
       เว็บไซต์ของรัสเซียได้อ้างความเห็นของผู้เชี่ยวชาญว่า เมื่อขาดเครื่องยนต์คุณภาพสูง การพัฒนาไอพ่นของจีนก็อาจถึงกับหยุดชะงักลง และอาจจะต้องหยุดผลิตเครื่องบินรบตระกูล J ทั้งหลายเอาไว้ชั่วคราว รวมถึง J-15 ที่ใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกด้วย
       
       ไกลออกไป เว็บไซต์นิตยสาร “กันวา” (Kanwa Defence Review) สำนักข่าวกลาโหมที่ได้รับความนิยมอย่างมากมายในช่วงหลายปีมานี้ ได้ตั้งข้อสงสัยมานานแล้วว่า อุตสาหกรรมอากาศยานของจีน อาจจะประสบปัญหาในเรื่องนี้จริง และน่าจะเป็นภูมิหลังเหตุการณ์ที่ทำให้จีนต้องขอซื้อ Su-35 ซึ่งเป็นเครื่องบินรบ “ยุค 4++” ของค่ายหมีขาว ทั้งนี้ ก็เพื่อเครื่องยนต์ที่ใหม่กว่า
       
       การเจรจาซื้อขายเรื่องนี้ดำเนินมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว ก็ยังไม่มีทีท่าจะตกลงกันได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าข้อต่อรองสูงสุดของฝ่ายจีนนั้น เป็นเครื่องยนต์รุ่นดีที่สุดสำหรับ Su-35 ที่ใช้ประจำการในกองทัพอากาศรัสเซียนั่นเอง
       
       “อาจจะไม่มีคำอธิบายอื่นสำหรับผู้ผลิตเครื่องบินรบยุคที่ 5 แต่ไปขอซื้อเครื่องบินรบยุคที่ 4 จากประเทศอื่นไปใช้” กันวา กล่าว

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000132438

















แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่