เรื่องยาวหน่อยนะครับ
คุณพ่อผมเสียชีวิต มีพอร์ตหุ้นอยู่กับกสิกรจำนวนหลักแสนบาท ปัจจุบันคุณแม่ผมได้รับคำสั่งศาลให้เป็นผู้จัดการมรดก (มีใบคำสั่งแต่งตั้ง และ ใบคำสั่งเป็นที่สิ้นสุด) ผมได้โทรสอบถามไปยังโบรกเกอร์กสิกรไทย(มาร์ที่ดูแลพอร์ตให้พ่อผม)และสอบถามว่าคุณแม่ผมจะจัดการได้อย่างไรบ้าง ทางเจ้าหน้าที่ได้บอกว่ามี 2 วิธีคือ
1. ส่งใบคำสั่งศาลและเอกสารประกอบเพื่อให้ทางโบรกเกอร์ขายหุ้นที่มีทั้งหมดทิ้งแล้วโอนเงินเข้าบัญชีของคุณพ่อผม แล้วค่อยให้คุณแม่ผมไปปิดบัญชีคุณพ่อเพื่อเอาเงินออกมา
2. ***ถ้าไม่ต้องขายหุ้นทิ้ง*** เจ้าหน้าที่บอกว่าทำได้วิธีเดียวคือ ต้องให้คุณแม่ผมที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกไปเปิดบัญชีเทรดหุ้นกับกสิกรเท่านั้น (โบรกเกอร์อื่นไม่ได้) เพื่อจะโอนหุ้นจากบัญชีคุณพ่อผมไปบัญชีใหม่ของคุณแม่...เพื่อขายเท่านั้น
อย่างที่ผมบอกข้างต้นว่ายอดเงินใบพอร์ตนี้จำนวนไม่เยอะ ที่จริงผมก็ไม่อยากจะจุกจิกเรื่องมาก เพียงแต่ว่าวิธีการที่ทางเจ้าหน้าที่ของกสิกรบอกว่าทำได้แค่ 2 วิธีนี้มันฟังดูแปลกๆ ผมก็ได้แย้งกับทางเจ้าหน้าที่ไปว่าคุณแม่ผมได้เปิดพอร์ตไว้กับโบรกเกอร์อื่นเรียบร้อยแล้ว จะให้โอนหุ้นออกไปที่พอร์ตนี้เลยไม่ได้หรือ เจ้าหน้าที่ก็บอกว่าไม่ได้ท่าเดียว พอจี้มากๆ ก็บอกว่าเป็นนโยบายของทางกสิกร พอจี้หนักเข้าไปอีกบอกว่าต้องไปถามฝ่ายกฎหมาย ซึ่งผมก็ถามไปว่า นโยบายที่ทางเจ้าหน้าที่ได้อ้างมานั้น มีเป็นลายลักษณ์อักษรแจ้งไว้ตอนที่คุณพ่อผมเปิดพอร์ตกับทางกสิกรหรือไม่ ว่าถ้าเจ้าของพอร์ตเสียชีวิตหุ้นจะไม่สามารถโอนออกไปพอร์ตของผู้จัดการมรดกที่โบรกเกอร์อื่นได้ เจ้าหน้าที่ก็อึกอักๆ บอกว่าเป็นนโยบายของกสิกร อ้างว่าเคยมีกรณีที่ทายาทเอาคำสั่งศาลแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วมาโอนหุ้นเข้าพอร์ตตัวเอง สุดท้ายทายาทคนอื่นๆ ไม่พอใจไปไล่บี้กับทางกสิกร อ้างว่าตอนที่ศาลประกาศแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตนเองไม่ทราบเรื่องทำให้ไม่ได้คัดค้าน...ฯลฯ ทำให้ทางกสิกรต้องมีนโยบายแบบนี้ (อันนี้ผมว่าเป็นข้ออ้างน้ำขุ่นๆ นะครับ เพราะคำสั่งศาลเป็นที่สิ้นสุดแล้ว ถ้ามีปัญหากับตรงนั้นก็น่าจะไปขอความเป็นธรรมกับศาล) พอพูดมาถึงจุดนี้ทางเจ้าหน้าที่ก็ได้บอกออกมาอีกว่าถ้าจะโอนหุ้นออกไปโบรกเกอร์อื่นทายาททุกคนต้องมาเซ็นยินยอม...(ซึ่งตอนเซ็นยินยอมแต่งตั้งผู้จัดการมรดกนั้นทายาททุกคนก็ต้องเซ็นก่อนแล้วถึงจะยื่นเรื่องได้)
สุดท้ายผมบอกว่าผมขอดูนโยบายที่ว่าเป็นลายลักษณ์อักษรได้ไหม ก็บอกว่าต้องไปตรวจสอบกับทางฝ่ายกฎหมายก่อน ผมเลยถามว่านโยบายที่คุณบอกมาเนี่ยคุณแน่ใจเหรอว่ามันถูกต้อง ทำไมถึงต้องกลับไปถามเจ้าหน้าที่คนอื่นอีก..สรุปก็เลยบอกว่าให้ไปถามมาให้แน่ๆ ว่าตกลงนโยบายของกสิกรเป็นยังไงกันแน่ ก็วางสายไป
ตอนที่ผมกำลังพิมพ์อยู่นี้ ได้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของทางกสิกรโทรมาคุย แต่บอกตามตรงว่ายิ่งคุยผมก็ยิ่งมึนนะครับ (อาจจะเพราะผมไม่ได้เรียนด้านกฎหมายมาก็ได้ ลองอ่านดูครับ) ตอนที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายโทรมา ผมก็ได้สอบถามเหมือนเดิมว่าเจ้าของหุ้นเสียชีวิต ผู้จัดการมรดกต้องการให้โอนหุ้นไปยังพอร์ตของตนเองที่โบรกเกอร์อื่นได้ไหม เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายก็บอกว่าไม่ได้ ให้เลือก 2 อย่าง 1.ขายหุ้นทิ้ง แล้วผู้จัดการมรดกมาปิดบัญชีออมทรัพย์ที่ผูกติดกับพอร์ตหุ้นเอาเงินไป 2.ถ้าจะโอนหุ้นออก ต้องเป็นพอร์ตของผู้จัดการมรดกที่เปิดกับโบรกเกอร์กสิกรเท่านั้น แต่คราวนี้มีเพิ่มเติมคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายซึ่งได้สอบถามผมว่าทายาทคนอื่นๆ มีพอร์ตหุ้นไหม ซึ่งผมก็บอกไปว่าผมกับพี่น้อง มีพอร์ตหุ้นกันทุกคน ที่นี้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายเลยบอกว่าถ้าจะโอนหุ้นออกให้ผู้จัดการมรดกไปทำเรื่องขอถอนหุ้นออกจากกสิกร แต่ไม่ให้เอาเข้าพอร์ตหุ้นของผู้จัดการมรดก แต่ให้โอนหุ้นนั้นไปให้บุคคลที่สาม อันนี้ผมงงมากว่าเพื่ออะไร ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ก็ชี้แจงว่ากฎหมายไม่อยากให้ผู้จัดการมรดกเอาทรัพย์สินสมบัติของผู้เสียชีวิตเข้าเป็นสมบัติของผู้จัดการมรดกเอง ป้องกันทายาทคนอื่นๆ ครหาว่ายักยอกมรดก (คำพูดไม่เป๊ะๆ นะครับ แต่เนื้อหาก็ประมาณนี้) ที่นี้ผมเลยถามกลับว่า ถ้าไม่พูดถึงบัญชีหุ้น เอาเป็นบัญชีเงินสด ซึ่งผู้เสียชีวิตต้องมีอยู่แล้ว แบบนี้ผู้จัดการมรดกก็ปิดบัญชีได้แต่ห้ามเอาเงินเข้าบัญชีตนเองเหรอ? ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของกสิกรก็บอกว่า เวลาปิดบัญชีของผู้เสียชีวิต ธนาคารจะออกเช็คเป็นชื่อผู้เสียชีวิตให้ผู้จัดการมรดกเอาไปเข้าบัญชีของผู้จัดการมรดก (ใช้คำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก) ผมฟังถึงตรงนี้บอกตามตรงว่างงเป็นไก่ตาแตกเลยครับ เพราะเมื่อเช้าตอนที่ผมพาคุณแม่จะไปปิดบัญชีออมทรัพย์ที่กสิกร (ก่อนที่จะทราบว่าปิดบัญชีไม่ได้เพราะ บัญชีเชื่อมอยู่กับพอร์ตหุ้น และ พันธบัตร) พนักงานที่สาขาก็เตรียมที่จะออกแคชเชียร์เช็คชื่อคุณแม่ผมเพื่อรับเงินจากการปิดบัญชีของคุณพ่ออยู่แล้ว พอผมแย้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายกลับไป เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายก็บอกว่าอันนี้เค้าก็ไม่ทราบเป๊ะๆ ว่าขั้นตอนเป็นอย่างไร
สุดท้ายหลังจากได้คุยกับมาร์เก็ตติ้งหลักทรัพย์กสิกรที่ดูแลพอร์ตของคุณพ่อผม และเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของกสิกรแล้ว บอกตามตรงผมมึนมาก พอจะมีผู้ใดชี้แจงให้ผมกระจ่างทีได้ไหมครับ ว่าที่ถูกต้องมันต้องเป็นยังไงกันแน่ นอกจากโบรกเกอร์กสิกรที่คุณพ่อผมมีหุ้นอยู่ มีทางอื่นที่จะโอนหุ้นไปเข้าพอร์ตของคุณแม่ผมได้ไหมครับ?
ปล. ผมได้แจ้งเจ้าหน้าที่ไปนะครับว่าจำนวนเงินในพอร์ตไม่เยอะ ผมก็ไม่อยากจะจุกจิกเรื่องมาก เพียงแต่วิธีการที่ทางกสิกรแนะนำมา ผมว่ามันแปลกๆ แล้วก็กั๊กๆ พิกลครับ
ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ
รบกวนสอบถาม กรณีเจ้าของหุ้นเสียชีวิต (หลักทรัพย์กสิกร)
คุณพ่อผมเสียชีวิต มีพอร์ตหุ้นอยู่กับกสิกรจำนวนหลักแสนบาท ปัจจุบันคุณแม่ผมได้รับคำสั่งศาลให้เป็นผู้จัดการมรดก (มีใบคำสั่งแต่งตั้ง และ ใบคำสั่งเป็นที่สิ้นสุด) ผมได้โทรสอบถามไปยังโบรกเกอร์กสิกรไทย(มาร์ที่ดูแลพอร์ตให้พ่อผม)และสอบถามว่าคุณแม่ผมจะจัดการได้อย่างไรบ้าง ทางเจ้าหน้าที่ได้บอกว่ามี 2 วิธีคือ
1. ส่งใบคำสั่งศาลและเอกสารประกอบเพื่อให้ทางโบรกเกอร์ขายหุ้นที่มีทั้งหมดทิ้งแล้วโอนเงินเข้าบัญชีของคุณพ่อผม แล้วค่อยให้คุณแม่ผมไปปิดบัญชีคุณพ่อเพื่อเอาเงินออกมา
2. ***ถ้าไม่ต้องขายหุ้นทิ้ง*** เจ้าหน้าที่บอกว่าทำได้วิธีเดียวคือ ต้องให้คุณแม่ผมที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกไปเปิดบัญชีเทรดหุ้นกับกสิกรเท่านั้น (โบรกเกอร์อื่นไม่ได้) เพื่อจะโอนหุ้นจากบัญชีคุณพ่อผมไปบัญชีใหม่ของคุณแม่...เพื่อขายเท่านั้น
อย่างที่ผมบอกข้างต้นว่ายอดเงินใบพอร์ตนี้จำนวนไม่เยอะ ที่จริงผมก็ไม่อยากจะจุกจิกเรื่องมาก เพียงแต่ว่าวิธีการที่ทางเจ้าหน้าที่ของกสิกรบอกว่าทำได้แค่ 2 วิธีนี้มันฟังดูแปลกๆ ผมก็ได้แย้งกับทางเจ้าหน้าที่ไปว่าคุณแม่ผมได้เปิดพอร์ตไว้กับโบรกเกอร์อื่นเรียบร้อยแล้ว จะให้โอนหุ้นออกไปที่พอร์ตนี้เลยไม่ได้หรือ เจ้าหน้าที่ก็บอกว่าไม่ได้ท่าเดียว พอจี้มากๆ ก็บอกว่าเป็นนโยบายของทางกสิกร พอจี้หนักเข้าไปอีกบอกว่าต้องไปถามฝ่ายกฎหมาย ซึ่งผมก็ถามไปว่า นโยบายที่ทางเจ้าหน้าที่ได้อ้างมานั้น มีเป็นลายลักษณ์อักษรแจ้งไว้ตอนที่คุณพ่อผมเปิดพอร์ตกับทางกสิกรหรือไม่ ว่าถ้าเจ้าของพอร์ตเสียชีวิตหุ้นจะไม่สามารถโอนออกไปพอร์ตของผู้จัดการมรดกที่โบรกเกอร์อื่นได้ เจ้าหน้าที่ก็อึกอักๆ บอกว่าเป็นนโยบายของกสิกร อ้างว่าเคยมีกรณีที่ทายาทเอาคำสั่งศาลแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วมาโอนหุ้นเข้าพอร์ตตัวเอง สุดท้ายทายาทคนอื่นๆ ไม่พอใจไปไล่บี้กับทางกสิกร อ้างว่าตอนที่ศาลประกาศแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตนเองไม่ทราบเรื่องทำให้ไม่ได้คัดค้าน...ฯลฯ ทำให้ทางกสิกรต้องมีนโยบายแบบนี้ (อันนี้ผมว่าเป็นข้ออ้างน้ำขุ่นๆ นะครับ เพราะคำสั่งศาลเป็นที่สิ้นสุดแล้ว ถ้ามีปัญหากับตรงนั้นก็น่าจะไปขอความเป็นธรรมกับศาล) พอพูดมาถึงจุดนี้ทางเจ้าหน้าที่ก็ได้บอกออกมาอีกว่าถ้าจะโอนหุ้นออกไปโบรกเกอร์อื่นทายาททุกคนต้องมาเซ็นยินยอม...(ซึ่งตอนเซ็นยินยอมแต่งตั้งผู้จัดการมรดกนั้นทายาททุกคนก็ต้องเซ็นก่อนแล้วถึงจะยื่นเรื่องได้)
สุดท้ายผมบอกว่าผมขอดูนโยบายที่ว่าเป็นลายลักษณ์อักษรได้ไหม ก็บอกว่าต้องไปตรวจสอบกับทางฝ่ายกฎหมายก่อน ผมเลยถามว่านโยบายที่คุณบอกมาเนี่ยคุณแน่ใจเหรอว่ามันถูกต้อง ทำไมถึงต้องกลับไปถามเจ้าหน้าที่คนอื่นอีก..สรุปก็เลยบอกว่าให้ไปถามมาให้แน่ๆ ว่าตกลงนโยบายของกสิกรเป็นยังไงกันแน่ ก็วางสายไป
ตอนที่ผมกำลังพิมพ์อยู่นี้ ได้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของทางกสิกรโทรมาคุย แต่บอกตามตรงว่ายิ่งคุยผมก็ยิ่งมึนนะครับ (อาจจะเพราะผมไม่ได้เรียนด้านกฎหมายมาก็ได้ ลองอ่านดูครับ) ตอนที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายโทรมา ผมก็ได้สอบถามเหมือนเดิมว่าเจ้าของหุ้นเสียชีวิต ผู้จัดการมรดกต้องการให้โอนหุ้นไปยังพอร์ตของตนเองที่โบรกเกอร์อื่นได้ไหม เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายก็บอกว่าไม่ได้ ให้เลือก 2 อย่าง 1.ขายหุ้นทิ้ง แล้วผู้จัดการมรดกมาปิดบัญชีออมทรัพย์ที่ผูกติดกับพอร์ตหุ้นเอาเงินไป 2.ถ้าจะโอนหุ้นออก ต้องเป็นพอร์ตของผู้จัดการมรดกที่เปิดกับโบรกเกอร์กสิกรเท่านั้น แต่คราวนี้มีเพิ่มเติมคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายซึ่งได้สอบถามผมว่าทายาทคนอื่นๆ มีพอร์ตหุ้นไหม ซึ่งผมก็บอกไปว่าผมกับพี่น้อง มีพอร์ตหุ้นกันทุกคน ที่นี้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายเลยบอกว่าถ้าจะโอนหุ้นออกให้ผู้จัดการมรดกไปทำเรื่องขอถอนหุ้นออกจากกสิกร แต่ไม่ให้เอาเข้าพอร์ตหุ้นของผู้จัดการมรดก แต่ให้โอนหุ้นนั้นไปให้บุคคลที่สาม อันนี้ผมงงมากว่าเพื่ออะไร ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ก็ชี้แจงว่ากฎหมายไม่อยากให้ผู้จัดการมรดกเอาทรัพย์สินสมบัติของผู้เสียชีวิตเข้าเป็นสมบัติของผู้จัดการมรดกเอง ป้องกันทายาทคนอื่นๆ ครหาว่ายักยอกมรดก (คำพูดไม่เป๊ะๆ นะครับ แต่เนื้อหาก็ประมาณนี้) ที่นี้ผมเลยถามกลับว่า ถ้าไม่พูดถึงบัญชีหุ้น เอาเป็นบัญชีเงินสด ซึ่งผู้เสียชีวิตต้องมีอยู่แล้ว แบบนี้ผู้จัดการมรดกก็ปิดบัญชีได้แต่ห้ามเอาเงินเข้าบัญชีตนเองเหรอ? ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของกสิกรก็บอกว่า เวลาปิดบัญชีของผู้เสียชีวิต ธนาคารจะออกเช็คเป็นชื่อผู้เสียชีวิตให้ผู้จัดการมรดกเอาไปเข้าบัญชีของผู้จัดการมรดก (ใช้คำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก) ผมฟังถึงตรงนี้บอกตามตรงว่างงเป็นไก่ตาแตกเลยครับ เพราะเมื่อเช้าตอนที่ผมพาคุณแม่จะไปปิดบัญชีออมทรัพย์ที่กสิกร (ก่อนที่จะทราบว่าปิดบัญชีไม่ได้เพราะ บัญชีเชื่อมอยู่กับพอร์ตหุ้น และ พันธบัตร) พนักงานที่สาขาก็เตรียมที่จะออกแคชเชียร์เช็คชื่อคุณแม่ผมเพื่อรับเงินจากการปิดบัญชีของคุณพ่ออยู่แล้ว พอผมแย้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายกลับไป เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายก็บอกว่าอันนี้เค้าก็ไม่ทราบเป๊ะๆ ว่าขั้นตอนเป็นอย่างไร
สุดท้ายหลังจากได้คุยกับมาร์เก็ตติ้งหลักทรัพย์กสิกรที่ดูแลพอร์ตของคุณพ่อผม และเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของกสิกรแล้ว บอกตามตรงผมมึนมาก พอจะมีผู้ใดชี้แจงให้ผมกระจ่างทีได้ไหมครับ ว่าที่ถูกต้องมันต้องเป็นยังไงกันแน่ นอกจากโบรกเกอร์กสิกรที่คุณพ่อผมมีหุ้นอยู่ มีทางอื่นที่จะโอนหุ้นไปเข้าพอร์ตของคุณแม่ผมได้ไหมครับ?
ปล. ผมได้แจ้งเจ้าหน้าที่ไปนะครับว่าจำนวนเงินในพอร์ตไม่เยอะ ผมก็ไม่อยากจะจุกจิกเรื่องมาก เพียงแต่วิธีการที่ทางกสิกรแนะนำมา ผมว่ามันแปลกๆ แล้วก็กั๊กๆ พิกลครับ
ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ