ไม่ได้บ่อยนักที่จะได้เห็นศิลปินคนไหนได้ขึ้นปกนิตยสาร TIME โดยเฉพาะกับสาวอายุเพียง 24 ปี ที่อาจจะยังไม่เป็นระดับตำนานเหมือนวงร็อคระดับโลกอย่าง Rolling Stones ที่จะมาขึ้นปกนิตยสารใหญ่แบบ TIME ที่เฉพาะคนที่มีอิทธิพลต่อโลกถึงจะได้ขึ้นหน้าปก แต่ถ้ามองข้ามอายุเพียง 24 ปีของเธอ Taylor Swift ก็เป็นไอดอลในใจ ที่ผู้หญิงหลายคนทั่วโลกด้วยความเป็นตัวเอง และการแสดงออกทางความคิดบนผลงาน
เว็บ iUrban เองก็ไม่ใช่เว็บที่จะมีกูรูเนื้อหาด้านดนตรีซะด้วย แต่ประเด็นนี้ ไม่ได้เป็นเพียงประเด็นของวงการดนตรีเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับ lifestyle ของคนยุคใหม่ ที่ดิจิตอลเริ่มเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว จากประเด็นสรุป ผมคาดเดาสาเหตุที่เธอได้ขึ้นปกนิตยสาร TIME รอบนี้ น่าจะเป็นการที่เธอกบฏต่อวงการเพลงดิจิตอล ด้วยการประกาศถอนเพลงออกจากระบบฟังเพลงออนไลน์ที่ใหญ่ระดับโลกอย่าง Spotify
ในยุคดิจิตอลแบบนี้ วงการเพลงเป็นวงการแรกๆ ที่ต้องขยับตัวอย่างจริงจัง เพื่อการทำธุรกิจให้ทันโลกออนไลน์ ไหนจะแข่งกับเทปผีซีดีเถื่อนไม่พอ ยังต้องแข่งกับไฟล์โหลดเถื่อนที่หาได้ง่ายแค่ปลายนิ้วคลิ้ก ทำให้เกิดการปฏิวัติวงการเพลงอย่างรุนแรงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จนทุกคนต้องเคยได้ยินชื่อ iTunes ซึ่งเป็นผู้ให้บริการขายเพลงแบบซื้อขาดรายใหญ่ที่สุดของโลก ลูกค้ามีสิทธินำเพลงที่ซื้อไปฟังต่อที่ไหนก็ได้ ปฏิวัติโลกสู่การค้าแบบดิจิตอลอย่างเต็มตัว การซื้อมันง่ายเพียงแค่หยิบ iPhone ขึ้นมา เสิร์ชและกดซื้อได้อย่างวู่วาม แถมยังสร้างรายได้ให้กับค่ายเพลงไม่เบา
แม้แต่เพลงไทยในช่วงที่ซีรีย์ Hormones ออกฉาย เพลง “ไม่บอกเธอ” ก็ขึ้นอันดับหนึ่งอยู่ในชาร์จเกือบ 2-3 เดือน เป็นปรากฏการณ์ที่เราจะเห็นได้ว่าไม่ใช่แค่ต่างประเทศอีกต่อไป แต่กูรูหลายท่านก็บอกว่า iTunes ไม่ได้ทำลายราคาตลาดเหมือนอย่าง Spotify …
อะไรคือ Spotify?
Spotify เป็นบริการให้ฟังเพลงได้หลายๆเพลงโดยจ่ายแบบเหมา ทางเทคนิคเรียกว่าการฟังเพลงแบบ streaming บ้าง หรือแบบ cloud ต่างกันกับ iTunes ตรงที่ลูกค้าไม่ได้มีเพลงให้ลงเครื่องกลับบ้านไป ไม่ได้ขายขาด แต่ขายสิทธิในการฟังผ่านออนไลน์ ดัวยคุณภาพระดับสูงเทียมกัน และคนฟังก็จ่ายเป็นค่าบริการให้ Spotify ด้วยราคาเพียงกาแฟแก้วเดียว (แต่แก้ว Starbucks นะ) ก็จะสามารถฟังเพลงลิขสิทธิได้เกือบทั้งโลก ซึ่งบริการพวกนี้ ก็ไม่ได้มีแค่ Spotify ยังมีอีกหลายเจ้าเช่น Pandora, Deezer (ที่ DTAC พยายามดีลเข้ามา), Beats Music, KKBox (ที่ AIS พยายามดีลเข้ามา) ซึ่งบริการเหล่านี้มองเห็นช่องทางราคา ที่จะทำให้คนที่ชอบฟังเพลงก็รู้สึกว่าคุ้มค่ามากขึ้น คือจ่ายแค่นิดเดียวเอง แต่เพลงให้ฟังเยอะกว่าการเอาเงินไปซื้อ iTunes ตั้งเยอะ และก็ทำถูกกฏหมาย แต่ในแง่ของศิลปินอย่าง Taylor Swift กลับตรงกันข้าม เพราะเธอบอกว่า แบบนี้มันไม่มีคุณค่า
Taylor Swift ประกาศหย่าขาด Spotify
ก่อนหน้านี้ Taylor เองก็เป็นศิลปินที่มีเพลงอยู่ใน Spotify ไม่ต่างจากศิลปินอีกเกือบครึ่งโลก แต่สัปดาห์ที่ผ่านมา เธอประกาศถอนเพลงทั้งหมดออกจาก Spotify หยุดให้บริการเพลงในรูปแบบ streaming แบบนี้แล้ว ด้วยเหตุว่ารายได้นั้นไม่คุ้มเอาซะเลย เหตุการณ์นี้ก็เกิดแรงกระเพื่อมสนั่นวงการเลยทีเดียว ทาง Spotify ก็ออกมาย้อนว่ามันไม่ได้น้อยแบบนั้น CEO บอกว่าเราจ่ายให้ศิลปินทั้งหมดมามากกว่า 6 หมื่นล้านบาทแล้วนะ (iUrban ขอแปลงตัวเลขจาก US Dollar เป็น TH Baht โดยประมาณเพื่อความง่ายต่อการจินตนาการ) แถม Spotify ยังต้องจ่ายให้ Taylor Swift เองตั้ง 190 ล้านบาท เพื่อการต่อสัญญาเช่าเพลงทั้งหมดของเธอใน 12 เดือนข้างหน้านี้ ทั้งที่ถ้านับเงินจากการกดฟังต่อครั้งของลูกค้าใน US เธอเองทำเงินให้ Spotify ไม่ถึง 16 ล้านด้วยซ้ำไป (ชั้นขาดทุนนะ) – ฝั่ง CEO Spotify เขาก็เคลมแบบนั้น
ผมว่าในส่วนของตัวเลข เราก็ไม่อาจรู้จริงเท็จ เพราะผู้จัดการ Taylor Swift ก็บอกว่า มันไม่ใช่เลย พูดอะไรกัน ตัวเลขขนาดนั้น ชั้นคงจะสบายไปนานแล้วเฮ้ย! – Taylor จะโดนเอาเปรียบจริงรึเปล่า หรืออาจจะเป็นเพียงการสร้างกระแสโปรโมตอัลบัมใหม่ “1989” ของเธอรึเปล่า? ก็ไม่สามารถเดาได้ แต่ผมคิดเอาเองว่า ถ้าใครจะสร้างกระแสอะไร ก็คงไม่สร้างกระแสกับการตัดช่องทางหาเงินของตัวเองแบบนี้หรอก ถ้ามันได้เงินคุ้มจริง
วงการเพลงเองก็ไม่ได้มีแต่สายปฏิวัติเสมอไป ไม่มีที่ไหนที่คนจะเห็นพ้องต้องกันทั้งหมด Dave Grohl หัวหน้าวง Foo Fighter พูดว่า “You want people to ing listen to your music? Give them your music.” และ “And then go play a show. They like hearing your music?” แปลเป็นไทยลวกๆก็ประมาณว่า จะอะไรมากมาย ถ้าอยากให้คนฟังเพลง ก็ไปร้องเพลงโชว์สิวะ พวกเค้าอยากฟังเพลงป่าวละ? งานนี้จะเรียกว่าเกาะ Taylor Swift ดัง หรือเป็นตัวของตัวเองก็แล้วแต่แฟนๆจะพิจารณากันเอง
ความคิดเห็นของแต่ละคน เราเองก็ไม่สามารถรู้ได้ว่า อะไรจริง อะไรอารมณ์ แต่ว่าในเมื่อ iUrban เองก็เป็นคนฟังเพลง เราอาจจะไม่ได้มีความรู้จริงเท่ากับกูรูที่เราจะขอไปสัมภาษณ์ให้อ่านกันต่อไปนี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สนใจอ่านต่อพร้อมบทสัมภาษณ์ เชิญที่ีนี่ครับ
http://www.iurban.in.th/people/taylorswift-time/
[BLOG] ทำไม Taylor Swift ถึงได้ขึ้นปกนิตยสาร TIME เธอเป็นกบฏหรือนักปฏิวัติวงการขายเพลงดิจิตอล
ไม่ได้บ่อยนักที่จะได้เห็นศิลปินคนไหนได้ขึ้นปกนิตยสาร TIME โดยเฉพาะกับสาวอายุเพียง 24 ปี ที่อาจจะยังไม่เป็นระดับตำนานเหมือนวงร็อคระดับโลกอย่าง Rolling Stones ที่จะมาขึ้นปกนิตยสารใหญ่แบบ TIME ที่เฉพาะคนที่มีอิทธิพลต่อโลกถึงจะได้ขึ้นหน้าปก แต่ถ้ามองข้ามอายุเพียง 24 ปีของเธอ Taylor Swift ก็เป็นไอดอลในใจ ที่ผู้หญิงหลายคนทั่วโลกด้วยความเป็นตัวเอง และการแสดงออกทางความคิดบนผลงาน
เว็บ iUrban เองก็ไม่ใช่เว็บที่จะมีกูรูเนื้อหาด้านดนตรีซะด้วย แต่ประเด็นนี้ ไม่ได้เป็นเพียงประเด็นของวงการดนตรีเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับ lifestyle ของคนยุคใหม่ ที่ดิจิตอลเริ่มเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว จากประเด็นสรุป ผมคาดเดาสาเหตุที่เธอได้ขึ้นปกนิตยสาร TIME รอบนี้ น่าจะเป็นการที่เธอกบฏต่อวงการเพลงดิจิตอล ด้วยการประกาศถอนเพลงออกจากระบบฟังเพลงออนไลน์ที่ใหญ่ระดับโลกอย่าง Spotify
ในยุคดิจิตอลแบบนี้ วงการเพลงเป็นวงการแรกๆ ที่ต้องขยับตัวอย่างจริงจัง เพื่อการทำธุรกิจให้ทันโลกออนไลน์ ไหนจะแข่งกับเทปผีซีดีเถื่อนไม่พอ ยังต้องแข่งกับไฟล์โหลดเถื่อนที่หาได้ง่ายแค่ปลายนิ้วคลิ้ก ทำให้เกิดการปฏิวัติวงการเพลงอย่างรุนแรงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จนทุกคนต้องเคยได้ยินชื่อ iTunes ซึ่งเป็นผู้ให้บริการขายเพลงแบบซื้อขาดรายใหญ่ที่สุดของโลก ลูกค้ามีสิทธินำเพลงที่ซื้อไปฟังต่อที่ไหนก็ได้ ปฏิวัติโลกสู่การค้าแบบดิจิตอลอย่างเต็มตัว การซื้อมันง่ายเพียงแค่หยิบ iPhone ขึ้นมา เสิร์ชและกดซื้อได้อย่างวู่วาม แถมยังสร้างรายได้ให้กับค่ายเพลงไม่เบา
แม้แต่เพลงไทยในช่วงที่ซีรีย์ Hormones ออกฉาย เพลง “ไม่บอกเธอ” ก็ขึ้นอันดับหนึ่งอยู่ในชาร์จเกือบ 2-3 เดือน เป็นปรากฏการณ์ที่เราจะเห็นได้ว่าไม่ใช่แค่ต่างประเทศอีกต่อไป แต่กูรูหลายท่านก็บอกว่า iTunes ไม่ได้ทำลายราคาตลาดเหมือนอย่าง Spotify …
อะไรคือ Spotify?
Spotify เป็นบริการให้ฟังเพลงได้หลายๆเพลงโดยจ่ายแบบเหมา ทางเทคนิคเรียกว่าการฟังเพลงแบบ streaming บ้าง หรือแบบ cloud ต่างกันกับ iTunes ตรงที่ลูกค้าไม่ได้มีเพลงให้ลงเครื่องกลับบ้านไป ไม่ได้ขายขาด แต่ขายสิทธิในการฟังผ่านออนไลน์ ดัวยคุณภาพระดับสูงเทียมกัน และคนฟังก็จ่ายเป็นค่าบริการให้ Spotify ด้วยราคาเพียงกาแฟแก้วเดียว (แต่แก้ว Starbucks นะ) ก็จะสามารถฟังเพลงลิขสิทธิได้เกือบทั้งโลก ซึ่งบริการพวกนี้ ก็ไม่ได้มีแค่ Spotify ยังมีอีกหลายเจ้าเช่น Pandora, Deezer (ที่ DTAC พยายามดีลเข้ามา), Beats Music, KKBox (ที่ AIS พยายามดีลเข้ามา) ซึ่งบริการเหล่านี้มองเห็นช่องทางราคา ที่จะทำให้คนที่ชอบฟังเพลงก็รู้สึกว่าคุ้มค่ามากขึ้น คือจ่ายแค่นิดเดียวเอง แต่เพลงให้ฟังเยอะกว่าการเอาเงินไปซื้อ iTunes ตั้งเยอะ และก็ทำถูกกฏหมาย แต่ในแง่ของศิลปินอย่าง Taylor Swift กลับตรงกันข้าม เพราะเธอบอกว่า แบบนี้มันไม่มีคุณค่า
Taylor Swift ประกาศหย่าขาด Spotify
ก่อนหน้านี้ Taylor เองก็เป็นศิลปินที่มีเพลงอยู่ใน Spotify ไม่ต่างจากศิลปินอีกเกือบครึ่งโลก แต่สัปดาห์ที่ผ่านมา เธอประกาศถอนเพลงทั้งหมดออกจาก Spotify หยุดให้บริการเพลงในรูปแบบ streaming แบบนี้แล้ว ด้วยเหตุว่ารายได้นั้นไม่คุ้มเอาซะเลย เหตุการณ์นี้ก็เกิดแรงกระเพื่อมสนั่นวงการเลยทีเดียว ทาง Spotify ก็ออกมาย้อนว่ามันไม่ได้น้อยแบบนั้น CEO บอกว่าเราจ่ายให้ศิลปินทั้งหมดมามากกว่า 6 หมื่นล้านบาทแล้วนะ (iUrban ขอแปลงตัวเลขจาก US Dollar เป็น TH Baht โดยประมาณเพื่อความง่ายต่อการจินตนาการ) แถม Spotify ยังต้องจ่ายให้ Taylor Swift เองตั้ง 190 ล้านบาท เพื่อการต่อสัญญาเช่าเพลงทั้งหมดของเธอใน 12 เดือนข้างหน้านี้ ทั้งที่ถ้านับเงินจากการกดฟังต่อครั้งของลูกค้าใน US เธอเองทำเงินให้ Spotify ไม่ถึง 16 ล้านด้วยซ้ำไป (ชั้นขาดทุนนะ) – ฝั่ง CEO Spotify เขาก็เคลมแบบนั้น
ผมว่าในส่วนของตัวเลข เราก็ไม่อาจรู้จริงเท็จ เพราะผู้จัดการ Taylor Swift ก็บอกว่า มันไม่ใช่เลย พูดอะไรกัน ตัวเลขขนาดนั้น ชั้นคงจะสบายไปนานแล้วเฮ้ย! – Taylor จะโดนเอาเปรียบจริงรึเปล่า หรืออาจจะเป็นเพียงการสร้างกระแสโปรโมตอัลบัมใหม่ “1989” ของเธอรึเปล่า? ก็ไม่สามารถเดาได้ แต่ผมคิดเอาเองว่า ถ้าใครจะสร้างกระแสอะไร ก็คงไม่สร้างกระแสกับการตัดช่องทางหาเงินของตัวเองแบบนี้หรอก ถ้ามันได้เงินคุ้มจริง
วงการเพลงเองก็ไม่ได้มีแต่สายปฏิวัติเสมอไป ไม่มีที่ไหนที่คนจะเห็นพ้องต้องกันทั้งหมด Dave Grohl หัวหน้าวง Foo Fighter พูดว่า “You want people to ing listen to your music? Give them your music.” และ “And then go play a show. They like hearing your music?” แปลเป็นไทยลวกๆก็ประมาณว่า จะอะไรมากมาย ถ้าอยากให้คนฟังเพลง ก็ไปร้องเพลงโชว์สิวะ พวกเค้าอยากฟังเพลงป่าวละ? งานนี้จะเรียกว่าเกาะ Taylor Swift ดัง หรือเป็นตัวของตัวเองก็แล้วแต่แฟนๆจะพิจารณากันเอง
ความคิดเห็นของแต่ละคน เราเองก็ไม่สามารถรู้ได้ว่า อะไรจริง อะไรอารมณ์ แต่ว่าในเมื่อ iUrban เองก็เป็นคนฟังเพลง เราอาจจะไม่ได้มีความรู้จริงเท่ากับกูรูที่เราจะขอไปสัมภาษณ์ให้อ่านกันต่อไปนี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้