ร่วมลงชื่อ รณรงค์ สนับสนุน พ.ร.บ.คู่ชีวิต / พ.ร.บ.จดทะเบียนคู่ชีวิต กันครับ ขอบคุณครับ

สืบเนื่องจากกระทู้นี้ครับ
http://ppantip.com/topic/30151663   "ร่าง พรบ. การจดทะเบียนคู่ชีวิต" ก้าวใหม่ของประเทศไทย
http://ppantip.com/topic/31572826   "ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต" ของ "บุคคลเพศเดียวกัน" ใน "มุมมองของคุณ" คิดเห็นอย่างไรบ้าง

จากนั้น ก็ยังไม่เห็นความคืบหน้าทางด้านนิติบัญัติใดๆครับ  
ซึ่งระหว่างรอการปฏิรูปประเทศ  จึงอยากให้รวมพลังกัน
เพื่อแสดงความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้อย่างจริงจัง  
เพื่อความเท่าเทียมกันในสังคม  ลด discrimination  และแก้ปัญหาที่คู่รักเพศเดียวกันหลายคู่กำลังประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้ครับ

ร่วมกันลงชื่อได้ที่นี่ครับ

https://www.change.org/p/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%8A-%E0%B8%AA%E0%B8%9B%E0%B8%8A-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%9A-%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%9E-%E0%B8%A3-%E0%B8%9A-%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95-%E0%B8%9E-%E0%B8%A3-%E0%B8%9A-%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95?just_created=true



คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

หรือมีความคิดเห็น ข้ออภิปรายใดๆ ก็เชิญอภิปรายได้ครับ

ขอบคุณครับ


***** edit อธิบายเพิ่มเติมนะครับ (14/11/2557  17.00 น.) *****

สิทธิที่คู่รักเพศเดียวกันจะได้รับจาก พ.ร.บ.คู่ชีวิต

1. สิทธิในการทำธุรกรรมทางการเงินร่วมกัน เช่น การกู้เงินธนาคารเพื่อซื้อบ้าน (กู้ด้วยกันไม่ได้ เพราะไม่ใช่คู่สมรสหรือผู้สืบสันดาน)
2. สิทธิในการรักษาพยาบาล หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรับราชการ (ไม่ได้สิทธิ์ เพราะไม่ใช่คู่สมรสตามกฎหมาย)
3. สิทธิการลงชื่อยินยอมให้แพทย์ทำการรักษาพยาบาลแก่คู่ชีวิต (ลงชื่อไม่ได้ เพราะไม่ใช่บุคคลในครอบครัวหรือญาติ)
4. สิทธิในการรับมรดกที่ร่วมสร้างกันมา ในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตกะทันหันและไม่มีพินัยกรรมระบุไว้ (ซึ่งในปัจจุบัน ทรัพย์สินในชื่อผู้เสียชีวิต จะตกไปยังญาติตามกฎหมายทั้งหมด)
5. สิทธิในการลดหย่อนภาษีเงินได้ ในกรณีมีคู่สมรส
6. สิทธิการรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม

หลายๆคนเชื่อว่า การจดทะเบียนสมรส ไม่ใช่เรื่องจำเป็น เพราะเรารักกัน คบกันที่หัวใจ  แต่อีกในมุมนึง การที่คนสองคนใช้ชีวิตร่วมกัน มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับรู้ของคนในสังคมเช่นกัน และหากมีการจดทะเบียนสมรส ทั้งสองก็สามารถยืนยันสิทธิและแสดงหน้าที่ของคนทั้งสองได้มากกว่าความรัก

แน่นอนว่าการจดทะเบียนสมรส ขึ้นกับความสมัครใจของคนสองคน  ไม่ใช่สิ่งที่ คู่ชาย-หญิง  คู่ชาย-ชาย คู่หญิง-หญิง ทุกคู่ต้องการ  แต่การจดทะเบียนสมรสเป็นสิ่งที่พลเมืองทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมกัน

ดัง มาตรา 30 รัฐธรรมนูญ 2550 บัญญัติว่า "บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำหนด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายภาพหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่นไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม"

ดังนั้น บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ มิได้เรียกร้องสิทธิใดๆที่เหนือกว่าหรือมากกว่าประชาชนพลเมืองทั่วไป ซึ่งเมื่อมีสิทธิ ก็จะมีสิทธิเช่นกัน ที่จะจดทะเบียนสมรสหรือไม่จดทะเบียนสมรสหรือจะอยู่ด้วยกันเฉยๆก็ได้ (เหมือนกับคู่รัก ชาย-หญิง)


แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่