เกริ่นนำนิดถึงครับ ออกตัวไว้ก่อนครับว่า เนื้อหาอาจจะไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
ตอนแรกๆ ผมเองค่อนข้างมีความสงสัยในการศรัทธาศาสนาเป็นอย่างมาก ก็ตามประสาเด็กรุ่นใหม่แหละครับ ที่ไม่ค่อยจะเชื่อ จะศรัทธาในศาสนาซักเท่าไหร่
ด้วยความที่สงสัยนั่นเอง ด้วยเบื่อความวุ่นวายทางโลกด้วย คิดว่าถึงเวลาที่เหมาะสมแล้วด้วย ด้วยความสงสัยอยากรู้ด้วย จึงตัดสินใจขอลาอุปสมบท ไหนๆ บวชทั้งทีขอบวช 1พรรษาไปเลย เพื่อศึกษาและตอบคำถามที่เราข้องใจมานาน (เพราะเรามีนิสัยเสียเป็นคนชอบเอาหลักวิทยาศาสตร์มาอ้างแย้งตลอด)
สรุปว่าจะขอมารีวิวเบื้องต้น จากสายตาพระที่เราได้สัมผัสมา แล้วพระบอกเราไม่ได้แล้วกันเนอะ เพื่อเป็นความรู้แนวปฏิบัติที่ถูกต้อง
ว่ากันเรื่อง การใส่บาตร และการถวายทานที่ถูกต้อง
1)การให้ทาน เป็นเพียงบุญเบื้องต้นเท่านั้น
ในหลักบุญกริยาวัตถุ 3 ของศาสนาพุทธกล่าวไว้ว่า การให้ทานนั้นเป็นเพียงบุญเบื้องต้น เพื่อลดความตระหนี่ถี่เหนียว ลดตัวตน ลดความโลภเท่านั้น ดังนั้น นอกจากการให้ทานแล้ว เราควรหมั่นรักษาศีลเพื่อให้ร่างกายจิตใจเป็นปกติ และนั่งสมาธิภาวนา ซึ่งเป็นบุณสูงสุดในศาสนาพุทธต่อไปด้วย กล่าวไว้ว่า ให้ทานสิบครั้ง ก็ไม่เท่ากับการทำสมาธิภาวนาเพียงสิบนาที
2)อาหารที่ถวาย ต้องเป็นอาหารใหม่ หรือมีการตักแยกไว้ก่อนที่จะให้คนอื่นกิน
เพราtภิกษุ จะไม่กินของเหลือ ของซาก เป็นอาบัติ
3)อาหารที่ถวาย ไม่จำเป็นต้องถวายให้ครบมื้อ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
คือไม่จำเป็นต้องประกอบด้วย ข้าว+กับ+ขนม+น้ำ+นม+ดอกไม้ทั้งหมด เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
4)พยายามจัดหาอาหารใส่บาตรด้วยตนเอง
คนสมัยนี้ส่วนใหญ่มักจะใส่บาตรสำเร็จรูป คือ ไปซื้ออาหารจัดชุดที่ว่างเป็นโต๊ะๆ ไว้แล้ว การให้ทานที่ได้บุญที่สุด คือการให้ทานด้วยความตั้งใจ ดังนั้น เปลี่ยนจากการซื้อชุดตักบาตรหน้าตลาด เป็นเดินเข้าไปร้านกับข้าวในตลาด เลือกหยิบกับข้าวดีดีมาซักถุง ได้บุญกว่าหน้าตลาดที่จัดข้าว+กับ+น้ำ อีกนะครับ
5)พยายามไม่ใส่บาตรด้วยเงิน
อีกหนึ่งการใส่บาตรที่นิยมคือการควักตังใส่ ถึงเจตนาจะดีได้บุญ แต่นั่นก็ผิดนะครับ ผิดตั้งแต่ศีล10 ของเณรแล้ว คือภิกษุ(สามเณรด้วย) พึงไม่จับกัปปิยะ เงิน ทอง แต่ถามว่าเงินจำเป็นสำหรับพระไหม จำเป็นครับโทษพระไม่ได้ที่จำเป็นต้องรับเงิน (ค่าไฟวัด ค่าน้ำวัด ค่าสร้างกุฏิ ค่าซ่อมแซมวัด บลาๆๆ) สมัยนี้ไม่เหมือนสมัยก่อน ที่จะมีศรัทธาญาติโยมมาช่วยค่าน้ำไฟทุกเดือน ฃ่วยทำโบสถ์นู่นนี่นั่น
ถ้าจะให้แนะนำ การหยอดตู้บริจาค หรือถวายโดยตรงกับวัดเป็นสังฆทานจะได้ประโยชน์สูงสุดครับ
6) พูดคำว่า ”นิมนต์” เมื่อต้องการเชิญพระมารับบาตร
สำคัญมากนะครับ เพราะภิกษุ พึงไม่น้อมลาภเข้ามาใส่ตัว พระไม่สามารถมายืนต่อแถวรับบาตรเพื่อขออาหารใครได้ ถ้าจะใส่บาตรจึงต้องมีการเชิญมารับ ถ้าไม่หนักหนาเกินไป พูดเถอะครับ อย่าแค่ก้มหน้าพยักหน้าให้เลย
7)ถอดรองเท้าทุกครั้งก่อนใส่บาตร
เป็นการแสดงความเคารพครับ เพราะพระถอดรองเท้าบิณฑบาต เราจะใส่รองเท้าใส่บาตร ก็ถือว่าเราอยู่อาสนะ พื้นที่สูงกว่าพระ ผิดนะครับในแง่เทคนิค หรือบางคนที่ถอดรองเท้าแต่ยืนบนรองเท้า นั่นก็ไม่ต่างกัน เพราะยืนสูงกว่าพระอยู่ดี ดังนั้น ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรง ถอดรองเท้าเถอะครับ
8) เวลาใส่บาตร ให้ยืนใส่
คนกว่า 90% นั่งใส่บาตรรับพร เพราะเข้าใจว่าเป็นการแสดงความเคารพสูงสุด ผิดนะครับ มีบัญญัติในเสขิยวัตรของสงฆ์ว่า หากภิกษุยืนอยู่ห้ามแสดงธรรมแก่อนุปสัมบัน (คนทั่วไป) ที่ไม่ได้ป่วยที่นั่งอยู่ การให้พรถือเป็นการแสดงธรรมอย่างหนึ่ง ถ้าเทียบจริงๆ แล้วถือว่า ต้องอาบัติทุกกฎ ดังนั้น ยืนพนมมือ ก้มหัวรับพรก็พอครับ สรุปคือพระยืนเราก็ยืน พระนั่งเราก็นั่ง
ปล.ยกเว้นคนป่วย ยืนไม่ไหว หรือมีเหตุจำเป็นจริงๆ ครับ
ปล2. แต่ถึงยังไงพระก็ให้พรอยู่ดีครับ ถึงแม้จะผิด ไม่กล้าขัดศรัทธาญาติโยมหรอก ดังนั้น เราเป็นญาติโยม ควรรู้ไว้ครับ
9) เริ่มกรวดน้ำเมื่อพระสวด ยะถา... พนมมือรับพรเมื่อ สัพพีติโย....
อีก 1 อย่างที่คนมักเข้าใจผิด คือกรวดน้ำจนจบสัพพี คืออย่างงี้นะครับ การกรวดน้ำบท ยะถา.. เนี่ยจะเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้คนที่ล่งลับไปแล้ว เทวดา หรือเจ้ากรรมนายเวร ส่วนบท สัพพีติโย... เป็นบทอวยพรให้แก่คนที่ใส่บาตร แยกให้ถูกนะครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้คำแปลบทนี้ก็ประมาณว่า
ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง ห้วงน้ำที่เต็มยังสมุทรสาครให้บริบูรณ์ได้ฉันใด
เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วในโลกนี้ ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้วได้ฉันนั้น
อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขออิฏฐผลที่ท่านปราถนาแล้ว ตั้งใจแล้ว ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ จงสำเร็จโดยฉับพลัน สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา ขอดำริทั้งปวงจงเต็มที่
จันโท ปัณณะระโส ยะถา เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ มะณิ โชติระโส ยะถา เหมือนดังแก้วมณีอันสว่างไสวควรยินดี
สัพพีติโย วิวัชชันตุ ความทั้งปวง จงบำราศไป สัพพะโรโค วินัสสะตุ โรคทั้งปวง (ของท่าน) จงหาย
มาเต ภะวัตวันตะราโย อันตรายอย่ามีแก่ท่าน สุขี ทีฆายุโก ภะวะ ท่านจงเป็นผู้มีความสุข มีอายุยืน
อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง ธรรมสี่ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีปกติกราบไหว้ มีปกติอ่อนน้อม (ต่อผู้ใหญ่) เป็นนิตย์ฯ
10) ไม่เอานิ้วรองน้ำจากปากภาชนะกรวดน้ำ
น้ำกรวดที่ถูกต้องจะต้องเป็นน้ำสะอาด ดังนั้นการรินน้ำผ่านนิ้วไม่มีบัญญัติไว้ การกรวดน้ำที่ถูกต้องคือ รินจากปากภาชนะ ลงสู่ดิน หรือต้นไม้ใหญ่ แต่ปัจจุบันรินใส่ภาชนะอีกทีแล้วไปเทใส่ดิน หรือต้นไม้ใหญ่ก็ไม่ผิดอะไร
11) การให้ทานที่เป็นบุญสูงสุดคือ สังฆทาน
ทานแบ่งเป็น 2 ประเภท คือปาฏิบุคลิกทาน คือทานจำเพาะเจาะจง และ สังฆทาน คือทานไม่เจาะจง ถวายแด่หมู่สงฆ์เฉลี่ยกันใช้สอย เป็นส่วนรวมในวัด
12) สังฆทานควรจัดเอง
เหมือนกับการใส่บาตรครับ บุญอยู่ที่ความตั้งใจ ไม่ต้องให้เยอะครับ ซื้อแปรงสีฟัน สบู่ แชมพู มัดถวาย ก็เป็นสังฆทานแล้ว ที่สำคัญ สังฆทานสำเร็จ มักใช้การไม่ได้ มาม่าหมดอายุ ขนมรั่ว ยัดน้ำขวดใหญ่ๆ รองถัง ยัดกระดาษและอีกมากมาย จัดเองเถอะครับ
13)สังฆทานต้องท่อง คำถวายสังฆทาน อิมานิ...
ถ้าไม่ท่อง อิมานิ... ทานนั้นจะถือว่าเป็นปาฏิบุคลิกทานครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้คำสวดก็ดังนี้ครับ
อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต
ภิกขุ สังโฆ อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารนิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวาย ซึ่งภัตตาหารกับของที่เป็นบริวาร ทั้งหลายเหล่านี้แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับซึ่งภัตตาหารกับของ ที่เป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ
14) ถวายทานด้วยความเหมาะสม
จะเห็นได้บ่อยๆ ครับ เช่น การใส่บาตรด้วยนมทั้งแพ็คใหญ่ๆ หรือน้ำขวดโตๆ หลายๆลิตร หรือหิ้วสังฆทานหนักๆ มาใส่บาตร ไม่ผิดวินัยครับ แต่เราต้องนึกถึงด้วยครับ พระบางวัดต้องลงเขามาเพื่อบิณฑบาต บางทีเราใส่ของหนักๆ มากๆ เราต้องนึกถึงว่าท่านต้องขนขึ้นเขากลับวัดไกลๆด้วย แทนที่จะได้บุญจะกลายเป็นทรมาณพระเอาเปล่าๆ หรือบางทียกพวกกันมากล่มใหญ่ นัดกันมาใส่บาตรทั้งคณะ เหมาเซเว่นมา ลองเปลี่ยนเป็นนัดกันไปถวายที่วัดเลยดีกว่าครับ ถวายภัตตาหารเช้าไปเลยจะสะดวกกว่า
15) ไม่ควรเลือกพระเวลาจะทำทาน
ข้อนี้สำคัญนะครับ คนไทยเราชอบติดนิสัยวิจารณ์คนอื่น ดังนั้นเวลาตักบาตรก็มักจะมีการเลือกพระ วิจารณ์พระ กลัวจะไม่ได้บุญ หารู้ไม่ว่าตัวเองได้บาปกลับไปแล้ว อธิบายง่ายๆ นะครับ บุญคือความดี ไม่เกี่ยวกับว่าเราให้คนดีหรือป่าว ขึ้นกับว่าเราให้ด้วยใจอยากจะให้ ให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ให้ด้วยความไม่คิดหวง หรือหวังบุญตอบแทน ให้เพื่อลดความตระหนี่ถี่เหนียวของตนเอง
ดังนั้นสังคมปัจจุบันที่มักเอาความติดตนเองมาตัดสินพระ นั่นผิดมหันต์ครับ กรรมใครกรรมมัน ถ้าเราให้ เราทำดี เราได้บุญ เค้ารับไป เค้าทำไม่ดี เค้าก็ได้บาป ดังนั้น ตักบาตรอย่าถามพระ ตักบาตร อย่าเลือกพระ
ท้ายนี้ขอฝากไว้หน่อยครับ ปัจจุบันศาสนาพุทธเรียกได้ว่า ตกเป็นขี้ปากของนักเลงคีบอร์ด และคนทั่วไปซะอย่างมากมาย พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้ศรัทธาอย่างงมงาย ไม่ให้เชื่อในสิ่งที่คนอื่นพูด แม้แต่คำสอนพระพุทธเจ้าเอง ท่านก็ไม่ให้เชื่อ จนกว่าจะปฏิบัติ พิจารณาเอง จึงให้เชื่อ
ท่านไม่เคยสอนว่า เราพิพากษา ตัดสินคนอื่น แปลว่าเราจะเป็นคนดีขึ้น แต่ท่านสอนว่า ให้ปฏิบัติดี ถวายทาน รักษาศีล ทำสมาธิภาวนา จึงเรียกว่าดี
ดังนั้นใคร ที่ได้แต่ด่าศาสนาอยู่หน้าคอม ลองมาศึกษาแก่นแท้ของศาสนาดูก่อนครับ อย่าเอาแต่วิพากษ์ โดยไม่มีวิจารณ์
ฝากไว้ว่า พระพุทธศาสนาสอนว่า ใครทำกรรมอันใดไว้ ย่อมได้สิ่งนั้น....
How to...15 ข้อง่ายๆ ในการทำบุญตักบาตร
ตอนแรกๆ ผมเองค่อนข้างมีความสงสัยในการศรัทธาศาสนาเป็นอย่างมาก ก็ตามประสาเด็กรุ่นใหม่แหละครับ ที่ไม่ค่อยจะเชื่อ จะศรัทธาในศาสนาซักเท่าไหร่
ด้วยความที่สงสัยนั่นเอง ด้วยเบื่อความวุ่นวายทางโลกด้วย คิดว่าถึงเวลาที่เหมาะสมแล้วด้วย ด้วยความสงสัยอยากรู้ด้วย จึงตัดสินใจขอลาอุปสมบท ไหนๆ บวชทั้งทีขอบวช 1พรรษาไปเลย เพื่อศึกษาและตอบคำถามที่เราข้องใจมานาน (เพราะเรามีนิสัยเสียเป็นคนชอบเอาหลักวิทยาศาสตร์มาอ้างแย้งตลอด)
สรุปว่าจะขอมารีวิวเบื้องต้น จากสายตาพระที่เราได้สัมผัสมา แล้วพระบอกเราไม่ได้แล้วกันเนอะ เพื่อเป็นความรู้แนวปฏิบัติที่ถูกต้อง
ว่ากันเรื่อง การใส่บาตร และการถวายทานที่ถูกต้อง
1)การให้ทาน เป็นเพียงบุญเบื้องต้นเท่านั้น
ในหลักบุญกริยาวัตถุ 3 ของศาสนาพุทธกล่าวไว้ว่า การให้ทานนั้นเป็นเพียงบุญเบื้องต้น เพื่อลดความตระหนี่ถี่เหนียว ลดตัวตน ลดความโลภเท่านั้น ดังนั้น นอกจากการให้ทานแล้ว เราควรหมั่นรักษาศีลเพื่อให้ร่างกายจิตใจเป็นปกติ และนั่งสมาธิภาวนา ซึ่งเป็นบุณสูงสุดในศาสนาพุทธต่อไปด้วย กล่าวไว้ว่า ให้ทานสิบครั้ง ก็ไม่เท่ากับการทำสมาธิภาวนาเพียงสิบนาที
2)อาหารที่ถวาย ต้องเป็นอาหารใหม่ หรือมีการตักแยกไว้ก่อนที่จะให้คนอื่นกิน
เพราtภิกษุ จะไม่กินของเหลือ ของซาก เป็นอาบัติ
3)อาหารที่ถวาย ไม่จำเป็นต้องถวายให้ครบมื้อ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
คือไม่จำเป็นต้องประกอบด้วย ข้าว+กับ+ขนม+น้ำ+นม+ดอกไม้ทั้งหมด เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
4)พยายามจัดหาอาหารใส่บาตรด้วยตนเอง
คนสมัยนี้ส่วนใหญ่มักจะใส่บาตรสำเร็จรูป คือ ไปซื้ออาหารจัดชุดที่ว่างเป็นโต๊ะๆ ไว้แล้ว การให้ทานที่ได้บุญที่สุด คือการให้ทานด้วยความตั้งใจ ดังนั้น เปลี่ยนจากการซื้อชุดตักบาตรหน้าตลาด เป็นเดินเข้าไปร้านกับข้าวในตลาด เลือกหยิบกับข้าวดีดีมาซักถุง ได้บุญกว่าหน้าตลาดที่จัดข้าว+กับ+น้ำ อีกนะครับ
5)พยายามไม่ใส่บาตรด้วยเงิน
อีกหนึ่งการใส่บาตรที่นิยมคือการควักตังใส่ ถึงเจตนาจะดีได้บุญ แต่นั่นก็ผิดนะครับ ผิดตั้งแต่ศีล10 ของเณรแล้ว คือภิกษุ(สามเณรด้วย) พึงไม่จับกัปปิยะ เงิน ทอง แต่ถามว่าเงินจำเป็นสำหรับพระไหม จำเป็นครับโทษพระไม่ได้ที่จำเป็นต้องรับเงิน (ค่าไฟวัด ค่าน้ำวัด ค่าสร้างกุฏิ ค่าซ่อมแซมวัด บลาๆๆ) สมัยนี้ไม่เหมือนสมัยก่อน ที่จะมีศรัทธาญาติโยมมาช่วยค่าน้ำไฟทุกเดือน ฃ่วยทำโบสถ์นู่นนี่นั่น
ถ้าจะให้แนะนำ การหยอดตู้บริจาค หรือถวายโดยตรงกับวัดเป็นสังฆทานจะได้ประโยชน์สูงสุดครับ
6) พูดคำว่า ”นิมนต์” เมื่อต้องการเชิญพระมารับบาตร
สำคัญมากนะครับ เพราะภิกษุ พึงไม่น้อมลาภเข้ามาใส่ตัว พระไม่สามารถมายืนต่อแถวรับบาตรเพื่อขออาหารใครได้ ถ้าจะใส่บาตรจึงต้องมีการเชิญมารับ ถ้าไม่หนักหนาเกินไป พูดเถอะครับ อย่าแค่ก้มหน้าพยักหน้าให้เลย
7)ถอดรองเท้าทุกครั้งก่อนใส่บาตร
เป็นการแสดงความเคารพครับ เพราะพระถอดรองเท้าบิณฑบาต เราจะใส่รองเท้าใส่บาตร ก็ถือว่าเราอยู่อาสนะ พื้นที่สูงกว่าพระ ผิดนะครับในแง่เทคนิค หรือบางคนที่ถอดรองเท้าแต่ยืนบนรองเท้า นั่นก็ไม่ต่างกัน เพราะยืนสูงกว่าพระอยู่ดี ดังนั้น ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรง ถอดรองเท้าเถอะครับ
8) เวลาใส่บาตร ให้ยืนใส่
คนกว่า 90% นั่งใส่บาตรรับพร เพราะเข้าใจว่าเป็นการแสดงความเคารพสูงสุด ผิดนะครับ มีบัญญัติในเสขิยวัตรของสงฆ์ว่า หากภิกษุยืนอยู่ห้ามแสดงธรรมแก่อนุปสัมบัน (คนทั่วไป) ที่ไม่ได้ป่วยที่นั่งอยู่ การให้พรถือเป็นการแสดงธรรมอย่างหนึ่ง ถ้าเทียบจริงๆ แล้วถือว่า ต้องอาบัติทุกกฎ ดังนั้น ยืนพนมมือ ก้มหัวรับพรก็พอครับ สรุปคือพระยืนเราก็ยืน พระนั่งเราก็นั่ง
ปล.ยกเว้นคนป่วย ยืนไม่ไหว หรือมีเหตุจำเป็นจริงๆ ครับ
ปล2. แต่ถึงยังไงพระก็ให้พรอยู่ดีครับ ถึงแม้จะผิด ไม่กล้าขัดศรัทธาญาติโยมหรอก ดังนั้น เราเป็นญาติโยม ควรรู้ไว้ครับ
9) เริ่มกรวดน้ำเมื่อพระสวด ยะถา... พนมมือรับพรเมื่อ สัพพีติโย....
อีก 1 อย่างที่คนมักเข้าใจผิด คือกรวดน้ำจนจบสัพพี คืออย่างงี้นะครับ การกรวดน้ำบท ยะถา.. เนี่ยจะเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้คนที่ล่งลับไปแล้ว เทวดา หรือเจ้ากรรมนายเวร ส่วนบท สัพพีติโย... เป็นบทอวยพรให้แก่คนที่ใส่บาตร แยกให้ถูกนะครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
10) ไม่เอานิ้วรองน้ำจากปากภาชนะกรวดน้ำ
น้ำกรวดที่ถูกต้องจะต้องเป็นน้ำสะอาด ดังนั้นการรินน้ำผ่านนิ้วไม่มีบัญญัติไว้ การกรวดน้ำที่ถูกต้องคือ รินจากปากภาชนะ ลงสู่ดิน หรือต้นไม้ใหญ่ แต่ปัจจุบันรินใส่ภาชนะอีกทีแล้วไปเทใส่ดิน หรือต้นไม้ใหญ่ก็ไม่ผิดอะไร
11) การให้ทานที่เป็นบุญสูงสุดคือ สังฆทาน
ทานแบ่งเป็น 2 ประเภท คือปาฏิบุคลิกทาน คือทานจำเพาะเจาะจง และ สังฆทาน คือทานไม่เจาะจง ถวายแด่หมู่สงฆ์เฉลี่ยกันใช้สอย เป็นส่วนรวมในวัด
12) สังฆทานควรจัดเอง
เหมือนกับการใส่บาตรครับ บุญอยู่ที่ความตั้งใจ ไม่ต้องให้เยอะครับ ซื้อแปรงสีฟัน สบู่ แชมพู มัดถวาย ก็เป็นสังฆทานแล้ว ที่สำคัญ สังฆทานสำเร็จ มักใช้การไม่ได้ มาม่าหมดอายุ ขนมรั่ว ยัดน้ำขวดใหญ่ๆ รองถัง ยัดกระดาษและอีกมากมาย จัดเองเถอะครับ
13)สังฆทานต้องท่อง คำถวายสังฆทาน อิมานิ...
ถ้าไม่ท่อง อิมานิ... ทานนั้นจะถือว่าเป็นปาฏิบุคลิกทานครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
14) ถวายทานด้วยความเหมาะสม
จะเห็นได้บ่อยๆ ครับ เช่น การใส่บาตรด้วยนมทั้งแพ็คใหญ่ๆ หรือน้ำขวดโตๆ หลายๆลิตร หรือหิ้วสังฆทานหนักๆ มาใส่บาตร ไม่ผิดวินัยครับ แต่เราต้องนึกถึงด้วยครับ พระบางวัดต้องลงเขามาเพื่อบิณฑบาต บางทีเราใส่ของหนักๆ มากๆ เราต้องนึกถึงว่าท่านต้องขนขึ้นเขากลับวัดไกลๆด้วย แทนที่จะได้บุญจะกลายเป็นทรมาณพระเอาเปล่าๆ หรือบางทียกพวกกันมากล่มใหญ่ นัดกันมาใส่บาตรทั้งคณะ เหมาเซเว่นมา ลองเปลี่ยนเป็นนัดกันไปถวายที่วัดเลยดีกว่าครับ ถวายภัตตาหารเช้าไปเลยจะสะดวกกว่า
15) ไม่ควรเลือกพระเวลาจะทำทาน
ข้อนี้สำคัญนะครับ คนไทยเราชอบติดนิสัยวิจารณ์คนอื่น ดังนั้นเวลาตักบาตรก็มักจะมีการเลือกพระ วิจารณ์พระ กลัวจะไม่ได้บุญ หารู้ไม่ว่าตัวเองได้บาปกลับไปแล้ว อธิบายง่ายๆ นะครับ บุญคือความดี ไม่เกี่ยวกับว่าเราให้คนดีหรือป่าว ขึ้นกับว่าเราให้ด้วยใจอยากจะให้ ให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ให้ด้วยความไม่คิดหวง หรือหวังบุญตอบแทน ให้เพื่อลดความตระหนี่ถี่เหนียวของตนเอง
ดังนั้นสังคมปัจจุบันที่มักเอาความติดตนเองมาตัดสินพระ นั่นผิดมหันต์ครับ กรรมใครกรรมมัน ถ้าเราให้ เราทำดี เราได้บุญ เค้ารับไป เค้าทำไม่ดี เค้าก็ได้บาป ดังนั้น ตักบาตรอย่าถามพระ ตักบาตร อย่าเลือกพระ
ท้ายนี้ขอฝากไว้หน่อยครับ ปัจจุบันศาสนาพุทธเรียกได้ว่า ตกเป็นขี้ปากของนักเลงคีบอร์ด และคนทั่วไปซะอย่างมากมาย พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้ศรัทธาอย่างงมงาย ไม่ให้เชื่อในสิ่งที่คนอื่นพูด แม้แต่คำสอนพระพุทธเจ้าเอง ท่านก็ไม่ให้เชื่อ จนกว่าจะปฏิบัติ พิจารณาเอง จึงให้เชื่อ
ท่านไม่เคยสอนว่า เราพิพากษา ตัดสินคนอื่น แปลว่าเราจะเป็นคนดีขึ้น แต่ท่านสอนว่า ให้ปฏิบัติดี ถวายทาน รักษาศีล ทำสมาธิภาวนา จึงเรียกว่าดี
ดังนั้นใคร ที่ได้แต่ด่าศาสนาอยู่หน้าคอม ลองมาศึกษาแก่นแท้ของศาสนาดูก่อนครับ อย่าเอาแต่วิพากษ์ โดยไม่มีวิจารณ์
ฝากไว้ว่า พระพุทธศาสนาสอนว่า ใครทำกรรมอันใดไว้ ย่อมได้สิ่งนั้น....