การพัฒนากระสุน .357 sig ต่อยอดจาก .40 S&W

กระทู้ที่แล้วผมนำเสนอประวัติโดยสังเขปเกี่ยวกับการพัฒนากระสุนขนาด .40 S&W ไปแล้ว

ตามกระทู้นี้ครับ
http://ppantip.com/topic/32845288

ต่อไปนี้คือการพัฒนากระสุนก้าวต่อไปอีกของวงการอาวุธปืน

หลังจากที่ .40 S&W ได้เปิดตัวในปี 1990 โดยบริษัทปืนยักใหญ่ฝั่งอเมริกา และประสบความสำเร็จ กลายมาเป็นหนึ่งในกระสุนหลักที่ทางการเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง,ยุติธรรม,ตำรวจ,FBI ในสหรัฐอเมริกาใช้งาน

จากความสำเร็จดังกล่าวของ .40 S&W ทำให้ Gunsmith เจ้าใหญ่ของฝั่งยุโรปเจ้าหนึ่งมีแนวคิดที่จะออกแบบกระสุนขนาดใหม่เพื่อเข้าชิงชัยในตลาดปืนด้วย

บริษัทที่ว่าก็คือ SIGARMS หรือ SIG Sauer นั่นเอง

SIG Sauer ต้องการออกแบบกระสุนขนาดใหม่ของตัวเองให้มีอณุภาพเทียบเท่า .357 Magnum ซึ่งมีชื่อเสียงในอณุภาพการหยุดยั้งมาก แต่ครั้งนี้ SIG Sauer จะย้ายมันจากปืน Revolver มาอยู่ในรูปแบบของปืนกึ่งอัตโนมัติแทน

SIG Sauer จับเอาปลอกกระสุนขนาด 10ม.ม. AUTO มาใช้เป็นต้นแบบปลอก จากนั้นก็เอาหัวกระสุนขนาด 9ม.ม. พาราเบลลั่ม มาเป็นหัวกระสุน

มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะงงว่าแล้วมันจะเข้ากันได้ยังไงในเมื่อปลอกกระสุนใหญ่กว่าหัวกระสุน

SIG Sauer ออกแบบกระสุนแบบใหม่ของตัวเองให้กลายมาเป็นกระสุนแบบ "Bottleneck"  ศัพท์ในภาษาไทยไม่น่าจะมี แต่ถ้าแปลตรงตัวมันก็คือ "กระสุนคอขวด"



เราเปิดวาร์ปที่กระสุนคอขวดกัน

ปรกติกระสุนปืนพกทั่วไปจะมีลักษณะทรงกระบอก คือมีเส้นผ่านศูนย์กลางของปลอกกระสุนสมมาตรกันกับหัวกระสุน

แต่กระสุนปืนบางชนิดเช่นปืนไรเฟิลอย่าง M16 หรือ AK47 ซึ่งใช้กระสุน 5.56 x 45 และ 7.62 x 39 ตามลำดับ

กระสุนปืนที่ใช้เป็นแบบ Bottleneck ทั้งสิ้น



กระสุน Bottleneck จะมีลักษณะเด่นก็คือ หัวกระสุนจะเล็กกว่าปลอกอย่างชัดเจน

เอาละครับ ทีนี้ก็มาถึงคำถามสำคัญว่า แล้วจะให้หัวกระสุนเล็กไปทำไม ถ้าต้องการอำนาจการทำลายล้างมากๆ ควรจะทำให้กระสุนมีขนาดใหญ่ไม่ใช่หรือ?

คำตอบของคำถามนั้นก็คือ "ความเร็ว"

ความเร็วของกระสุนคือตัวแปล 1 ใน 3 ของพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากกระสุนเมื่อมันกระทบเป้าหมาย

เอาล่ะ มาทบทวนกันหน่อยครับว่าอะไรบ้างคือ 3 ตัวแปลทีมีผลต่ออณุภาพกระสุน

1.มวล
2.ความเร็ว
3.รูปทรง

กระสุน Bottleneck ถึงแม้จะมีหัวกระสุนขนาดเล็ก แต่สิ่งที่ได้กลับมาทดแทนคือ ความเร็ว

ความเร็วดังกล่าวเกิดจากการที่ปลอกกระสุนสามารถบรรจุดินปืนได้มาก แต่หัวกระสุนกลับมีขนาดที่เล็กกว่าปลอกนั่นเอง เมื่อดินปืนถูกจุดขึ้นพลังงานจากดินปืนจะถูกบีบไปที่คอขวดให้ผลักหัวกระสุนพุ่งออกไปด้วยความเร็วสูง เช่นเดียวกับกระสุนปืนไรเฟิล ที่หัวกระสุนมีขนาดเล็กแต่สามารถสร้างความเสียหายได้มากกว่าเมื่อกระทบเป้าหมาย

(ตรงนี้อยากให้นึกถึงปืนฉีดน้ำแบบกระบอกสูบที่ทำจากท่อ PVC ที่เราชอบเล่นกันตอนสงกรานต์
การอัดน้ำเข้าไปในท่อ PVC แต่บังคับปากกระบอกให้มีขนาดเล็กจะทำให้น้ำพุ่งไปได้ไกลและแรง ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับกระสุนแบบ Bottleneck)

ความเร็วจึงเป็นสิ่งที่ SIG Sauer นำมาใส่เอาไว้ในกระสุนขนาดใหม่

และแล้วในปี 1994 กระสุน .357 SIG ก็ได้ถูกผลิตเพื่อจำหน่ายในตลาดปืนสหรัฐอเมริกา หลังจากกระสุน .40 S&W 4 ปี

ถึงแม้ค่าสถิติต่างๆในทางตัวเลขจะบ่งชี้ว่า .357 SIG เป็นกระสุนที่มีอำนาจการทำลายล้างที่น่าประทับใจสมดังเจตนาที่ SIG Sauer ตั้งใจจะทำให้มันเป็น .357 Magnum ในรูปแบบของปืนกึ่งอัตโนมัติ

แต่ในทางการตลาดมันกลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่