จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน ที่เราอยู่ในยุคไข่ฟองละ 5 บาท และข้าวแกงจานละ 50 อาจทำให้ใครหลายๆ คน มีรายรับไม่สมดุลกับรายจ่าย และส่งผลกระทบอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่กำลังผ่อนส่งค่างวดให้กับไฟแนนซ์ บางคนอาจจะต้องจำใจปล่อยให้เจ้าหน้าที่ยึดรถสุดที่รักไป แต่ก็มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจผิดกันระหว่างผู้เช่าซื้อและไฟแนนซ์ คือ ทางไฟแนนซ์ส่งเจ้าหน้าที่มายึดรถ แต่ไม่มีหนังสือหรือบอกกล่าวมาถึงผู้เช่าซื้อ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นการลักทรัพย์บ้าง หรือเกิดความข้องใจในขั้นตอนปฏิบัติทางกฎหมายของไฟแนนซ์บ้าง ดังนั้นเพื่อประโยชน์ของคุณผู้อ่านทุกท่าน ทาง CheckRaka.com จึงขอนำเสนอสาระสำคัญของขั้นตอนการยึดรถตามหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องในเมืองไทย (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์) และ ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา มาให้พวกเราได้ทราบเป็นความรู้ และป้องกันการยึดรถที่ไม่ถูกต้องกันค่ะ
ต้องเลิกสัญญากันก่อน
1. ก่อนที่ไฟแนนซ์จะยึดรถเราไปได้นั้น สัญญาเช่าซื้อจะต้องถูกยกเลิกก่อน ซึ่งเงื่อนไขของการยกเลิกสัญญาเช่าซื้อคือ ผู้เช่าซื้อจะต้องผิดนัดค้างชำระ 3 งวดติดกัน ต่อจากนั้นไฟแนนซ์จะต้องบอกกล่าวผู้เช่าซื้อให้ชำระเงินรายงวดที่ค้างชำระนั้น ภายในระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน หากผู้เช่าซื้อละเลยไม่ปฏิบัติตาม ไฟแนนซ์จึงจะเลิกสัญญาเช่าซื้อได้โดยการบอกกล่าวเลิกสัญญา ซึ่งการบอกกล่าวเลิกสัญญาจะต้องทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้แก่ผู้เช่าซื้อตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในสัญญา หรือที่อยู่ที่แจ้งการเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุด ถ้าไฟแนนซ์ยังไม่ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาส่งมายังผู้เช่าซื้อ ถือว่าสัญญายังมีผลอยู่ ไม่สามารถยึดรถได้
2. การยึดรถหลังบอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว ส่วนใหญ่ไฟแนนซ์ไม่ยึดรถด้วยตนเอง เพราะมีความยุ่งยากและกระทบกระเทือนต่อภาพลักษณ์ มักจะจ้างสำนักงานทวงหนี้เป็นผู้ดำเนินการแทน ซึ่งบริษัทรับจ้างยึดรถจะต้องปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการในการติดตามทวงหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับประกาศวันที่ 3 ส.ค. 2551) เพื่อไม่ให้ไปล่วงละเมิดสิทธิของผู้เช่าซื้อ
รายละเอียด
http://www2.bot.or.th/fipcs/Documents/FPG/2551/ThaiPDF/25510409.pdf
หลังจากที่ไฟแนนซ์ได้ยึดรถไปแล้วนั้น หลายคนคงจะสงสัยว่าจะทำอย่างไรต่อไป CheckRaka.com ได้มีคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ให้ผู้เช่าซื้อได้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งจะขอกล่าวถึงขั้นตอนของไฟแนนซ์หลังจากที่ยึดรถเราไป และคำแนะนำไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ
ขั้นตอนของไฟแนนซ์หลังยึดรถและคำแนะนำสำหรับผู้เช่าซื้อ
1. เมื่อยกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ไฟแนนซ์มีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าสูญเสียหรือบุบสลายที่เป็นความผิดของผู้เช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2. หลังจากที่ยกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว รถก็จะถูกไฟแนนซ์ยึดไปตามขั้นตอนและจะขายทอดตลาด ซึ่งราคาของรถมักจะถูกกว่าราคาที่เราซื้อ ดังนั้นไฟแนนซ์จะมาเรียกเก็บส่วนต่างในขั้นตอนต่อไปจากผู้เช่าซื้อได้
3. ไฟแนนซ์จะเรียกเก็บค่าส่วนต่างพร้อมทั้งค่าขาดประโยชน์ ฯลฯ จากผู้เช่าซื้อและหากผู้เช่าซื้อไม่จ่าย ไฟแนนซ์ก็จะฟ้องศาลต่อไป แต่ถ้าหากเราไม่อยากจ่ายค่าส่วนต่างและค่าอื่นๆ ทั้งหลายนี้ วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นคือ เมื่อเรารู้ตัวว่าผ่อนรถไม่ไหว เราควรประกาศขายให้ได้ราคาสูงที่สุด เพื่อให้เหลือจ่ายค่าส่วนต่างน้อยที่สุด หรือติดต่อหาคนที่ต้องการซื้อรถ แล้วขอเปลี่ยนผู้เช่าซื้อในสัญญาเช่าซื้อกับทางไฟแนนซ์ เราจะหมดภาระในการส่งค่างวดและไม่ต้องเสียค่าส่วนต่างใดๆ ซึ่งกรณีนี้แล้วแต่ข้อตกลงของผู้ซื้อ/ผ่อนต่อจากเราว่าต้องจ่ายเงินดาวน์หรือไม่ แต่ถ้าหากเราส่งรถคืนไฟแนนซ์ ไฟแนนซ์จะนำไปประมูลขายได้ราคาต่ำ แล้วจะติดตามฟ้องร้องเราในส่วนที่ขายขาดทุน อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
4. แต่ถ้าหากไฟแนนซ์ได้ยึดรถไปเรียบร้อยแล้ว ขายทอดตลาดไปแล้ว ผู้เช่าซื้อมีสิทธิ์ต่อสู้คดีในชั้นศาล โดยแจ้งให้ศาลเห็นว่าค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับนั้นสูงเกินไป ในกรณีนี้ผู้เช่าซื้อต้องรอหมายศาลและติดต่อทนายสู้คดีเพื่อลดค่าเสียหาย ซึ่งศาลจะใช้ดุลพินิจลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ซึ่งโดยปกติศาลอาจจะลดค่าเสียหายลงบ้างในระดับหนึ่ง เช่น ร้อยละ 30 ของทุนทรัพย์ที่ฟ้อง
เมื่อเราทราบวิธีการปฏิบัติหลังถูกยึดรถแล้ว น่าจะทำให้หลายๆ คนสบายใจ และเข้าใจในเรื่องการยึดรถของไฟแนนซ์เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อรักษาความเป็นธรรมให้ตัวเราเอง ไม่ให้เสียทรัพย์เกินกว่าเหตุ และเข้าใจกันและกันมากขึ้นระหว่างไฟแนนซ์กับผู้เช่าซื้อค่ะ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1415762460
คงเป็นประโยชน์ให้หลายๆท่านใช้เป็นแนวทางนะครับ ยามข้าวยากหมากแพงค้าขายลำบากแบบทุกวันนี้
สาระสำคัญๆคือ
1.รถที่จะโดนยึดต้องถูกบอกเลิกสัญญาก่อน การที่จะถูกบอกเลิกคือ
"ต้องขาดชำระ 3 งวดติดต่อกัน"และไฟแนนซ์จะต้องบอกให้ผู้ค้างชำระภายใน 30 ก่อน ถึงจะออกหนังสือบอกเลิกสัญญาและยึดรถได้
2
.ถ้าหากคิดว่าผ่อนรถไม่ไหว อย่าคิดว่าถูกยึดแล้วเรื่องจะจบ เรื่องไม่จบนะครับคุณอาจถูกฟ้องเอาค่าส่วนต่างอีก ทางที่ดีควรหาขายหรือเปลี่ยนสัญญาก่อนครับ อาจจะได้เงินคืนนิดหน่อยหรือเสียน้องกว่าที่เป็น อย่างน้อยก็ไม่เสียประวัติครับ
ทำยังไงดี ถ้าจะโดนยึดรถ โดย เช็คราคา.คอม
ต้องเลิกสัญญากันก่อน
1. ก่อนที่ไฟแนนซ์จะยึดรถเราไปได้นั้น สัญญาเช่าซื้อจะต้องถูกยกเลิกก่อน ซึ่งเงื่อนไขของการยกเลิกสัญญาเช่าซื้อคือ ผู้เช่าซื้อจะต้องผิดนัดค้างชำระ 3 งวดติดกัน ต่อจากนั้นไฟแนนซ์จะต้องบอกกล่าวผู้เช่าซื้อให้ชำระเงินรายงวดที่ค้างชำระนั้น ภายในระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน หากผู้เช่าซื้อละเลยไม่ปฏิบัติตาม ไฟแนนซ์จึงจะเลิกสัญญาเช่าซื้อได้โดยการบอกกล่าวเลิกสัญญา ซึ่งการบอกกล่าวเลิกสัญญาจะต้องทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้แก่ผู้เช่าซื้อตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในสัญญา หรือที่อยู่ที่แจ้งการเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุด ถ้าไฟแนนซ์ยังไม่ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาส่งมายังผู้เช่าซื้อ ถือว่าสัญญายังมีผลอยู่ ไม่สามารถยึดรถได้
2. การยึดรถหลังบอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว ส่วนใหญ่ไฟแนนซ์ไม่ยึดรถด้วยตนเอง เพราะมีความยุ่งยากและกระทบกระเทือนต่อภาพลักษณ์ มักจะจ้างสำนักงานทวงหนี้เป็นผู้ดำเนินการแทน ซึ่งบริษัทรับจ้างยึดรถจะต้องปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการในการติดตามทวงหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับประกาศวันที่ 3 ส.ค. 2551) เพื่อไม่ให้ไปล่วงละเมิดสิทธิของผู้เช่าซื้อ
รายละเอียด
http://www2.bot.or.th/fipcs/Documents/FPG/2551/ThaiPDF/25510409.pdf
หลังจากที่ไฟแนนซ์ได้ยึดรถไปแล้วนั้น หลายคนคงจะสงสัยว่าจะทำอย่างไรต่อไป CheckRaka.com ได้มีคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ให้ผู้เช่าซื้อได้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งจะขอกล่าวถึงขั้นตอนของไฟแนนซ์หลังจากที่ยึดรถเราไป และคำแนะนำไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ
ขั้นตอนของไฟแนนซ์หลังยึดรถและคำแนะนำสำหรับผู้เช่าซื้อ
1. เมื่อยกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ไฟแนนซ์มีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าสูญเสียหรือบุบสลายที่เป็นความผิดของผู้เช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2. หลังจากที่ยกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว รถก็จะถูกไฟแนนซ์ยึดไปตามขั้นตอนและจะขายทอดตลาด ซึ่งราคาของรถมักจะถูกกว่าราคาที่เราซื้อ ดังนั้นไฟแนนซ์จะมาเรียกเก็บส่วนต่างในขั้นตอนต่อไปจากผู้เช่าซื้อได้
3. ไฟแนนซ์จะเรียกเก็บค่าส่วนต่างพร้อมทั้งค่าขาดประโยชน์ ฯลฯ จากผู้เช่าซื้อและหากผู้เช่าซื้อไม่จ่าย ไฟแนนซ์ก็จะฟ้องศาลต่อไป แต่ถ้าหากเราไม่อยากจ่ายค่าส่วนต่างและค่าอื่นๆ ทั้งหลายนี้ วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นคือ เมื่อเรารู้ตัวว่าผ่อนรถไม่ไหว เราควรประกาศขายให้ได้ราคาสูงที่สุด เพื่อให้เหลือจ่ายค่าส่วนต่างน้อยที่สุด หรือติดต่อหาคนที่ต้องการซื้อรถ แล้วขอเปลี่ยนผู้เช่าซื้อในสัญญาเช่าซื้อกับทางไฟแนนซ์ เราจะหมดภาระในการส่งค่างวดและไม่ต้องเสียค่าส่วนต่างใดๆ ซึ่งกรณีนี้แล้วแต่ข้อตกลงของผู้ซื้อ/ผ่อนต่อจากเราว่าต้องจ่ายเงินดาวน์หรือไม่ แต่ถ้าหากเราส่งรถคืนไฟแนนซ์ ไฟแนนซ์จะนำไปประมูลขายได้ราคาต่ำ แล้วจะติดตามฟ้องร้องเราในส่วนที่ขายขาดทุน อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
4. แต่ถ้าหากไฟแนนซ์ได้ยึดรถไปเรียบร้อยแล้ว ขายทอดตลาดไปแล้ว ผู้เช่าซื้อมีสิทธิ์ต่อสู้คดีในชั้นศาล โดยแจ้งให้ศาลเห็นว่าค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับนั้นสูงเกินไป ในกรณีนี้ผู้เช่าซื้อต้องรอหมายศาลและติดต่อทนายสู้คดีเพื่อลดค่าเสียหาย ซึ่งศาลจะใช้ดุลพินิจลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ซึ่งโดยปกติศาลอาจจะลดค่าเสียหายลงบ้างในระดับหนึ่ง เช่น ร้อยละ 30 ของทุนทรัพย์ที่ฟ้อง
เมื่อเราทราบวิธีการปฏิบัติหลังถูกยึดรถแล้ว น่าจะทำให้หลายๆ คนสบายใจ และเข้าใจในเรื่องการยึดรถของไฟแนนซ์เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อรักษาความเป็นธรรมให้ตัวเราเอง ไม่ให้เสียทรัพย์เกินกว่าเหตุ และเข้าใจกันและกันมากขึ้นระหว่างไฟแนนซ์กับผู้เช่าซื้อค่ะ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1415762460
คงเป็นประโยชน์ให้หลายๆท่านใช้เป็นแนวทางนะครับ ยามข้าวยากหมากแพงค้าขายลำบากแบบทุกวันนี้
สาระสำคัญๆคือ
1.รถที่จะโดนยึดต้องถูกบอกเลิกสัญญาก่อน การที่จะถูกบอกเลิกคือ "ต้องขาดชำระ 3 งวดติดต่อกัน"และไฟแนนซ์จะต้องบอกให้ผู้ค้างชำระภายใน 30 ก่อน ถึงจะออกหนังสือบอกเลิกสัญญาและยึดรถได้
2.ถ้าหากคิดว่าผ่อนรถไม่ไหว อย่าคิดว่าถูกยึดแล้วเรื่องจะจบ เรื่องไม่จบนะครับคุณอาจถูกฟ้องเอาค่าส่วนต่างอีก ทางที่ดีควรหาขายหรือเปลี่ยนสัญญาก่อนครับ อาจจะได้เงินคืนนิดหน่อยหรือเสียน้องกว่าที่เป็น อย่างน้อยก็ไม่เสียประวัติครับ