เทคนิคการปั่นหุ้นเบื้องต้น และการเอาตัวรอด

กระทู้สนทนา
ในตลาดหุ้นจะมีเจ้ามืออยู่สองท่าน คือเจ้ามือตัวจริงคือผลประกอบการ และเจ้ามือ-ด่วน ที่คอยทำราคา แม้ในระยะสั้นเจ้ามือทั้งสองคนอาจทะเลาะกันบ้างราคาหุ้นอาจไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของกิจการแต่ในระยะยาวแล้วเจ้ามือทั้งสองคนมักจะมาคืนดีกัน โดยชั้นตอนทั่วไปดังนี้
1.    หุ้น A จำนวน 40 ล้านหุ้น
2.    รายย่อยถือ 40% 16 ล้านหุ้น
3.    ราคาตลาด 30 บาทต่อหุ้น
4.    มูลค่า 40% ตามข้อสองเท่ากับ 480 ล้านบาท
5.    เจ้ามือตัวจริงก็ขยันทำงานบริหารกิจการให้มี EPS เจริญเติบโตไป ส่วนเจ้ามือ-ด่วนก็ทำตัวเป็นไอ้โม่งค่อยๆเก็บหุ้นอย่างใจเย็น ซึ่งอาจใช้เวลาหลาย เดือน ราคาจะ side way ไม่ไปไหนแต่มี volume ซื้อขายทุกวัน สมมติให้เก็บหุ้นจำนวน 60% ของข้อ 2 เท่ากับ 9.6 ล้านหุ้น ใช้เงินเท่ากับ 288 ล้านบาท

ภาพที่ 1 แสดงเจ้ามือ-ด่วนทำตัวเป็นไอ้โม่งแอบเก็บหุ้นจากรายย่อยอย่างใจเย็น

6.    หุ้น 9.6 ล้านหุ้น อยู่ในมือของ A B C D ซึ่งเป็นพวกเดียวกัน
7.    สมมติฐานการเล่นหุ้น
       7.1  ถ้าราคาหุ้นวิ่งขึ้นเร็ว 40% ที่เหลือจากข้อ 5 จะขายไม่ทัน และอาจเปลี่ยนใจไม่ขาย
       7.2  การเปลี่ยนใจไม่ขายตาม 7.1 ค่อยขายในราคาที่สูงขึ้น โดยกลุ่ม F ซึ่งเป็นคนนอกจะเข้ามาซื้อ
8.    ตารางการซื้อขายหุ้น
       8.1  50% ของข้อ 5. เท่ากับ 4.8 ล้านหุ้นใช้ไล่ราคาหุ้น
ปริมาณหุ้นที่เคาะซื้อ    ราคาเฉลี่ย    มูลค่า    ส่วนเพิ่ม      สะสม
         4.8                     35                 16.8            -              16.8
         4.8                     40                 19.2          2.4            19.2
         4.8                     45                 21.6          2.4             21.6
         4.8                     50                 24             2.4             24
         4.8                     55                 26.4          2.4             26.4
         4.8                     60                 28.8          2.4             28.8
         4.8                     65                 31.2          2.4             31.2
         4.8                     70                 33.6          2.4             33.6
         4.8                     75                 36             2.4             36
         4.8                     80                 38.4          2.4             38.4

         8.2   50% ของข้อ 5 เท่ากับ 4.8 ล้านหุ้น เก็บเอาไว้เฉยๆ
9.     จากข้อ 8.1 ใช้เงินสดเท่าไรในการเข้าซื้อหุ้นจนราคาเป็น 80 บาท
10.    เงินสด 38.4 ล้านบาทหายไปไหนหรือไม่
11.    มูลค่าตลาดของหุ้นตามข้อ 8.1. ที่ 4.8 ล้านหุ้น ราคา 80 บาท เท่ากับ 384 ล้านบาท
12.    มูลค่าตลาดของหุ้นตามข้อ 8.2. ที่ 4.8 ล้านหุ้น ราคา 80 บาท เท่ากับ 384 ล้านบาท
13.    ปริมาณหุ้นในข้อ 11. และ ข้อ12. เทหายให้กลุ่ม F
14.    ขณะที่ F เข้าซื้อที่ราคา 80 บาท พื้นฐานของหุ้น A เปลี่ยนไป โดยมี
        14.1  PE ratio ประมาณ 10-15 เท่า
        14.2  P/BV ประมาณ 4-5 เท่า
15.   เกิดเงินงอกจากกิจกรรมในครั้งนี่เท่าไรลองคิดเอา

ภาพที่ 2 แสดง วัฐจักรหุ้นปั่น
ที่มา http://topicstock.ppantip.com/sinthorn/topicstock/2010/08/I9543104/I9543104.html

          เนื่องจากผลประโยชน์มหาศาล ใครๆที่มีเงินก็อยากจับกลุ่มเข้ามาทำราคา ถ้าหุ้นไม่มพื้นฐานรองรับราคาก็จะเหมือนพลุยิ่งชึ้นจากพื้นดินแล้วก็ตกสู่ดินเหมือนเดิมสร้างความเสียหายให้นักลงทุนมากมาย นานๆจะมี เจ้ามือทำราคาโดนกลต กล่าวโทษซักทีเช่น ในปี 2556 ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษ ฉาย บุนนาค กับพวก รวม 13 ราย ต่อดีเอสไอ ปั่นหุ้น ไมด้า ลิสซิ่ง-แมกซ์ เมทัล คอร์ปอเรชั่น เผยพฤติกรรมซื้อขายในกลุ่ม-เคาะราคาให้เข้าใจผิด-พยุงราคา โดยมีเจ้าหน้าที่โบรกเกอร์ 2 ราย สนับสนุนการสร้างราคา

ภาพที่ 3 แสดงการสร้างราคาหุ้น ML และ MAX
ที่มากรุงเทพธุรกิจ http://daily.bangkokbiznews.com/home/20130402

          แต่ถ้าหุ้นมีพื้นฐานรองรับ เช่น distar ที่ใครๆก็บอกว่าเป็นหุ้นเน่า แต่รุ่นลูกเข้ามาได้ทำการเปลี่ยนธุรกิจจากผลิตทีวี distar มาขายเครื่องสำอางค์ KAMART และได้กำไรอย่างงดงาม กลายเป็นเป็นหุ้น VI และราคาก็ไม่กลับมาที่เดิม (ถ้ายังขายเครื่องสำอางค์ได้กำไรอยู่นะ)

ภาพที่ 4 แสดงความคิดเห็นของคนในเว็ป pantip สมัยที่ใครๆก็บอกว่าเป็นหุ้นเน่า
ที่มา http://topicstock.ppantip.com/sinthorn/topicstock/2010/08/I9543104/I9543104.html

         สรุปก็คืออยากเอาตัวรอดให้ได้ก็เก็บของพร้อมเจ้ามือในช่วงที่ราคายัง side way เลือกหุ้นที่มีพื้นฐานรองรับ ราคายังมี upside หน่อยเมื่อปัจจัยนั้นเกิดขึ้นจริง ไม่ใช่ราคาเล่นด้วยความหวังลมๆ แล้งๆ จับต้องไม่ได้ ก็ปลอดภัยขึ้นเยอะครับ เจริญในการลงทุนทุกท่าน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่