Interstellar (2014)
Spoiler Alert: This article is meant for people who have seen “Interstellar.” If you haven’t, go see it first, then come right back here.
=======================================
เมื่อตัวผมเองได้ดูภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของ คริสโตเฟอร์ โนแลน “อินเตอร์สเตลล่า”
ความรู้สึกหลังลุกออกจากเก้าอี้นั้น ต้องยอมรับว่าเป็นความรู้สึกที่แปลก เพราะผมรู้สึกมึนหัวชวนงง สลับกับอารมณ์สุขสันประดุจดั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟินที่พรั่งพรู
ช่วงเวลาที่ภาพยนตร์ฉายนั้น ตัวผมเองยอมรับครับว่า มันมีทั้งจุดที่ตัวหนังมันวิ่งและจุดที่ตัวมันลาก อยู่พอสมควร
หากถามว่า อินเตอร์สเตลล่า เป็นภาพยนตร์ไซไฟวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม เหมาะสมที่จะเข้าไปดูในช่วงปลายวันหยุดแบบนี้ไหม คงต้องว่า...ไม่มีเรื่องไหนเหมาะสมกับเรื่องนี้ในวันหยุดของท่านอีกต่อไปแล้ว เว้นแต่เสียว่า ท่านจะเกลียดการท่องอวกาศอย่างหาที่สุดไม่ได้
แต่ใช่ว่าความยอดเยี่ยมของมัน ซึ่งตัวผู้ชมอย่างเราๆท่านๆเริ่มมีโอกาสจะได้เห็นมากยิ่งขึ้นใน ศตวรรษ เหล่านี้ จะเป็นความสมบูรณ์ทั้งหมดของหนังเรื่องนี้
ผมกลับไม่เห็นด้วยเท่าไหร่ หากมีใครบอกว่ามันสมบูรณ์แบบ เพราะในหลายจุดเรากลับรู้สึกว่า ตัวหนังสามารถประดิษฐ์ประดอยในจุดหลายๆจุดให้ออกมาดีกว่านี้ได้
แต่สัจธรรมที่กล่าวอ้างว่า “Imperfection is perfect” นั้นยังเป็นจริงไม่เสื่อมคลาย
…..
ไม่บ่อยครั้งนักที่เราจะเห็นได้พล็อตเรื่องที่เริ่มต้นด้วยเหตุผลว่า โลกไม่น่าอยู่อีกต่อไป
ภาพยนตร์ประเภทนี้หลายๆเรื่อง พยายามชูปัญหาที่เกิดขึ้นว่า มีอะไรบางอย่างกระทำต่อดาวโลกของเรา และเราต้องรักษามัน ผลสุดท้ายคือเรารักษาโลกของเราไว้ได้ และมันก็จบลงอย่างสวยงาม
แต่อินเตอร์สเตลล่า ได้ฉีกกฎพื้นฐานที่เรามักจะไม่ค่อยเห็นในภาพยนตร์เรื่องไหนๆ นั่นคือ.. เมื่อถึงจุดนึงเราต้องยอมรับว่า โลกไม่ใช่ดาวเคราะห์ที่มนุษย์จะอาศัยได้อีกต่อไป และไม่ใช่ดาวเคราะห์ที่จะได้รับการเพิกเฉยเหมือนในอดีตเช่นเดียวกัน
โรคระบาดพันธุกรรมในพืชส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งและปริมาณที่ลดลงของปริมาณอาหารบนโลกมนุษย์
จุดจบได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
นั่นคือพล็อตง่ายๆว่า ถ้าอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด อะไรที่มีโอกาสอาจจะเกิดขึ้นได้ย่อมต้องเกิดขึ้น จากกฎเมอร์ฟี่ลอว์ ที่เหมือนพยายามยัดเยียดให้คนดูอย่างผมรู้ว่า หนังพยายามสื่อในจุดนี้มากๆ
สิ่งที่คูปเปอร์ อดีตนักบินอวกาศและวิศวกรของนาซ่า ต้องฝืนใจทำมากที่สุดเมื่อรู้เหตุการณ์ต่างๆจาก ดร.แบรนด์ ว่าโลกกำลังจะล่มสลาย นั่นก็คือการต้องกลับไปเป็นนักบินอวกาศในโปรเจ็คค้นหาดาวหนึ่งในสามที่ได้รับการยอมรับระดับหนึ่งว่า เป็นดาวที่เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยของมนุษย์มากที่สุด
ภารกิจที่ได้รับมอบหมายมีสองภารกิจคือ
แผนเอ ในการออกตามหาดาวทั้งสามเพื่อสำรวจว่า ดาวดวงไหนเหมาะสมที่จะอยู่อาศัยมากที่สุด เพื่อกลับมารายงานบนโลกมนุษย์ และนั่นคือโอกาสที่ คูปเปอร์จะได้มีโอกาสกลับไปยังโลกอีกครั้งเพื่อทำตามคำสัญญาที่ได้มอบไว้กับ ทอมและเมิร์ฟ ลูกชายและลูกสาวแท้ๆของเขานั่นเอง
แผนบี ซึ่งแผนนี้จะถูกใช้เมื่อภารกิจแผนเอล้มเหลว โดย ดร.แบรนด์ได้ทำการเพาะเชื้อมนุษย์ไว้สำหรับ การขยายและดำรงเผ่าพันธ์มนุษย์บนอาณานิคมดาวดวงใหม่
แน่นอน ไม่มีใครอยากให้แผนเอล้มเหลว เพราะนั่นหมายความว่า หากแผนเอล้มเหลว พวกเขาก็ไม่สามารถช่วยเหลือประชากรมนุษย์รวมไปถึงบุคคลอันเป็นที่รักของพวกเขาบนโลกได้
ก่อนที่เราจะมาสนใจว่า สิ่งที่พวกเขาจะต้องเจอเมื่อบินขึ้นสู่ห้วงอวกาศคืออะไรบ้างนั้น
ประเด็นที่ทำให้รู้สึกว่า ความขัดแย้งในใจอย่างผู้ชมอย่างเราๆนั่นคือ เรื่องของแผนเอและแผนบี
ในเรื่องของการกู้โลกนั้น อย่างที่ผมได้พิมพ์ไว้ข้างต้น ตัวหนังพยายามสื่อสารในเรื่องของการกู้โลกในอีกมุมมองนึง นั่นคือ การกู้โลกไม่ได้หมายความถึงการพยายามรักษาดาวดวงเดิมไว้ในทรรศนะของโนแลน แต่เป็นการละทิ้งในสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วว่าเราไม่สามารถรักษามันได้ และค้นคว้าหาสิ่งที่ดีกว่า ใหม่กว่า หรือ พอจำทนได้เพียงเพื่อรักษาสถานะของ “ความอยู่รอด”
ในเมื่อแผนเอและแผนบีถูกกำหนดขึ้นไว้แล้ว คนสี่คนถูกส่งขึ้นไป (ซึ่งได้รับการยอมรับว่า เป็นหัวกะทิ เป็นบุคคลทรงคุณค่าที่จะได้โอกาส คงสถานะของความอยู่รอดบนอาณานิคมดาวดวงใหม่) พร้อมกับเชื้อไข่ที่ได้รับการเพาะเลี้ยงเพื่อใช้สำหรับสร้างมนุษย์ มันคือการประหัดประหารครั้งยิ่งใหญ่ในความคิดของผม
สิ่งที่ผมเห็น ช่างสอดคล้องกับ ทฤษฎีที่ได้รับการเรียกขานว่า ทฤษฎีอรรถประโยชน์นิยม (utilitarianism) ทฤษฎีนี้ว่าด้วย แนวคิดที่เชื่อว่าคุณค่าทางศีลธรรมเป็นการกระทำที่ขึ้นอยู่กับการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม
นั่นหมายความว่า เพื่อรักษาสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า เราจำเป็นต้องเสียสละอะไรบางอย่าง (และแน่นอน เราต้องละทิ้งศีลธรรมบางอย่างไปพร้อมๆกันด้วย)
กลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจโดยทันทีว่า สิ่งที่ยิ่งใหญ่นั้นคืออะไร
เพราะสิ่งที่ยิ่งใหญ่ของแต่ละคนนั้นต่างกัน
ดร.แบรนด์มองว่า เพื่อรักษาเผ่าพันธ์ของมนุษย์ให้ดำรงอยู่ต่อไป แผนบีจึงเกิดขึ้น ถ้าหากเขาทำตามสัญญาที่มอบให้กับคูปเปอร์ไม่ได้ ว่าจะแก้สมการเพื่อสร้างแรงโน้มถ่วงบนโลกเพื่อใช้ในการอพยพคนจำนวนมหาศาล และนั่นหมายความว่าเราต้องยินยอมพร้อมใจที่ละทิ้งคนบนโลกทั้งหมด ปล่อยให้เขาตายอย่างช้าๆ และรอวันล่มสลายของพื้นดินที่เขาเกิดมา
แต่ คูปเปอร์กลับรับไม่ได้เช่นนั้น ในฐานะของคนเป็นพ่อและผู้คุมทีมยานแอนดูแรนซ์ในภารกิจการสำรวจนี้ มันทำให้เกิดสภาวะอิหลักอิเหลื่อในจิตใจของเขาอย่างท่วมท้น
เสมือนดั่งเขาต้องตัดสินใจไปเลยว่า เราจะเลือกอะไรระหว่าง ยอมทำตามในสิ่งที่ตนเองรักและเชื่อ นั่นคือการทำตามแผนเอแล้วรีบกลับมายังโลกมนุษย์เพื่อมาพบลูกทั้งสองอันเป็นที่รักตามคำสัญญา
หรือจะมุ่งหน้าสู่ดาวที่พวกเขาเชื่อว่า จะเป็นอาณานิคมใหม่สำหรับเผ่าพันธ์ของมนุษยชาติ และละทิ้งคนที่พวกเขาจากมา
ในจุดนี้ ผมยอมรับว่า ผมชอบที่อินเตอร์สเตลล่าเล่นกับความขัดแย้งได้ถึงจุดที่เรียกว่า มากกว่านี้คือสิบสองริกเตอร์แล้วละ เพราะมันคือ Dilemma ข้นๆที่พร้อมปั่นประสาทให้เราประสาท-แล้ว
เมื่อถึงจุดที่โนแลนต้องจากโลกอันเป็นที่รัก เพื่อเข้าสู่วงห้วงอวกาศผ่าน รูหนอน แล้วนั้น
เรากลับรู้สึกว่า มันไม่ได้ยิ่งใหญ่กว่าที่เราคิด
แต่สิ่งที่เรียกว่าเป็นตัวแปร และพีคกว่าการที่เราได้เห็นดาวเสาร์ รูหนอน ฯลฯ นั่นคือ เรื่องของแรงโน้มถ่วง
ปกติแล้วในแง่มุมของความดราม่านั้น ย่อมเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างของบุคคลแต่ละบุคคลเป็นหลัก แต่หากมองให้ลึกเข้าไปมากกว่านั้นจะพบว่า ปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวรักษาหรือทำลายความสัมพันธ์นั่นคือ “เวลา”
Time Dilation เป็นทฤษฎีนึงที่ถูกยกขึ้นมา โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ยิ่งเราอยู่ใกล้กับพื้นที่ใดที่มีแรงโน้มถ่วงสูง เวลาจะยิ่งเดินช้ามากขึ้นเท่านั้น
ความสัมพันธ์จากจุดนี้ มันกลายเป็นจุดที่รุนแรงมากๆในแง่ของความรู้สึก
เพราะปกติแล้ว เรามักเข้าใจว่าการไปทำภารกิจนอกโลก บนอวกาศมักใช้เวลาไม่นาน ประสบการณ์การชมภาพยนตร์ทำให้เรานึกภาพออกได้ว่า ปกติภารกิจพวกนี้มันเร่งรีบ ไม่นานก็กลับ
แต่อินเตอร์สเตลล่าสะท้อนความจริงที่ว่า แค่เราจากไปแป๊ปเดียว เวลาบนโลกเราอาจเดินนำหน้าไปแล้วหลายสิบปีหรือร้อยปี และที่จริงจากกว่านั้นและเราก็รู้กันดีอยู่แล้วนั่นคือ เราอาจไปนานมาก ไปไกลมาก จนไม่ได้กลับมาอีกเลย
ความขัดแย้งในจิตใจของมนุษย์อย่างคูปเปอร์นั้นเกิดขึ้นตลอดเวลา เขาตั้งคำถามกับตัวเองว่า เขาจะกู้โลกไปทำไม ถ้าหากเขาต้องติดอยู่กับสถานที่ใดสถานที่นึงบนอวกาศนานๆ และต่อให้ภารกิจนั้นสำเร็จ กลับมายังโลกได้แล้วแต่พบว่า ไม่มีใครอยู่รอเขาอีกต่อไป
และน่าปวดใจไม่ใช่น้อย เมื่อเราอยู่ ณ จุดนึงของห้วงอวกาศ และต้องมาค้นพบว่า เวลาบนโลกนั้นได้เดินนำหน้าเราไปแล้วไกลโพ้นกว่านั้น
ในจุดนี้มันคือการนำวิทยาศาสตร์มาสะท้อนความเป็นจริงที่น่าเจ็บปวด มันเฮิร์ทมากๆในความรู้สึกเรา และเป็นสิ่งที่น่าประทับใจ
แน่นอน เมื่อเขาพาลูกทีมทะลุผ่านรูหนอนได้แล้ว เป้าหมายของทีมยานแอนดูแรนซ์คือการลงไปสำรวจดาวที่ได้รับเลือกทั้งสาม
มันคงจะธรรมดามาก ถ้าการสำรวจมีแค่การนำยานลงจอดในแต่ละดาว ถ้าไม่เจอก็แค่หนีขึ้นมาและมุ่งหน้าสู่ดาวถัดไป แต่จริงๆแล้วมันไม่ใช่อย่างนั้นหรอก
ดาวทั้งสามที่ถูกคัดเลือก และได้มีการส่งทีมสำรวจอวกาศไปก่อนหน้าแล้วนั้น มีทั้งหมดสามดาว ได้แก่ ดาวมิลเลอร์ ดาวแมนน์ และ ดาวเอ็ดมันด์
เหมือนเป็นอันรู้กันละหน่า ว่าคงไม่มีผู้กำกับคนไหน เลือกที่จะกำหนดชะตาชีวิตของตัวละครโดยการให้ตัวละครมุ่งหน้าสู่ดาวที่มีความเป็นไปได้สูงสุด
และชะตาชีวิตของพวกก็นำพายานแอนดูแรนซ์ไปยัง ดาวมิลเลอร์เป็นที่แรก
เมื่อยานลงจอดลงดาวได้แล้ว คูปเปอร์และลูกทีมกลับพบว่า มนุษย์ไม่มีทางที่จะอาศัยอยู่บนดาวนี้ได้ เป็นเพราะถึงแม้พื้นผิวของดาวดวงนี้จะประกอบไปด้วยน้ำ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งมีชีวิต แต่กลับไม่มีพื้นผิวอื่นใดที่มนุษย์จะดำรงชีวิตได้อีกเลย
เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันนอกจากนั้นคือ บนดวงดาวมิลเลอร์นี้ยังมี คลื่นขนาดยักษ์เกิดขึ้นอยู่บนดาวตลอดเวลา
และการที่ไม่ยอมปฎิบัติตามคำสั่งของคูปเปอร์ ส่งผลให้ ดอยล์ ลูกเรือที่ลงไปสำรวจพื้นผิวด้านล่างพร้อมกันกับ ดร.อิมิล่า ต้องถูกคลื่นซัดเสียชีวิต และ ดร.อิมิล่า ก็เกือบจะไม่รอดเช่นเดียวกัน
เวลา..เป็นสิ่งที่ไม่เคยรอใคร ความผิดพลาดครั้งนี้ส่งผลให้ เวลาที่เกิดขึ้นบนโลกมนุษย์ได้เลยผ่านมา 23 ปี
ยี่สิบสามปีที่เสียเปล่า แลกกับ ความสูญเสียที่ไม่ได้อะไรคืบหน้ากับทีมแอนดูแรนซ์
เมื่อขึ้นยานมาได้แล้ว คูปเปอร์ผู้ซึ่งได้เห็นความผิดพลาดของตน ผ่านเทปวิดิโอที่ส่งมาจากโลก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตในแต่ละช่วงวัยของลูกทั้งสองคนบนโลกนั้น ยิ่งตอกย้ำให้เห็นความหดหู่และโอกาสอันริบหรี่ที่เขาจะช่วยโลกและรักษาสัญญาของเขาไว้ได้ มันเป็นได้ทั้งความน่ายินดีและความเศร้าสลดอันหาที่สุดไม่ได้พร้อมๆกัน
ความผิดพลาดบนดาวมิลเลอร์ไม่ได้ส่งผลแค่เรื่องระยะเวลา รีซอรส์ต่างๆถูกใช้ไปบนยานแอนดูแรนซ์มาก จนลูกทีมที่เหลือทั้งสามต้องตัดสินใจว่า ระหว่างดาวแมนน์และดาวเอ็ดมันด์ จะเลือกลงจอดดาวไหน และด้วยความผิดพลาดของ ดร.อิมิล่า ทำให้คูเปอร์ตัดสินใจเลือกลงดาวแมนน์ มากกว่าที่จะเลือกดาวเอ็ดมันด์ ด้วยเหตุผลที่ว่า คูปเปอร์เชื่อว่าดาวแมนน์นั้นมีโอกาสสำเร็จสูงกว่าที่จะพิสูจน์ได้ว่า ดาวดวงนี้เหมาะสมทีสุดสำหรับการอพยพของเผ่าพันธ์มนุษย์ และ ปฎิเสธความเห็นของ ดร.อิมิล่าเนื่องจาก คูปเปอร์เชื่อว่า การที่ ดร.อิมิล่านั้นเลือกดาวเอ็ดมันต์ เพราะแฟนของเธอได้ลงไปสำรวจดาวนั้นและไม่ได้รับการติดต่อกลับมาอีกเลย เธอจึงอยากใช้โอกาสนี้กับภารกิจแอนดูแรนซ์
มันคือการที่คูปเปอร์พยายามใช้ความเป็นวิทยาศาสตร์เข้าฟาดฟัน กับสิ่งที่อยู่นอกเหนือขอบเขตในสิ่งที่เราไม่รู้
จุดหักเหตรงนี้มีความน่าสนใจ และ มีความเลี่ยนที่กลบเสน่ห์ของหนังเช่นเดียวกัน
เหตุผลที่ ดร.อิมิล่ายกมา เธออ้างว่า เธอเชื่อในความรัก เธอเชื่อในวิทยาศาสตร์มามากพอสมควรแล้วแต่เธอขอเลือกที่จะเชื่อสัญชาตญาณของตนเองในเรื่องของความรักแทน
...ฟังดูไม่มีเหตุผลไปซะอย่างนั้น ในจุดนี้ หนังพยายามพาตัวเองไปให้ถึงจุดของการไต่สเต็ปไปยังแก่นสาระสำคัญของเรื่องนี้ แต่มันกลับกลายเป็นว่า การพยายามสร้างแพทเทิร์นเรื่องความรักขึ้นมา (เพื่อโยงไปหาอะไรบางอย่าง) กลับกลายเป็นว่า มันไม่มีเหตุผลโดยสิ้นเชิง
เพราะว่าในเรื่อง ตัวละครได้รับการคัดสรรว่าเป็นหัวกะทิของโลกในการปฎิบัติภารกิจนี้ แต่ตัวละครกลับเลือกที่จะใช้อารมณ์ส่วนตัวมากกว่าเหตุผลโดยทันทีทันใดเมื่อโอกาสมาถึง
หากเรามองในแง่ของความอ่อนไหวของมนุษย์ มันเป็นสิ่งที่รับได้และเป็นอันเข้าใจกัน แต่หนังมันไม่ได้พาตัวเองหรือพยายามอธิบายแบ็คกราวน์ของ ดร.อิมิล่า แม้แต่อย่างใด
ในเมื่อหนังพยายามใช้ความมีเหตุผลตลอดทั้งเรื่อง แต่ตัวละครสำคัญกลับทำลายมันลงไป ทั้งๆที่เหตุผลสำคัญของเรื่องยังไม่ได้รับการยอมรับว่ามันสำคัญกว่า มันทำให้ตัวหนังดร็อปลงโดยทันทีทันใดเช่นเดียวกัน
หรือความรัก มันคือพลังงานที่เร้นลับได้มากกว่านั้น ในทรรศนะของโนแลน?
[CR] [Spoiler Alert] รีวิว Interstellar ในมุมมองกว้างๆหลังดูจบ
Spoiler Alert: This article is meant for people who have seen “Interstellar.” If you haven’t, go see it first, then come right back here.
=======================================
เมื่อตัวผมเองได้ดูภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของ คริสโตเฟอร์ โนแลน “อินเตอร์สเตลล่า”
ความรู้สึกหลังลุกออกจากเก้าอี้นั้น ต้องยอมรับว่าเป็นความรู้สึกที่แปลก เพราะผมรู้สึกมึนหัวชวนงง สลับกับอารมณ์สุขสันประดุจดั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟินที่พรั่งพรู
ช่วงเวลาที่ภาพยนตร์ฉายนั้น ตัวผมเองยอมรับครับว่า มันมีทั้งจุดที่ตัวหนังมันวิ่งและจุดที่ตัวมันลาก อยู่พอสมควร
หากถามว่า อินเตอร์สเตลล่า เป็นภาพยนตร์ไซไฟวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม เหมาะสมที่จะเข้าไปดูในช่วงปลายวันหยุดแบบนี้ไหม คงต้องว่า...ไม่มีเรื่องไหนเหมาะสมกับเรื่องนี้ในวันหยุดของท่านอีกต่อไปแล้ว เว้นแต่เสียว่า ท่านจะเกลียดการท่องอวกาศอย่างหาที่สุดไม่ได้
แต่ใช่ว่าความยอดเยี่ยมของมัน ซึ่งตัวผู้ชมอย่างเราๆท่านๆเริ่มมีโอกาสจะได้เห็นมากยิ่งขึ้นใน ศตวรรษ เหล่านี้ จะเป็นความสมบูรณ์ทั้งหมดของหนังเรื่องนี้
ผมกลับไม่เห็นด้วยเท่าไหร่ หากมีใครบอกว่ามันสมบูรณ์แบบ เพราะในหลายจุดเรากลับรู้สึกว่า ตัวหนังสามารถประดิษฐ์ประดอยในจุดหลายๆจุดให้ออกมาดีกว่านี้ได้
แต่สัจธรรมที่กล่าวอ้างว่า “Imperfection is perfect” นั้นยังเป็นจริงไม่เสื่อมคลาย
…..
ไม่บ่อยครั้งนักที่เราจะเห็นได้พล็อตเรื่องที่เริ่มต้นด้วยเหตุผลว่า โลกไม่น่าอยู่อีกต่อไป
ภาพยนตร์ประเภทนี้หลายๆเรื่อง พยายามชูปัญหาที่เกิดขึ้นว่า มีอะไรบางอย่างกระทำต่อดาวโลกของเรา และเราต้องรักษามัน ผลสุดท้ายคือเรารักษาโลกของเราไว้ได้ และมันก็จบลงอย่างสวยงาม
แต่อินเตอร์สเตลล่า ได้ฉีกกฎพื้นฐานที่เรามักจะไม่ค่อยเห็นในภาพยนตร์เรื่องไหนๆ นั่นคือ.. เมื่อถึงจุดนึงเราต้องยอมรับว่า โลกไม่ใช่ดาวเคราะห์ที่มนุษย์จะอาศัยได้อีกต่อไป และไม่ใช่ดาวเคราะห์ที่จะได้รับการเพิกเฉยเหมือนในอดีตเช่นเดียวกัน
โรคระบาดพันธุกรรมในพืชส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งและปริมาณที่ลดลงของปริมาณอาหารบนโลกมนุษย์
จุดจบได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
นั่นคือพล็อตง่ายๆว่า ถ้าอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด อะไรที่มีโอกาสอาจจะเกิดขึ้นได้ย่อมต้องเกิดขึ้น จากกฎเมอร์ฟี่ลอว์ ที่เหมือนพยายามยัดเยียดให้คนดูอย่างผมรู้ว่า หนังพยายามสื่อในจุดนี้มากๆ
สิ่งที่คูปเปอร์ อดีตนักบินอวกาศและวิศวกรของนาซ่า ต้องฝืนใจทำมากที่สุดเมื่อรู้เหตุการณ์ต่างๆจาก ดร.แบรนด์ ว่าโลกกำลังจะล่มสลาย นั่นก็คือการต้องกลับไปเป็นนักบินอวกาศในโปรเจ็คค้นหาดาวหนึ่งในสามที่ได้รับการยอมรับระดับหนึ่งว่า เป็นดาวที่เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยของมนุษย์มากที่สุด
ภารกิจที่ได้รับมอบหมายมีสองภารกิจคือ
แผนเอ ในการออกตามหาดาวทั้งสามเพื่อสำรวจว่า ดาวดวงไหนเหมาะสมที่จะอยู่อาศัยมากที่สุด เพื่อกลับมารายงานบนโลกมนุษย์ และนั่นคือโอกาสที่ คูปเปอร์จะได้มีโอกาสกลับไปยังโลกอีกครั้งเพื่อทำตามคำสัญญาที่ได้มอบไว้กับ ทอมและเมิร์ฟ ลูกชายและลูกสาวแท้ๆของเขานั่นเอง
แผนบี ซึ่งแผนนี้จะถูกใช้เมื่อภารกิจแผนเอล้มเหลว โดย ดร.แบรนด์ได้ทำการเพาะเชื้อมนุษย์ไว้สำหรับ การขยายและดำรงเผ่าพันธ์มนุษย์บนอาณานิคมดาวดวงใหม่
แน่นอน ไม่มีใครอยากให้แผนเอล้มเหลว เพราะนั่นหมายความว่า หากแผนเอล้มเหลว พวกเขาก็ไม่สามารถช่วยเหลือประชากรมนุษย์รวมไปถึงบุคคลอันเป็นที่รักของพวกเขาบนโลกได้
ก่อนที่เราจะมาสนใจว่า สิ่งที่พวกเขาจะต้องเจอเมื่อบินขึ้นสู่ห้วงอวกาศคืออะไรบ้างนั้น
ประเด็นที่ทำให้รู้สึกว่า ความขัดแย้งในใจอย่างผู้ชมอย่างเราๆนั่นคือ เรื่องของแผนเอและแผนบี
ในเรื่องของการกู้โลกนั้น อย่างที่ผมได้พิมพ์ไว้ข้างต้น ตัวหนังพยายามสื่อสารในเรื่องของการกู้โลกในอีกมุมมองนึง นั่นคือ การกู้โลกไม่ได้หมายความถึงการพยายามรักษาดาวดวงเดิมไว้ในทรรศนะของโนแลน แต่เป็นการละทิ้งในสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วว่าเราไม่สามารถรักษามันได้ และค้นคว้าหาสิ่งที่ดีกว่า ใหม่กว่า หรือ พอจำทนได้เพียงเพื่อรักษาสถานะของ “ความอยู่รอด”
ในเมื่อแผนเอและแผนบีถูกกำหนดขึ้นไว้แล้ว คนสี่คนถูกส่งขึ้นไป (ซึ่งได้รับการยอมรับว่า เป็นหัวกะทิ เป็นบุคคลทรงคุณค่าที่จะได้โอกาส คงสถานะของความอยู่รอดบนอาณานิคมดาวดวงใหม่) พร้อมกับเชื้อไข่ที่ได้รับการเพาะเลี้ยงเพื่อใช้สำหรับสร้างมนุษย์ มันคือการประหัดประหารครั้งยิ่งใหญ่ในความคิดของผม
สิ่งที่ผมเห็น ช่างสอดคล้องกับ ทฤษฎีที่ได้รับการเรียกขานว่า ทฤษฎีอรรถประโยชน์นิยม (utilitarianism) ทฤษฎีนี้ว่าด้วย แนวคิดที่เชื่อว่าคุณค่าทางศีลธรรมเป็นการกระทำที่ขึ้นอยู่กับการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม
นั่นหมายความว่า เพื่อรักษาสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า เราจำเป็นต้องเสียสละอะไรบางอย่าง (และแน่นอน เราต้องละทิ้งศีลธรรมบางอย่างไปพร้อมๆกันด้วย)
กลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจโดยทันทีว่า สิ่งที่ยิ่งใหญ่นั้นคืออะไร
เพราะสิ่งที่ยิ่งใหญ่ของแต่ละคนนั้นต่างกัน
ดร.แบรนด์มองว่า เพื่อรักษาเผ่าพันธ์ของมนุษย์ให้ดำรงอยู่ต่อไป แผนบีจึงเกิดขึ้น ถ้าหากเขาทำตามสัญญาที่มอบให้กับคูปเปอร์ไม่ได้ ว่าจะแก้สมการเพื่อสร้างแรงโน้มถ่วงบนโลกเพื่อใช้ในการอพยพคนจำนวนมหาศาล และนั่นหมายความว่าเราต้องยินยอมพร้อมใจที่ละทิ้งคนบนโลกทั้งหมด ปล่อยให้เขาตายอย่างช้าๆ และรอวันล่มสลายของพื้นดินที่เขาเกิดมา
แต่ คูปเปอร์กลับรับไม่ได้เช่นนั้น ในฐานะของคนเป็นพ่อและผู้คุมทีมยานแอนดูแรนซ์ในภารกิจการสำรวจนี้ มันทำให้เกิดสภาวะอิหลักอิเหลื่อในจิตใจของเขาอย่างท่วมท้น
เสมือนดั่งเขาต้องตัดสินใจไปเลยว่า เราจะเลือกอะไรระหว่าง ยอมทำตามในสิ่งที่ตนเองรักและเชื่อ นั่นคือการทำตามแผนเอแล้วรีบกลับมายังโลกมนุษย์เพื่อมาพบลูกทั้งสองอันเป็นที่รักตามคำสัญญา
หรือจะมุ่งหน้าสู่ดาวที่พวกเขาเชื่อว่า จะเป็นอาณานิคมใหม่สำหรับเผ่าพันธ์ของมนุษยชาติ และละทิ้งคนที่พวกเขาจากมา
ในจุดนี้ ผมยอมรับว่า ผมชอบที่อินเตอร์สเตลล่าเล่นกับความขัดแย้งได้ถึงจุดที่เรียกว่า มากกว่านี้คือสิบสองริกเตอร์แล้วละ เพราะมันคือ Dilemma ข้นๆที่พร้อมปั่นประสาทให้เราประสาท-แล้ว
เมื่อถึงจุดที่โนแลนต้องจากโลกอันเป็นที่รัก เพื่อเข้าสู่วงห้วงอวกาศผ่าน รูหนอน แล้วนั้น
เรากลับรู้สึกว่า มันไม่ได้ยิ่งใหญ่กว่าที่เราคิด
แต่สิ่งที่เรียกว่าเป็นตัวแปร และพีคกว่าการที่เราได้เห็นดาวเสาร์ รูหนอน ฯลฯ นั่นคือ เรื่องของแรงโน้มถ่วง
ปกติแล้วในแง่มุมของความดราม่านั้น ย่อมเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างของบุคคลแต่ละบุคคลเป็นหลัก แต่หากมองให้ลึกเข้าไปมากกว่านั้นจะพบว่า ปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวรักษาหรือทำลายความสัมพันธ์นั่นคือ “เวลา”
Time Dilation เป็นทฤษฎีนึงที่ถูกยกขึ้นมา โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ยิ่งเราอยู่ใกล้กับพื้นที่ใดที่มีแรงโน้มถ่วงสูง เวลาจะยิ่งเดินช้ามากขึ้นเท่านั้น
ความสัมพันธ์จากจุดนี้ มันกลายเป็นจุดที่รุนแรงมากๆในแง่ของความรู้สึก
เพราะปกติแล้ว เรามักเข้าใจว่าการไปทำภารกิจนอกโลก บนอวกาศมักใช้เวลาไม่นาน ประสบการณ์การชมภาพยนตร์ทำให้เรานึกภาพออกได้ว่า ปกติภารกิจพวกนี้มันเร่งรีบ ไม่นานก็กลับ
แต่อินเตอร์สเตลล่าสะท้อนความจริงที่ว่า แค่เราจากไปแป๊ปเดียว เวลาบนโลกเราอาจเดินนำหน้าไปแล้วหลายสิบปีหรือร้อยปี และที่จริงจากกว่านั้นและเราก็รู้กันดีอยู่แล้วนั่นคือ เราอาจไปนานมาก ไปไกลมาก จนไม่ได้กลับมาอีกเลย
ความขัดแย้งในจิตใจของมนุษย์อย่างคูปเปอร์นั้นเกิดขึ้นตลอดเวลา เขาตั้งคำถามกับตัวเองว่า เขาจะกู้โลกไปทำไม ถ้าหากเขาต้องติดอยู่กับสถานที่ใดสถานที่นึงบนอวกาศนานๆ และต่อให้ภารกิจนั้นสำเร็จ กลับมายังโลกได้แล้วแต่พบว่า ไม่มีใครอยู่รอเขาอีกต่อไป
และน่าปวดใจไม่ใช่น้อย เมื่อเราอยู่ ณ จุดนึงของห้วงอวกาศ และต้องมาค้นพบว่า เวลาบนโลกนั้นได้เดินนำหน้าเราไปแล้วไกลโพ้นกว่านั้น
ในจุดนี้มันคือการนำวิทยาศาสตร์มาสะท้อนความเป็นจริงที่น่าเจ็บปวด มันเฮิร์ทมากๆในความรู้สึกเรา และเป็นสิ่งที่น่าประทับใจ
แน่นอน เมื่อเขาพาลูกทีมทะลุผ่านรูหนอนได้แล้ว เป้าหมายของทีมยานแอนดูแรนซ์คือการลงไปสำรวจดาวที่ได้รับเลือกทั้งสาม
มันคงจะธรรมดามาก ถ้าการสำรวจมีแค่การนำยานลงจอดในแต่ละดาว ถ้าไม่เจอก็แค่หนีขึ้นมาและมุ่งหน้าสู่ดาวถัดไป แต่จริงๆแล้วมันไม่ใช่อย่างนั้นหรอก
ดาวทั้งสามที่ถูกคัดเลือก และได้มีการส่งทีมสำรวจอวกาศไปก่อนหน้าแล้วนั้น มีทั้งหมดสามดาว ได้แก่ ดาวมิลเลอร์ ดาวแมนน์ และ ดาวเอ็ดมันด์
เหมือนเป็นอันรู้กันละหน่า ว่าคงไม่มีผู้กำกับคนไหน เลือกที่จะกำหนดชะตาชีวิตของตัวละครโดยการให้ตัวละครมุ่งหน้าสู่ดาวที่มีความเป็นไปได้สูงสุด
และชะตาชีวิตของพวกก็นำพายานแอนดูแรนซ์ไปยัง ดาวมิลเลอร์เป็นที่แรก
เมื่อยานลงจอดลงดาวได้แล้ว คูปเปอร์และลูกทีมกลับพบว่า มนุษย์ไม่มีทางที่จะอาศัยอยู่บนดาวนี้ได้ เป็นเพราะถึงแม้พื้นผิวของดาวดวงนี้จะประกอบไปด้วยน้ำ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งมีชีวิต แต่กลับไม่มีพื้นผิวอื่นใดที่มนุษย์จะดำรงชีวิตได้อีกเลย
เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันนอกจากนั้นคือ บนดวงดาวมิลเลอร์นี้ยังมี คลื่นขนาดยักษ์เกิดขึ้นอยู่บนดาวตลอดเวลา
และการที่ไม่ยอมปฎิบัติตามคำสั่งของคูปเปอร์ ส่งผลให้ ดอยล์ ลูกเรือที่ลงไปสำรวจพื้นผิวด้านล่างพร้อมกันกับ ดร.อิมิล่า ต้องถูกคลื่นซัดเสียชีวิต และ ดร.อิมิล่า ก็เกือบจะไม่รอดเช่นเดียวกัน
เวลา..เป็นสิ่งที่ไม่เคยรอใคร ความผิดพลาดครั้งนี้ส่งผลให้ เวลาที่เกิดขึ้นบนโลกมนุษย์ได้เลยผ่านมา 23 ปี
ยี่สิบสามปีที่เสียเปล่า แลกกับ ความสูญเสียที่ไม่ได้อะไรคืบหน้ากับทีมแอนดูแรนซ์
เมื่อขึ้นยานมาได้แล้ว คูปเปอร์ผู้ซึ่งได้เห็นความผิดพลาดของตน ผ่านเทปวิดิโอที่ส่งมาจากโลก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตในแต่ละช่วงวัยของลูกทั้งสองคนบนโลกนั้น ยิ่งตอกย้ำให้เห็นความหดหู่และโอกาสอันริบหรี่ที่เขาจะช่วยโลกและรักษาสัญญาของเขาไว้ได้ มันเป็นได้ทั้งความน่ายินดีและความเศร้าสลดอันหาที่สุดไม่ได้พร้อมๆกัน
ความผิดพลาดบนดาวมิลเลอร์ไม่ได้ส่งผลแค่เรื่องระยะเวลา รีซอรส์ต่างๆถูกใช้ไปบนยานแอนดูแรนซ์มาก จนลูกทีมที่เหลือทั้งสามต้องตัดสินใจว่า ระหว่างดาวแมนน์และดาวเอ็ดมันด์ จะเลือกลงจอดดาวไหน และด้วยความผิดพลาดของ ดร.อิมิล่า ทำให้คูเปอร์ตัดสินใจเลือกลงดาวแมนน์ มากกว่าที่จะเลือกดาวเอ็ดมันด์ ด้วยเหตุผลที่ว่า คูปเปอร์เชื่อว่าดาวแมนน์นั้นมีโอกาสสำเร็จสูงกว่าที่จะพิสูจน์ได้ว่า ดาวดวงนี้เหมาะสมทีสุดสำหรับการอพยพของเผ่าพันธ์มนุษย์ และ ปฎิเสธความเห็นของ ดร.อิมิล่าเนื่องจาก คูปเปอร์เชื่อว่า การที่ ดร.อิมิล่านั้นเลือกดาวเอ็ดมันต์ เพราะแฟนของเธอได้ลงไปสำรวจดาวนั้นและไม่ได้รับการติดต่อกลับมาอีกเลย เธอจึงอยากใช้โอกาสนี้กับภารกิจแอนดูแรนซ์
มันคือการที่คูปเปอร์พยายามใช้ความเป็นวิทยาศาสตร์เข้าฟาดฟัน กับสิ่งที่อยู่นอกเหนือขอบเขตในสิ่งที่เราไม่รู้
จุดหักเหตรงนี้มีความน่าสนใจ และ มีความเลี่ยนที่กลบเสน่ห์ของหนังเช่นเดียวกัน
เหตุผลที่ ดร.อิมิล่ายกมา เธออ้างว่า เธอเชื่อในความรัก เธอเชื่อในวิทยาศาสตร์มามากพอสมควรแล้วแต่เธอขอเลือกที่จะเชื่อสัญชาตญาณของตนเองในเรื่องของความรักแทน
...ฟังดูไม่มีเหตุผลไปซะอย่างนั้น ในจุดนี้ หนังพยายามพาตัวเองไปให้ถึงจุดของการไต่สเต็ปไปยังแก่นสาระสำคัญของเรื่องนี้ แต่มันกลับกลายเป็นว่า การพยายามสร้างแพทเทิร์นเรื่องความรักขึ้นมา (เพื่อโยงไปหาอะไรบางอย่าง) กลับกลายเป็นว่า มันไม่มีเหตุผลโดยสิ้นเชิง
เพราะว่าในเรื่อง ตัวละครได้รับการคัดสรรว่าเป็นหัวกะทิของโลกในการปฎิบัติภารกิจนี้ แต่ตัวละครกลับเลือกที่จะใช้อารมณ์ส่วนตัวมากกว่าเหตุผลโดยทันทีทันใดเมื่อโอกาสมาถึง
หากเรามองในแง่ของความอ่อนไหวของมนุษย์ มันเป็นสิ่งที่รับได้และเป็นอันเข้าใจกัน แต่หนังมันไม่ได้พาตัวเองหรือพยายามอธิบายแบ็คกราวน์ของ ดร.อิมิล่า แม้แต่อย่างใด
ในเมื่อหนังพยายามใช้ความมีเหตุผลตลอดทั้งเรื่อง แต่ตัวละครสำคัญกลับทำลายมันลงไป ทั้งๆที่เหตุผลสำคัญของเรื่องยังไม่ได้รับการยอมรับว่ามันสำคัญกว่า มันทำให้ตัวหนังดร็อปลงโดยทันทีทันใดเช่นเดียวกัน
หรือความรัก มันคือพลังงานที่เร้นลับได้มากกว่านั้น ในทรรศนะของโนแลน?