****สวัสดีครับ ไม่เคยตั้งกระทู้แนวนี้เท่าไหร่ ผิดพลาดตรงไหนท้วงติงได้นะครับ***
ผมมีความรู้สึกสงสัยมากๆครับ และเป็นมานานแล้ว เวลาทำข้อสอบระดับมหาวิทยาลัยนี่ทำไมนักศึกษาส่วนใหญ่ถึงชอบคำตอบแบบมีตัวเลือกมากกว่าข้อเขียน ผมพยายามถามเพื่อนหรือคนรอบข้างเขาก็ตอบกันว่า "เดาง่าย โอกาศได้คะแนนเยอะกว่านะเว้ย" ผมไม่เข้าใจครับ ทำไมถึงคิดกันแบบนี้ ผมไม่ใช่คนเรียนเก่งครับ สอบออกมาก็ตกมีนตลอด คะแนนงานหรือสอบย่อยก็ตก แต่ผมก็ยังอยากหวังให้อาจารย์ออกสอบแบบข้อเขียน แม้จะเป็นข้อสอบที่ยากมากๆ กว่าเราจะกลั่นข้อความออกมาได้ แต่ผมกลับรู้สึกสนุกมากกว่าให้นั่งฝน เพราะเป็นการจัดการความคิดที่ได้ร่ำเรียนมาทั้งหมดใส่เป็นคำพูดของเราที่อยากจะสื่อให้อาจารย์เห็น แม้คำถามแต่ละข้ออาจารย์จะวางคำตอบเอาไว้แล้ว แต่ผมก็ชอบที่ใส่คำตอบในแบบของผม ไม่ว่าจะเป็นการอธิบายในทฤษฏีที่ตรงตามที่โจทย์ต้องการ การยกตัวอย่างให้อาจารย์เห็นว่า ข้อนี้ตรงกับสิ่งนี้ ผมเรียนแล้วผมเข้าแบบนี้ อยากให้อาจารย์รู้ว่าผมเข้าใจระดับไหน
ผมรู้ครับว่านักศึกษา 200 กว่าคนต่อหนึ่งเซค และอาจารย์แต่ละท่านสอนมากกว่าหนึ่งเซค ต้องเจอความยากลำบากในการตรวจข้อสอบแบบข้อเขียน ยิ่งเป็นสอบกลางภาพด้วยแล้วยิ่งยากที่จะตรวจให้เสร็จทันก่อนจะหมดเวลาถอนรายวิชาของนักศึกษา ผมเข้าใจตรงนี้ครับ และผมก็เห็นใจเพราะอาจารย์คนเดียวไม่สามารถตรวจได้หมดและทันเวลาได้ แต่เวลาอาจารย์ถามว่า "เอาข้อเขียนหรือข้อกาดี" ทุกคนตอบพร้อมกัน "ข้อกา" คือผมสงสัยมากๆ ทำไมไม่เลือกข้อเขียน ข้อเขียนวัดอะไรได้หลายๆอย่าง และเมื่ออาจารย์ถามแบบนี้ท่านต้องมั่นใจแล้วว่าถ้าออกข้อเขียนสามารถตรวจได้ แต่ที่มาถามคือการขอความคิดเห็น ผมไม่รู้ว่าหมาวิทยาลัยอื่นเป็นอย่างไร แต่ที่ผมเรียนผมอยากได้ข้อเขียนแบบของเพื่อนผมที่เรียนมหาวิทยาลัยอื่นๆบ้าง
การสอบข้อเขียนวัดความรู้ว่า เด็กแต่ละคนเข้าใจในสิ่งที่ครูสอนได้มากแค่ไหน จำได้ และประยุกต์ใช้ได้มากน้อยเพียงใด ส่วนการสอบแบบตัวเลือก ก็เป็นการวัดไหวพริบของเด็กได้ดีว่า คำตอบไหนคือของจริง มันแตกต่างกัน แต่ในบางรายวิชาข้อเขียนคือคำตอบที่ดีที่สุดที่จะออกเป็นข้อสอบให้เด็กทำ
ตอนปีแรกที่ผมเข้าศึกษา ไม่เจอข้อเขียนเลยสักวิชาเดียว แต่เพื่อนผมที่เรียนมหาวิทยาลัยอื่นบอกว่า "โหยดีว่ะ นี่เจอแต่ข้อเขียน เน้นๆ เพียวๆ มั่วไม่ได้" ผมก็ไปถามรุ่นพี่ พี่เขาก็บอกว่า "ปีหนึ่งเบาๆไปก่อน เดี๋ยวปีสอง และต่อๆไปรู้เลย" ผมก็รอจนถึงวันที่ผมเรียนปีสอง ซึ่งคือปีนี้สอบกลางภาคเพิ่งผ่านมาไม่ได้ ผมได้เจอข้อเขียนเพียง 6 ข้อเท่านั้น ซึ่งผมผิดหวังมาก ผมอยากได้ข้อเขียน วิชาแรก 4 ข้อ แม้4 ข้อนั้นผมจะทำไม่ได้เลย 1 ข้อ และอีก 3 ข้อ คือความเข้าใจที่ผมเขียนส่งอาจารย์ ผมไม่มั่นใจ แต่ผมกลับสนุกกว่ามาก อีกหนึ่งวิชามี 2 ข้อ อันนี้ยากจริงๆครับ ผมพูดเลยว่ายากมาก แต่ผมสนุกที่สุด เพราะต้องนั่งคิดหัวแทบแตกว่าจะเขียนอะไรที่มันเข้ากับที่อาจารย์ต้องการ กระชับ สั้น ได้ใจความ ไม่เวิ่นเว้อ แถมตรงกับเนื้อหาที่ถูกต้อง นั่งคิดทบทวนสิ่งที่เรียนมาแล้วเขียนลงไป ยากแต่สนุกครับ
ตั้งแต่ผมเรียนหนังสือมา ผมทำข้อสอบข้อกาถึงแค่ประถมศึกษาที่หก หลังจากนั้นผมจะเจอข้อกาผสมข้อเขียนทุกวิชา และข้อเขียนจะหนักมากที่สุดตั้งแต่มัธยมต้นถึงปลาย อาจจะเพราะความเคยชินที่ผมเรียนในโรงเรียนเอกชนตอนมัธยมต้น ที่ข้อสอบจะมีข้อเขียนทุกวิชา ย้ำนะครับ ทุกวิชาจริงๆ อย่างน้อยก็หนึ่งข้อ และเป็นอะไรที่ยากมาก ผมก็สนุก พอขึ้นมัธยมปลายผมจะเจออย่างน้อย 6 วิชา ที่มีข้อเขียนเยอะข้อกาเล็กน้อย และ 1 วิชา ที่เขียนล้วนๆ เป็นเพราะผมเรียนสายวิทย์ด้วย อาจารย์ฝั่งวิทย์ก็จัดเต็มข้อเขียนเลยครับ ผมเลยชินข้อเขียนโดยเฉพาะวิชาตัวเลข
ผมไม่ได้พูดว่าคนทำข้อกา คือคนที่หวังคะแนนฟรีที่ตัวเองเดาได้ เพราะผมก็หวังมันเหมือนกัน แต่ผมก็คิดนะครับ อายุก็ไม่ใช่ 15-16 ปี เรียนก็เรียนกันระดับนี้แล้ว แต่ทำไมไม่อยากสอบข้อเขียนกัน? ทั้งๆที่ตอนสอบจบ เขียนล้วนๆไม่มีข้อกาผสม ไม่ฝึกตอนนี้แล้วจะฝึกตอนที่สอบจบทีเดียว? ทำไมไม่ฝึกตั้งแต่ความยากระดับน้อยๆถึงปานกลางไปก่อน จะรอแบบยากจัดหนักทีเดียวแล้วมาบ่นโอดโอยหลังสอบเสร็จว่า "ยาก(เซ็นเซอร์)เลย ทำไมข้อสอบยากงี้วะ" บางคนก็บอกว่า "ก็แกรมม่ามันไม่เป๊ะนี่ คนไทยนะเว้ย" ผมก็แปลกใจเพราะแกรมม่าไม่เป๊ะเลยไม่กล้าเขียน? แต่คุณสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่สอนด้วยหลักสูตรนานาชาติ เรียนเป็นภาษาอังกฤษ ใช้ภาษาอังกฤษหมด มีนักศึกษาต่างชาติเรียนด้วย คุณบอกว่า "อยากฝึกภาษา" แต่คุณไม่กล้าเขียนเพียงเพราะแกรมม่าไม่เป๊ะ ผมก็งงนะครับ เรื่องพูด เรื่องอ่าน เรื่องแปลตัดออกไปได้เลย ที่จะหาเจอ ถ้าไม่ใช่เด็กอิ๊งตรง หรือเด็กจีนที่แทบไม่พูดภาษาไทยกันเลย หนีห่าว บลาๆ กันเต็มที่ แล้วผมจะไม่งงเลยกับคำตอบที่ว่าแกรมม่าไม่เป๊ะ เพราะอาจารย์ทุกวิชายกเว้นภาษาอังกฤษบอกเสมอว่า "แกรมม่าอาจารย์ยังไม่เคร่งเท่าไหร่นะคะ อยากให้ฝึกกันเพราะเราเรียนเป็นภาษาอังกฤษ เอาที่อาจารย์อ่านเข้าใจหรืออาจารย์จะพยายามเข้าใจแล้วกัน" แบบนี้น่ะครับ
ผมน่ะเรียนไม่เก่งหรอกครับ ถึงขั้นห่วยเลยด้วย ภาษาอังกฤษก็ง่อยมากๆ แต่ก็พยายามฝึก ผมไม่เก่งเรื่องการจำก็พยายามทำความเข้าใจในห้องเรียนเวลาอาจารย์สอน แล้วก็ทบทวนในสิ่งที่เรียนมา แต่ผมก็อยากได้ข้อเขียนในวิชาที่มันต้องคิดแล้วเขียนตามที่เราเข้าใจและตรงตามที่อาจารย์ต้องการ เขียนในภาษาของเราไม่ใช่จำมาแล้วเขียนทั้งดุ้น
ผมขอถามทุกท่านนะครับ จะเลือกสอบแบบไหนระหว่างข้อเขียน หรือมีตัวเลือก เพราะอะไรครับ
ปล.มหาวิทยาลัยที่ผมเรียนเป็นหลักสูตรนานาชาติครับ ใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด
ปล2. ผมไม่ได้อคติแต่อย่างใด เพียงแต่ผมสงสัยว่า "ช่วงเรียน ช่วงสอบไม่อยากจะเจอข้อเขียนหน่อยเลยหรือ?"
แท็ก มหาวิทยาลัย การเรียน การศึกษา เพราะเกี่ยวกับการสอบในมหาวิทยาลัย
แท็ก ภาษาต่างประเทศ ภาษาอังกฤษ เพราะผมเรียนเป็นภาษาอังกฤษครับ
[พูดคุยแสดงความคิดเห็นกันครับ] การสอบในระดับอุดมศึกษา ระหว่างข้อเขียน กับมีตัวเลือก คุณจะเลือกอย่างไหน
ผมมีความรู้สึกสงสัยมากๆครับ และเป็นมานานแล้ว เวลาทำข้อสอบระดับมหาวิทยาลัยนี่ทำไมนักศึกษาส่วนใหญ่ถึงชอบคำตอบแบบมีตัวเลือกมากกว่าข้อเขียน ผมพยายามถามเพื่อนหรือคนรอบข้างเขาก็ตอบกันว่า "เดาง่าย โอกาศได้คะแนนเยอะกว่านะเว้ย" ผมไม่เข้าใจครับ ทำไมถึงคิดกันแบบนี้ ผมไม่ใช่คนเรียนเก่งครับ สอบออกมาก็ตกมีนตลอด คะแนนงานหรือสอบย่อยก็ตก แต่ผมก็ยังอยากหวังให้อาจารย์ออกสอบแบบข้อเขียน แม้จะเป็นข้อสอบที่ยากมากๆ กว่าเราจะกลั่นข้อความออกมาได้ แต่ผมกลับรู้สึกสนุกมากกว่าให้นั่งฝน เพราะเป็นการจัดการความคิดที่ได้ร่ำเรียนมาทั้งหมดใส่เป็นคำพูดของเราที่อยากจะสื่อให้อาจารย์เห็น แม้คำถามแต่ละข้ออาจารย์จะวางคำตอบเอาไว้แล้ว แต่ผมก็ชอบที่ใส่คำตอบในแบบของผม ไม่ว่าจะเป็นการอธิบายในทฤษฏีที่ตรงตามที่โจทย์ต้องการ การยกตัวอย่างให้อาจารย์เห็นว่า ข้อนี้ตรงกับสิ่งนี้ ผมเรียนแล้วผมเข้าแบบนี้ อยากให้อาจารย์รู้ว่าผมเข้าใจระดับไหน
ผมรู้ครับว่านักศึกษา 200 กว่าคนต่อหนึ่งเซค และอาจารย์แต่ละท่านสอนมากกว่าหนึ่งเซค ต้องเจอความยากลำบากในการตรวจข้อสอบแบบข้อเขียน ยิ่งเป็นสอบกลางภาพด้วยแล้วยิ่งยากที่จะตรวจให้เสร็จทันก่อนจะหมดเวลาถอนรายวิชาของนักศึกษา ผมเข้าใจตรงนี้ครับ และผมก็เห็นใจเพราะอาจารย์คนเดียวไม่สามารถตรวจได้หมดและทันเวลาได้ แต่เวลาอาจารย์ถามว่า "เอาข้อเขียนหรือข้อกาดี" ทุกคนตอบพร้อมกัน "ข้อกา" คือผมสงสัยมากๆ ทำไมไม่เลือกข้อเขียน ข้อเขียนวัดอะไรได้หลายๆอย่าง และเมื่ออาจารย์ถามแบบนี้ท่านต้องมั่นใจแล้วว่าถ้าออกข้อเขียนสามารถตรวจได้ แต่ที่มาถามคือการขอความคิดเห็น ผมไม่รู้ว่าหมาวิทยาลัยอื่นเป็นอย่างไร แต่ที่ผมเรียนผมอยากได้ข้อเขียนแบบของเพื่อนผมที่เรียนมหาวิทยาลัยอื่นๆบ้าง
การสอบข้อเขียนวัดความรู้ว่า เด็กแต่ละคนเข้าใจในสิ่งที่ครูสอนได้มากแค่ไหน จำได้ และประยุกต์ใช้ได้มากน้อยเพียงใด ส่วนการสอบแบบตัวเลือก ก็เป็นการวัดไหวพริบของเด็กได้ดีว่า คำตอบไหนคือของจริง มันแตกต่างกัน แต่ในบางรายวิชาข้อเขียนคือคำตอบที่ดีที่สุดที่จะออกเป็นข้อสอบให้เด็กทำ
ตอนปีแรกที่ผมเข้าศึกษา ไม่เจอข้อเขียนเลยสักวิชาเดียว แต่เพื่อนผมที่เรียนมหาวิทยาลัยอื่นบอกว่า "โหยดีว่ะ นี่เจอแต่ข้อเขียน เน้นๆ เพียวๆ มั่วไม่ได้" ผมก็ไปถามรุ่นพี่ พี่เขาก็บอกว่า "ปีหนึ่งเบาๆไปก่อน เดี๋ยวปีสอง และต่อๆไปรู้เลย" ผมก็รอจนถึงวันที่ผมเรียนปีสอง ซึ่งคือปีนี้สอบกลางภาคเพิ่งผ่านมาไม่ได้ ผมได้เจอข้อเขียนเพียง 6 ข้อเท่านั้น ซึ่งผมผิดหวังมาก ผมอยากได้ข้อเขียน วิชาแรก 4 ข้อ แม้4 ข้อนั้นผมจะทำไม่ได้เลย 1 ข้อ และอีก 3 ข้อ คือความเข้าใจที่ผมเขียนส่งอาจารย์ ผมไม่มั่นใจ แต่ผมกลับสนุกกว่ามาก อีกหนึ่งวิชามี 2 ข้อ อันนี้ยากจริงๆครับ ผมพูดเลยว่ายากมาก แต่ผมสนุกที่สุด เพราะต้องนั่งคิดหัวแทบแตกว่าจะเขียนอะไรที่มันเข้ากับที่อาจารย์ต้องการ กระชับ สั้น ได้ใจความ ไม่เวิ่นเว้อ แถมตรงกับเนื้อหาที่ถูกต้อง นั่งคิดทบทวนสิ่งที่เรียนมาแล้วเขียนลงไป ยากแต่สนุกครับ
ตั้งแต่ผมเรียนหนังสือมา ผมทำข้อสอบข้อกาถึงแค่ประถมศึกษาที่หก หลังจากนั้นผมจะเจอข้อกาผสมข้อเขียนทุกวิชา และข้อเขียนจะหนักมากที่สุดตั้งแต่มัธยมต้นถึงปลาย อาจจะเพราะความเคยชินที่ผมเรียนในโรงเรียนเอกชนตอนมัธยมต้น ที่ข้อสอบจะมีข้อเขียนทุกวิชา ย้ำนะครับ ทุกวิชาจริงๆ อย่างน้อยก็หนึ่งข้อ และเป็นอะไรที่ยากมาก ผมก็สนุก พอขึ้นมัธยมปลายผมจะเจออย่างน้อย 6 วิชา ที่มีข้อเขียนเยอะข้อกาเล็กน้อย และ 1 วิชา ที่เขียนล้วนๆ เป็นเพราะผมเรียนสายวิทย์ด้วย อาจารย์ฝั่งวิทย์ก็จัดเต็มข้อเขียนเลยครับ ผมเลยชินข้อเขียนโดยเฉพาะวิชาตัวเลข
ผมไม่ได้พูดว่าคนทำข้อกา คือคนที่หวังคะแนนฟรีที่ตัวเองเดาได้ เพราะผมก็หวังมันเหมือนกัน แต่ผมก็คิดนะครับ อายุก็ไม่ใช่ 15-16 ปี เรียนก็เรียนกันระดับนี้แล้ว แต่ทำไมไม่อยากสอบข้อเขียนกัน? ทั้งๆที่ตอนสอบจบ เขียนล้วนๆไม่มีข้อกาผสม ไม่ฝึกตอนนี้แล้วจะฝึกตอนที่สอบจบทีเดียว? ทำไมไม่ฝึกตั้งแต่ความยากระดับน้อยๆถึงปานกลางไปก่อน จะรอแบบยากจัดหนักทีเดียวแล้วมาบ่นโอดโอยหลังสอบเสร็จว่า "ยาก(เซ็นเซอร์)เลย ทำไมข้อสอบยากงี้วะ" บางคนก็บอกว่า "ก็แกรมม่ามันไม่เป๊ะนี่ คนไทยนะเว้ย" ผมก็แปลกใจเพราะแกรมม่าไม่เป๊ะเลยไม่กล้าเขียน? แต่คุณสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่สอนด้วยหลักสูตรนานาชาติ เรียนเป็นภาษาอังกฤษ ใช้ภาษาอังกฤษหมด มีนักศึกษาต่างชาติเรียนด้วย คุณบอกว่า "อยากฝึกภาษา" แต่คุณไม่กล้าเขียนเพียงเพราะแกรมม่าไม่เป๊ะ ผมก็งงนะครับ เรื่องพูด เรื่องอ่าน เรื่องแปลตัดออกไปได้เลย ที่จะหาเจอ ถ้าไม่ใช่เด็กอิ๊งตรง หรือเด็กจีนที่แทบไม่พูดภาษาไทยกันเลย หนีห่าว บลาๆ กันเต็มที่ แล้วผมจะไม่งงเลยกับคำตอบที่ว่าแกรมม่าไม่เป๊ะ เพราะอาจารย์ทุกวิชายกเว้นภาษาอังกฤษบอกเสมอว่า "แกรมม่าอาจารย์ยังไม่เคร่งเท่าไหร่นะคะ อยากให้ฝึกกันเพราะเราเรียนเป็นภาษาอังกฤษ เอาที่อาจารย์อ่านเข้าใจหรืออาจารย์จะพยายามเข้าใจแล้วกัน" แบบนี้น่ะครับ
ผมน่ะเรียนไม่เก่งหรอกครับ ถึงขั้นห่วยเลยด้วย ภาษาอังกฤษก็ง่อยมากๆ แต่ก็พยายามฝึก ผมไม่เก่งเรื่องการจำก็พยายามทำความเข้าใจในห้องเรียนเวลาอาจารย์สอน แล้วก็ทบทวนในสิ่งที่เรียนมา แต่ผมก็อยากได้ข้อเขียนในวิชาที่มันต้องคิดแล้วเขียนตามที่เราเข้าใจและตรงตามที่อาจารย์ต้องการ เขียนในภาษาของเราไม่ใช่จำมาแล้วเขียนทั้งดุ้น
ผมขอถามทุกท่านนะครับ จะเลือกสอบแบบไหนระหว่างข้อเขียน หรือมีตัวเลือก เพราะอะไรครับ
ปล.มหาวิทยาลัยที่ผมเรียนเป็นหลักสูตรนานาชาติครับ ใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด
ปล2. ผมไม่ได้อคติแต่อย่างใด เพียงแต่ผมสงสัยว่า "ช่วงเรียน ช่วงสอบไม่อยากจะเจอข้อเขียนหน่อยเลยหรือ?"
แท็ก มหาวิทยาลัย การเรียน การศึกษา เพราะเกี่ยวกับการสอบในมหาวิทยาลัย
แท็ก ภาษาต่างประเทศ ภาษาอังกฤษ เพราะผมเรียนเป็นภาษาอังกฤษครับ