คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
การศึกษาในอดีตนั้นไม่ปรากฏว่ามีวิชาสังคมศึกษาที่มีการจัดวิชาเป็นเอกเทศดังเช่นปัจจุบัน แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าไม่มีการจัดการเรียนการสอนความรู้ที่เกี่ยวเนื่องดังกล่าว หากแต่มีการจัดแทรกอยู่ในวิชาต่างๆ ที่อาจกล่าวได้ว่ามีปริมาณมากและเข้มแข็งกว่าปัจจุบัน ดังคำกล่าวของ Sir John Bowring ที่ว่า “... พระได้รับมอบหมายให้จัดการศึกษา และโรงเรียนอยู่ติดกับวัดโดยมาก ย่อมเป็นของธรรมดาอยู่เองที่การสอน ให้รู้คำสั่งสอน และประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา เป็นส่วนสำคัญมากของระบบการศึกษา ...” ต่อเมื่อเวลาผ่านไปจึงเริ่มมีการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาอย่างมีแบบแผน พัฒนากลายเป็นหลักสูตรสังคมศึกษา มีขอบเขตเนื้อหากว้างขึ้น ตลอดจนมีวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น..
๑. บอกเป็นหนังสือให้ไปศึกษาแทนได้หรือไม่ ไม่อยากให้ไฟล์ไป อยากให้เรียนรู้ด้วยตนเอง
๒. เรียนหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใช้ประเด็น "หลักสูตรสังคมศึกษา" เป็นสื่อ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรสังคมศึกษาในแต่ละช่วงเวลา ยกตัวอย่างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ จะมี ๓ ช่วงสำคัญคือ (๑) การเปลี่ยนจากหลักสูตร ๒๕๔๔ (๒) แยกรายวิชาประวัติศาสตร์ (๓) แยกรายวิชาหน้าที่พลเมือง
๓. สังคมศึกษามาจากสังคมศาสตร์ ดังนั้นเก็บรายละเอียดให้ครอบคลุม บางตัวเป็นสังคมศึกษาแต่ถูกแยกไปเป็นสาระเพิ่มเติม เช่น อาเซียนศึกษา
๑. บอกเป็นหนังสือให้ไปศึกษาแทนได้หรือไม่ ไม่อยากให้ไฟล์ไป อยากให้เรียนรู้ด้วยตนเอง
๒. เรียนหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใช้ประเด็น "หลักสูตรสังคมศึกษา" เป็นสื่อ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรสังคมศึกษาในแต่ละช่วงเวลา ยกตัวอย่างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ จะมี ๓ ช่วงสำคัญคือ (๑) การเปลี่ยนจากหลักสูตร ๒๕๔๔ (๒) แยกรายวิชาประวัติศาสตร์ (๓) แยกรายวิชาหน้าที่พลเมือง
๓. สังคมศึกษามาจากสังคมศาสตร์ ดังนั้นเก็บรายละเอียดให้ครอบคลุม บางตัวเป็นสังคมศึกษาแต่ถูกแยกไปเป็นสาระเพิ่มเติม เช่น อาเซียนศึกษา
แสดงความคิดเห็น
ใครพอตอบได้มั้ง ? หลักสูตรวิชาสังคมศึกษาของไทยในอดีต - ปัจจุบัน มีความเป็นมาอย่างไร