ไปเรียน Strom Academy Adventure course มาครับ อยากเล่า อะ อยากเล่า

กระทู้สนทนา
ผมเคยมาเล่าเรื่องไปเรียนที่ต่าง ๆ มาหลายที่ ส่วนนึงที่เขียนเพื่ออยากให้เพื่อนไปลงเรียนกันไม่คอร์สใดก็คอร์สนึง มันช่วยลดอุบัติเหตุลงไปได้อีกมากโข ส่วนคราวนี้ไปเรียน Adventure course กับ www.stormclub.com แล้วรู้สึก "วิถีการขี่เปลี่ยน" เลยอยากเอาเล่าให้สู่กันฟังครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

      สิ่งที่ผมจะเล่าไม่ใช่เพื่อเป็นการยกเนื้อหาใน course มาเขียนนะครับ เพราะ ผมเชื่อว่าคุณจะอ่านที่ผมเขียนเข้าใจ แต่ผมเชื่อว่าร่างกายคุณจะไม่เข้าใจครับ ดังนั่นคุณก็เอาไปใช้จริงไม่ได้อยู่ดีครับ

      ถ้าคุณอ่านแล้วรู้สึกเนื้อหาน่าสนใจ แนะนำว่าให้หาโอกาศลงเรียนคอร์สนี่ครับ เพราะคุณจะเรียนรู้ผ่านร่างกายโดยการเขี้ยวเข็ญ แกมบังคับจากทีมครู และสิ่งที่ผมเขียนอาจเป็นเรื่องเก่าที่หลายคน รู้อยู่แล้ว แต่มันใหม่สำหรับผม เพราะฉะนั่นอย่าว่ากันนะ



คอร์สนี่เหมาะกับใคร????

1.รถแนวทรงสูง ๆ ครับ เช่น GS Versys V-strom Tenere KTM ADV CB500x ควรติด Skid plate ก่อนไปเรียน ครุดท้องกันทั่วหน้า แต่สำหรับ พวก KLX CRF วิบากแท้ ๆ อาจไม่ชอบ เพราะไม่ได้สอนให้ขี่เร็ว แต่สอนให้ขี่รอดไปให้ได้

2.อยากลุย อยากไปมันทุกที่ ถ้าคุณจะมาคอร์สนี่แล้วเสียดายรถ คือ ยอมไม่ได้ถ้ารถจะต้องมีการล้ม นิดหน่อยก็ไม่ได้ อย่ามาครับ เพราะล้มเกือบทุกคน แต่ผมเชื่อว่าคนที่ชอบลุยจะชินกับรถล้มแปะ ลื่นแปะเป็นปกติอยู่แล้ว ครั้งนี้ผมว่า 90% ของคนที่มาเรียนจับกบกันหมด ผมจับไป 4 ตัว แต่ส่วนใหญ่เป็นแค่ล้มแปะบนหญ้า แล้วก็สละยานซะส่วนใหญ่ครับ เพราะฉะนั่นถ้าไม่ลำบากเกินไป กันล้มติดก่อนมานะครับ ยิ่งเครื่อง boxer ครูดไปอาจช้ำใจ

3.คอร์สนี้ไม่เน้นเร็ว ไม่มีโดดเนิน ไม่มีท้ายสไลด์ เป็น style รถถัง แน่นๆ ค่อยเคลื่อนที่ไปข้างหนัา คิดภาพ 1200GS ไว้ครับ ตัวอ้วน ๆ แน่น ถึก ถึก ถึก ไปเรื่อย ๆ

เนื้อหาสอนอะไร????
      หลัก ๆ คือ การเอาตัวรอดไปให้ได้ทุกที่ คอร์สนี้ไม่เน้นขี่เร็วเลย แต่ขี่ไปให้รอดให้ได้ นั่น คือ หัวใจหลักของคอร์ส  หลาย ๆ วิธีที่ครูสอน บอกเลยว่าโคตรไม่แมน เพื่อนเห็นเพื่อนล่อว่า "ตุ๊ดหวะ" แน่ ๆ แต่มันคือ วิธีที่มันทำให้รอดไปได้อย่างปลอดภัยจริง ๆ เช่น เนินดินชัน ๆ ลงไม่ไหว ใส่เกียร์ไว้  ดับเครื่องเลย แล้วค่อยปล่อยคลัชกระดึบ ๆ ลงมา


ตอนเช้า
ขับขี่ปกติ เหมือนคอร์สทั่ว ๆ ไป วนกรวย ซิกแซก วิธีเบรคให้หยุด

แต่ที่แปลกสำหรับผม คือ
1.เรื่องเบรค อันนี้เน้นแปลกกว่าที่อื่นที่ผมเคยเรียน ปกติเบรคที่เคยเรียนส่วนใหญ่ คือ Engine break > change gear > Break เริ่มเบรคตรงเส้นนี้ แล้วให้หยุดให้ได้ "ใกล้ที่สุด"  แต่คราวนี้ ไม่ให้ change gear ใช้เบรคอย่างเดียวเท่านั่น และ เริ่มเบรคตรงไหนก็ได้ แต่ต้องให้หยุด "พอดีเส้น" เพื่อให้เรารู้ประสิทธิภาพเบรค และ ดูจังหวะถีบออกของ ABS ของรถเรา  รถมี ABS ให้กำให้สุดอย่าปล่อย เพื่อให้ ABS ทำงาน ครูบอกว่า เบรคแต่ละคันไม่เหมือนกันเลย แม้แต่รถเราเองเปลี่ยนผ้าเบรคใหม่ ๆ ก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั่น หาโอกาศลองบางก็ดีนะครับ

2.เลี้ยงคลัช (ครูเรียกการตัดกำลังเครื่อง ) เลี้ยงกันแบบจริงจัง แบบสุดสนามเลย หลายรอบด้วย เลี้ยงให้ช้าที่สุด โดยใช้เบรคช่วยคุมความเร็วไปด้วย ตอนแรกรู้สึกไร้สาระมากกกก อะไรนี่กูมาเรียนข้บขี่ปลอดภัย Ap Honda ป่าวหวะ เหมือนตอนขี่ขึ้นไม้กระดานทรงตัวอะ แต่เดียวตอนบ่ายรู้เลยว่า มันไม่เกี่ยวกับการทรงตัว แต่มันใช้เยอะสุดๆๆๆๆ ในการขี่ และเปลี่ยนวิถีการขี่ที่ผมเคยเรียนมาเลย
      ปกติ เวลาไปเรียนหลายที่ โดนตะโกนบอกตลอดว่า อย่ากำคลัช เอามือออกจากคลัช  เรียกว่าใช้คลัชเฉพาะตอนเปลี่ยนเกียร์เลย แต่อันนี้ตอนบ่ายนี่มือซ้ายสนิทกับคลัชเลย

ส่วนอื่นก็เหมือน ๆ กันครับ วนกรวย ตามองทางออก ใช้ตัวเลี้ยว อ่อ อ่อ แต่มีอีกอัน

3.ขาหนีบถัง ที่อื่นก็ให้หนีบนะ แต่ผมรู้สึกเฉย ๆ อะ ไม่ค่อยเห็นประโยชน์  แต่คอร์สนี้หนีบจริงจังมาก คาดว่ามีคนถังบุบ  และช่วงบ่ายจะเข้าใจหละว่ามันหนีบทำไม บ่าย ๆ ผมนี่หนีบแน่นหนึบเลย และอีกอย่างที่เน้นมาก ๆ คือ ท่อนบนต้องปล่อยที่สุด ห้ามเกร็งเลย ถ้าเริ่มเกร็งต้องรีบคลาย แต่ห้ามคลายขาหนีบถังนะ เรียกว่า ให้ถ่ายพลังลมปราณลงช่วงล่างให้หมด ช่วงบนช่วยแค่แตะรถจริง ๆ

ช่วงเช้าจบแบบ ชิว ๆ 555 กูเคยเรียนมาเยอะ สบ๊าย ๆ ครูชมว่าขี่เยี่ยม เก่ง ๆ กิ๊ว ๆ (แต่เดียวมาเจอช่วงบ่ายหงอยเลย กลายเป็นเด็กท้ายห้องเลย 5555)


ระหว่างพัก ได้นั่งฟังประสบการณ์ดี ๆ ที่มีค่ามาก เชื่อเถอะว่าต่อให้คุณขี่จนแก่ อาจจะไม่เคยได้เจอเรื่องพวกนี้ เนื่องจากมี ครู 2 ท่าน พึ่งขี่กลับมาจาก London ครับ ใช่ครับ ขี่จาก London มาไทย (ถ้าผมจำไม่ผิด 20000 โล 3 เดือนนะ) เล่าประสบการณ์  อะไรที่ทำให้เกิดอุบัตเหตุ อุทาหรณ์ ต่าง ๆ แม้แต่วิธีการจัดแพ็คของลงปิ๊บ บางเรื่องอาจรู้สึกไกลตัว แต่ฟังแล้วเพลิดเพลินครับ อย่างน้อยก็เคยได้ยิน ถึงจะไม่ได้ใช้ก็เถอะ แต่ที่สำคัญเลย คือ
"เป้าหมาย คือ การขี่ให้ถึง ไม่ใช้ขี่ได้เร็ว"



ตอนบ่าย  
ครูเริ่มจาก ถามความสมัครใจ ว่าใครไม่อยากไปทางดินก็ได้นะ พอทุกคนตกลงปลงใจ ครูก็ยิ้มมุมปาก หึ หึ เหมือนประมาณ "อะ อะ สมัครใจเองน๊าาาา"
(ถ้าสิ่งที่ผมเขียนไม่ตรงกับหลักที่เคยได้ยินมา คงไม่ใช่เพราะมันผิดนะครับ แต่เป็นเพราะการขับขี่คนละแบบมากกว่า)

หลักๆ ของการเรียนลงทางดินในวันนี้ คือ การยืนขี่ครับ

ทำไมต้องยืน???
-ดูเท่ห์กว่านั่งขี่มาก ๆ (อันนี้ ขำ ๆ นะ)
-เห็นระยะได้ไกลกว่า เห็นอุปสรรคได้ล่วงหน้า
-รับแรกกระแทกได้มากขึ้น (ใช้ขาเหมือนเป็นโช็ค)
-ถ้าจะล้ม สละยานได้ง่ายกว่า ไม่งั้นมีสิทธิโดนรถทับขาครับ

พอยืนแล้วทุกอย่างที่เคยเรียนๆ มาหายหมด เลี้ยวยากมาก counter steering Hang on Lean in อะไรใช้ไม่ได้ โยนก้น เอียงรถสะจนแขนเกร็ง ก็ไม่เวิร์ค

ต่อไปเป็นสิ่งที่ ครูสอนครับ
เรื่องเดิมเลยครับ คือ ขาหนีบถังแน่น ๆ เลยนะ และภาระต้องไม่ไปลงแขน แขนไม่เกี่ยวแค่แตะไว้ ถ้ารู้สึกว่าพยายามใช้แขนบังคับ ให้รีบผ่อนแล้วมาโฟกัสที่ขาแทน (แล้วเลี้ยวไงหวะ) ใช้เท้าเหยียบกดลงที่พักเท้าครับ เลี้ยวขวาเหยียบลงขวาหนัก อย่าลืมขาหนีบถังแน่น ๆ แขนห้ามขืนปล่อยสบายๆ เห้ย! อย่าลืมหนีบถังดิ (ใครเคยดู Twist of the Wrist by Keith Code จะมีช่วงนึง Keith โชว์ว่าเหยียบยังไงรถก็ไม่เลี้ยวมันต้อง counter steering แต่อันนี้คนละม้วนกันเลยครับ)


ความรู้สึกแรก คือ มันวูบม้วนไปเลย เลี้ยววนม้วนได้วงแคบกว่าแบบนั่งอีก แต่มันวูบเหมือนจะล้ม และแล้ว ผมก็ล้มแปะ 555 ฉลองกบตัวแรก แต่ต่อมาก็สิ่งที่แก้ให้ ก็คือ "การหนีบถัง" และ อีกอย่าง คือ . . . "การประคองคลัช+เบรคหลัง" นั่นแหละครับ



ขี่วนบนหญ้าในสนามกันไปเรื่อย ๆ ตาม ครูไปชิว ๆ สักพัก วิ่งพลูด เลื่อยขึ้นสันดิน มันไม่ใช้เนิน มันคือสันดินอะครับ คือ มันไม่ใช่ทางให้รถวิ่งอะ

สักพักวนไปวนมา ก็ขี่พรวดลงสันดินเฉยเลย รอบแรกผมหวิว ๆ แต่รอด ส่วนรอบสอง ตามหลักที่เคยเรียนมาก่อนหน้านู่น คือ ลงเขาอย่ากำคลัชให้ใช้ Engine break ช่วย คราวนี้ไม่ใช่ครับ ผมลงมาตามความรู้แบบเก่า มือปล่อยคลัช ค่อยๆ หย่อนลง สักพัก ดับครับ ล้มพับคาเนินเลย จริงๆแล้วสิ่งที่ต้องทำ คือ ประครองคลัชครับ ซึ่งมัน คือ สิ่งที่ครูเน้นเมื่อเช้า แล้วผมคิดว่าไร้สาระเมื่อเช้านั่นแหละ


หลังจากนั่น ขี่วนรอบเข้ารกเข้าพงทั้งงาน สักพักฝนตกลื่นล้มกันครบถ้วนหน้า จากตอนเช้าพยายามขี่ตามไลน์เพื่อนที่ตะกุยหญ้าไว้ให้ พอฝนตก ขี่หลบไลน์เพื่อนกันใหญ่ เพราะไลน์ที่ตระกุยเป็นดินแล้วจะลื่นสุดๆ แต่สิ่งที่ยังไม่ขาดหายไปก็ คือ การควบคุมคลัช และหนีบถัง พร้อมเหยียบกดเพื่อเลี้ยว



หลัก ๆ ที่ได้จากคอร์สนี้ ก็ประมาณนี้ครับ + เกร็ดความรู้เยอะแยะ จนเขียนไม่หมด

สนใจก็เล็งดี ๆ นะครับ เป็นคอร์สค่อนข้าง rare หายาก นานๆ โผล่มาทีครับ สนนราคา 3500 ครับ ครูและทีมงานเยอะจนแทบจะเรียกว่าประกบ 1 ต่อ 1 เลยครับ ส่วนตัวคิดว่าค่อนข้างแพงสำหรับมือใหม่ๆขี่ทั่วไป แต่คุ้มค่าสำหรับคนรัก Adventure ชอบท่องเที่ยวครับ และคอร์สนี้ไม่เน้นขี่เร็วแบบ Motocross แต่เน้นขี่รอดให้ถึงเป้าหมาย ครูเลยฝากไว้ว่า เห็นทางรกๆ อุปสรรคแยะ ๆ  ก็ขี่อ้อมไปเถอะ ไม่ต้องขี่มันทางอย่างเนี่ย (ทางแบบที่เรียนวันนี้) 555 แต่ถ้าจะไป ให้ไปกับเพื่อนๆ นะครับ ได้ล้ม ได้ลื่น เพื่อนช่วยลากแน่นอนคร้บ
ขอบคุณสำหรับรูปจากเพื่อนๆ พี่ๆ และทีมครูครับ

"เป้าหมายเรา คือ การขี่ไปให้ถึงที่หมาย"
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่