เคยตั้งกระทู้เรื่องนี้ไว้เมื่อนานมาแล้ว นานๆ เข้ามาห้องนี้ เห็นมีคนถามเรื่องมีบุตรยากอยู่เรื่อยๆ เลยเอามาให้อ่านนะคะ น่าจะมีประโยชน์กับคนที่ต้องการข้อมูลเรื่องนี้
เราเป็นคนนึงที่เป็นผู้มีบุตรยาก หลังจากนับวันนับเดือนตามตำราแล้วไม่ประสบความสำเร็จซะที ก็เลยคิดว่าต้องปรึกษาหมอให้เป็นเรื่องเป็นราว รักษาอยู่เกือบ 2 ปีต่อเนื่อง หา 3 หมอ ทั้งหมอแผนปัจจุบัน และหมอจีน (หมอแมะ) เรียกว่าตามแบบฉบับที่คนมีลูกยากเค้าทำกัน เราทำการฉีดเชื้อไปทั้งหมด 7 ครั้ง ผ่าตัดส่องกล้องเพื่อรักษาเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ ( หรือที่รู้จักกันดีว่าชอกโกแลตซีสต์ ) แล้วฉีดยาระงับการเติบโตของซีสต์อยู่ 6 เข็ม เดือนละเข็ม ( เข็มละ 10,000 บาท...อ่านว่าหนึ่งหมื่นบาท ! ) จนหมอนัดทำเด็กหลอดแก้ว แล้วโชคดีมาท้องเองซะก่อน และท้องที่สองก็ท้องเอง เรียกได้ว่าฝ่าฟันมาพอสมควร มีคนถามเราบ่อยมากว่ารักษาที่ไหน หาหมออะไร ทำอะไรไปบ้าง เจ็บมั๊ย เสียเงินเท่าไหร่ เพื่อนถามจนต้องเขียนโพยไว้ให้เพื่อนอ่านกันเลย 555
1. เมื่อไหร่ที่เรียกว่าเป็นผู้มีบุตรยาก
- คำตอบข้อนี้ต้องอ้างอิงกับคำจำกัดความทางการแพทย์ ที่เคยอ่านเจอก็คือ เมื่อคุณไม่ได้คุมกำเนิดแล้วยังไม่ตั้งครรภ์ภายใน 1 ปี แต่สำหรับเราคิดว่าเมื่อเราบอกกับตัวเองว่าพยายามมาระยะเวลานึงแล้วก็ไม่ต้องรอต่อไป ให้ไปปรึกษาหมอเลยดีกว่าค่ะ จะได้เช็คสุขภาพและความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ไปด้วย
2. ไปหาหมอที่ไหนดี
- เดี๋ยวนี้หมอรักษาเรื่องนี้มีเยอะมาก ราคาก็แตกต่างกันไป แนะนำให้เลือกที่เราสะดวกเดินทางไปและราคาที่เรารับได้ค่ะ จากประสบการณ์ ถ้าทำแค่ฉีดเชื้อ ราคาจะไม่ต่างกันมาก จะไปต่างกันมาก ๆ เมื่อทำ ICSI, IVF หรือ อะไรที่ขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อนแบบที่ต้องมีการเก็บไข่มาผสมกับเชื้อภายนอก แล้วใส่ตัวอ่อนกลับเข้าไปในมดลูก สำหรับการฉีดเชื้อ ถ้าทำการกระตุ้นไข่ด้วยการกินยาอย่างเดียว ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 3-5 พันบาท ถ้ากระตุ้นไข่ด้วยยาฉีด ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 1-1.3 หมื่นบาท บางที่ราคาอาจจะค่อนข้างถูกกว่าที่อื่น แต่คุณต้องเจอคนเยอะ คิวนาน อาจทำให้หงุดหงิด รับได้รึเปล่า อันนี้ต้องคิดเผื่อบ้าง เพราะต้องไปกันบ่อย บวกลบกับค่าเดินทาง ค่าเสียเวลาด้วย เอาเป็นว่าต้องถามราคาให้ละเอียดก่อนทำ
3. ไปหาหมอครั้งแรกเมื่อไหร่ดี
- อันที่จริงไปวันไหนก็ได้ แต่ถ้าถามเราว่าไปวันไหนแล้วได้เรื่องที่สุด เราขอตอบว่า ไปวันที่เป็นประจำเดือนวันที่สองหรือสาม วิธีนับคือ เห็นมี ปจด มาวันแรกก็นับเป็นวันที่หนึ่งเลย แล้วไปหาหมอวันที่สองหรือวันที่สาม ไม่ต้องตกใจว่า อ้าว...แล้วหมอเค้าตรวจ (ภายใน) แล้วมันจะไม่เลอะเทอะเยอะสิ่งเหรอ !!! คือหมอเค้าไม่ได้ตรวจภายในคุณวันแรกที่เจอกันอยู่แล้ว (อันนี้ตามประสบการณ์เรานะ) แต่เค้าจะเจาะเลือด ตรวจระดับฮอร์โมน ซึ่งจะขึ้นสูงในวันดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่พอจะเห็นภาพว่าทำไมคุณถึงมีบุตรยาก ถ้าคุณไปวันอื่นก็ไม่นับว่าเสียเที่ยวนัก อย่างน้อยก็คุยกับหมอถึงทิศทางสุขภาพ การดำเนินชีวิตของคุณว่ามีสาเหตุที่ทำให้มีบุตรยากรึเปล่า แล้วค่อยนัดมาเจาะเลือดตามวันที่เราว่าอีกทีค่ะ
4. ขอทางลัด ไหน ๆ ก็มีลูกยากแล้ว ไม่อยากเสียเวลารักษาอะไร แบบว่าเรื่องเงินไม่ใช่ปัญหาว่างั้นเถอะ ขอเลือกทำเด็ก หลอดแก้ว ประมาณพวก ICSI , IVF เลยได้มั๊ย
- อาจมีหลายคนคิดแบบนี้ ขอตอบว่า มีเพื่อนสนิทเราคนนึงเลือกทำแบบนี้และประสบความสำเร็จด้วย แต่ในความคิดเราคิดว่าเพื่อนคนนี้โชคดีมาก ซึ่งโอกาสแบบนี้อาจไม่เกิดได้ง่าย ๆ เพื่อนคนนี้ใส่ตัวอ่อนไป 3 สุดท้ายได้ลูก 1 คน แต่พอจะมีคนที่สองเอง ไม่สามารถมีได้ คาดว่าต้องพึ่ง ivf อีกครั้ง
จากประสบการณ์รักษาของเราเอง คิดว่าการค่อย ๆ รักษาไปโดยแก้ปัญหาที่สาเหตุ น่าจะเป็นเรื่องที่เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด เช่น การตรวจว่าเป็นซีสต์มั๊ย ถ้าเป็น ก็ทำการผ่าตัดออกเสียก่อน นั่นหมายความว่า ตอนที่ตั้งครรภ์จะไม่ต้องกังวลว่าซีสต์จะมาโตแข่งกับลูกของเรา และโอกาสของการมีลูกคนที่สองก็น่าจะเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องมาตั้งต้นรักษากันใหม่อีก การรักษาโดยแก้ปัญหาที่สาเหตุนี้ต้องใจเย็น ค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลามากซักหน่อย แต่คุ้มค่าและเป็นการดูแลสุขภาพเราไปในตัวด้วยค่ะ
5. ประจำเดือนมาปกติ ตรวจภายในแล้วหมอบอกว่าปกติ แต่ทำไมยังไม่ท้องซะที
- เราเองก็เป็นแบบนี้ค่ะ แต่พอหมอทำการฉีดเชื้อไปได้ 5 ครั้ง ก็เริ่มสงสัยว่า น่าจะมีปัญหาอะไรมากกว่านั้นซึ่งการตรวจภายในไม่สามารถบอกได้ เลยต้องทำการผ่าตัดส่องกล้องเข้าที่ทางหน้าท้องเข้าไปดูว่าในมดลูกมีความผิดปกติอะไรรึเปล่า ซึ่งก็พบว่าเป็นเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่หรือที่เรียกว่าชอกโกแลตซีสต์ ขนาดของแผลผ่าตัดประมาณ 1 ซม. พักโรงพยาบาล 1 คืน ลางาน 1 สัปดาห์ ระดับความเจ็บประมาณปวดประจำเดือนค่ะ นั่นหมายความว่า การที่ประจำเดือนมาปกติ ตรวจภายในแล้วปกติ อาจมีสาเหตุอื่นที่ทำให้มีบุตรยาก ซึ่งปัจจุบันพบว่า 75% ของผู้หญิงเป็นชอกโกแลตซีสต์ค่ะ ดังนั้นหากหมอแนะนำให้ผ่าตัดส่องกล้อง ก็น่าพิจารณาอยู่นะคะ
6. ฝากไว้ข้อสุดท้ายว่าระหว่างที่ทำการรักษา หรือรอจะมีลูก ควรทำตัวอย่างไร
เรื่องสุขภาพก็อย่างที่ทราบกันว่าทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ เผื่อว่าตั้งครรภ์เมื่อไหร่ทั้งลูกทั้งแม่จะได้สมบูรณ์แข็งแรง เรื่องการพักผ่อนก็สำคัญ อย่านอนดึกกันทั้งสามีภรรยา อันนี้สำคัญนะคะ อย่ามัวท่องโลกอินเตอร์เนตหรือดูทีวีกันเพลิน พักผ่อนเพียงพอ ร่างกายจะได้เสริมสร้างเซลล์ดี ๆ ยิ่งถ้าได้ออกกำลังกายบ้างก็เยี่ยมไปเลย
อีกเรื่องที่อยากแนะนำคือ ลองหาข้อมูลเกี่ยวกับเด็กสมัยนี้ดูบ้างว่า เดี๋ยวนี้เค้าเรียนกันยังไง ช่วงวัยไหนเค้าทำอะไรกัน ที่ไหน ยังไง แบบไหนจำเป็น แบบไหนไม่จำเป็น โรงเรียนสมัยนี้ราคาเท่าไหร่ การเรียนการสอนเป็นยังไง พ่อแม่ต้องมีส่วนร่วมทำอะไรบ้าง จะได้รู้แนวทางการจัดการงบประมาณ และวางแผนได้ว่าจะมีลูกกี่คน ถ้าได้ลูกแฝดจะรับมือไหวรึเปล่า มีลูกแล้วใครจะช่วยเลี้ยง (เอาแบบช่วยจริง ๆ นะ) เลี้ยงเองไหวมั๊ย จะลาออกจากงานมาเลี้ยงลูกคุ้มรึเปล่า ค่าพี่เลี้ยงเดี๋ยวนี้ราคาเท่าไหร่ เรื่องแบบนี้ศึกษาไว้ไม่เสียหลายนะคะ จะได้วางแผนชีวิตไว้เนิ่น ๆ ค่ะ
ดีใจที่เราไม่ท้อและฝ่าฟันมาจนได้เจอกับหนูน้อยที่น่ารัก ขอบคุณลูกชาย 2 คนของแม่ที่เป็นกำลังใจสำคัญให้แม่มีแรงกาย แรงใจ ขยันทำงานเพื่อมาดูแลครอบครัวเล็ก ๆ ของเรา เป็นกำลังใจให้ทุกท่าน… สู้โว๊ยค่ะ
จากผู้มีบุตรยาก ถึงวันที่ได้เป็นคุณแม่ลูกสอง
เราเป็นคนนึงที่เป็นผู้มีบุตรยาก หลังจากนับวันนับเดือนตามตำราแล้วไม่ประสบความสำเร็จซะที ก็เลยคิดว่าต้องปรึกษาหมอให้เป็นเรื่องเป็นราว รักษาอยู่เกือบ 2 ปีต่อเนื่อง หา 3 หมอ ทั้งหมอแผนปัจจุบัน และหมอจีน (หมอแมะ) เรียกว่าตามแบบฉบับที่คนมีลูกยากเค้าทำกัน เราทำการฉีดเชื้อไปทั้งหมด 7 ครั้ง ผ่าตัดส่องกล้องเพื่อรักษาเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ ( หรือที่รู้จักกันดีว่าชอกโกแลตซีสต์ ) แล้วฉีดยาระงับการเติบโตของซีสต์อยู่ 6 เข็ม เดือนละเข็ม ( เข็มละ 10,000 บาท...อ่านว่าหนึ่งหมื่นบาท ! ) จนหมอนัดทำเด็กหลอดแก้ว แล้วโชคดีมาท้องเองซะก่อน และท้องที่สองก็ท้องเอง เรียกได้ว่าฝ่าฟันมาพอสมควร มีคนถามเราบ่อยมากว่ารักษาที่ไหน หาหมออะไร ทำอะไรไปบ้าง เจ็บมั๊ย เสียเงินเท่าไหร่ เพื่อนถามจนต้องเขียนโพยไว้ให้เพื่อนอ่านกันเลย 555
1. เมื่อไหร่ที่เรียกว่าเป็นผู้มีบุตรยาก
- คำตอบข้อนี้ต้องอ้างอิงกับคำจำกัดความทางการแพทย์ ที่เคยอ่านเจอก็คือ เมื่อคุณไม่ได้คุมกำเนิดแล้วยังไม่ตั้งครรภ์ภายใน 1 ปี แต่สำหรับเราคิดว่าเมื่อเราบอกกับตัวเองว่าพยายามมาระยะเวลานึงแล้วก็ไม่ต้องรอต่อไป ให้ไปปรึกษาหมอเลยดีกว่าค่ะ จะได้เช็คสุขภาพและความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ไปด้วย
2. ไปหาหมอที่ไหนดี
- เดี๋ยวนี้หมอรักษาเรื่องนี้มีเยอะมาก ราคาก็แตกต่างกันไป แนะนำให้เลือกที่เราสะดวกเดินทางไปและราคาที่เรารับได้ค่ะ จากประสบการณ์ ถ้าทำแค่ฉีดเชื้อ ราคาจะไม่ต่างกันมาก จะไปต่างกันมาก ๆ เมื่อทำ ICSI, IVF หรือ อะไรที่ขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อนแบบที่ต้องมีการเก็บไข่มาผสมกับเชื้อภายนอก แล้วใส่ตัวอ่อนกลับเข้าไปในมดลูก สำหรับการฉีดเชื้อ ถ้าทำการกระตุ้นไข่ด้วยการกินยาอย่างเดียว ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 3-5 พันบาท ถ้ากระตุ้นไข่ด้วยยาฉีด ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 1-1.3 หมื่นบาท บางที่ราคาอาจจะค่อนข้างถูกกว่าที่อื่น แต่คุณต้องเจอคนเยอะ คิวนาน อาจทำให้หงุดหงิด รับได้รึเปล่า อันนี้ต้องคิดเผื่อบ้าง เพราะต้องไปกันบ่อย บวกลบกับค่าเดินทาง ค่าเสียเวลาด้วย เอาเป็นว่าต้องถามราคาให้ละเอียดก่อนทำ
3. ไปหาหมอครั้งแรกเมื่อไหร่ดี
- อันที่จริงไปวันไหนก็ได้ แต่ถ้าถามเราว่าไปวันไหนแล้วได้เรื่องที่สุด เราขอตอบว่า ไปวันที่เป็นประจำเดือนวันที่สองหรือสาม วิธีนับคือ เห็นมี ปจด มาวันแรกก็นับเป็นวันที่หนึ่งเลย แล้วไปหาหมอวันที่สองหรือวันที่สาม ไม่ต้องตกใจว่า อ้าว...แล้วหมอเค้าตรวจ (ภายใน) แล้วมันจะไม่เลอะเทอะเยอะสิ่งเหรอ !!! คือหมอเค้าไม่ได้ตรวจภายในคุณวันแรกที่เจอกันอยู่แล้ว (อันนี้ตามประสบการณ์เรานะ) แต่เค้าจะเจาะเลือด ตรวจระดับฮอร์โมน ซึ่งจะขึ้นสูงในวันดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่พอจะเห็นภาพว่าทำไมคุณถึงมีบุตรยาก ถ้าคุณไปวันอื่นก็ไม่นับว่าเสียเที่ยวนัก อย่างน้อยก็คุยกับหมอถึงทิศทางสุขภาพ การดำเนินชีวิตของคุณว่ามีสาเหตุที่ทำให้มีบุตรยากรึเปล่า แล้วค่อยนัดมาเจาะเลือดตามวันที่เราว่าอีกทีค่ะ
4. ขอทางลัด ไหน ๆ ก็มีลูกยากแล้ว ไม่อยากเสียเวลารักษาอะไร แบบว่าเรื่องเงินไม่ใช่ปัญหาว่างั้นเถอะ ขอเลือกทำเด็ก หลอดแก้ว ประมาณพวก ICSI , IVF เลยได้มั๊ย
- อาจมีหลายคนคิดแบบนี้ ขอตอบว่า มีเพื่อนสนิทเราคนนึงเลือกทำแบบนี้และประสบความสำเร็จด้วย แต่ในความคิดเราคิดว่าเพื่อนคนนี้โชคดีมาก ซึ่งโอกาสแบบนี้อาจไม่เกิดได้ง่าย ๆ เพื่อนคนนี้ใส่ตัวอ่อนไป 3 สุดท้ายได้ลูก 1 คน แต่พอจะมีคนที่สองเอง ไม่สามารถมีได้ คาดว่าต้องพึ่ง ivf อีกครั้ง
จากประสบการณ์รักษาของเราเอง คิดว่าการค่อย ๆ รักษาไปโดยแก้ปัญหาที่สาเหตุ น่าจะเป็นเรื่องที่เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด เช่น การตรวจว่าเป็นซีสต์มั๊ย ถ้าเป็น ก็ทำการผ่าตัดออกเสียก่อน นั่นหมายความว่า ตอนที่ตั้งครรภ์จะไม่ต้องกังวลว่าซีสต์จะมาโตแข่งกับลูกของเรา และโอกาสของการมีลูกคนที่สองก็น่าจะเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องมาตั้งต้นรักษากันใหม่อีก การรักษาโดยแก้ปัญหาที่สาเหตุนี้ต้องใจเย็น ค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลามากซักหน่อย แต่คุ้มค่าและเป็นการดูแลสุขภาพเราไปในตัวด้วยค่ะ
5. ประจำเดือนมาปกติ ตรวจภายในแล้วหมอบอกว่าปกติ แต่ทำไมยังไม่ท้องซะที
- เราเองก็เป็นแบบนี้ค่ะ แต่พอหมอทำการฉีดเชื้อไปได้ 5 ครั้ง ก็เริ่มสงสัยว่า น่าจะมีปัญหาอะไรมากกว่านั้นซึ่งการตรวจภายในไม่สามารถบอกได้ เลยต้องทำการผ่าตัดส่องกล้องเข้าที่ทางหน้าท้องเข้าไปดูว่าในมดลูกมีความผิดปกติอะไรรึเปล่า ซึ่งก็พบว่าเป็นเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่หรือที่เรียกว่าชอกโกแลตซีสต์ ขนาดของแผลผ่าตัดประมาณ 1 ซม. พักโรงพยาบาล 1 คืน ลางาน 1 สัปดาห์ ระดับความเจ็บประมาณปวดประจำเดือนค่ะ นั่นหมายความว่า การที่ประจำเดือนมาปกติ ตรวจภายในแล้วปกติ อาจมีสาเหตุอื่นที่ทำให้มีบุตรยาก ซึ่งปัจจุบันพบว่า 75% ของผู้หญิงเป็นชอกโกแลตซีสต์ค่ะ ดังนั้นหากหมอแนะนำให้ผ่าตัดส่องกล้อง ก็น่าพิจารณาอยู่นะคะ
6. ฝากไว้ข้อสุดท้ายว่าระหว่างที่ทำการรักษา หรือรอจะมีลูก ควรทำตัวอย่างไร
เรื่องสุขภาพก็อย่างที่ทราบกันว่าทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ เผื่อว่าตั้งครรภ์เมื่อไหร่ทั้งลูกทั้งแม่จะได้สมบูรณ์แข็งแรง เรื่องการพักผ่อนก็สำคัญ อย่านอนดึกกันทั้งสามีภรรยา อันนี้สำคัญนะคะ อย่ามัวท่องโลกอินเตอร์เนตหรือดูทีวีกันเพลิน พักผ่อนเพียงพอ ร่างกายจะได้เสริมสร้างเซลล์ดี ๆ ยิ่งถ้าได้ออกกำลังกายบ้างก็เยี่ยมไปเลย
อีกเรื่องที่อยากแนะนำคือ ลองหาข้อมูลเกี่ยวกับเด็กสมัยนี้ดูบ้างว่า เดี๋ยวนี้เค้าเรียนกันยังไง ช่วงวัยไหนเค้าทำอะไรกัน ที่ไหน ยังไง แบบไหนจำเป็น แบบไหนไม่จำเป็น โรงเรียนสมัยนี้ราคาเท่าไหร่ การเรียนการสอนเป็นยังไง พ่อแม่ต้องมีส่วนร่วมทำอะไรบ้าง จะได้รู้แนวทางการจัดการงบประมาณ และวางแผนได้ว่าจะมีลูกกี่คน ถ้าได้ลูกแฝดจะรับมือไหวรึเปล่า มีลูกแล้วใครจะช่วยเลี้ยง (เอาแบบช่วยจริง ๆ นะ) เลี้ยงเองไหวมั๊ย จะลาออกจากงานมาเลี้ยงลูกคุ้มรึเปล่า ค่าพี่เลี้ยงเดี๋ยวนี้ราคาเท่าไหร่ เรื่องแบบนี้ศึกษาไว้ไม่เสียหลายนะคะ จะได้วางแผนชีวิตไว้เนิ่น ๆ ค่ะ
ดีใจที่เราไม่ท้อและฝ่าฟันมาจนได้เจอกับหนูน้อยที่น่ารัก ขอบคุณลูกชาย 2 คนของแม่ที่เป็นกำลังใจสำคัญให้แม่มีแรงกาย แรงใจ ขยันทำงานเพื่อมาดูแลครอบครัวเล็ก ๆ ของเรา เป็นกำลังใจให้ทุกท่าน… สู้โว๊ยค่ะ