คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
เริ่มให้....
The Memorial Bridge is the first bridge built across the Chao Phraya River. The inspiration was first envisioned by King Rama IV as a mean to lift the curse that had occurred during the King Rama I era. Unfortunately, the technology did not exist at that time and the bridge was not completed until the King Rama VII era, just in time for the Bangkok’s 150th anniversary celebration.
The curse that necessitates the construction of the Memorial Bridge occurred during the city of Bangkok’s pillar setting ceremony on Sunday, April 21th, 1782. As the ceremony was proceeding according to plan and the Brahmin was sliding the pillar into the hole, a strange event occurred. There were four small snakes at the bottom of the hole that no one had previously noticed. According to the superstitious believe, the timing of the pillar setting is crucial. Therefore, Brahmin had no choice but to set the pillar into the hole, burying the four snakes in the process.
King Rama I was very concerned with this omen since every astrologer came to the same interpretation that it is the sign that the Chakri dynasty would end within 150 years. The event casted a dark cloud over the people of Thailand over a long period.
When King Rama IV, a proficient astrologer, proclaimed the throne, he attempted to obviate the curse by burying a matching pair of the city pillar and initiating a project to construct a bridge connecting the old and the new capitals. However, the technology to build a long-span bridge across a river did not exist at that time.
During the King Rama VII era, Bangkok’s 150th anniversary ceremony was scheduled in 1932. The king recalled King Rama IV's inspiration to build a bridge connecting the two sides of the Chao Phraya River. He also viewed that Bangkok was expanding toward the eastern part more so than in other directions, leaving the Thonburi region to the west underdeveloped due to the restriction in transportation, which could only be carried out by boats. Sooner or later a bridge must be built in any case. If it is built today, the benefits can be realized faster. Furthermore, constructing a memorial landmark as a tribute to King Rama I for establishing Bangkok as the capital seemed rather appropriate for the Bangkok‘s 150th anniversary celebration.
The king’s vision was passed forward to his royal councils for further discussion. They reached a conclusion to comply with the king’s wish by constructing two memorial sites while inviting the general publics to participate in the honor of King Rama I.
The first site is a monument of King Rama I, the founder of Chakri dynasty who established Bangkok as the country’s capital. The second site is a bridge across the Chao Phraya River as inspired by King Rama IV. The bridge landing on the Bangkok side was located at the end of Tripetch Street. The opposite landing is in the vicinity of the Prayurawongsawas Temple, where the roads further spread across the Thonburi traffic network.
The Memorial Bridge is the first bridge built across the Chao Phraya River. The inspiration was first envisioned by King Rama IV as a mean to lift the curse that had occurred during the King Rama I era. Unfortunately, the technology did not exist at that time and the bridge was not completed until the King Rama VII era, just in time for the Bangkok’s 150th anniversary celebration.
The curse that necessitates the construction of the Memorial Bridge occurred during the city of Bangkok’s pillar setting ceremony on Sunday, April 21th, 1782. As the ceremony was proceeding according to plan and the Brahmin was sliding the pillar into the hole, a strange event occurred. There were four small snakes at the bottom of the hole that no one had previously noticed. According to the superstitious believe, the timing of the pillar setting is crucial. Therefore, Brahmin had no choice but to set the pillar into the hole, burying the four snakes in the process.
King Rama I was very concerned with this omen since every astrologer came to the same interpretation that it is the sign that the Chakri dynasty would end within 150 years. The event casted a dark cloud over the people of Thailand over a long period.
When King Rama IV, a proficient astrologer, proclaimed the throne, he attempted to obviate the curse by burying a matching pair of the city pillar and initiating a project to construct a bridge connecting the old and the new capitals. However, the technology to build a long-span bridge across a river did not exist at that time.
During the King Rama VII era, Bangkok’s 150th anniversary ceremony was scheduled in 1932. The king recalled King Rama IV's inspiration to build a bridge connecting the two sides of the Chao Phraya River. He also viewed that Bangkok was expanding toward the eastern part more so than in other directions, leaving the Thonburi region to the west underdeveloped due to the restriction in transportation, which could only be carried out by boats. Sooner or later a bridge must be built in any case. If it is built today, the benefits can be realized faster. Furthermore, constructing a memorial landmark as a tribute to King Rama I for establishing Bangkok as the capital seemed rather appropriate for the Bangkok‘s 150th anniversary celebration.
The king’s vision was passed forward to his royal councils for further discussion. They reached a conclusion to comply with the king’s wish by constructing two memorial sites while inviting the general publics to participate in the honor of King Rama I.
The first site is a monument of King Rama I, the founder of Chakri dynasty who established Bangkok as the country’s capital. The second site is a bridge across the Chao Phraya River as inspired by King Rama IV. The bridge landing on the Bangkok side was located at the end of Tripetch Street. The opposite landing is in the vicinity of the Prayurawongsawas Temple, where the roads further spread across the Thonburi traffic network.
แสดงความคิดเห็น
ช่วยแปลบทความเกี่ยวกับเรื่องสะพานพุทธเป็นภาษาอังกฤษให้หน่อยคะ
###################################################################
สะพานพระพุทธยอดฟ้า ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรกนั้น เป็นพระราชดำริในรัชกาลที่ ๔ เพื่อที่จะแก้อาถรรพณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ แต่ยังไม่มีเทคโนโลยีสร้างได้ในสมัยนั้น มาสำเร็จสมัยรัชกาลที่ ๗ ในงานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๑๕๐ ปีพอดี
อาถรรพณ์ที่เป็นเหตุให้ต้องสร้างสะพานพุทธฯนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในพิธีฝังเสาหลักเมืองของกรุงเทพมหานครในวันอาทิตย์ที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เมื่อทุกอย่างเป็นไปตามฤกษ์แล้ว ขณะที่พราหมณ์กำลังเลื่อนเสาลงหลุมก็พบเหตุประหลาด มีงูเล็กๆ ๔ ตัวปรากฎอยู่ก้นหลุม โดยไม่มีใครสังเกตเห็นมาก่อน ครั้นจะหยุดเสาเมืองไว้ก็ไม่ได้ เพราะพิธีทุกอย่างต้องเป็นไปตามฤกษ์ พราหมณ์จึงจำต้องปล่อยเสาลงหลุมและกลบดินฝังงูเล็ก ๔ ตัวนั้นไว้กับเสาหลักเมืองด้วย
เรื่องนี้ทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงปริวิตกเป็นอันมาก บรรดาโหราจารย์ทั้งหลายต่างทำนายตรงกันว่า เหตุการณ์นี้เป็นอวมงคลคือ เป็นเรื่องไม่ดี แต่ไม่มีใครบอกได้ว่าจะทำให้เกิดเหตุร้ายสิ่งใด บ้างก็ทำนายว่าพระราชวงศ์จักรีจะสิ้นสุดลงในเวลา ๑๕๐ ปี ซึ่งก็สร้างความวิตกให้ผู้คนตลอดมา
จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงวชาญด้านโหราศาสตร์ นอกจากจะทรงทำพิธีแก้อาถรรพณ์ด้วยการฝังเสาหลักเมืองขึ้นอีกเสาหนึ่งคู่กันแล้ว ยังทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างสะพานเชื่อมเมืองหลวงใหม่กับเมืองหลวงเก่าให้ติดต่อถึงกัน แต่ในยุคนั้นยังไม่มีเทคโนโลยีสามารถสร้างสะพานข้ามแม่น้ำที่กว้างขนาดนั้นได้
จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๗ ซึ่งกำหนดจะมีงานเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานคร ๑๕๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคำนึงถึงพระราชดำริในรัชกาลที่ ๔ ที่จะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อม ๒ ฝั่ง อีกทั้งยังทรงเห็นว่ากรุงเทพมหานครได้เจริญก้าวหน้าขึ้นมากและขยายไปทางด้านตะวันออกมากกว่าด้านอื่น แต่ทางด้านฝั่งธนบุรีมีพื้นที่ติดกันเป็นเรือกสวนและมีผู้คนอาศัยอยู่มาก การไปมากับฝั่งพระนครยังยากลำบากต้องใช้แต่ทางเรือ ไม่วันใดวันหนึ่งก็ต้องสร้างสะพานเชื่อมถึงกัน ถ้าสร้างเสียแต่วันนี้จะได้ประโยชน์เร็วขึ้น ทั้งในโอกาสฉลองกรุงเทพฯ ๑๕๐ ปีก็ควรจะมีสิ่งที่เป็นอนุสรณ์สถานสร้างไว้ เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดจุฬาโลกที่สร้างกรุงเทพมหานครขึ้น
เมื่อโปรดเกล้าฯให้คณะอภิรัฐมนตรีสภาประชุมปรึกษาหารือกัน ก็เห็นชอบพระราชดำริที่จะสร้างอนุสรณ์สถาน ๒ สิ่งคู่กัน โดยเชิญชวนประชาชนร่วมเฉลิมพระเกียรติสนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก คือ
พระบรมรูปองค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีผู้สร้างกรุงเทพมหานคร กับอีกสิ่งหนึ่งคือ สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่เป็นพระราชดำริมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ โดยกำหนดสถานที่ปลายถนนตรีเพชร ฝั่งพระนคร ข้ามไปลงที่บริเวณด้านวัดประยุรวงศาวาส จากนั้นตัดถนนกระจายไปในเขตฝั่งธนบุรี
สำหรับพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ อุปนายกราชบัณฑิตสถาน ซึ่งทรงอำนวยการแผนกศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ เป็นพระบรมรูปทรงเครื่องขัตติยาภรณ์ ประทับเหนือราชบัลลังก์ และหล่อด้วยทองสำริด สูงจากฐานถึงยอด ๔.๖๐ เมตร ฐานกว้าง ๒.๓๐ เมตร มีฐานศิลาอ่อนเป็นเวทีที่ตั้งพระบรมรูปหล่ออีกตอนหนึ่ง
สำหรับสะพานข้ามแม่น้ำนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าพี่ยาเธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมอำนวยการสร้าง ซึ่งทรงรับสั่งให้กองแบบแผน กรมรถไฟหลวง เป็นผู้ออกแบบโครงสร้าง แสดงทางขึ้นลงทั้ง ๒ ข้างและตัวสะพาน พร้อมด้วยขนาดและรายการ เพื่อเปิดประมูลจากบริษัทต่างๆ
งบประมาณการสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ทั้ง ๒ สิ่งนี้ กำหนดประมาณ ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงบริจาคราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่ง และรัฐบาลสมทบงบประมาณแผ่นดินอีกจำนวนหนึ่ง อีกทั้งทรงมีพระราชดำริที่จะเปิดรับบริจาคเงินจากประชาชนให้มีส่วนร่วมในการสร้างด้วย
ทางขึ้นลงทางฝั่งธนบุรีนั้นจะใช้ทางเดียวกันเป็นถนน ๒ เลน แต่ทางฝั่งพระนครแยกทางขึ้นลงออกจากกัน และตรงทางโค้งที่ทางขึ้นทางลงมาบรรจบกัน เป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หันพระพักตร์ไปยังถนนตรีเพชร เบื้องหลังก่อเป็นกำแพงหินอ่อนกั้น เบื้องหน้ามีเครื่องบูชาและมีน้ำพุ
๒ ข้างตอม่อสะพานทั้ง ๒ ฝั่ง ทำเป็นเสาสูงไว้ข้างละต้น รวมเป็น ๔ ต้น มีลักษณะสอบขึ้นข้างบน ภายในกลวงมีบันไดขึ้นไปด้านบนได้ ซึ่งบนสุดมีหน้าต่างกระจก ๔ ทิศติดไฟฟ้าไว้ภายใน เพื่อเป็นอาณัติสัญญาณแก่เรือที่จะผ่านสะพาน เมื่อสะพานปิดไฟจะเปิด เรือสามารถมองเห็นได้แต่ไกล ไฟจะดับเมื่อสะพานเปิด เสาทั้ง ๔ ยังเป็นเครื่องประดับสะพานด้วย ที่โคนเสามีคำจารึกประวัติการสร้างสะพานอยู่ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งจารึกนามสะพานพร้อมปีพระพุทธศักราช ๒๔๗๕ ที่เป็นปีประกอบพระราชพิธีเปิดพระปฐมบรมราชานุสรณ์และสะพานเหมือนกันทั้ง ๒ ฝั่ง ใต้ทางลาดขึ้นลงสะพานยังมีห้องหน้าต่างกระจก ซึ่งด้านหนึ่งแสดงพิพิธภัณฑ์สรรพสินค้าสยาม อีกด้านหนึ่งแผนกไฟฟ้าหลวงแห่งกรมรถไฟหลวงใช้แสดงเครื่องไฟฟ้าต่างๆ และเปิดขายให้ประชาชนด้วย นอกจากสะพานพระพุทธยอดฟ้าจะถูกบันทึกไว้ว่าเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสะพานแรกแล้ว ใต้ทางลาดนี้ยังมีห้องน้ำสาธารณะเป็นแห่งแรกของประเทศไทยด้วย
พระบาทสมเด็จปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบวิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ ๒ มกราคม ๒๔๗๒ ซึ่งตอนนั้นวันขึ้นปีใหม่ยังเป็น ๑ เมษายน การก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๔๗๔ และเสด็จพระราชดำเนินเปิดในวันที่ ๖ เมษายน ๒๔๗๕ อันเป็นวันจักรีและอยู่ในช่วงของการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์อายุครบ ๑๕๐ ปี
ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ สะพานพระพุทธยอดฟ้าถูกฝ่ายสัมพันธมิตร ทิ้งระเบิดจนเสียหาย เพื่อตัดเส้นทางลำเลียงของกองทัพญี่ปุ่น พอสงครามสงบองค์กาสหประชาชาติได้นำสะพานเบลลีมาทอดให้ชั่วคราวจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๙๑ รัฐบาลจึงได้บูรณะและกลับมาใช้ได้ตามปกติในปี ๒๔๙๒
ในปัจจุบันมีการสร้าง "สะพานสมเด็จพระปกเกล้า" ขึ้นคู่ขนานกับสะพานพุทธฯ เพื่อแบ่งเบาภาระการจราจร แม้ทุกวันนี้สะพานพระพุทธยอดฟ้า ที่ใช้งานมาตั้งแต่ ๒๔๗๕ ก็ยังใช้อยู่ตามปกติ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และเป็นอนุสรณ์สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์