เมื่อกี้ได้ยินผู้ประกาศข่าวสาวสวยของช่องน้อยสี พูดว่า [โคมลอย หรือ ยี่เป็งนั่นเอง]
หมายความว่าเธอเข้าใจว่ามันคือสิ่งเดียวกัน
จึงอยากทำความเข้าใจว่า "โคมลอย"กับ "ยี่เป็ง" ไม่ใช่สิ่งเดียวกันนะคะ
ความหมายของทั้งสองคำ มีอธิบายไว้ดังนี้
โคมลอย หมายถึง โคมที่ทำด้วยกระดาษว่าว มีขนาดใหญ่ใช้กระดาษตั้งแต่ 36-72 แผ่น รมด้วยควันไฟให้ฟองแล้วปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า โคมลอย บางท้องถิ่นของจังหวัดลำปางเรียกว่า ว่าว มี ๒ ชนิด คือ ว่าวลม และ ว่าวไฟ ว่าวลม คือว่าวที่ปล่อยในเวลากลางวัน ส่วนว่าวไฟ ใช้ปล่อยในเวลากลางคืน
ที่มาของโคมลอย
ชาวบ้านที่นับถือพุทธศาสนา พอถึงเทศกาล ยี่เป็ง จะทำโคมลอยไปถวายวัดแล้วจุดเป็นพุทธบูชา หรือบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์
ที่มา
http://onchiangmai.tarad.com
ประเพณียี่เป็ง คือ ประเพณีลอยกระทงแบบล้านนา โดยคำว่า ยี่ แปลว่า สอง ส่วน เป็ง แปลว่า เพ็ญ หรือ คืนพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งหมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนา ซึ่งตรงกับเดือนสิบสองของไทย
ที่มา
http://th.m.wikipedia.org
"โคมลอย" กับ "ยี่เป็ง"
หมายความว่าเธอเข้าใจว่ามันคือสิ่งเดียวกัน
จึงอยากทำความเข้าใจว่า "โคมลอย"กับ "ยี่เป็ง" ไม่ใช่สิ่งเดียวกันนะคะ
ความหมายของทั้งสองคำ มีอธิบายไว้ดังนี้
โคมลอย หมายถึง โคมที่ทำด้วยกระดาษว่าว มีขนาดใหญ่ใช้กระดาษตั้งแต่ 36-72 แผ่น รมด้วยควันไฟให้ฟองแล้วปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า โคมลอย บางท้องถิ่นของจังหวัดลำปางเรียกว่า ว่าว มี ๒ ชนิด คือ ว่าวลม และ ว่าวไฟ ว่าวลม คือว่าวที่ปล่อยในเวลากลางวัน ส่วนว่าวไฟ ใช้ปล่อยในเวลากลางคืน
ที่มาของโคมลอย
ชาวบ้านที่นับถือพุทธศาสนา พอถึงเทศกาล ยี่เป็ง จะทำโคมลอยไปถวายวัดแล้วจุดเป็นพุทธบูชา หรือบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์
ที่มา http://onchiangmai.tarad.com
ประเพณียี่เป็ง คือ ประเพณีลอยกระทงแบบล้านนา โดยคำว่า ยี่ แปลว่า สอง ส่วน เป็ง แปลว่า เพ็ญ หรือ คืนพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งหมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนา ซึ่งตรงกับเดือนสิบสองของไทย
ที่มา http://th.m.wikipedia.org