กินยาพาราเซตามอลครั้งละ 2 เม็ด เป็นสิ่งที่หลายคนปฏิบัติตามฉลากยา เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด แต่ล่าสุด คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ได้กำหนดรูปแบบฉลากยา 11 รายการ ให้เครือข่ายโรงพยาบาลกว่า 50 แห่ง นำไปปรับใช้กับระบบของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง
โดย ยาพาราเซตามอลที่ระบุข้างขวด ก่อนหน้านี้ว่าให้รับประทานได้ครั้งละ 2 เม็ด ทุก 4 ถึง 6 ชั่วโมง จะทำให้คนไทยกินยาชนิดนี้มากเกินไป คือสูงถึง 6,000 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะเป็นพิษต่อตับ
ทั้งนี้ จึงเห็นว่า ต้องกำหนดให้แพทย์สั่งจ่ายยาพาราเซตามอลกับผู้ป่วยเพศหญิง จำนวน 1 เม็ด รับประทานทุก 6 ชั่วโมง ส่วนผู้ป่วยชายให้พิจารณาเป็นกรณีไป และให้เขียนกำกับบนฉลากยาด้วยว่า "ห้ามใช้ยาพาราเซตามอลเกินวันละ 8 เม็ด เพราะเป็นพิษต่อตับ"
นอกจากการกำหนดปริมาณยาที่เหมาะสมแล้ว การปรับรูปแบบฉลากยา ยังเป็นสิ่งจำเป็น เครือข่ายโรงพยาบาลฯกว่า 50 แห่ง จึงกำหนดการปรับรูปแบบฉลากยา 11 รายการ
เช่น ยา พาราเซตามอล ที่ต้องระบุชัดเจนว่าห้ามกินเกินวันละ 8 เม็ด ยารักษาโรคเกาต์ ที่ควรมีฉลากเตือน “หากท้องเสียให้หยุดยาทันที” รวมถึงกลุ่มยาปฏิชีวนะ ควรเตือนเรื่องเชื้อดื้อยา เป็นต้น
ซึ่งในวันที่ 30 ตุลาคมนี้ ทุกภาคส่วนจะมีการลงนามบันทึกข้อตกลง เพื่อนำโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลไปสู่ภาคปฏิบัติ ให้เกิดการใช้ยาที่ถูกต้อง และเป็นรูปธรรมมากขึ้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://news.bugaboo.tv/watch/150862/
ห้ามกินยาพาราครั้งละ 2 เม็ด ปรับวิธีกินยาใหม่ เพราะเป็นอันตรายต่อตับ
กินยาพาราเซตามอลครั้งละ 2 เม็ด เป็นสิ่งที่หลายคนปฏิบัติตามฉลากยา เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด แต่ล่าสุด คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ได้กำหนดรูปแบบฉลากยา 11 รายการ ให้เครือข่ายโรงพยาบาลกว่า 50 แห่ง นำไปปรับใช้กับระบบของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง
โดย ยาพาราเซตามอลที่ระบุข้างขวด ก่อนหน้านี้ว่าให้รับประทานได้ครั้งละ 2 เม็ด ทุก 4 ถึง 6 ชั่วโมง จะทำให้คนไทยกินยาชนิดนี้มากเกินไป คือสูงถึง 6,000 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะเป็นพิษต่อตับ
ทั้งนี้ จึงเห็นว่า ต้องกำหนดให้แพทย์สั่งจ่ายยาพาราเซตามอลกับผู้ป่วยเพศหญิง จำนวน 1 เม็ด รับประทานทุก 6 ชั่วโมง ส่วนผู้ป่วยชายให้พิจารณาเป็นกรณีไป และให้เขียนกำกับบนฉลากยาด้วยว่า "ห้ามใช้ยาพาราเซตามอลเกินวันละ 8 เม็ด เพราะเป็นพิษต่อตับ"
นอกจากการกำหนดปริมาณยาที่เหมาะสมแล้ว การปรับรูปแบบฉลากยา ยังเป็นสิ่งจำเป็น เครือข่ายโรงพยาบาลฯกว่า 50 แห่ง จึงกำหนดการปรับรูปแบบฉลากยา 11 รายการ
เช่น ยา พาราเซตามอล ที่ต้องระบุชัดเจนว่าห้ามกินเกินวันละ 8 เม็ด ยารักษาโรคเกาต์ ที่ควรมีฉลากเตือน “หากท้องเสียให้หยุดยาทันที” รวมถึงกลุ่มยาปฏิชีวนะ ควรเตือนเรื่องเชื้อดื้อยา เป็นต้น
ซึ่งในวันที่ 30 ตุลาคมนี้ ทุกภาคส่วนจะมีการลงนามบันทึกข้อตกลง เพื่อนำโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลไปสู่ภาคปฏิบัติ ให้เกิดการใช้ยาที่ถูกต้อง และเป็นรูปธรรมมากขึ้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้