คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 19
ไม่ใช่เค้ายังไม่ทำ ผมยังจำได้อยู่นะ ยกข่าวมาให้ดูจากสามที่ละกัน
ถ้าเกิดอยากรู้เพิ่มเติมสามารถเสิร์ชหาได้ในกูเกิ้ล เพราะมันเยอะมาาาาาาก
ผมว่าถ้าเอาข่าวที่ออกมาวิเคราะห์ สามารถตอบปัญหาของเจ้าของกระทู้ได้เคลียร์เลยแหละ
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ดีเบตกันมากจนขนาดมีคนเอาไปลงใน change.org ด้วยแหละ
http://www.change.org/p/%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99-%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81
แต่ส่วนตัวผมขอไม่ออกความเห็นใด ๆ ทั้งสิ้นดีกว่า
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข่าวจาก http://news.sanook.com/1184874/%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7.%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99-17000-%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/
รมว.ศึกษาธิการ สั่งยุบโรงเรียน 17,000 แห่งทั่วประเทศ
8 พ.ค. 56 21.15 น.
8 พ.ค. - โรงเรียนขนาดเล็ก จำนวนนักเรียนน้อยกว่า 60 คน อาจถูกยุบรวมกับโรงเรียนใกล้เคียง เพื่อประสิทธิภาพและคุณภาพการศึกษา หลังกระทรวงศึกษาธิการสั่งสำรวจอย่างเร่งด่วน
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายให้กับผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศ และมอบหมายให้กลับไปสำรวจโรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียนน้อยกว่า 60 คน และเป็นโรงเรียนด้อยคุณภาพ เพื่อยุบรวมกับโรงเรียนใกล้เคียง
ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน บอกว่า ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ต้องไปดูเป็นรายโรงเรียน ไม่ให้เหมารวมทั้งหมด จากนั้นจะนำตัวเลขมาประชุมร่วมกันอีกครั้ง เพื่อให้การบริหารจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลดีกับนักเรียนทั้งด้านสิทธิโอกาสและคุณภาพการศึกษา
ข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการพบว่ามีโรงเรียนขนาดเล็ก นักเรียนน้อยกว่า 120 คน 14,861 แห่ง และโรงเรียนที่มีนักเรียนน้อยกว่า 60 คน 5,962 แห่ง นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนไม่มีนักเรียนอีก 123 แห่ง
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทยลงพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก พบว่ามีโรงเรียนหลายแห่งเข้าข่ายถูกยุบรวมกับโรงเรียนอื่น เนื่องจากมีนักเรียนไม่ถึง 60 คน
ขณะที่โรงเรียนบ้านวังประดู่ ตำบลวังพิกุล อำเภอวังทอง ถูกยุบรวมกับโรงเรียนบ้านดงพวง ตำบลวังพิกุล ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 3 กิโลเมตร เมื่อปี 2554 เนื่องจากมีนักเรียนเพียง 30 คน ผู้ปกครองนักเรียนบอกว่าเห็นด้วยกับการยุบโรงเรียนไปรวมกับโรงเรียนอื่น เพราะการเดินทางสะดวก และการเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนสาเหตุที่มีนักเรียนไม่ถึง 30 คน เกิดจากชาวบ้านที่มีฐานะนิยมส่งลูกไปเรียนโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในตัวจังหวัด.- สำนักข่าวไทย
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข่าวจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=783836
หดหู่และสะเทือนใจ .. เมื่อได้ข่าว รมต.กระทรวงศึกษา จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก ในต่างจังหวัด !!!
แต่เรื่องที่ทำให้อดีตเด็กนักเรียนต่างจังหวัดอย่างผมอดเศร้าใจ และหดหู่มากก็คือ ข่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสึกษาธิการคนใหม่ไฟแรง
คนล่าสุด มีนโยบายจะยุบโรงเรียนขนาดเล็กในต่างจังหวัด ท่านอาจจะมีเหตุผลในมุมของท่าน แต่ในฐานะคนที่เคยเป็นเด็กนักเรียนต่างจังหวัด
อยู่ท่ามกลางทุ่งนา และไร่อ้อย ที่ต้องเดินไปโรงเรียน นั่งรถสองแถว นั่งรถเมล์ไปโรงเรียน ก็เลยรู้สึกสงสารและเห็นใจเด็กต่างจังหวัดขึ้นมาทันที เพราะหลาย ๆ โรงเรียน (ขนาดเล็ก) ที่อยู่ในชนบทในปัจจุบัน ก็อยู่ห่างไกลกับบ้านของเด็กนักเรียนจำนวนหนึ่ง ซึ่งพวกเขาก็เดินทางลำบากอยู่แล้ว
การที่จะยุบโรงเรียนแห่งหนึ่งเอาไปยุบรวมกับอีกดรงเรียนหนึ่ง อาจจะทำให้การบริหารจัดการง่าย แต่ก็มีข้อควรระวังที่ต้องคำนึงถึงเหมือนกัน
เพราะถ้าทำเพื่อให้บริหารจัดการง่ายแล้ว แต่ทำให้เด็กเดินทางไปเรียนด้วย ความยากลำบากมากขึ้น ไม่เป็นการกระตุ้นจูงใจให้เด็กอยากไปโรงเรียน
แล้วมันจะเกิดประโยชน์อะไร ผมว่ากลับเป็นการบั่นทอนกำลังใจในการเรียนหนังสือนะครับ ไหน ๆ รัฐบาลชุดนี้ก็ประกาศตัวแสดงตนว่าจะทำทุก
อย่างเพื่อคนระดับรากหญ้า ซึ่งจะเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้ ผมจึงอยากให้ทบทวนนโยบายการยุบโรงเรียนขนาดเล็กใหม่
อยากให้นายกฯ ยิ่งลักษณ์พิจารณาดูผลดีผลเสียให้รอบด้าน คิดพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ จะทำอะไรลงไปก็ให้นึกถึงเด็กไทยตาดำ ๆ
ในชนบทห่างไกล ดูจากความรู้ของท่านรัฐมนตรีกระทรวงนี้ ดีกรีด๊อกเตอร์ ก็อยากเห็นท่านคิดนโยบายด้านการศึกษาที่มันสร้างสรรค์มากกว่านี้ครับ
ถ้าการปล่อยข่าวนี้ออกมาเพื่อเป็นการโยนหินถามทาง ผมเป็นคนหนึ่งแหละที่อยากจะบอกว่าท่านโยนหินมาผิดทางแล้วครับ
เรื่องที่ควรเร่งทำมากที่สุดก็คือ จะทำอย่างไรให้เด็กนักเรียนในต่างจังหวัดในชนบทไกล ๆ มีสุขภาพกายที่ดี มีอาหารกินครบทุกมื้อ
ตอนนี้มีผลสำรวจวิจัยออกมาแล้ว เด็กไทยส่วนใหญ่ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ระดับไอคิวต่ำลงเรื่อย ๆ เด็กไทยของเราในภาพรวมขาด
โภชนาการที่ดี พวกเขาต้องการอาหารครบห้าหมู่เหมือนเด็กในเมือง (ที่พ่อแม่มีสตางค์) พวกเขาต้องการสุขภาพกายใจที่แข็งแรง
พวกเขาต้องการโอกาสทางการศึกษา ต้องการความเท่าเทียมเหมือนเด็กในกรุงเทพฯ และเมื่องใหญ่ ๆ
ทุกวันนี้ช่องว่างของโอกาสทางการศึกษาของเด็กกรุงเทพฯกับเด็กต่างจังหวัด ก็ห่างกันไปทุกที แล้วท่านรัฐมนตรียังจะมาซ้ำเติม
เด็กต่างจังหวัดด้วยการประกาศนโยบายยุบโรงเรียนของพวกเขาอีก ผมว่ามันเป็นการทำร้ายเด็ก ๆ มากกว่านะครับ ถ้าบอกว่าต้องการประหยัดงบ
ประมาณการมีโรงเรียนเล็ก ๆ หลาย ๆ แห่ง กระจัดกระจาย ทำให้ต้องสูญเสียเงิน และบุคลากรเยอะมาก
ผมขอแนะนำให้โยกเงินงบประมาณบางส่วนจากนโยบายแจกแท็บเล็ต เด็กนักเรียนทั่วประเทศ มาใช้บริหารจัดการโรงเรียนเล็ก ๆ เหล่านี้
รวมทั้งจัดหาอาหารและนมให้เด็กเหล่านี้จะดีกว่าไหม ทางออกนี้จะทำให้เด็ก ๆ ยังได้เรียนต่อไปในโรงเรียนเดิม ไม่ต้องเดิน ทางไปไกล ๆ
แถมยังมีอาหารที่ถูกหลักโภชนาการให้กินด้วย สุดท้ายนี้ผมก็ขอวิงวอนให้ท่านรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรี ใช้สติและปัญญา คิดไตร่ตรองเรื่องนี้ให้
รอบคอบ ทำอะไรก็นึกถึงประเทศชาติให้มาก ๆ การทำร้ายจิตใจเด็กส่วนใหญ่ของประเทศในปัจจุบัน ก็เป็นเหมือนการทำร้ายอนาคตของชาตินะครับ !!!
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=33023&Key=hotnews
การยุบโรงเรียนขนาดเล็ก
หลังจากที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ ได้ประกาศนโยบาย "ยุบ"โรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนจำนวนไม่ถึง 60 คน และให้ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนอื่นในพื้นที่ใกล้เคียง โดยให้เหตุผลสำคัญสองประการ คือ รัฐบาลไม่มีกำลังงบประมาณพัฒนาโรงเรียนทุกแห่ง และ ไม่สามารถนำงบประมาณจากเงินภาษีมาดูแลทุกโรงเรียนได้เท่าเทียมกัน ส่งผลให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ แสดงความเห็นทั้งสนับสนุนและคัดค้านอย่างกว้างขวาง ตามที่ปรากฎให้เห็นในสื่อต่างๆ
จากข้อมูลของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) โรงเรียนที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คน มีทั้งหมด 14,816 โรง ส่วนโรงเรียนที่มีนักเรียนน้อยกว่า 60 คน มีทั้งหมด 5,962 โรง แยกเป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนไม่เกิน 20 คน จำนวน 709 โรง มีนักเรียน 21-40 คน จำนวน 2,090 โรง และมีนักเรียน 41-60 คน จำนวน 3,163 โรง
โดยฝ่ายที่ให้การสนับสนุน เชื่อว่าการยุบโรงเรียนขนาดเล็กจะทำให้ระบบการศึกษาของเด็กชนบททัดเทียมกับเด็กในเมือง กระบวนการจัดการเรียนการสอนจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และยังช่วยประหยัดงบประมาณ ซึ่งฝ่ายที่คัดค้านกลับมองว่า การแก้ปัญหาด้วยวิธีย้ายเด็กไปเรียนรวมกันอาจเกิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และเป็นการเพิ่มภาระให้ผู้ปกครองบางคนที่อยู่ไกลจากโรงเรียน โรงเรียนขนาดเล็กบางแห่งมีคุณภาพดีกว่าโรงเรียนขนาดกลางและใหญ่ ปัญหาคุณภาพทางการศึกษาอาจอยู่ที่ครู
ทั้งนี้คณะกรรมาธิการการศึกษาได้มีมติเห็นด้วยกับกระทรวงศึกษาธิการ และได้เสนอให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้ (1) การประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองรับทราบรายละเอียดและแนวทางที่ชัดเจน (2) การเตรียมความพร้อมในเรื่องรับ-ส่งนักเรียนโดยต้องเน้นเรื่องความปลอดภัย (3) ควรมีแนวทางที่ชัดเจนว่า อาคารบ้านพักและอาคารที่ทำการของโรงเรียนต่างๆ ที่ยุบรวมจะนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องใด (4) เรื่องการโยกย้ายครูและบุคลาการทางการศึกษาในโรงเรียนที่ถูกยุบรวมให้เหมาะสมและเป็นธรรม และ(5)การจัดการศึกษาทางไกลโดยนำเทคโนโลยีใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเพิ่มโอกาสในการเรียนการสอนและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาแก่ประชาชนทุกระดับ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 49 วรรคแรกได้บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงละมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” รัฐควรมุ่งเน้นเรื่องจัดการศึกษาให้มีคุณภาพอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน การยุบโรงเรียนขนาดเล็กย่อมทำให้สถานที่ที่จะให้ความรู้ขาดหายไป การนำจำนวนนักเรียนที่น้อยกว่า 60 คน มาพิจารณาย่อมขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ในขณะเดียวกันรัฐบาลกลับตั้งงบประมาณจัดซื้อรถตู้ ทำไมไม่นำงบส่วนนี้บางส่วนไปพัฒนาโรงเรียน
การยุบโรงเรียนขนาดเล็กยังถือว่าไม่เป็นธรรมต่อชุมชน เพราะโรงเรียนขนาดเล็กส่วนมาก ชุมชนมักจะมีส่วนไม่ว่าจะเป็นการบริจาคที่ดินเพื่อก่อตั้ง ชาวบ้านที่เป็นจิตอาสาช่วยกันก่อสร้างอาคารเรียน โรงเรียนขนาดเล็กบางแห่ง โดยเฉพาะในชนบทที่อยู่ห่างไกล นักเรียนส่วนมากมักจะเป็นลูกเกษตกร การมีโรงเรียนในหมู่บ้านเป็นเรื่องที่สำคัญมาก สามารถใช้เป็นที่ดูแลบุตรหลาน การยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ควรฟังเสียงสะท้อนจากชุมชน มิฉะนั้นจะกลายเป็นรัฐละเมิดสิทธิชุมชนเสียเอง
การยุบโรงเรียนขนาดเล็กหากรัฐบาลยังคงเดินหน้าต่อไปก็ควรที่จะต้องตั้งคำถามให้กับตัวเองเสมอว่าจะจัดการศึกษาให้มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและมีความทัดเทียมกันได้อย่างไร ควรจัดระบบติดตามประเมินดูว่าแต่ละเขตพื้นที่มีอุปสรรคเช่นไร เกิดสัมฤทธิผลมากน้อยอย่างไร การเตรียมรับส่งนักเรียน แม้จะมีรถรับส่ง แต่การเรียนไกลบ้านย่อมเกิดค่าใช้จ่ายจิปาถะต่อผู้ปกครอง การจัดหาที่พักให้บุคลากรทางการศึกษาจะทำได้ตลอดหรือไม่ อย่าลืมว่านักเรียนแต่ละคนคืออนาคตของชาติ เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสำคัญ เด็กไทยต้องมีศักยภาพและสามารถแข่งขันกับเด็กชาติอื่นๆในอาเซียน
ถ้าเกิดอยากรู้เพิ่มเติมสามารถเสิร์ชหาได้ในกูเกิ้ล เพราะมันเยอะมาาาาาาก
ผมว่าถ้าเอาข่าวที่ออกมาวิเคราะห์ สามารถตอบปัญหาของเจ้าของกระทู้ได้เคลียร์เลยแหละ
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ดีเบตกันมากจนขนาดมีคนเอาไปลงใน change.org ด้วยแหละ
http://www.change.org/p/%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99-%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81
แต่ส่วนตัวผมขอไม่ออกความเห็นใด ๆ ทั้งสิ้นดีกว่า
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข่าวจาก http://news.sanook.com/1184874/%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7.%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99-17000-%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/
รมว.ศึกษาธิการ สั่งยุบโรงเรียน 17,000 แห่งทั่วประเทศ
8 พ.ค. 56 21.15 น.
8 พ.ค. - โรงเรียนขนาดเล็ก จำนวนนักเรียนน้อยกว่า 60 คน อาจถูกยุบรวมกับโรงเรียนใกล้เคียง เพื่อประสิทธิภาพและคุณภาพการศึกษา หลังกระทรวงศึกษาธิการสั่งสำรวจอย่างเร่งด่วน
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายให้กับผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศ และมอบหมายให้กลับไปสำรวจโรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียนน้อยกว่า 60 คน และเป็นโรงเรียนด้อยคุณภาพ เพื่อยุบรวมกับโรงเรียนใกล้เคียง
ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน บอกว่า ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ต้องไปดูเป็นรายโรงเรียน ไม่ให้เหมารวมทั้งหมด จากนั้นจะนำตัวเลขมาประชุมร่วมกันอีกครั้ง เพื่อให้การบริหารจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลดีกับนักเรียนทั้งด้านสิทธิโอกาสและคุณภาพการศึกษา
ข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการพบว่ามีโรงเรียนขนาดเล็ก นักเรียนน้อยกว่า 120 คน 14,861 แห่ง และโรงเรียนที่มีนักเรียนน้อยกว่า 60 คน 5,962 แห่ง นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนไม่มีนักเรียนอีก 123 แห่ง
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทยลงพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก พบว่ามีโรงเรียนหลายแห่งเข้าข่ายถูกยุบรวมกับโรงเรียนอื่น เนื่องจากมีนักเรียนไม่ถึง 60 คน
ขณะที่โรงเรียนบ้านวังประดู่ ตำบลวังพิกุล อำเภอวังทอง ถูกยุบรวมกับโรงเรียนบ้านดงพวง ตำบลวังพิกุล ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 3 กิโลเมตร เมื่อปี 2554 เนื่องจากมีนักเรียนเพียง 30 คน ผู้ปกครองนักเรียนบอกว่าเห็นด้วยกับการยุบโรงเรียนไปรวมกับโรงเรียนอื่น เพราะการเดินทางสะดวก และการเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนสาเหตุที่มีนักเรียนไม่ถึง 30 คน เกิดจากชาวบ้านที่มีฐานะนิยมส่งลูกไปเรียนโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในตัวจังหวัด.- สำนักข่าวไทย
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข่าวจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=783836
หดหู่และสะเทือนใจ .. เมื่อได้ข่าว รมต.กระทรวงศึกษา จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก ในต่างจังหวัด !!!
แต่เรื่องที่ทำให้อดีตเด็กนักเรียนต่างจังหวัดอย่างผมอดเศร้าใจ และหดหู่มากก็คือ ข่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสึกษาธิการคนใหม่ไฟแรง
คนล่าสุด มีนโยบายจะยุบโรงเรียนขนาดเล็กในต่างจังหวัด ท่านอาจจะมีเหตุผลในมุมของท่าน แต่ในฐานะคนที่เคยเป็นเด็กนักเรียนต่างจังหวัด
อยู่ท่ามกลางทุ่งนา และไร่อ้อย ที่ต้องเดินไปโรงเรียน นั่งรถสองแถว นั่งรถเมล์ไปโรงเรียน ก็เลยรู้สึกสงสารและเห็นใจเด็กต่างจังหวัดขึ้นมาทันที เพราะหลาย ๆ โรงเรียน (ขนาดเล็ก) ที่อยู่ในชนบทในปัจจุบัน ก็อยู่ห่างไกลกับบ้านของเด็กนักเรียนจำนวนหนึ่ง ซึ่งพวกเขาก็เดินทางลำบากอยู่แล้ว
การที่จะยุบโรงเรียนแห่งหนึ่งเอาไปยุบรวมกับอีกดรงเรียนหนึ่ง อาจจะทำให้การบริหารจัดการง่าย แต่ก็มีข้อควรระวังที่ต้องคำนึงถึงเหมือนกัน
เพราะถ้าทำเพื่อให้บริหารจัดการง่ายแล้ว แต่ทำให้เด็กเดินทางไปเรียนด้วย ความยากลำบากมากขึ้น ไม่เป็นการกระตุ้นจูงใจให้เด็กอยากไปโรงเรียน
แล้วมันจะเกิดประโยชน์อะไร ผมว่ากลับเป็นการบั่นทอนกำลังใจในการเรียนหนังสือนะครับ ไหน ๆ รัฐบาลชุดนี้ก็ประกาศตัวแสดงตนว่าจะทำทุก
อย่างเพื่อคนระดับรากหญ้า ซึ่งจะเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้ ผมจึงอยากให้ทบทวนนโยบายการยุบโรงเรียนขนาดเล็กใหม่
อยากให้นายกฯ ยิ่งลักษณ์พิจารณาดูผลดีผลเสียให้รอบด้าน คิดพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ จะทำอะไรลงไปก็ให้นึกถึงเด็กไทยตาดำ ๆ
ในชนบทห่างไกล ดูจากความรู้ของท่านรัฐมนตรีกระทรวงนี้ ดีกรีด๊อกเตอร์ ก็อยากเห็นท่านคิดนโยบายด้านการศึกษาที่มันสร้างสรรค์มากกว่านี้ครับ
ถ้าการปล่อยข่าวนี้ออกมาเพื่อเป็นการโยนหินถามทาง ผมเป็นคนหนึ่งแหละที่อยากจะบอกว่าท่านโยนหินมาผิดทางแล้วครับ
เรื่องที่ควรเร่งทำมากที่สุดก็คือ จะทำอย่างไรให้เด็กนักเรียนในต่างจังหวัดในชนบทไกล ๆ มีสุขภาพกายที่ดี มีอาหารกินครบทุกมื้อ
ตอนนี้มีผลสำรวจวิจัยออกมาแล้ว เด็กไทยส่วนใหญ่ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ระดับไอคิวต่ำลงเรื่อย ๆ เด็กไทยของเราในภาพรวมขาด
โภชนาการที่ดี พวกเขาต้องการอาหารครบห้าหมู่เหมือนเด็กในเมือง (ที่พ่อแม่มีสตางค์) พวกเขาต้องการสุขภาพกายใจที่แข็งแรง
พวกเขาต้องการโอกาสทางการศึกษา ต้องการความเท่าเทียมเหมือนเด็กในกรุงเทพฯ และเมื่องใหญ่ ๆ
ทุกวันนี้ช่องว่างของโอกาสทางการศึกษาของเด็กกรุงเทพฯกับเด็กต่างจังหวัด ก็ห่างกันไปทุกที แล้วท่านรัฐมนตรียังจะมาซ้ำเติม
เด็กต่างจังหวัดด้วยการประกาศนโยบายยุบโรงเรียนของพวกเขาอีก ผมว่ามันเป็นการทำร้ายเด็ก ๆ มากกว่านะครับ ถ้าบอกว่าต้องการประหยัดงบ
ประมาณการมีโรงเรียนเล็ก ๆ หลาย ๆ แห่ง กระจัดกระจาย ทำให้ต้องสูญเสียเงิน และบุคลากรเยอะมาก
ผมขอแนะนำให้โยกเงินงบประมาณบางส่วนจากนโยบายแจกแท็บเล็ต เด็กนักเรียนทั่วประเทศ มาใช้บริหารจัดการโรงเรียนเล็ก ๆ เหล่านี้
รวมทั้งจัดหาอาหารและนมให้เด็กเหล่านี้จะดีกว่าไหม ทางออกนี้จะทำให้เด็ก ๆ ยังได้เรียนต่อไปในโรงเรียนเดิม ไม่ต้องเดิน ทางไปไกล ๆ
แถมยังมีอาหารที่ถูกหลักโภชนาการให้กินด้วย สุดท้ายนี้ผมก็ขอวิงวอนให้ท่านรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรี ใช้สติและปัญญา คิดไตร่ตรองเรื่องนี้ให้
รอบคอบ ทำอะไรก็นึกถึงประเทศชาติให้มาก ๆ การทำร้ายจิตใจเด็กส่วนใหญ่ของประเทศในปัจจุบัน ก็เป็นเหมือนการทำร้ายอนาคตของชาตินะครับ !!!
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=33023&Key=hotnews
การยุบโรงเรียนขนาดเล็ก
หลังจากที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ ได้ประกาศนโยบาย "ยุบ"โรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนจำนวนไม่ถึง 60 คน และให้ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนอื่นในพื้นที่ใกล้เคียง โดยให้เหตุผลสำคัญสองประการ คือ รัฐบาลไม่มีกำลังงบประมาณพัฒนาโรงเรียนทุกแห่ง และ ไม่สามารถนำงบประมาณจากเงินภาษีมาดูแลทุกโรงเรียนได้เท่าเทียมกัน ส่งผลให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ แสดงความเห็นทั้งสนับสนุนและคัดค้านอย่างกว้างขวาง ตามที่ปรากฎให้เห็นในสื่อต่างๆ
จากข้อมูลของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) โรงเรียนที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คน มีทั้งหมด 14,816 โรง ส่วนโรงเรียนที่มีนักเรียนน้อยกว่า 60 คน มีทั้งหมด 5,962 โรง แยกเป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนไม่เกิน 20 คน จำนวน 709 โรง มีนักเรียน 21-40 คน จำนวน 2,090 โรง และมีนักเรียน 41-60 คน จำนวน 3,163 โรง
โดยฝ่ายที่ให้การสนับสนุน เชื่อว่าการยุบโรงเรียนขนาดเล็กจะทำให้ระบบการศึกษาของเด็กชนบททัดเทียมกับเด็กในเมือง กระบวนการจัดการเรียนการสอนจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และยังช่วยประหยัดงบประมาณ ซึ่งฝ่ายที่คัดค้านกลับมองว่า การแก้ปัญหาด้วยวิธีย้ายเด็กไปเรียนรวมกันอาจเกิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และเป็นการเพิ่มภาระให้ผู้ปกครองบางคนที่อยู่ไกลจากโรงเรียน โรงเรียนขนาดเล็กบางแห่งมีคุณภาพดีกว่าโรงเรียนขนาดกลางและใหญ่ ปัญหาคุณภาพทางการศึกษาอาจอยู่ที่ครู
ทั้งนี้คณะกรรมาธิการการศึกษาได้มีมติเห็นด้วยกับกระทรวงศึกษาธิการ และได้เสนอให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้ (1) การประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองรับทราบรายละเอียดและแนวทางที่ชัดเจน (2) การเตรียมความพร้อมในเรื่องรับ-ส่งนักเรียนโดยต้องเน้นเรื่องความปลอดภัย (3) ควรมีแนวทางที่ชัดเจนว่า อาคารบ้านพักและอาคารที่ทำการของโรงเรียนต่างๆ ที่ยุบรวมจะนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องใด (4) เรื่องการโยกย้ายครูและบุคลาการทางการศึกษาในโรงเรียนที่ถูกยุบรวมให้เหมาะสมและเป็นธรรม และ(5)การจัดการศึกษาทางไกลโดยนำเทคโนโลยีใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเพิ่มโอกาสในการเรียนการสอนและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาแก่ประชาชนทุกระดับ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 49 วรรคแรกได้บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงละมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” รัฐควรมุ่งเน้นเรื่องจัดการศึกษาให้มีคุณภาพอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน การยุบโรงเรียนขนาดเล็กย่อมทำให้สถานที่ที่จะให้ความรู้ขาดหายไป การนำจำนวนนักเรียนที่น้อยกว่า 60 คน มาพิจารณาย่อมขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ในขณะเดียวกันรัฐบาลกลับตั้งงบประมาณจัดซื้อรถตู้ ทำไมไม่นำงบส่วนนี้บางส่วนไปพัฒนาโรงเรียน
การยุบโรงเรียนขนาดเล็กยังถือว่าไม่เป็นธรรมต่อชุมชน เพราะโรงเรียนขนาดเล็กส่วนมาก ชุมชนมักจะมีส่วนไม่ว่าจะเป็นการบริจาคที่ดินเพื่อก่อตั้ง ชาวบ้านที่เป็นจิตอาสาช่วยกันก่อสร้างอาคารเรียน โรงเรียนขนาดเล็กบางแห่ง โดยเฉพาะในชนบทที่อยู่ห่างไกล นักเรียนส่วนมากมักจะเป็นลูกเกษตกร การมีโรงเรียนในหมู่บ้านเป็นเรื่องที่สำคัญมาก สามารถใช้เป็นที่ดูแลบุตรหลาน การยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ควรฟังเสียงสะท้อนจากชุมชน มิฉะนั้นจะกลายเป็นรัฐละเมิดสิทธิชุมชนเสียเอง
การยุบโรงเรียนขนาดเล็กหากรัฐบาลยังคงเดินหน้าต่อไปก็ควรที่จะต้องตั้งคำถามให้กับตัวเองเสมอว่าจะจัดการศึกษาให้มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและมีความทัดเทียมกันได้อย่างไร ควรจัดระบบติดตามประเมินดูว่าแต่ละเขตพื้นที่มีอุปสรรคเช่นไร เกิดสัมฤทธิผลมากน้อยอย่างไร การเตรียมรับส่งนักเรียน แม้จะมีรถรับส่ง แต่การเรียนไกลบ้านย่อมเกิดค่าใช้จ่ายจิปาถะต่อผู้ปกครอง การจัดหาที่พักให้บุคลากรทางการศึกษาจะทำได้ตลอดหรือไม่ อย่าลืมว่านักเรียนแต่ละคนคืออนาคตของชาติ เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสำคัญ เด็กไทยต้องมีศักยภาพและสามารถแข่งขันกับเด็กชาติอื่นๆในอาเซียน
แสดงความคิดเห็น
คิดเล่นๆนะครับ ทำไมเค้าไม่ยุบโรงเรียน ที่มีนักเรียนน้อยๆไม่ถึง 50 คนแบบนี้ครับ
เห็นโรงเรียนแถวบ้านนักเรียน 40 กว่าคน ครูรวมกันสิบกว่าคน โรงเรียนตามหมู่บ้าน แบบนี้ นักเรียนน้อยมาก
ผมว่าน่าจะยุบแล้ว มีรถรับส่งแบบเมืองนอก นักเรียน ป.1 ขึ่นไป ไปเรียนรวมๆกันที่ตำบล
อย่าโรงเรียน หนึง มีเด็ก 50 คน ครูผู้สอน 10 คน เงือนเดือนครู สมมุติเดือนละ 15,000 บาท x 10 = 150,000
เงินจำนวน 150,000 นี่ เอาไป จ้างคนขับ + ค่าน้ำมัน เดือนละ 15,000 ไปเลย
ผ่อนรถอีก หกล้อไว้รับส่ง เดือนละ 2x,xxx บาท
แค่นี้ส่วนต่างต่อเดือนก็เป็นแสนแล้ว ยิ่งหลายๆ โรงเรียนรวมกัน เอาเงินส่วนนี้ไป ซื้อของต่างๆ อุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ กีฬา คอม
ทำแบบนี้ประหยัดงบหลวงไปเยอะเลยครับ ให้เรียนฟรีเงินยังเหลือเลยครับ
ยังแก้ปัญหาวัยรุ่นทะเลาะกันระดับหมู่บ้าน เพราะเห็นกันตั้งแต่เด็กๆ
ให้เด็กรู้จักความรับผิดชอบ
ความตรงต่อเวลาเวลาขึ่นรถ
แน่นอนครับ ความคิดนี้ ต้องมีครูตกงานเยอะมาก การสอบแข่งขันก็ต้องสูงขึ่นอีก
จะได้มีแต่คนเก่งมีความสามารถมาสอนเด็กต่อ
ขอแท็กเฉาะ หว้ากอ นะครับ ผมเล่นแต่ห้องนี้ ห้องนี้น่าจะเปิดรับความคิดต่างที่สุดแล้ว ห้องอื่นไม่รู้เค้านิสัยยังไง กลัวถูกด่า