เห็นกระทู้บ่นเรื่องค่าครองชีพต่ำนะครับ ผมเลยจะกล่าวมุมมองผมให้ฟังว่าทำไมค่าแรงสูงอาจจะดีในระยะยาว
ต่างประเทศที่ว่าค่าครองชีพสูงเนี่ย จะเห็นว่าสูงในส่วนของสินค้าที่ใช้แรงงานเป็นหลัก เช่น งานทำความสะอาด งานเลี้ยงเด็ก จึงเห็นว่ามีคนอพยพเข้าไปทำงานใช้แรงงานกันเยอะ เช่น เม็กซิกันย้ายมาหางานในสหรัฐ หรือ Call center ของหลายบริษัทย้ายฐานไปอินเดีย เป็นต้น สินค้าที่ใช้เครื่องจักรเป็นหลักจะมีราคาถูก
เรื่องนี้ต้องกลับไปมองว่าเกิดอะไรขึ้นในอดีต
เริ่มจากการมี สหภาพแรงงานที่แข็งแรงมีประสิทธิภาพ ช่วยให้เกิดการต่อรองค่าจ้างและสวัสดิการจากบริษัทได้ สิ่งที่แลกกลับมาคือ ค่าจ้างที่สูงขึ้นทำให้มีคนว่างงานบางส่วน ซึ่งคนเหล่านี้ได้รับการชดเชยจากทางสหภาพ และ นอกจากนี้ มาตรฐานการทำงานจึงสูงตามไปด้วย ความรับผิดชอบที่ชัดเจน (เช่น คนขับรถเมล์ต้องรักษาเวลาให้ตรง ขับตามกฏจราจร ห้ามจอดนอกป้าย หรือขับถูกเลนเสมอ) ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นทำให้โรงงานหรือบริษัทจึงต้องปรับการผลิตโดยใช้คนให้น้อยลง และใช้เครื่องจักรให้มากขึ้น เพราะเครื่องจักรบ่นไม่ได้และประท้วงไม่เป็น!!
ในระยะยาวเกิดอะไรขึ้นบ้าง? บริษัทเหล่านี้จึงต้องพัฒนาเทคโนโลยี R&D ให้ใช้คนอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด จึงเห็นว่าเครื่องมือในประเทศพัฒนาจะก้าวหน้ามากๆ ชาวไร่ใช้แทรคเตอร์คันใหญ่เก็บเกี่ยวข้าวโพดทั้งไร่ได้ด้วยคนเดียวในเวลาสั้นๆ หรือ คนงานขับรถคันเล็กตัดหญ้าและโกยอัตโนมัติไปที่ท้ายรถ หรือ ระบบการทำงานถูกทำให้สั้นลง พวก Online Banking เพื่อลดค่าจ้างพนักงานที่เค้าเตอร์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้งานวิจัยหนึ่งศึกษาตลาดฝ้ายที่อังกฤษ พบว่าช่วงสงครามกลางเมืองในสหรัฐทำให้มีฝ้ายลดลง อังกฤษต้องนำเข้าฝ้ายคุณภาพต่ำจากอินเดียมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี(นับจำนวนสิทธิบัตร)ที่แก้ปัญหาฝ้ายคุณภาพต่ำและสกปรก อันนี้เป็นตัวอย่างของเทคโนโลยีที่ปรับไปตามความต้องการของตลาด
เทคโนโลยีดังกล่าวจึงส่งผลกลับมาที่ค่าจ้างอีกครั้ง ในพื้นฐานเศรษฐศาสตร์ทั่วไปเทคโนโลยีช่วยให้คนงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้ค่าแรงที่สูงขึ้นตามไปด้วย ... ย้ำว่า "ประสิทธิภาพของคนงานเพิ่มขึ้น จึงได้ค่าแรงเพิ่มขึ้น"
ต่างจากไทยอย่างไร?
อะไรคือแรงจูงใจให้บริษัทในไทยพัฒนา ลงทุนในเครื่องมือ? ... แทบจะไม่มีครับ
เหตุผลคือ ระยะเวลาในการคืนทุนของเครื่องจักรมันนานมาก สู้จ้างแรงงานถูกๆง่ายกว่า จะเลิกจ้างก็ไม่เจ็บตัวมากเท่าไร ดังนั้นงานไร้ผีมือจึงมีค่อนข้างเยอะ เมื่อไม่มีเทคโนโลยี "ประสิทธิภาพของแรงงานก็ไม่เพิ่ม และค่าแรงที่แท้จริงจึงนิ่ง"
ตัวอย่าง1) กทม ใช้คนกี่คนในการดูแลหญ้า? สามคนช่วยกันตัด สามคนช่วยกันโกย อีกคนตามเก็บ สรุปแล้วคือ 7 คนใน หนึ่งวัน ยังได้งานน้อยกว่าหนึ่งคนในยุโรปหรือสหรัฐ
ตัวอย่าง2) ต่างประเทศใช้คนขับรถเมล์คนเดียว เก็บเงินตอนขึ้น แต่เมืองไทยใช้สองคน คนหนึ่งขับ คนหนึ่งเก็บเงิน
เชื่อผมเถอะว่า เป็นไม่ได้ในระยะเวลาอันสั้น ... ถ้าใช้เทคโนโลยีแบบต่างประเทศจริงๆ จะมีคนตกงานจำนวนมาก และ ตราบใดที่คนเหล่านั้นไม่พัฒนาฝีมือ ก็จะออกมาโวยวายเรื่อยไป
สรุป:
1) บริษัทไทยจะอาศัยแต่ค่าแรงถูกไปสู้กับประเทศอื่นๆไม่ได้ ต้องพัฒนาเทคโนโลยีการผลิดไปด้วยจึงจะยืนหยัดได้ในระยะยาว
2) การเพิ่มแรงงานขั้นต่ำเฉยๆจะก่อให้เกิดเงินเฟ้อ เพราะ ประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นไม่เพิ่มตาม ... ค่าจ้างที่แท้จริงจึงไม่เปลี่ยน
3) ถ้าอยากได้ค่าแรงสูง ก็ต้องเรียนรู้เพิ่มความสามารถตัวเองให้เหมาะแก่ค่าแรงสูง (อย่าเป็นเด็กดื้อร้องขอของเล่นที่ตนเองไม่สมควรได้รับ)
ต้นทุนค่าแรงสูงทำไมจะไม่ดี?
ต่างประเทศที่ว่าค่าครองชีพสูงเนี่ย จะเห็นว่าสูงในส่วนของสินค้าที่ใช้แรงงานเป็นหลัก เช่น งานทำความสะอาด งานเลี้ยงเด็ก จึงเห็นว่ามีคนอพยพเข้าไปทำงานใช้แรงงานกันเยอะ เช่น เม็กซิกันย้ายมาหางานในสหรัฐ หรือ Call center ของหลายบริษัทย้ายฐานไปอินเดีย เป็นต้น สินค้าที่ใช้เครื่องจักรเป็นหลักจะมีราคาถูก
เรื่องนี้ต้องกลับไปมองว่าเกิดอะไรขึ้นในอดีต
เริ่มจากการมี สหภาพแรงงานที่แข็งแรงมีประสิทธิภาพ ช่วยให้เกิดการต่อรองค่าจ้างและสวัสดิการจากบริษัทได้ สิ่งที่แลกกลับมาคือ ค่าจ้างที่สูงขึ้นทำให้มีคนว่างงานบางส่วน ซึ่งคนเหล่านี้ได้รับการชดเชยจากทางสหภาพ และ นอกจากนี้ มาตรฐานการทำงานจึงสูงตามไปด้วย ความรับผิดชอบที่ชัดเจน (เช่น คนขับรถเมล์ต้องรักษาเวลาให้ตรง ขับตามกฏจราจร ห้ามจอดนอกป้าย หรือขับถูกเลนเสมอ) ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นทำให้โรงงานหรือบริษัทจึงต้องปรับการผลิตโดยใช้คนให้น้อยลง และใช้เครื่องจักรให้มากขึ้น เพราะเครื่องจักรบ่นไม่ได้และประท้วงไม่เป็น!!
ในระยะยาวเกิดอะไรขึ้นบ้าง? บริษัทเหล่านี้จึงต้องพัฒนาเทคโนโลยี R&D ให้ใช้คนอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด จึงเห็นว่าเครื่องมือในประเทศพัฒนาจะก้าวหน้ามากๆ ชาวไร่ใช้แทรคเตอร์คันใหญ่เก็บเกี่ยวข้าวโพดทั้งไร่ได้ด้วยคนเดียวในเวลาสั้นๆ หรือ คนงานขับรถคันเล็กตัดหญ้าและโกยอัตโนมัติไปที่ท้ายรถ หรือ ระบบการทำงานถูกทำให้สั้นลง พวก Online Banking เพื่อลดค่าจ้างพนักงานที่เค้าเตอร์ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เทคโนโลยีดังกล่าวจึงส่งผลกลับมาที่ค่าจ้างอีกครั้ง ในพื้นฐานเศรษฐศาสตร์ทั่วไปเทคโนโลยีช่วยให้คนงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้ค่าแรงที่สูงขึ้นตามไปด้วย ... ย้ำว่า "ประสิทธิภาพของคนงานเพิ่มขึ้น จึงได้ค่าแรงเพิ่มขึ้น"
ต่างจากไทยอย่างไร?
อะไรคือแรงจูงใจให้บริษัทในไทยพัฒนา ลงทุนในเครื่องมือ? ... แทบจะไม่มีครับ
เหตุผลคือ ระยะเวลาในการคืนทุนของเครื่องจักรมันนานมาก สู้จ้างแรงงานถูกๆง่ายกว่า จะเลิกจ้างก็ไม่เจ็บตัวมากเท่าไร ดังนั้นงานไร้ผีมือจึงมีค่อนข้างเยอะ เมื่อไม่มีเทคโนโลยี "ประสิทธิภาพของแรงงานก็ไม่เพิ่ม และค่าแรงที่แท้จริงจึงนิ่ง"
ตัวอย่าง1) กทม ใช้คนกี่คนในการดูแลหญ้า? สามคนช่วยกันตัด สามคนช่วยกันโกย อีกคนตามเก็บ สรุปแล้วคือ 7 คนใน หนึ่งวัน ยังได้งานน้อยกว่าหนึ่งคนในยุโรปหรือสหรัฐ
ตัวอย่าง2) ต่างประเทศใช้คนขับรถเมล์คนเดียว เก็บเงินตอนขึ้น แต่เมืองไทยใช้สองคน คนหนึ่งขับ คนหนึ่งเก็บเงิน
เชื่อผมเถอะว่า เป็นไม่ได้ในระยะเวลาอันสั้น ... ถ้าใช้เทคโนโลยีแบบต่างประเทศจริงๆ จะมีคนตกงานจำนวนมาก และ ตราบใดที่คนเหล่านั้นไม่พัฒนาฝีมือ ก็จะออกมาโวยวายเรื่อยไป
สรุป:
1) บริษัทไทยจะอาศัยแต่ค่าแรงถูกไปสู้กับประเทศอื่นๆไม่ได้ ต้องพัฒนาเทคโนโลยีการผลิดไปด้วยจึงจะยืนหยัดได้ในระยะยาว
2) การเพิ่มแรงงานขั้นต่ำเฉยๆจะก่อให้เกิดเงินเฟ้อ เพราะ ประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นไม่เพิ่มตาม ... ค่าจ้างที่แท้จริงจึงไม่เปลี่ยน
3) ถ้าอยากได้ค่าแรงสูง ก็ต้องเรียนรู้เพิ่มความสามารถตัวเองให้เหมาะแก่ค่าแรงสูง (อย่าเป็นเด็กดื้อร้องขอของเล่นที่ตนเองไม่สมควรได้รับ)