*** บทความนี้แพรเขียนขึ้นมาเองค่ะ เป็นครั้งแรกที่เขียนบทความลงบล็อกเลย เลยอยากรบกวนพวกพี่ๆมาช่วยดูผลงานหน่อยค่ะ ว่าอ่านแล้วเนื้อหาน่าอ่านมั้ย ควรเพิ่มหรือลดอะไรบ้าง ขอบคุณมากค่ะ ***
หรือจะตามไปอ่านแบบสวยงาม มีสี มีรูปภาพที่ที่นี่ก็ได้นะคะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://pimmyspace.blogspot.com/2014/10/blog-post.html
* เนื้อหาต่อไปนี้เป็นการแสดงความคิดเห็นของแพรที่มีต่อประเด็นนี้นะคะ การใช้ชีวิต การเห็นโลก มองโลกก็แตกต่างกันไปในแต่ละคน
คนเราเล่าเรียนกันมาถึง 20 กว่าปี บางคนเรียนแพทย์ก็เพิ่มเวลาแห่งการเรียนเข้าไปอีก บางคนพอเรียนจบตรี ก็เรียนต่อโท ต่อเอก เราเรียนกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การศึกษาเกิดขึ้นได้ทุกช่วงเวลา
จำได้ว่าสมัยแพรเรียนมาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา เด็กนักเรียนอย่างเราๆก็ไม่รู้หรอกค่ะ ว่าในอนาคตเราจะอยากเป็นอะไร เรามีความชอบในด้านใด เราจึงต้องเรียนตามที่หลักสูตรของโรงเรียนหรือกลุ่มนักวิชาการกลุ่มหนึ่งที่จัดรูปแบบการเรียนเช่นนี้มาให้เราได้เรียนตามๆกัน เราต้องใส่เครื่องแบบมาเรียน เราต้องตัดผมสั้นถึงติ่งหู เพราะถ้าเราผมยาวเลยติ่งหูเมื่อไหร่ เราจะรู้สึกว่าตัวเองนั้นทำผิดกฎต่อโลกและสังคมมากเลยเลยทีเดียว (ฮา…) หรือยังมีอีกหลากหลายเรื่องราวที่พอเราโตขึ้นสามารถนึกถึงช่วงชีวิตในวัยเรียนได้ เช่น สมัยแพรเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในกรุงเทพ ใครที่ผูกโบว์สีอื่นที่ไม่ใช่สีที่โรงเรียนอนุญาตแล้วเค้ากล้าผูกมาเนี่ย เพื่อนๆจะมองกันว่า หู้ย เด็ดดวง! นางช่างกล้าเสียจริง แต่คิดได้ไม่นาน ครูห้องปกครองจะเดินถือไม้เรียวมายืนขู่คล้ายกับพระเอกมาเฟียเรื่องคิวบิก เอ้ย มายืนดูนักเรียนคนที่ผูกโบว์สีต้องห้าม แล้วสั่งให้นักเรียนเอาโบว์ออกพร้อมบอกเหตุผลว่าทำไมไม่ทำตามกฏระเบียบของโรงเรียน ครูสั่งทำไมไม่เชื่อฟัง ถอดออกเลย เธอไม่เชื่อฟังแบบนี้โตขึ้นจะเป็นคนยังไง ต่อไปห้ามใส่อีก ซึ่งตอนนั้นแพรและเพื่อนๆก็ไม่ได้คิดอะไรมาก รู้แต่ว่าต้อง ‘ทำ’ ตามที่ครูสั่ง แต่พอโตขึ้นแล้วมานึกย้อนเหตุการณ์ในตอนนั้น ก็ได้แต่สงสัยว่า สีโบว์เนี่ย มันเกี่ยวอะไรกับการเรียนและคุณภาพชีวิตของตัวเราเอง
นอกจากเรื่องราวข้างบนแล้ว สมัยเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลยันมาถึงชีวิตนักศึกษามหาวิทยาลัย สิ่งหนึ่งที่พวกเราเหล่านักเรียนและนักศึกษาต้องเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ราวกับเราเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน ขาดเธอไม่ได้เหมือนมันขาดใจ (แต่เรานี่อยากหย่าขาดกะมันซะเหลือเกิน) นั่นก็คือ ‘เกรด’ ค่ะ
อย่างที่บอกไปเมื่อสักครู่ว่า ‘เกรด’ คือสิ่งที่ติดสอยห้อยตามเป็นเหมือนดั่งตราประทับแปะอยู่บนหน้าผากเลยก็ว่าได้ เพราะว่าเวลาไปงานรวมญาติที่ คำถามที่ญาติๆจะถามเราคือ
“อ้าวแพร เกรดเป็นไงบ้างลูก”
“เทอมที่แล้วเกรดออกยังหลาน”
“เกรดดีมั้ยหนู”
โอ้โห อยากจะตอบกลับมาว่าเกรดสบายดีแต่หนูไม่สบายจังเลยค่ะ เพราะว่าคนรอบข้างมักจะถามไถ่ถึงเกรดของเราประหนึ่งเกรดคือเพื่อนซี้ที่สุดในชีวิต ไปไหนมาไหนในชีวิตวัยเรียนยังงี้ พอคุยเรื่องอื่นแล้วก็วนเข้ามาถามเรื่องเกรดต่อเหมือนเดิม (ฮา…)
จากที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นก็เพื่อจะแสดงให้คุณผู้อ่านเห็นว่าคนทั่วๆไปนั้นมองว่า ‘เกรด’ เป็นสิ่งสำคัญและสามารถวัดคุณภาพของคนได้อย่างงั้นใช่ไหม คำตอบนี้ในใจของใครหลายๆคนก็อาจจะตอบว่า “ใช่” เพราะว่าเกรดเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพในตัวของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีที่สุด หากเราไม่มีเกรดมาวัดคุณภาพ เราก็จะไม่สามารถรู้ได้เลยนะ ว่าลูก หลาน เหลน ลูกคนข้างบ้านของเราเนี่ย ฉลาด หรือ ไม่ฉลาด
พออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ผู้อ่านบางคนก็อาจจะมีความรู้สึกเห็นด้วยใช่ไหมคะ ว่าเกรดเนี่ยสามารถวัดคุณภาพของคนได้จริงๆ แต่แพรก็เชื่อว่ามีผู้อ่านอีกส่วนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยว่า ‘เกรด’ ไม่สามารถวัดคุณภาพชีวิตของคนได้ อย่างแท้จริง
สำหรับส่วนตัวแพรแล้ว แพรเชื่อว่า ‘เกรด’ ไม่สามารถวัดคุณภาพชีวิตของคนเราได้ค่ะ จะเป็นเพราะอะไรบ้างนั้น มาดูกัน…
ก่อนอื่นขอเล่าเกี่ยวกับชีวิตการเรียนและเกรดของตัวแพรเองก่อนนะคะ ตัวแพรเนี่ยเป็นคนชอบอ่านนู่น อ่านนี่ ชอบเข้าร้านหนังสือตั้งแต่เด็กๆยันมาถึงปัจจุบันนี้ก็ยังชอบเข้าร้านหนังสือ ไปซื้อหนังสือสไตล์ที่ตัวเองชอบ สมัยอนุบาลแพรเคยซ้ำชั้นอ.1(อนุบาล 1)ด้วยนะ เพราะว่าแม่แพรบอกว่าแพรนับ 1 ถึง 10 ไม่ได้ (โอย ชีวิต ...) ก็เลยซ้ำชั้น อ.1 กันอย่างหนำใจไปปีนึง พอมาประถมสอบได้เกรดดี ดีคือดีงาม ไม่ใช่เกรด D ยังงี้นะคะ (ฮา..) อาจจะเป็นเพราะว่าวิชาในประถมไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน เกรดเลยออกมาตามความเข้าใจของเราในช่วงนั้น ซึ่งเราเข้าใจ เราเลยสอบแล้วทำเกรดได้ดี แพรทำเกรดได้ดีเกรด 3 ขึ้นมาจนถึงช่วงม.ต้นเลยค่ะ สมัยม.ต้น นี่แพรอยู่ห้อง King ด้วยนะ ฮี่ฮี่ พอเราอยู่ห้องเก่งสุดแล้วเนี่ย ในใจตอนนั้นฮึกเหิมประหนึ่งแม่ทัพนำกองทัพไปตีเมืองอื่นๆ มันดูเลือกได้ว่า เอ.. ฉันจะอยู่สายอะไรดีนะในม.ปลาย ฉันดูเข้าได้หมดเลย ปวดหมองเจรงงง ดูเลือกได๊ เลือกได้ (น่าเตะเน้าะ) และแล้วความฮึกเหิม ก็นำมาสู่ความ
เอ้ย เรียกว่าความทุกข์ในชีวิตก็แล้วกัน เพราะว่าไอ้อาการเลือกได้เนี่ย แพรดันไปเลือกสายวิทย์-คณิตค่ะ เรียนเข้าไปสิ เช้ายันเย็น เพื่อนๆสายอื่นเค้าเลิกเรียนกันแล้ว เรานี่นั่งมองตาละห้อยจากในห้องเรียน คิดในใจกูอยากไปเดินด้วย ยิ่งเห็นเพื่อนๆสายอื่นมันเดินกินไก่ชุบแป้งทอด น้ำแข็งใสเย็นๆแล้วนั้น ยิ่งรู้สึกว่า โอ้ ชีวิตของฉันช่างทำร้ายกันได้ลงคอ ...
ช่วงชีวิตตอนที่เรียนสายวิทย์-คณิตเนี่ยนะ ถ้าใครไม่ชอบเรียนด้านพวกนี้จริงๆ เรียนไปก็เหนื่อยใจไป แพรมารู้ว่าตัวเองควรเรียนสายศิลป์ภาษาก็ต่อเมื่อหลวมตัวเข้าสายวิทย์-คณิตมาเรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้นเมื่อถึงคาบเรียนวิชาภาษาอังกฤษแพรจะตั้งใจและชอบมากที่สุด พอชอบมากเราก็ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมนอกห้องเรียนเอง พอผลสอบออกมา ด้วยความที่รักและตั้งใจมากทำให้เกรดออกมาดีที่สุด ดีกว่าวิชาหลักของสายวิทย์-คณิตเสียอีก สวนทางด้านวิชาคณิตศาสตร์ทั้งหลักและเสริม หรือวิชาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ บลาๆ เข้า lab อีก ด้วยความที่เราไม่ชอบด้านนี้จริงๆ เกรดออกมา มันแย่มากๆเลย ถึงแม้ว่าเกรดวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และวิชาสังคมจะเกรดดีแต่หน่วยกิตอย่างวิชาหลักๆวิทย์-คณิตที่ออกมาแย่มาก ก็กลายมาเป็นตัวฉุดให้เกรดร่วงลงดินอย่างแรง คือมันจะอารมณ์ประมาณว่าแพรรู้เกรดวิชาภาษาอังกฤษ ไทย สังคมแล้วว่าออกมาดี เกรดรวม 3 วิชานี้สวยงาม คะแนนสูงลิบลิ่วดั่งตึกใบหยก พอมารู้เกรดวิชาวิทย์-คณิตปุ้ป จากตึกใบหยกอยู่ดีๆร่วงดิ่งลงมาสถานีรถไฟใต้ดินเฉยเลย
แล้วทีนี้หลังเทศกาลประกาศผลสอบออกไป บรรดาคนรู้จักรอบข้างก็จะถามไถ่ว่าเกรดเป็นยังไงบ้าง แล้วแพรจะตอบแบบพะเงิบพะงาบว่า 2.8 หรือ 2.9 ค่า ซึ่งพอบอกไปแล้ว คนก็จะมองเราด้วยสีหน้าที่ออกมาประมาณว่า โห่ ไม่เก่งนี่หว่า ... (ก็เอ๊า.. สิ่งที่เรียน มันไม่ใช่สิ่งที่ใช่นี่นา)
พอมาถึงม.5 ปลายๆ แพรรู้เป้าหมายตัวเองแล้วว่า ถ้าจะให้แอดมิชชั่นไปคณะสายวิทย์-คณิตนี่ ไม่เอาอีกแล้วอย่างแน่นอน เราชอบภาษา ชอบการพูด การแสดงออก การใช้ความคิด เพราะฉะนั้นแพรเลยมุ่งไปเอาดีด้านสายภาษาอย่างจริงๆจังๆมาก มีเรียน มีติวที่ไหนเกี่ยวกับภาษา แพรไปหมดค่ะ เรียนพิเศษภาษาอังกฤษตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ 5 โมงเย็นถึง 4 ทุ่ม เรียนไป 1 เดือนเต็มๆก็ทำมาแล้ว ชีวิตช่วงนั้นเหนื่อยมาก เพราะใจก็กังวลว่าเราจะติดคณะที่เราหวังเอาไว้มั้ย ถ้าไม่ติดชีวิตเราจะเปลี่ยนไปเป็นยังไง แต่ผลสุดท้ายออกมา ก็ช่างคุ้มค่ากับสิ่งที่ลงมือทำ แพรติดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยในฝันด้วย ผ่านมาได้อย่างเหน็ดเหนื่อย แม้แกรดม.ปลายมันจะไม่แตะเลข 3 ก็ตาม
แต่พอแพรได้มาอยู่กับสิ่งที่ชอบและคิดว่าใช่ มันทำให้รู้สึกเหมือนว่าทั้งๆที่เราเรียน แต่เราก็ไม่ได้เรียนอยู่ เพียงแต่เรากำลังมาเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองชอบมากกว่า ทุกๆการบ้านคือการฝึกปรือฝีมือของตนเอง ดังนั้นพอผลสอบแพรออกมา ปีนี้แพรก็อยู่ปี 3 แล้วเกรดรวมของทั้ง 2 ชั้นปีที่ผ่านมา แพรได้เกรด 3 ขึ้น ซึ่งแตกต่างจากเกรดม.ปลายอย่างลิบลับ และตอนนี้แพรยังทำอีกอาชีพหนึ่งคือการเป็นติวเตอร์สอนพิเศษที่สถาบันแห่งหนึงที่อยู่ในห้างได้อีกด้วย
ด้วยสาเหตุที่ร่ายยาวมาทั้งหมดนี้ ก็เพื่อจะให้คุณผู้อ่านได้เห็นว่า อันที่จริงแล้ว ‘เกรด’ ไม่สามารถที่จะบ่งชี้คุณภาพของตัวบุคคลได้ในความคิดเห็นสวนตัวของแพรเอง แต่ ‘เกรด’ ก็ยังถือเป็นตัวที่วัดความตั้งอกตั้งใจในการเรียนได้เช่นกัน เพราะว่าเราไม่สามารถรู้ว่าสิ่งที่เค้าเรียนนั้นเป็นอย่างไร เค้าได้เรียนกับสิ่งที่เค้าชอบหรือไม่ เค้าต้องเรียนกับสิ่งที่ระบบๆหนึ่งจัดรูปแบบการสอนมาให้เค้าเรียนแล้วมีวิชาที่เค้าไม่ถนัดหรือเปล่า หรือเค้ามีความสามารถที่ดีในวิชาที่นอกเหนือจากวิชาที่อยู่ในห้องเรียนหรือไม่ แล้วถึงเค้า(หรือเราด้วย)เกรดไม่ดี แต่เค้ามีประสบการณ์นอกห้องเรียนที่สูงกว่า เค้าก็สามารถที่จะมีอนาคตที่ดี ก้าวไกลกว่าคนที่เรียนดี เกรดดีก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นเราควรวัดคุณภาพคนที่นิสัย การกระทำ การแสดงออก และสิ่งที่คนๆนั้นชอบและถนัดมากกว่า เพราะคนเราเกิดมามีสิ่งที่รักและมีความฝันที่แตกต่างกันออกไป ไม่อย่างนั้นบนโลกนี้คงมีแต่คนที่เป็นหมอ เป็นแต่นักบัญชี เป็นทนาย หรือเป็นนายกกันไปหมดทุกคน
เพราะฉะนั้นวันนี้ ‘คุณ’ จะสนใจเกรดว่าเป็นที่สุดของคุณ หรือ ‘คุณ’ จะเริ่มค้นหาสิ่งที่ตัวคุณรักและทำมันให้ประสบผลสำเร็จหรือเปล่า เลิกคิดถึงการวัดคุณภาพผู้อื่นด้วยเกรดอันได้มาด้วยความที่ชอบและไม่ชอบของแต่ละบุคคลว่ามันเป็นเช่นไร แต่ ‘คุณ’ ลองมามองที่ตัวคุณแล้วนึกถามตนเองหน้ากระจกว่า ในเมื่อ ‘เกรด’ ของคุณดีแล้ว แล้วความฝันหรือสิ่งที่คุณรักล่ะ ดีหรือยัง?
‘เกรด’ วัดคุณภาพของคนจริงหรือ?? (รบกวนดูบทความให้หน่อยค่ะว่าเขียนออกมาดีไหมคะ)
หรือจะตามไปอ่านแบบสวยงาม มีสี มีรูปภาพที่ที่นี่ก็ได้นะคะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
* เนื้อหาต่อไปนี้เป็นการแสดงความคิดเห็นของแพรที่มีต่อประเด็นนี้นะคะ การใช้ชีวิต การเห็นโลก มองโลกก็แตกต่างกันไปในแต่ละคน
คนเราเล่าเรียนกันมาถึง 20 กว่าปี บางคนเรียนแพทย์ก็เพิ่มเวลาแห่งการเรียนเข้าไปอีก บางคนพอเรียนจบตรี ก็เรียนต่อโท ต่อเอก เราเรียนกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การศึกษาเกิดขึ้นได้ทุกช่วงเวลา
จำได้ว่าสมัยแพรเรียนมาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา เด็กนักเรียนอย่างเราๆก็ไม่รู้หรอกค่ะ ว่าในอนาคตเราจะอยากเป็นอะไร เรามีความชอบในด้านใด เราจึงต้องเรียนตามที่หลักสูตรของโรงเรียนหรือกลุ่มนักวิชาการกลุ่มหนึ่งที่จัดรูปแบบการเรียนเช่นนี้มาให้เราได้เรียนตามๆกัน เราต้องใส่เครื่องแบบมาเรียน เราต้องตัดผมสั้นถึงติ่งหู เพราะถ้าเราผมยาวเลยติ่งหูเมื่อไหร่ เราจะรู้สึกว่าตัวเองนั้นทำผิดกฎต่อโลกและสังคมมากเลยเลยทีเดียว (ฮา…) หรือยังมีอีกหลากหลายเรื่องราวที่พอเราโตขึ้นสามารถนึกถึงช่วงชีวิตในวัยเรียนได้ เช่น สมัยแพรเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในกรุงเทพ ใครที่ผูกโบว์สีอื่นที่ไม่ใช่สีที่โรงเรียนอนุญาตแล้วเค้ากล้าผูกมาเนี่ย เพื่อนๆจะมองกันว่า หู้ย เด็ดดวง! นางช่างกล้าเสียจริง แต่คิดได้ไม่นาน ครูห้องปกครองจะเดินถือไม้เรียวมายืนขู่คล้ายกับพระเอกมาเฟียเรื่องคิวบิก เอ้ย มายืนดูนักเรียนคนที่ผูกโบว์สีต้องห้าม แล้วสั่งให้นักเรียนเอาโบว์ออกพร้อมบอกเหตุผลว่าทำไมไม่ทำตามกฏระเบียบของโรงเรียน ครูสั่งทำไมไม่เชื่อฟัง ถอดออกเลย เธอไม่เชื่อฟังแบบนี้โตขึ้นจะเป็นคนยังไง ต่อไปห้ามใส่อีก ซึ่งตอนนั้นแพรและเพื่อนๆก็ไม่ได้คิดอะไรมาก รู้แต่ว่าต้อง ‘ทำ’ ตามที่ครูสั่ง แต่พอโตขึ้นแล้วมานึกย้อนเหตุการณ์ในตอนนั้น ก็ได้แต่สงสัยว่า สีโบว์เนี่ย มันเกี่ยวอะไรกับการเรียนและคุณภาพชีวิตของตัวเราเอง
นอกจากเรื่องราวข้างบนแล้ว สมัยเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลยันมาถึงชีวิตนักศึกษามหาวิทยาลัย สิ่งหนึ่งที่พวกเราเหล่านักเรียนและนักศึกษาต้องเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ราวกับเราเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน ขาดเธอไม่ได้เหมือนมันขาดใจ (แต่เรานี่อยากหย่าขาดกะมันซะเหลือเกิน) นั่นก็คือ ‘เกรด’ ค่ะ
อย่างที่บอกไปเมื่อสักครู่ว่า ‘เกรด’ คือสิ่งที่ติดสอยห้อยตามเป็นเหมือนดั่งตราประทับแปะอยู่บนหน้าผากเลยก็ว่าได้ เพราะว่าเวลาไปงานรวมญาติที่ คำถามที่ญาติๆจะถามเราคือ
“อ้าวแพร เกรดเป็นไงบ้างลูก”
“เทอมที่แล้วเกรดออกยังหลาน”
“เกรดดีมั้ยหนู”
โอ้โห อยากจะตอบกลับมาว่าเกรดสบายดีแต่หนูไม่สบายจังเลยค่ะ เพราะว่าคนรอบข้างมักจะถามไถ่ถึงเกรดของเราประหนึ่งเกรดคือเพื่อนซี้ที่สุดในชีวิต ไปไหนมาไหนในชีวิตวัยเรียนยังงี้ พอคุยเรื่องอื่นแล้วก็วนเข้ามาถามเรื่องเกรดต่อเหมือนเดิม (ฮา…)
จากที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นก็เพื่อจะแสดงให้คุณผู้อ่านเห็นว่าคนทั่วๆไปนั้นมองว่า ‘เกรด’ เป็นสิ่งสำคัญและสามารถวัดคุณภาพของคนได้อย่างงั้นใช่ไหม คำตอบนี้ในใจของใครหลายๆคนก็อาจจะตอบว่า “ใช่” เพราะว่าเกรดเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพในตัวของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีที่สุด หากเราไม่มีเกรดมาวัดคุณภาพ เราก็จะไม่สามารถรู้ได้เลยนะ ว่าลูก หลาน เหลน ลูกคนข้างบ้านของเราเนี่ย ฉลาด หรือ ไม่ฉลาด
พออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ผู้อ่านบางคนก็อาจจะมีความรู้สึกเห็นด้วยใช่ไหมคะ ว่าเกรดเนี่ยสามารถวัดคุณภาพของคนได้จริงๆ แต่แพรก็เชื่อว่ามีผู้อ่านอีกส่วนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยว่า ‘เกรด’ ไม่สามารถวัดคุณภาพชีวิตของคนได้ อย่างแท้จริง
สำหรับส่วนตัวแพรแล้ว แพรเชื่อว่า ‘เกรด’ ไม่สามารถวัดคุณภาพชีวิตของคนเราได้ค่ะ จะเป็นเพราะอะไรบ้างนั้น มาดูกัน…
ก่อนอื่นขอเล่าเกี่ยวกับชีวิตการเรียนและเกรดของตัวแพรเองก่อนนะคะ ตัวแพรเนี่ยเป็นคนชอบอ่านนู่น อ่านนี่ ชอบเข้าร้านหนังสือตั้งแต่เด็กๆยันมาถึงปัจจุบันนี้ก็ยังชอบเข้าร้านหนังสือ ไปซื้อหนังสือสไตล์ที่ตัวเองชอบ สมัยอนุบาลแพรเคยซ้ำชั้นอ.1(อนุบาล 1)ด้วยนะ เพราะว่าแม่แพรบอกว่าแพรนับ 1 ถึง 10 ไม่ได้ (โอย ชีวิต ...) ก็เลยซ้ำชั้น อ.1 กันอย่างหนำใจไปปีนึง พอมาประถมสอบได้เกรดดี ดีคือดีงาม ไม่ใช่เกรด D ยังงี้นะคะ (ฮา..) อาจจะเป็นเพราะว่าวิชาในประถมไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน เกรดเลยออกมาตามความเข้าใจของเราในช่วงนั้น ซึ่งเราเข้าใจ เราเลยสอบแล้วทำเกรดได้ดี แพรทำเกรดได้ดีเกรด 3 ขึ้นมาจนถึงช่วงม.ต้นเลยค่ะ สมัยม.ต้น นี่แพรอยู่ห้อง King ด้วยนะ ฮี่ฮี่ พอเราอยู่ห้องเก่งสุดแล้วเนี่ย ในใจตอนนั้นฮึกเหิมประหนึ่งแม่ทัพนำกองทัพไปตีเมืองอื่นๆ มันดูเลือกได้ว่า เอ.. ฉันจะอยู่สายอะไรดีนะในม.ปลาย ฉันดูเข้าได้หมดเลย ปวดหมองเจรงงง ดูเลือกได๊ เลือกได้ (น่าเตะเน้าะ) และแล้วความฮึกเหิม ก็นำมาสู่ความ เอ้ย เรียกว่าความทุกข์ในชีวิตก็แล้วกัน เพราะว่าไอ้อาการเลือกได้เนี่ย แพรดันไปเลือกสายวิทย์-คณิตค่ะ เรียนเข้าไปสิ เช้ายันเย็น เพื่อนๆสายอื่นเค้าเลิกเรียนกันแล้ว เรานี่นั่งมองตาละห้อยจากในห้องเรียน คิดในใจกูอยากไปเดินด้วย ยิ่งเห็นเพื่อนๆสายอื่นมันเดินกินไก่ชุบแป้งทอด น้ำแข็งใสเย็นๆแล้วนั้น ยิ่งรู้สึกว่า โอ้ ชีวิตของฉันช่างทำร้ายกันได้ลงคอ ...
ช่วงชีวิตตอนที่เรียนสายวิทย์-คณิตเนี่ยนะ ถ้าใครไม่ชอบเรียนด้านพวกนี้จริงๆ เรียนไปก็เหนื่อยใจไป แพรมารู้ว่าตัวเองควรเรียนสายศิลป์ภาษาก็ต่อเมื่อหลวมตัวเข้าสายวิทย์-คณิตมาเรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้นเมื่อถึงคาบเรียนวิชาภาษาอังกฤษแพรจะตั้งใจและชอบมากที่สุด พอชอบมากเราก็ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมนอกห้องเรียนเอง พอผลสอบออกมา ด้วยความที่รักและตั้งใจมากทำให้เกรดออกมาดีที่สุด ดีกว่าวิชาหลักของสายวิทย์-คณิตเสียอีก สวนทางด้านวิชาคณิตศาสตร์ทั้งหลักและเสริม หรือวิชาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ บลาๆ เข้า lab อีก ด้วยความที่เราไม่ชอบด้านนี้จริงๆ เกรดออกมา มันแย่มากๆเลย ถึงแม้ว่าเกรดวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และวิชาสังคมจะเกรดดีแต่หน่วยกิตอย่างวิชาหลักๆวิทย์-คณิตที่ออกมาแย่มาก ก็กลายมาเป็นตัวฉุดให้เกรดร่วงลงดินอย่างแรง คือมันจะอารมณ์ประมาณว่าแพรรู้เกรดวิชาภาษาอังกฤษ ไทย สังคมแล้วว่าออกมาดี เกรดรวม 3 วิชานี้สวยงาม คะแนนสูงลิบลิ่วดั่งตึกใบหยก พอมารู้เกรดวิชาวิทย์-คณิตปุ้ป จากตึกใบหยกอยู่ดีๆร่วงดิ่งลงมาสถานีรถไฟใต้ดินเฉยเลย
แล้วทีนี้หลังเทศกาลประกาศผลสอบออกไป บรรดาคนรู้จักรอบข้างก็จะถามไถ่ว่าเกรดเป็นยังไงบ้าง แล้วแพรจะตอบแบบพะเงิบพะงาบว่า 2.8 หรือ 2.9 ค่า ซึ่งพอบอกไปแล้ว คนก็จะมองเราด้วยสีหน้าที่ออกมาประมาณว่า โห่ ไม่เก่งนี่หว่า ... (ก็เอ๊า.. สิ่งที่เรียน มันไม่ใช่สิ่งที่ใช่นี่นา)
พอมาถึงม.5 ปลายๆ แพรรู้เป้าหมายตัวเองแล้วว่า ถ้าจะให้แอดมิชชั่นไปคณะสายวิทย์-คณิตนี่ ไม่เอาอีกแล้วอย่างแน่นอน เราชอบภาษา ชอบการพูด การแสดงออก การใช้ความคิด เพราะฉะนั้นแพรเลยมุ่งไปเอาดีด้านสายภาษาอย่างจริงๆจังๆมาก มีเรียน มีติวที่ไหนเกี่ยวกับภาษา แพรไปหมดค่ะ เรียนพิเศษภาษาอังกฤษตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ 5 โมงเย็นถึง 4 ทุ่ม เรียนไป 1 เดือนเต็มๆก็ทำมาแล้ว ชีวิตช่วงนั้นเหนื่อยมาก เพราะใจก็กังวลว่าเราจะติดคณะที่เราหวังเอาไว้มั้ย ถ้าไม่ติดชีวิตเราจะเปลี่ยนไปเป็นยังไง แต่ผลสุดท้ายออกมา ก็ช่างคุ้มค่ากับสิ่งที่ลงมือทำ แพรติดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยในฝันด้วย ผ่านมาได้อย่างเหน็ดเหนื่อย แม้แกรดม.ปลายมันจะไม่แตะเลข 3 ก็ตาม
แต่พอแพรได้มาอยู่กับสิ่งที่ชอบและคิดว่าใช่ มันทำให้รู้สึกเหมือนว่าทั้งๆที่เราเรียน แต่เราก็ไม่ได้เรียนอยู่ เพียงแต่เรากำลังมาเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองชอบมากกว่า ทุกๆการบ้านคือการฝึกปรือฝีมือของตนเอง ดังนั้นพอผลสอบแพรออกมา ปีนี้แพรก็อยู่ปี 3 แล้วเกรดรวมของทั้ง 2 ชั้นปีที่ผ่านมา แพรได้เกรด 3 ขึ้น ซึ่งแตกต่างจากเกรดม.ปลายอย่างลิบลับ และตอนนี้แพรยังทำอีกอาชีพหนึ่งคือการเป็นติวเตอร์สอนพิเศษที่สถาบันแห่งหนึงที่อยู่ในห้างได้อีกด้วย
ด้วยสาเหตุที่ร่ายยาวมาทั้งหมดนี้ ก็เพื่อจะให้คุณผู้อ่านได้เห็นว่า อันที่จริงแล้ว ‘เกรด’ ไม่สามารถที่จะบ่งชี้คุณภาพของตัวบุคคลได้ในความคิดเห็นสวนตัวของแพรเอง แต่ ‘เกรด’ ก็ยังถือเป็นตัวที่วัดความตั้งอกตั้งใจในการเรียนได้เช่นกัน เพราะว่าเราไม่สามารถรู้ว่าสิ่งที่เค้าเรียนนั้นเป็นอย่างไร เค้าได้เรียนกับสิ่งที่เค้าชอบหรือไม่ เค้าต้องเรียนกับสิ่งที่ระบบๆหนึ่งจัดรูปแบบการสอนมาให้เค้าเรียนแล้วมีวิชาที่เค้าไม่ถนัดหรือเปล่า หรือเค้ามีความสามารถที่ดีในวิชาที่นอกเหนือจากวิชาที่อยู่ในห้องเรียนหรือไม่ แล้วถึงเค้า(หรือเราด้วย)เกรดไม่ดี แต่เค้ามีประสบการณ์นอกห้องเรียนที่สูงกว่า เค้าก็สามารถที่จะมีอนาคตที่ดี ก้าวไกลกว่าคนที่เรียนดี เกรดดีก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นเราควรวัดคุณภาพคนที่นิสัย การกระทำ การแสดงออก และสิ่งที่คนๆนั้นชอบและถนัดมากกว่า เพราะคนเราเกิดมามีสิ่งที่รักและมีความฝันที่แตกต่างกันออกไป ไม่อย่างนั้นบนโลกนี้คงมีแต่คนที่เป็นหมอ เป็นแต่นักบัญชี เป็นทนาย หรือเป็นนายกกันไปหมดทุกคน
เพราะฉะนั้นวันนี้ ‘คุณ’ จะสนใจเกรดว่าเป็นที่สุดของคุณ หรือ ‘คุณ’ จะเริ่มค้นหาสิ่งที่ตัวคุณรักและทำมันให้ประสบผลสำเร็จหรือเปล่า เลิกคิดถึงการวัดคุณภาพผู้อื่นด้วยเกรดอันได้มาด้วยความที่ชอบและไม่ชอบของแต่ละบุคคลว่ามันเป็นเช่นไร แต่ ‘คุณ’ ลองมามองที่ตัวคุณแล้วนึกถามตนเองหน้ากระจกว่า ในเมื่อ ‘เกรด’ ของคุณดีแล้ว แล้วความฝันหรือสิ่งที่คุณรักล่ะ ดีหรือยัง?