"วิชา มหาคุณ" ชี้นักกฎหมายที่ดีต้องมีจริยธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม
วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เวลา 22:19:34 น.
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จัดโครงการ “จริยธรรมในวิชาชีพนักกฎหมาย” ซึ่งนายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. เป็นประธานเปิดงาน และมีนายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.เข้าร่วมโครงการดังกล่าว โดยนายวิชา ได้บรรยายพิเศษตอนหนึ่งถึง “จริยธรรมในวิชาชีพกฎหมาย” ว่าทางมหาวิทยาลัยมหิดลได้ร่วมทำการวิจัยและเก็บข้อมูลเรื่องของหลักการ วิชาการ รวมถึงในส่วนของต่างประเทศและการเก็บข้อมูลมาจากตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง อัยการ ทนายความ นอกจากนี้ต้องการเก็บข้อมูลจากประชาชนด้วย โดยวันนี้ตนจะสรุปปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้เห็นภาพและนำไปปรับปรุงก่อนที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและจะได้รู้ว่าต้องทำอย่างไรให้การประมวลจริยธรรมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสามารถเดินไปในทิศทางเดียวกันได้โดยมาตราฐานความประพฤติของผู้ประกอบการวิชาชีพกฎหมายอาเซียนต้องไม่ต่ำกว่าของประเทศยุโรป และประเทศสหรัฐอเมริกา
“มีคนพูดว่าการปฏิรูปประเทศให้สำเร็จยั่งยืนจะต้องเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนในสังคมคือการปรับทัศนคติ ความมั่นคงแห่งรัฐ โดยนักกฎหมายจะนึกถึงตัวเป็นใหญ่ เพราะมักถูกฝึกไว้ให้ยึดตัวเองเป็นหลัก และรัฐจะมั่นคงได้จะต้องดูจากความดีของคนที่ปกครอง ทั้งนี้ แนวคิดและทฤษฎีของจริยธรรม คือ หลักนิติธรรม ความยุติธรรม และการยึดมั่นในสิ่งที่ชอบธรรม เช่นเดียวกันกับการปฎิรูปองค์กรของตนเองด้วย” นายวิชา กล่าว
นายวิชา กล่าวว่า หลักจริยธรรมเมื่อเปรียบเทียบในวิชาชีพกฎหมาย ต้องเป็นอิสระซึ่งไม่ได้หมายความว่าทำตามชอบได้ แต่ต้องไม่ถูกกดขี่หรือบังคับและต้องการรักษาความลับเกี่ยวกับการติดต่อลูกความ โดยที่สำคัญต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ทั้งนี้การเสนอแนะด้านการปลูกฝังค่านิยม การศึกษาอบรมหลักสูตรและการเรียนการสอน ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการปรับปรุงระบบส่งเสริมจริยธรรมวิชาชีพ
นายวิชา กล่าวว่า หากไม่มีจริยธรรมในวิชาชีพนักกฎหมายผลกระทบคือทำให้คนไม่เชื่อถือระบบกระบวนการยุติธรรม เราจะทำอย่างไรให้คนเห็นว่าตัดสินแล้วมีความเคารพศาล อย่างที่ผ่านมาประชาชนไม่เคารพกฎหมาย เมื่อศาลตัดสินไปแล้ว แต่ไม่ยอมรับคำตัดสินของศาล ใครฝ่าฝืนได้ ทำให้มีคนยกย่อง ทำให้มีระบบอุปถัมภ์ อำนาจนิยม การทุจริต และสุดท้ายสังคมเกิดความแตกแยก
นายวิชา กล่าวว่า หลักจริยธรรมวิชาชีพเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้การประพฤติปฏิบัติของผู้ประกอบการวิชาชีพกฏหมายได้รับการยอมรับจากสาธารณชนและมีความสำคัญต่อการดำรงไว้ซึ่งความมั่นคงแห่งรัฐและเป็นความรับผิดชอบของผู้ประกอบอาชีพทั่วไป ทั้งนี้การประกอบวิชาชีพกฎหมายในประเทศไทย ไม่อาจหนีพ้นจากความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกได้ ไม่ว่าจะทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพกฎหมาย โดยเฉพาะค่านิยมทางสังคมที่มุ่งเน้นวัตถุนิยม และบริโถคนิยมเป็นหลักฐาน ทำให้ความประพฤติพื้นฐานได้ห่างออกจากหลักกฎหมาย ศิลธรรม และจริยะรรม ซึ่งสิ่งนี้เป็นแนวทางสำคัญของจริยธรรมวิชาชีพกฎหมาย
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1414411285
"วิชา มหาคุณ" ชี้นักกฎหมายที่ดีต้องมีจริยธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม
วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เวลา 22:19:34 น.
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จัดโครงการ “จริยธรรมในวิชาชีพนักกฎหมาย” ซึ่งนายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. เป็นประธานเปิดงาน และมีนายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.เข้าร่วมโครงการดังกล่าว โดยนายวิชา ได้บรรยายพิเศษตอนหนึ่งถึง “จริยธรรมในวิชาชีพกฎหมาย” ว่าทางมหาวิทยาลัยมหิดลได้ร่วมทำการวิจัยและเก็บข้อมูลเรื่องของหลักการ วิชาการ รวมถึงในส่วนของต่างประเทศและการเก็บข้อมูลมาจากตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง อัยการ ทนายความ นอกจากนี้ต้องการเก็บข้อมูลจากประชาชนด้วย โดยวันนี้ตนจะสรุปปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้เห็นภาพและนำไปปรับปรุงก่อนที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและจะได้รู้ว่าต้องทำอย่างไรให้การประมวลจริยธรรมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสามารถเดินไปในทิศทางเดียวกันได้โดยมาตราฐานความประพฤติของผู้ประกอบการวิชาชีพกฎหมายอาเซียนต้องไม่ต่ำกว่าของประเทศยุโรป และประเทศสหรัฐอเมริกา
“มีคนพูดว่าการปฏิรูปประเทศให้สำเร็จยั่งยืนจะต้องเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนในสังคมคือการปรับทัศนคติ ความมั่นคงแห่งรัฐ โดยนักกฎหมายจะนึกถึงตัวเป็นใหญ่ เพราะมักถูกฝึกไว้ให้ยึดตัวเองเป็นหลัก และรัฐจะมั่นคงได้จะต้องดูจากความดีของคนที่ปกครอง ทั้งนี้ แนวคิดและทฤษฎีของจริยธรรม คือ หลักนิติธรรม ความยุติธรรม และการยึดมั่นในสิ่งที่ชอบธรรม เช่นเดียวกันกับการปฎิรูปองค์กรของตนเองด้วย” นายวิชา กล่าว
นายวิชา กล่าวว่า หลักจริยธรรมเมื่อเปรียบเทียบในวิชาชีพกฎหมาย ต้องเป็นอิสระซึ่งไม่ได้หมายความว่าทำตามชอบได้ แต่ต้องไม่ถูกกดขี่หรือบังคับและต้องการรักษาความลับเกี่ยวกับการติดต่อลูกความ โดยที่สำคัญต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ทั้งนี้การเสนอแนะด้านการปลูกฝังค่านิยม การศึกษาอบรมหลักสูตรและการเรียนการสอน ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการปรับปรุงระบบส่งเสริมจริยธรรมวิชาชีพ
นายวิชา กล่าวว่า หากไม่มีจริยธรรมในวิชาชีพนักกฎหมายผลกระทบคือทำให้คนไม่เชื่อถือระบบกระบวนการยุติธรรม เราจะทำอย่างไรให้คนเห็นว่าตัดสินแล้วมีความเคารพศาล อย่างที่ผ่านมาประชาชนไม่เคารพกฎหมาย เมื่อศาลตัดสินไปแล้ว แต่ไม่ยอมรับคำตัดสินของศาล ใครฝ่าฝืนได้ ทำให้มีคนยกย่อง ทำให้มีระบบอุปถัมภ์ อำนาจนิยม การทุจริต และสุดท้ายสังคมเกิดความแตกแยก
นายวิชา กล่าวว่า หลักจริยธรรมวิชาชีพเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้การประพฤติปฏิบัติของผู้ประกอบการวิชาชีพกฏหมายได้รับการยอมรับจากสาธารณชนและมีความสำคัญต่อการดำรงไว้ซึ่งความมั่นคงแห่งรัฐและเป็นความรับผิดชอบของผู้ประกอบอาชีพทั่วไป ทั้งนี้การประกอบวิชาชีพกฎหมายในประเทศไทย ไม่อาจหนีพ้นจากความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกได้ ไม่ว่าจะทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพกฎหมาย โดยเฉพาะค่านิยมทางสังคมที่มุ่งเน้นวัตถุนิยม และบริโถคนิยมเป็นหลักฐาน ทำให้ความประพฤติพื้นฐานได้ห่างออกจากหลักกฎหมาย ศิลธรรม และจริยะรรม ซึ่งสิ่งนี้เป็นแนวทางสำคัญของจริยธรรมวิชาชีพกฎหมาย
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1414411285