++ ครูสอนพิเศษ ต้อง ยื่นภาษี มาตรา 40(2) หรือ 40(7) ?? ++

สวัสดีครับ
ผมจะรบกวนขอความรู้ด้าน "การเสียภาษี" จากท่านผู้รู้ทั้งหลายหน่อยครับ

โดย สถานการณ์และปัญหาคาใจของผม เป็นดังนี้ครับ

สถานการณ์ ตัวเอง
- เป็นนักศึกษาปริญญาโท เรียนในไทย
- หารายได้พิเศษ จาก การเป็นครูสอนพิเศษ math ที่ สถาบันแห่งหนึ่ง
- สอนมาได้ เกือบ ปีกว่าๆ แล้ว เอาเงินที่ได้ไปลงทุนหุ้น ตามมีตามเกิด (แต่ดอยซะเยอะ) สนุกสนาน เฮฮา
- รูปแบบการสอนพิเศษ คือ ครูสอนพิเศษไปแจ้งเวลาว่าง ให้กับทางสถาบัน และทางสถาบันจะมอบนักเรียนให้กับเรา ตามวันและเวลาว่างของเรา แล้วจ่ายค่าสอนทุกสิ้นเดือน ตามชั่วโมงสอน

สถานการณ์ สถาบันแห่งนั้น
- ที่สถาบันแห่งนั้น กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลง เรื่อง ระบบจ่ายเงินค่าสอน จาก เช็ค ไปเป็น โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์
- โดยแจ้งว่า ในอนาคตอันใกล้ จะมีการเซ็นต์สัญญา " ให้ครูสอนพิเศษเป็นนายจ้าง และ สถาบันเป็นลูกจ้าง "
   ในสัญญาจะระบุประมาณว่า เราหาเด็กมาเรียน แล้วจ้างสถาบันในการหาสถานที่และเอกสารต่างๆ ในการสอน
- สถาบัน แจ้งว่า หลังจาก "เซ็นต์สัญญานายจ้าง-ลูกจ้าง" ให้ครูสอนพิเศษทุกคน ยื่น ภาษี มาตรา 40(7) เพื่อที่ ทุกฝ่ายจะได้มีภาระทางภาษีน้อยลง
  หากครูท่านใดไป ยื่น ภาษี มาตรา 40(2) ตัวครูจะมีความผิด และอาจโดน สอบภาษีย้อนหลัง.... ห้ะ !!! ประหลาดใจ

ปัญหาคาใจ
- เนื่องจาก ตัวผมเอง ไม่เคยเสียภาษีมาก่อน และ ไม่รู้เรื่องภาษีเลย จึงโทรไปถาม Call center ของ สรรพากร
- สรรพากร ตอบมาว่า ตามเนื้องานแบบนี้ (สอนพิเศษ) ให้ ยื่น ภาษี มาตรา 40(2)... จึงถามเค้าต่อว่า
  Q : ยื่น มาตรา 40(7) ได้ไหม ?
  A : ไม่ได้ เพราะ มาตรา 40(7) มีไว้สำหรับ เนื้องานแบบรับเหมา
  >> ตึ่ง โป๊ะ !!! ...ทำให้งงหนักกว่าเดิม...
  จริงๆ ก็พยายามบอกเค้านะ ว่า "สถาบันที่ผมไปรับสอนน่ะ จะให้ยื่นแบบ มาตรา 40(7) มันผิดกฏหมายหรือเปล่า ?" แต่เค้าก็ตอบแค่ว่า "ไม่มีนะ งานแบบนี้ (สอนพิเศษ) นายจ้างจะต้องช่วยดูแลบริหารจัดการ ให้พนักงานทุกคนเสียภาษี มาตรา 40(2)" ...
- ผมจึงปรึกษา คนรู้จักที่มีความรู้เรื่อง ภาษี (อย่างน้อยก็รู้มากกว่าผมแหละ) เค้าก็บอกว่า รูปแบบนี้ สถาบันน่าจะพยายามหาทางให้ตัวเอง เสียภาษีน้อยลง แล้วผลักภาระต่างๆ มาที่ ครูสอนพิเศษ... และเค้าก็แนะนำว่า "อย่าไปยุ่งเกี่ยวกับสถาบันนี้อีกเลย เดี๋ยวจะมีปัญหา มีประวัติไม่ดีติดตัว หากเกิดเรื่องอะไรขึ้น"... แอบโดน สตั้นท์ไปแป๊บนึง

คำถามที่ต้องการคำตอบอย่างแรงกล้า over 9000 !
1. เนื้องาน เป็นการสอนพิเศษ แต่ไปบิดพริ้ว ให้เหมือน การว่าจ้างหา facility ในการสอน เพื่อให้เข้า มาตรา 40(7) ผิดกฏหมายไหม ?
2. หากผม "เซ็นต์สัญญานายจ้าง-ลูกจ้าง" นั้นแล้ว ผมก็จะมีฐานะเป็น นายจ้าง จริงๆ ใช่มั้ยครับ ?
3. สมมุติว่า หลังจากผมกลายเป็นนายจ้างแล้ว เกิดปัญหาเกี่ยวกับ เงินๆทองๆ... สรรพากรเข้ามาเอาผิดสถาบัน เรื่อง การหลบเลี่ยงภาษี คนที่มีความผิดจะกลายเป็น ผม(นายจ้าง) หรือเปล่า ?
4. หาก เหตุการณ์ ในข้อ 3. เกิดขึ้นจริง ความผิดที่ผมโดน คืออะไรบ้าง ? ( โดนปรับ? ติด blacklist กลายเป็นบุคคลประวัติไม่ดี? เข้าคุก?... ไม่นะ !!!)
5. ต่อจาก ข้อ 4. โทษเหล่านั้น จะมีผลพวง ตามไปในชีวิตการงานในอนาคตไหม ?
6. ขอถามห้วนๆ นิดนึง - ผมควรทำงานพิเศษที่นี่ต่อดีไหมครับ ? สถาบันเค้ามีความจริงใจกับครูสอนพิเศษจริงๆ หรือเปล่า... ไม่แน่ใจ ?

ประมาณนี้แหละครับ
คือ ผมลองปรึกษาเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ (ครูที่มาสอนพิเศษด้วยกัน) ก็ยังไม่มีใครรู้แน่ชัด เกี่ยวกับ บทลงโทษและความเสี่ยงต่างๆ
โดยส่วนตัว ผมคิดว่า เมื่อทำงานแล้ว ได้ผลตอบแทนมาเท่าไหร่ ก็ควรเสียภาษี ตามจำนวนและในรูปแบบที่ถูกต้อง ตามที่กฏหมายกำหนด เพราะ เมื่อคิดไป คิดมาแล้ว สมเหตุสมผลอยู่ คือ ได้จากส่วนรวมมาเท่าไหร่ ก็ควรคืนแก่ส่วนรวมเท่านั้น หากทำแบบผิดๆไป ผมนอนหลับไม่สนิทจริงๆ รู้สึก ระแวง ไม่สบายใจ และอึดอัดมากครับ
แต่เอาจริงๆ การมาสอนที่นี่ ก็สบายดี เงินดีด้วยครับ และ ไม่เคยคิดว่าจะเกิด dilemma แบบนี้มาก่อน
หากมันเสี่ยงมากไป ผมก็ไม่อยากอยู่ต่อ แต่หากไม่เสี่ยงมาก พออยู่ได้ ก็กะว่าจะสอนต่อ จนเรียนจบครับ เยี่ยม

ยาวไปนิด แต่ยังไงก็ ขอขอบคุณล่วงหน้า สำหรับทุกคำตอบนะครับ
ขอบคุณครับ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
เออ คุณครับ มาตรา 40(7) คือ เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับงานแบบรับเหมา โดยหาสัมภาระมาเอง เช่นทำงานตามสัญญาก่อสร้างบ้าน ถ้าผู้ว่าจ้างบอกว่า อั้วะให้เงินลื้อ 1 ล้านค่าก่อสร้างรวมค่าของด้วยนะ นี่แหละ ถึงเข้าเป็นลักษณะเงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (7) ครับ แต่ถ้าค่าก่อสร้าง ไม่รวมสัมภาระ เช่น เด๋วจ่ายค่า ปูน หิน อิฐ ทราย เอง ก็จะเข้ามาตรา  40(8) ครับ ส่วนถ้าเราไม่แน่ใจว่ามันจะโกงเราเปล่า ก็เลยไปว่าจ้างนักกฎหมายมาดูสัญญาจ้างแรงงานให้อีกที ก็จะเข้า มาตรา 40(2) ครับ งั้นขอตอบคำถามของคุณดังนี้นะครัชชชช....

คำถามที่ต้องการคำตอบอย่างแรงกล้า over 9000 !
1. เนื้องาน เป็นการสอนพิเศษ แต่ไปบิดพริ้ว ให้เหมือน การว่าจ้างหา facility ในการสอน เพื่อให้เข้า มาตรา 40(7) ผิดกฏหมายไหม ? ---> ผิดครัชชช สรรพากรสามารถออกหมายเรียกประเมินภาษีได้ครับ
2. หากผม "เซ็นต์สัญญานายจ้าง-ลูกจ้าง" นั้นแล้ว ผมก็จะมีฐานะเป็น นายจ้าง จริงๆ ใช่มั้ยครับ ? ---> คือ ต้องดูเนื้อหาสัญญาอีกทีว่า นายจ้างซึ่งคือคุณ ได้จ้างลูกจ้าง คือสถาบันสอนพิเศษ ให้ทำอะไร ผมละงง... อันนี้ต้องดูเนื้อหาตามสัญญาก่อนครับ
3. สมมุติว่า หลังจากผมกลายเป็นนายจ้างแล้ว เกิดปัญหาเกี่ยวกับ เงินๆทองๆ... สรรพากรเข้ามาเอาผิดสถาบัน เรื่อง การหลบเลี่ยงภาษี คนที่มีความผิดจะกลายเป็น ผม(นายจ้าง) หรือเปล่า ? ---> คือสรรพากร ก็คงจะเกิดคำถามและงงเหมือนผมละว่า คุณจะเป็นนายจ้างได้อย่างไร เนื่องจากเงินได้ที่คุณได้รับมาจากการสอน ซึ่งสถาบันเป็นคนเรียกเก็บ และหักค่าใช้จ่าย หรือส่วนต่างๆ แล้วค่อยให้คุณ ผมว่าคนที่มีความผิด คือลูกจ้าง (สถาบันสอนพิเศษ) มากกว่าครับ ที่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอย่างชัดเจน
4. หาก เหตุการณ์ ในข้อ 3. เกิดขึ้นจริง ความผิดที่ผมโดน คืออะไรบ้าง ? ( โดนปรับ? ติด blacklist กลายเป็นบุคคลประวัติไม่ดี? เข้าคุก?... ไม่นะ !!!) ---> มาตรา 37 ของประมวลรัษฎากร มีโทษจำคุก สามเดือน ถึงเจ็ดปี ปรับไม่เกิน 2000 ถึง 300K
5. ต่อจาก ข้อ 4. โทษเหล่านั้น จะมีผลพวง ตามไปในชีวิตการงานในอนาคตไหม ? ---> เออคุณครับ ผมว่าสรรพากรคงไม่เอาคุณเข้าคุกหรอก ถ้าสรรพากรออกหมายเรียก (ซึ่งจริงตามข้อเท็จจริง ถ้าคุณไม่มั่นใจว่าคุณยื่นภาษีถูกต้องหรือไม่ คุณก็ยื่นเองเลยจะดีกว่าครับ ) คุณก็เพียงค่าจ่ายภาษีให้ถูกต้อง พร้อมเสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่า แค่นั้นนะครับ เรื่องก็จบ
6. ขอถามห้วนๆ นิดนึง - ผมควรทำงานพิเศษที่นี่ต่อดีไหมครับ ? สถาบันเค้ามีความจริงใจกับครูสอนพิเศษจริงๆ หรือเปล่า... ไม่แน่ใจ ? ---> เป็นผม ผมลาออกดีกว่าครับ บริษัทที่มีเจตนาทุจริต แม้กระทั่งจะเสียภาษี มีวิธีการที่จะลดภาษีเยอะแยะ ดันไม่ทำ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่