แม้จะผ่านยุคฟองสบูเเตกป2540 หรือที่ทั่วโลกรู้จักกันว่า วิกฤติต้มยำกุ้ง ปีแห่งการล่มสลายทางเศษฐกิจของไทย แต่ผมก็ไม่ได้อินกับเรื่องราวของมันนัก ด้วยความที่ตอนนั้นยังเด็กมาก ที่บ้านไม่มีใครทำธุรกิจหรือข้องเกี่ยวกับตลาดหุ้นจึงไม่แทบกระทบ รู้แต่เรื่องรัฐบาลประกาศเงินบาทลอยตัว คนตกงานเยอะ จากข่าวที่ดูในทีวีตอนนั้นมีสองข่าวที่ผมติดตา หนึ่งคือลุงคนหนึ่งยิงตัวตายในตลาดหลักทรัพย์ กับ สองคือลุงอีกคนล้มละลายต้องมายืนขายแซนด์วิชข้างถนน
ลี ชาตะเมธีกุล ตากล้องชื่อดังในวงการภาพยนตร์ไทยซึ่งเป็นลูกครึ่งและตอนนั้นโตพอจะรับรู้ถึงสถานการณ์ต่างๆเกิดต้องใจกับเหตุการณ์ดังกล่าว เขาบอกว่ากรุงเทพฯในยุคนั้นไม่มีวันเหมือนเดิมอีก กลายเป็นที่มาของหนังดราม่าเรื่อง ภวังค์รัก หรือในชื่อภาษาอังกฤษ Concrete Clouds ผลงานการกำกับหนังยาวครั้งแรกของเขา
ภวังค์รัก เล่าถึง มัด (อนันดา เอเวอริงแฮม) หนุมนักเรียนนอกวัย30ที่ต้องกลับมาเมืองไทยกะทันหัน หลังพ่อกระโดดตึกฆาตัวตายจากพิษเศรษฐกิจในปี2540 เขามีน้องชายวัย18ปีชื่อ นิค (ประวิทย์ ฮันแสตน ยิ้มวงสมเกียรติ) ที่ตั้งใจว่าจะพาไปอยู่เมืองนอกด้วย แต่ด้วยความห่างเหินและวัยที่ต่างทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งคู่มีปัญหา มัด กลับไปพบกับ ทราย (เจนสุดา ปานโต) แฟนเก่าตอนวัยรุ่นที่กำลังผันตัวจากดารามาทำธุรกิจส่วนตัว ทั้งคู่พยายามจะสานต่ออะไรบางอย่าง แต่ก็ดูเหมือนว่าความรู้สึกไม่ได้เหมือนเดิมอีกต่อไป
ขณะที่ นิค ก็ตกหลุมรัก ปูเป (สายป่าน อภิญญา สกุลเจริญสุข) สาวนอยที่อาศัยอยูที่อพารทเมนทตรงข้าม ความรักแบบป็อปปี้เลิฟเริ่มที่จะอ่อนแรงลงจากความพลิกผันของชะตาชีวิต เมื่อ นิค อาจต้องไปเรียนต่อต่างประเทศ ส่วน ปูเป้ ก็ต้องทำงานหาเลี้ยงตัวเอง อนาคตของทั้งสองจึงดูเลือนลางเช่นเดียวกับความสัมพันธ์ที่กำลังแตกสลาย
หนังดำเนินเรื่องอย่างราบเรียบ โดยใช้ความเงียบตัดสลับกับบทสนทนาที่แฝงนัยต่างๆ เล่าถึงความรักและความฝันของผู้คนในยุคสิ้นหวังได้อย่างขมขื่น ช่วงกลางเรื่องค่อนข้างเนือย น่าเบื่อ บรรยากาศชวนอึดอัด อาจทำให้คนดูบางคนง่วง หาว ไปจนถึงหลับคาโรง ไม่เหมาะกับคนที่ไม่ชอบดูหนังประเภทดราม่าอาร์ทๆ
การถ่ายภาพสวยงามตามคาด โลเคชั่นที่ใช้ดูเป็นยุคนั้นจริงๆ ถึงจะเก่าแต่ก็ไม่ดูโบราณ ออกแนวคลาสสิกพอที่จะทำให้ผู้ชมหวนนึกถึงความหลัง ฉากเลิฟซีนถูกทำออกมาให้เป็นงานศิลปะมากกว่าจะปลุกเร้าอารมณ์ รูปแบบอีกอย่างที่น่าสนใจคือการใช้เพลงที่โด่งดังในอดีตมาประกอบในหนังเพื่อช่วยเล่าเรื่อง รวมถึงยังมีฉากที่ใช้มิวสิกวีดีโอถ่ายทอดมุมมองความคิดของตัวละคร
ตัวละครแต่ละตัวแสนเปราะบาง เราได้สำรวจความเป็นไปของพวกเขาจากห้องที่อยู่ ซึ่งบอกอะไรได้หลายอย่าง อนันดา ทำได้ดีอีกเช่นเคย บท มัด เข้ากับบุคลิกของเขา เช่นเดียวกับ สายป่าน ที่เล่นเป็น ปูเป้ เธอทำให้ตัวละครตัวนี้ทั้งเข้มแข็งและอ่อนแอในเวลาเดียวกัน แต่ที่เซอร์ไพรส์คือ เจนสุด ซึ่งแสดงเป็น ทราย ผู้หญิงที่ดิ้นรนต่อสู้กับชีวิตเพียงลำพังได้อย่างยอดเยี่ยม ซํ้ายังเป็นตัวแทนในการกระทบกระเทียบค่านิยมบางอย่างในสังคมชั้นสูงไทยอีกด้วย ขณะที่ ประวิทย์ แม้บทจะไม่ได้หวือหวา ทว่าก็สอบผ่านในฐานะนักแสดงหน้าใหม่
สิ่งที่ดูขัดหูขัดตาคงเป็นการเอา อนันดา กับ ประวิทย์ ที่เป็นลูกครึ่งฝรั่งมาอยู่ในครอบครัวคนจีน ดูแปลกๆพิกลเวลาพวกเขาพูดคำว่า เตี่ย กระนั้นจุดนี้เป็นความตั้งใจของผู้กำกับเองที่มองว่าในยุคนั้นไม่ว่าจะเป็นในหนัง ละคร มิวสิกวีดีโอ หรือ โฆษณา ต่างก็มีแต่ดาราลูกครึ่งฝรั่งเต็มไปหมด สะท้อนถึงความเป็นสมัยนิยม โดยรวม ภวังค์รัก ไม่ใช่หนังที่ดูสนุก ได้อารมณ์เหงา ชวนฉุกคิดถึงความว่างเปล่าในชีวิต วิธีเล่าไม่ตรงไปตรงมาเหมือนหนังตลาด จับประเด็นน่าสนใจ ขาดเพียงความกลมกล่อมจากการสื่อสารให้คนดูทั่วไปเข้าใจได้ง่ายกว่านี้อีกนิด
[Spoii] ภวังค์รัก การล่มสลายทางความสัมพันธ์
แม้จะผ่านยุคฟองสบูเเตกป2540 หรือที่ทั่วโลกรู้จักกันว่า วิกฤติต้มยำกุ้ง ปีแห่งการล่มสลายทางเศษฐกิจของไทย แต่ผมก็ไม่ได้อินกับเรื่องราวของมันนัก ด้วยความที่ตอนนั้นยังเด็กมาก ที่บ้านไม่มีใครทำธุรกิจหรือข้องเกี่ยวกับตลาดหุ้นจึงไม่แทบกระทบ รู้แต่เรื่องรัฐบาลประกาศเงินบาทลอยตัว คนตกงานเยอะ จากข่าวที่ดูในทีวีตอนนั้นมีสองข่าวที่ผมติดตา หนึ่งคือลุงคนหนึ่งยิงตัวตายในตลาดหลักทรัพย์ กับ สองคือลุงอีกคนล้มละลายต้องมายืนขายแซนด์วิชข้างถนน
ลี ชาตะเมธีกุล ตากล้องชื่อดังในวงการภาพยนตร์ไทยซึ่งเป็นลูกครึ่งและตอนนั้นโตพอจะรับรู้ถึงสถานการณ์ต่างๆเกิดต้องใจกับเหตุการณ์ดังกล่าว เขาบอกว่ากรุงเทพฯในยุคนั้นไม่มีวันเหมือนเดิมอีก กลายเป็นที่มาของหนังดราม่าเรื่อง ภวังค์รัก หรือในชื่อภาษาอังกฤษ Concrete Clouds ผลงานการกำกับหนังยาวครั้งแรกของเขา
ภวังค์รัก เล่าถึง มัด (อนันดา เอเวอริงแฮม) หนุมนักเรียนนอกวัย30ที่ต้องกลับมาเมืองไทยกะทันหัน หลังพ่อกระโดดตึกฆาตัวตายจากพิษเศรษฐกิจในปี2540 เขามีน้องชายวัย18ปีชื่อ นิค (ประวิทย์ ฮันแสตน ยิ้มวงสมเกียรติ) ที่ตั้งใจว่าจะพาไปอยู่เมืองนอกด้วย แต่ด้วยความห่างเหินและวัยที่ต่างทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งคู่มีปัญหา มัด กลับไปพบกับ ทราย (เจนสุดา ปานโต) แฟนเก่าตอนวัยรุ่นที่กำลังผันตัวจากดารามาทำธุรกิจส่วนตัว ทั้งคู่พยายามจะสานต่ออะไรบางอย่าง แต่ก็ดูเหมือนว่าความรู้สึกไม่ได้เหมือนเดิมอีกต่อไป
ขณะที่ นิค ก็ตกหลุมรัก ปูเป (สายป่าน อภิญญา สกุลเจริญสุข) สาวนอยที่อาศัยอยูที่อพารทเมนทตรงข้าม ความรักแบบป็อปปี้เลิฟเริ่มที่จะอ่อนแรงลงจากความพลิกผันของชะตาชีวิต เมื่อ นิค อาจต้องไปเรียนต่อต่างประเทศ ส่วน ปูเป้ ก็ต้องทำงานหาเลี้ยงตัวเอง อนาคตของทั้งสองจึงดูเลือนลางเช่นเดียวกับความสัมพันธ์ที่กำลังแตกสลาย
หนังดำเนินเรื่องอย่างราบเรียบ โดยใช้ความเงียบตัดสลับกับบทสนทนาที่แฝงนัยต่างๆ เล่าถึงความรักและความฝันของผู้คนในยุคสิ้นหวังได้อย่างขมขื่น ช่วงกลางเรื่องค่อนข้างเนือย น่าเบื่อ บรรยากาศชวนอึดอัด อาจทำให้คนดูบางคนง่วง หาว ไปจนถึงหลับคาโรง ไม่เหมาะกับคนที่ไม่ชอบดูหนังประเภทดราม่าอาร์ทๆ
การถ่ายภาพสวยงามตามคาด โลเคชั่นที่ใช้ดูเป็นยุคนั้นจริงๆ ถึงจะเก่าแต่ก็ไม่ดูโบราณ ออกแนวคลาสสิกพอที่จะทำให้ผู้ชมหวนนึกถึงความหลัง ฉากเลิฟซีนถูกทำออกมาให้เป็นงานศิลปะมากกว่าจะปลุกเร้าอารมณ์ รูปแบบอีกอย่างที่น่าสนใจคือการใช้เพลงที่โด่งดังในอดีตมาประกอบในหนังเพื่อช่วยเล่าเรื่อง รวมถึงยังมีฉากที่ใช้มิวสิกวีดีโอถ่ายทอดมุมมองความคิดของตัวละคร
ตัวละครแต่ละตัวแสนเปราะบาง เราได้สำรวจความเป็นไปของพวกเขาจากห้องที่อยู่ ซึ่งบอกอะไรได้หลายอย่าง อนันดา ทำได้ดีอีกเช่นเคย บท มัด เข้ากับบุคลิกของเขา เช่นเดียวกับ สายป่าน ที่เล่นเป็น ปูเป้ เธอทำให้ตัวละครตัวนี้ทั้งเข้มแข็งและอ่อนแอในเวลาเดียวกัน แต่ที่เซอร์ไพรส์คือ เจนสุด ซึ่งแสดงเป็น ทราย ผู้หญิงที่ดิ้นรนต่อสู้กับชีวิตเพียงลำพังได้อย่างยอดเยี่ยม ซํ้ายังเป็นตัวแทนในการกระทบกระเทียบค่านิยมบางอย่างในสังคมชั้นสูงไทยอีกด้วย ขณะที่ ประวิทย์ แม้บทจะไม่ได้หวือหวา ทว่าก็สอบผ่านในฐานะนักแสดงหน้าใหม่
สิ่งที่ดูขัดหูขัดตาคงเป็นการเอา อนันดา กับ ประวิทย์ ที่เป็นลูกครึ่งฝรั่งมาอยู่ในครอบครัวคนจีน ดูแปลกๆพิกลเวลาพวกเขาพูดคำว่า เตี่ย กระนั้นจุดนี้เป็นความตั้งใจของผู้กำกับเองที่มองว่าในยุคนั้นไม่ว่าจะเป็นในหนัง ละคร มิวสิกวีดีโอ หรือ โฆษณา ต่างก็มีแต่ดาราลูกครึ่งฝรั่งเต็มไปหมด สะท้อนถึงความเป็นสมัยนิยม โดยรวม ภวังค์รัก ไม่ใช่หนังที่ดูสนุก ได้อารมณ์เหงา ชวนฉุกคิดถึงความว่างเปล่าในชีวิต วิธีเล่าไม่ตรงไปตรงมาเหมือนหนังตลาด จับประเด็นน่าสนใจ ขาดเพียงความกลมกล่อมจากการสื่อสารให้คนดูทั่วไปเข้าใจได้ง่ายกว่านี้อีกนิด