'Desktop Error' ในเวลานี้ อาจจะยังไม่ใช่ชื่ออันเป็นที่รู้จักกันในวงกว้างสำหรับนักฟังเพลงทั่วไปนัก แม้พวกเขาจะได้ชื่อว่าเป็นวง Rock วงหนึ่ง อันเป็นแนวเพลงที่น่าจะเข้าหาคนฟังจำนวนมากได้อย่างไม่ยากเท่าไหร่นัก แต่ความหมายของดนตรี Rock ในแบบที่ Desktop Error เล่นมันออกมานั้น ค่อนข้างจะแตกต่างไปจากความหมายแบบที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกันอยู่ไม่น้อย
แต่แม้พวกเขาจะไม่ใช่วงระดับขวัญใจวัยรุ่นทั่วประเทศ แต่กับแวดวงคนฟังเพลงนอกกระแสแล้ว นี่คือชื่อที่อยู่ในลำดับต้นๆอย่างไม่ต้องสงสัย ไม่ว่าจะมีการแสดงสดที่ไหน หรือเทศกาลสำหรับวงการเพลงนอกกระแสอย่าง 'Stone Free Music Festival' Desktop Error คือชื่อที่จะอยู่ในระดับ Headline เสมอๆ
ด้วยเสียงของกีต้าร์ทั้ง 3 ตัว ซึ่งเป็นเหมือนกำแพงที่พุ่งเข้าโอบล้อมคนฟัง มันคือจุดเด่นหลักของ Desktop Error แน่นอนว่า เอกลักษณ์เช่นนี้ อาจจะทำให้ใครบางคนนึกไปถึงวงระดับ'ตัวพ่อ'แห่งการทดลองอย่าง Radiohead ในช่วง 3 อัลบั้มแรก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ The Bend และ OK Computer) อยู่บ้างในบางวิธีการที่ Desktop Error เลือกเอามาใช้กับเพลงของตัวเอง แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะหาสิ่งที่เป็นของตัวเองไม่เจอเอาเสียเลย
มันคงไม่แปลกเมื่อเรามองย้อนกลับไปแล้วพบว่า ในช่วงแรกเริ่ม พวกเขาคือวงที่สร้างชื่อมาจากการเป็นวงที่เล่น Cover Radiohead ได้อย่างยอดเยี่ยมที่สุดวงหนึ่งในกรุงเทพฯ จนกลายเป็นกระแสปากต่อปากในหมู่นักฟังเพลง ว่าต้องหาโอกาสไปชมวงดนตรีวงนี้เล่นสดให้ได้สักครั้งที่ย่านถนนพระอาทิตย์แน่นอนว่าเรื่องราวเหล่านี้ เกิดขึ้นก่อนที่พวกเขาจะได้มีอัลบั้มเป็นของตัวเองเสียอีก
จนมาถึงใน EP ชุดแรกของวงความยาว 5 เพลงที่ชื่อ 'Instinct' Desktop Error ได้แนะนำตัวเองด้วยการเป็นวง Post Rock เป็นหลัก ก่อนจะมาเป็นอัลบั้มเต็มชุดแรก 'Ticket to Home' ที่เป็นคล้ายๆกับการเปิดประตูกว้างบานแรก เพื่อออกเดินทางค้นหาสิ่งที่ตัวเองเป็นผ่านดนตรีหลากหลายรูปแบบ ทั้ง Alternative Rock , Shoegaze , Post Rock , Folk ไปจนถึงการพยายามนำเอารูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ของดนตรีพื้นบ้านมาใช้ร่วมในเพลง ซึ่งแม้สำหรับผมแล้ว มันจะไม่ใช่ผลงานที่ผมหยิบมาฟังบ่อยมากสักเท่าไหร่ แต่การทดลองครั้งนั้น ก็ได้เริ่มออกดอกออกผล จากการแสดงสดที่มีเข้ามา กลุ่มแฟนเพลงที่ค่อยๆก่อตัวขึ้นอย่างมีเหตุมีผล จนกระทั่งมาเห็นผลลัพธ์ใน 'Keep looking at the Window' นี่เอง
Ticket to Home นั้นเป็นอัลบั้มที่ดี และอาจจะถึงขั้นที่พูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่าเป็นอัลบั้มที่น่าสนใจ แต่มันก็ยังมีความไม่ชัดเจนในแนวทาง หรือแม้กระทั่งความไม่มั่นใจในหลายๆเพลง รวมถึงการที่บางเพลง ก็ทำให้เรารู้สึกว่ามันไม่น่าจะมารวมอยู่ในอัลบั้มเดียวกันได้ แต่ผลลัพธ์ของงานชุดที่แล้ว ก็กลายมาเป็นประสบการณ์ที่ดี จนทำให้ Desktop Error ได้ขจัดเอาความขาดๆเกินๆ และไม่ชัดเจนทั้งหลายออกไปจนหมดในอัลบั้มชุดนี้
Keep looking at the window นั้น สามารถทำให้คนฟังรู้สึกได้ทันที ว่ามันคืออัลบั้มที่ถูกทำออกมาในช่วงเวลาที่พวกเขานั้น สามารถค้นพบตัวเอง และมีความสุขกับสิ่งที่ตัวเองเป็นได้ในที่สุด ด้วยพื้นฐานของดนตรีแบบ Alternative Rock และเสียงอื้ออึงของกีต้าร์ในแบบ Shoegaze ที่กระหน่ำกันเข้ามาจนแทบทำให้เราไม่ได้ยินเสียงร้อง ซึ่งถอยตัวเองไปอยู่ในระนาบเดียวกับภาคดนตรี และทำหน้าที่เหมือนเป็นเพียงเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่งในวงเท่านั้น ไม่ใช่การเป็นนักร้อง'นำ'ในแบบฉบับของวง Rock ทั่วไป หรือในบางเพลงอย่าง 'พัก' และ 'นิทานวันวาน' พวกเขาก็สามารถผ่อนอารมณ์ดุดันลงมา ให้กลายเป็นเพลง Folk ที่พาให้เรานึกไปถึงบรรยากาศการนั่งเล่นกีต้าร์ข้างกองไฟกับเพื่อนๆ ในค่ำคืนกลางฤดูหนาวของเขาใหญ่ได้แบบพอดิบพอดี
สำหรับแวดวงดนตรีนอกกระแสบ้านเราในทุกวันนี้ ดูเหมือนว่าสุ้มเสียงของ Shoegaze และ Post Rock คือหนึ่งในแนวเพลงที่มีคนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่การเริ่มต้นของ Moderndog ในอัลบั้ม 'Love me love my life' จนมาถึงวง Goose และค่ายอย่าง Panda Records , So::on Dry Flowers หรือ FinalKid รวมถึงการมาเยือนเมืองไทยของวง Post Rock ระดับโลกอย่าง Mono , Mogwai , Explosion in the Sky ที่พอจะเป็นเครื่องยืนยันได้ถึงกระแส Post Rock ในบ้านเรา (แม้จะเป็นการฟังกันแบบเฉพาะกลุ่มอยู่บ้างก็ตาม)
และเมื่อมีการเคลื่อนไหวและกระแสอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ เลยไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ที่เราจะเห็นวงรุ่นใหม่ๆหลายวง หรือเด็กรุ่นใหม่ ที่ฟอร์มวงมาเพื่อเล่นดนตรีแนวนี้ แต่จะมีสักกี่วงกัน ที่เริ่มเล่น พัฒนา และทดลองอย่างจริงจัง จนสามารถค้นพบสำเนียงของตัวเองได้สำเร็จ แบบที่ Desktop Error ทำได้ ไม่แตกต่างจากแนวดนตรีอื่นๆ ที่เราพบว่า มันจะมีน้อยยิ่งกว่าน้อย หากเทียบกับจำนวนที่เพิ่มขึ้นมา
Keep looking at the window คืออัลบั้มที่ควรจะถูกหยิบยกมาศึกษา ว่าผลลัพธ์ของการค้นหาตัวเอง จาการเริ่มต้นด้วยวัตถุดิบที่ก็แทบจะไม่แตกต่างไปจากคนอื่นๆนั้น เขาทำกันอย่างไร
====================
Artist : Desktop Error
Album : Keep looking at the Window
Producer : Koichi Shimizu , Desktop Error
Label : So::on Dry Flowers
====================
พบ พา ลา จาก - Desktop Error
คำร้อง , ทำนอง , เรียบเรียง : Desktop Error
[CR] Desktop Error อัลบั้ม Keep looking at the Window
แต่แม้พวกเขาจะไม่ใช่วงระดับขวัญใจวัยรุ่นทั่วประเทศ แต่กับแวดวงคนฟังเพลงนอกกระแสแล้ว นี่คือชื่อที่อยู่ในลำดับต้นๆอย่างไม่ต้องสงสัย ไม่ว่าจะมีการแสดงสดที่ไหน หรือเทศกาลสำหรับวงการเพลงนอกกระแสอย่าง 'Stone Free Music Festival' Desktop Error คือชื่อที่จะอยู่ในระดับ Headline เสมอๆ
ด้วยเสียงของกีต้าร์ทั้ง 3 ตัว ซึ่งเป็นเหมือนกำแพงที่พุ่งเข้าโอบล้อมคนฟัง มันคือจุดเด่นหลักของ Desktop Error แน่นอนว่า เอกลักษณ์เช่นนี้ อาจจะทำให้ใครบางคนนึกไปถึงวงระดับ'ตัวพ่อ'แห่งการทดลองอย่าง Radiohead ในช่วง 3 อัลบั้มแรก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ The Bend และ OK Computer) อยู่บ้างในบางวิธีการที่ Desktop Error เลือกเอามาใช้กับเพลงของตัวเอง แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะหาสิ่งที่เป็นของตัวเองไม่เจอเอาเสียเลย
มันคงไม่แปลกเมื่อเรามองย้อนกลับไปแล้วพบว่า ในช่วงแรกเริ่ม พวกเขาคือวงที่สร้างชื่อมาจากการเป็นวงที่เล่น Cover Radiohead ได้อย่างยอดเยี่ยมที่สุดวงหนึ่งในกรุงเทพฯ จนกลายเป็นกระแสปากต่อปากในหมู่นักฟังเพลง ว่าต้องหาโอกาสไปชมวงดนตรีวงนี้เล่นสดให้ได้สักครั้งที่ย่านถนนพระอาทิตย์แน่นอนว่าเรื่องราวเหล่านี้ เกิดขึ้นก่อนที่พวกเขาจะได้มีอัลบั้มเป็นของตัวเองเสียอีก
จนมาถึงใน EP ชุดแรกของวงความยาว 5 เพลงที่ชื่อ 'Instinct' Desktop Error ได้แนะนำตัวเองด้วยการเป็นวง Post Rock เป็นหลัก ก่อนจะมาเป็นอัลบั้มเต็มชุดแรก 'Ticket to Home' ที่เป็นคล้ายๆกับการเปิดประตูกว้างบานแรก เพื่อออกเดินทางค้นหาสิ่งที่ตัวเองเป็นผ่านดนตรีหลากหลายรูปแบบ ทั้ง Alternative Rock , Shoegaze , Post Rock , Folk ไปจนถึงการพยายามนำเอารูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ของดนตรีพื้นบ้านมาใช้ร่วมในเพลง ซึ่งแม้สำหรับผมแล้ว มันจะไม่ใช่ผลงานที่ผมหยิบมาฟังบ่อยมากสักเท่าไหร่ แต่การทดลองครั้งนั้น ก็ได้เริ่มออกดอกออกผล จากการแสดงสดที่มีเข้ามา กลุ่มแฟนเพลงที่ค่อยๆก่อตัวขึ้นอย่างมีเหตุมีผล จนกระทั่งมาเห็นผลลัพธ์ใน 'Keep looking at the Window' นี่เอง
Ticket to Home นั้นเป็นอัลบั้มที่ดี และอาจจะถึงขั้นที่พูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่าเป็นอัลบั้มที่น่าสนใจ แต่มันก็ยังมีความไม่ชัดเจนในแนวทาง หรือแม้กระทั่งความไม่มั่นใจในหลายๆเพลง รวมถึงการที่บางเพลง ก็ทำให้เรารู้สึกว่ามันไม่น่าจะมารวมอยู่ในอัลบั้มเดียวกันได้ แต่ผลลัพธ์ของงานชุดที่แล้ว ก็กลายมาเป็นประสบการณ์ที่ดี จนทำให้ Desktop Error ได้ขจัดเอาความขาดๆเกินๆ และไม่ชัดเจนทั้งหลายออกไปจนหมดในอัลบั้มชุดนี้
สำหรับแวดวงดนตรีนอกกระแสบ้านเราในทุกวันนี้ ดูเหมือนว่าสุ้มเสียงของ Shoegaze และ Post Rock คือหนึ่งในแนวเพลงที่มีคนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่การเริ่มต้นของ Moderndog ในอัลบั้ม 'Love me love my life' จนมาถึงวง Goose และค่ายอย่าง Panda Records , So::on Dry Flowers หรือ FinalKid รวมถึงการมาเยือนเมืองไทยของวง Post Rock ระดับโลกอย่าง Mono , Mogwai , Explosion in the Sky ที่พอจะเป็นเครื่องยืนยันได้ถึงกระแส Post Rock ในบ้านเรา (แม้จะเป็นการฟังกันแบบเฉพาะกลุ่มอยู่บ้างก็ตาม)
และเมื่อมีการเคลื่อนไหวและกระแสอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ เลยไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ที่เราจะเห็นวงรุ่นใหม่ๆหลายวง หรือเด็กรุ่นใหม่ ที่ฟอร์มวงมาเพื่อเล่นดนตรีแนวนี้ แต่จะมีสักกี่วงกัน ที่เริ่มเล่น พัฒนา และทดลองอย่างจริงจัง จนสามารถค้นพบสำเนียงของตัวเองได้สำเร็จ แบบที่ Desktop Error ทำได้ ไม่แตกต่างจากแนวดนตรีอื่นๆ ที่เราพบว่า มันจะมีน้อยยิ่งกว่าน้อย หากเทียบกับจำนวนที่เพิ่มขึ้นมา
Keep looking at the window คืออัลบั้มที่ควรจะถูกหยิบยกมาศึกษา ว่าผลลัพธ์ของการค้นหาตัวเอง จาการเริ่มต้นด้วยวัตถุดิบที่ก็แทบจะไม่แตกต่างไปจากคนอื่นๆนั้น เขาทำกันอย่างไร
Artist : Desktop Error
Album : Keep looking at the Window
Producer : Koichi Shimizu , Desktop Error
Label : So::on Dry Flowers
====================
- พีวรายุส กองไพบูลย์ : ร้อง , กีต้าร์
- อดิศักดิ์ พวงเอก : กีต้าร์ , ร้อง , พิณ
- วุฒิพงษ์ ลี้ตระกูล : กีต้าร์ , ร้อง , Synthesizer
- ชาญณรงค์ แจ่มขาว : เบส
- ภัทรพล ทองสุขา : กลอง , ร้อง , กีต้าร์
* http://soundsyndrome.exteen.com/20100613/desktop-error-ticket-to-home
Review อัลบั้ม 'Ticket to Home'