>>เริ่มแรกจะขอเกริ่นก่อนว่า ดิฉันเป็นนักศึกษาในคณะศึกษาศาสตร์หรือครุศาสตร์ คือบุคคลที่เมื่อจบออกมาจะได้มีโอกาสเป็นแม่พิมพ์ของประเทศในอนาคต แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นแบบนั้นไม่ เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา แม้ว่าดิฉันจะมีประสบการณ์การทำงานในโรงเรียนกวดวิชามาสองปี ตอนนี้ยังไม่มีโอกาสไปฝึกสอนในโรงเรียนจริงๆ แต่นั่นก็เป็นประสบการณ์เพียงพอที่จะทำให้ตัดสินใจเลิกล้มความตั้งใจที่จะเป็นครูในอีกสามปีข้างหน้า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ไปประสบมา เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับคนที่จะเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต และเป็นตัวบั่นทอนอุดมการณ์ของฉัน เหตุการณ์ทั้งหมดเริ่มขึ้นเมื่อสองปีที่แล้ว ตอนนั้นฉันเป็นนักเรียนปีหนึ่งที่หลงใหลในวิชาชีพครู รักในการสอนหนังสือ และอยากหาประสบการณ์ได้ลองฝึกสอนเด็ก เพื่อที่ว่าเวลาไปฝึกสอนจริงตอนปีห้า จะได้ไม่เกิดอาการตื่นเด็ก ทีที่ฉันทำงานพิเศษนั้นเป็นโรงเรียนกวดวิชา ที่ภายนอกก็เหมือนกับกวดวิชาทั่วไป
>>ใช่แล้ว ฉันคิดแค่นั้นจริงๆ จนเมื่อได้เข้าไปทำงานจริง จึงรู้ว่าจริงๆแล้วที่นี่ไม่ใช่แค่โรงเรียนกวดวิชา แต่เป็นสถานที่รับดูแลการบ้าน คำว่า "ดูแลการบ้าน" พูดง่ายๆก็คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้เด็กทำการบ้านเสร็จ เวลาในการทำงานมีทั้งหมดสองชั่วโมง อาจจะดูเหมือนเพียงพอ แต่ลองจินตนาการถึงคุณตอนเด็กๆสิ กว่าจะเข้าใจ กว่าจะทำเสร็จ บางทีเริ่มทำตั้งแต่กลับจากบ้าน ตอนละครหลังข่าวจบยังทำไม่เสร็จเลย แล้วนับประสาอะไรกับเวลาแค่สองชั่วโมง เด็กที่มาดูแลการบ้าน มีตั้งแต่ ป.1 ถึง ม.ต้น แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กประถมมากกว่า
>>ใช่แล้ว หน้าที่ของฉัน คือ สอนการบ้านเด็กให้เสร็จทันภายในสองชั่วโมง แต่มันไม่ใช่แค่เด็กคนเดียวน่ะสิ คนที่ทำงานที่นี่ทุกคนจะได้รับมอบหมายให้ดูแลเด็กมากกว่าสี่คน สำหรับฉันเองส่วนใหญ่จะหกคน ฉันต้องช่วยให้เด็กหกคนทำการบ้านให้เสร็จภายในสองชั่วโมง มีตัวช่วยคือเฉลย และคีย์ในบางวิชา ความจริงที่นี่อยากจะให้สอนมากกว่าการบอกเฉลยกับเด็ก แต่ในเมื่อเวลาจำกัด ฉันก็พยายามทำให้ดีที่สุดเท่าที่ครูคนหนึ่งจะสามารถช่วยเด็กๆได้
>>เมื่อจบหนึ่งภาคการศึกษา พ่อแม่ของเด็กที่ส่งลูกมาทำการบ้านที่นี่ จะโทรมาต่อว่าถ้าเกิดคะแนนสอบกลางภาคได้น้อย แต่การบ้านไม่มีผิดสักข้อ แถมงานยังส่งครบทุกชิ้น ปัญหานี้เป้นปัญหาที่ตัวฉันมองว่าไม่ได้เกิดเพราะทางสถาบันกวดวิชา แต่เป็นปัญหาที่เกิดจากค่านิยมของพ่อแม่ในสมัยนี้เองต่างหาก การบ้าน ถือเป้นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการประเมินลูกตัวเอง และเป็นการทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างลูกกับพ่อแม่ หรือพีกับน้องนั้นแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น แต่พ่อแม่บางคนกลับโยนมันให้คนอื่นไปทำ ทั้งๆที่เป็นหน้าที่ที่สำคัญ ตัวเองมีหน้าที่เพียงแค่มารับลูกตอนเกือบจะทุ่ม แล้วก็ชื่มชมกับผลคะแนนของลูกเท่านั้นหรือ??? ฉันเคยถามนักเรียนคนหนึ่งที่เรียนพิเศษว่า "เรียนพิเศษสนุกมั๊ย" คำตอบที่ได้รับกลับคือ "มีคนเขาชอบกันด้วยเหรอพี่ เรียนพิเศษเนี่ย" ฉันฟังแล้วตกใจเล็กน้อย และทำให้ฉันเข้าใจโลกของเด็กกรุงเทพมากขึ้น ตอนแรกๆที่ฉันสอนการบ้านพวกเขา พวกเขามักบ่นว่าขี้เกียจ บางคนง่วง บางคนไม่ยอมทำเลย มันทำให้ฉันรู้สึกโมโหและหลายครั้งที่เอ็ดเสียงดัง หลังจากนั้นฉันเริ่มเข้าใจความรู้สึกของพวกเขา การที่พวกเขาเรียนในโรงเรียนตั้งแต่แปดโมงเช้าถึงสี่โมง บางคนโดนครูจากที่โรงเรียนด่า แล้วยังต้องมานั่งให้ครูจี้ให้ทำการบ้านอีก คงเป็นอะไรที่เกินกว่าเด็กตาดำๆจะแบกรับได้ ฉันเคยคุยกับเด็กผู้ชายคนหนึ่งถึงสาเหตุที่ชอบหลับในห้องตอนที่เพื่อนกำลังทำการบ้าน เด็กคนนั้นบอกฉันว่า เขาแทบจะไม่ค่อยได้นอน เพราะหลังจากดูแลการบ้านเสร็จก็ต้องรอพี่สาวเรียนพิเศษให้เสร็จตอนสองทุ่ม กว่าจะกลับถึงบ้านก็สี่ห้าทุ่ม แล้วกว่าจะได้นอนอีก แถมยังต้องตื่นเช้าแต่ตีห้า เพราะบ้านอยู่ไกลจากโรงเรียนมาก ฉันรู้สึกสงสารพวกเขา แต่ในฐานะลูกจ้าง ฉันก็ต้องทำงานที่นายจ้างสั่งให้เสร็จ แม้จะเป็นการบังคับ ยัดเยียดก็ต้องทำ
>>ถ้าพูดกันตามตรง เด็กสมัยนี้โชคดีที่เกิดมาในยุคโลกาภิวัฒน์ การศึกษาเป็นเรื่องง่ายๆที่ใครก้สามารถเข้าถึงได้ แต่ในสังคมเมือง สังคมที่ถือเป็นแหล่งของคนมีความคิด เด็กในสังคมเหล่านี้กลับถูกป้อนความรู้จนเกินพอดี บางทีอะไรที่ได้มาง่ายๆ อาจทำให้คนเห็นคุณค่าน้อยลงก็คงจะจริง แต่อะไรที่ได้มาง่ายๆของพวกเขากลับกลายเป็นการศึกษา ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาคน ฉันยังคิดไม่ออกว่าถ้าพวกเขาเหล่านี้โตขึ้น อนาคตประเทศจะเป้นอย่างไร ฉันเป้นเด็กต่างจังหวัด โตมากับทุ่งนา แต่มีโอกาสได้มาเรียนในกรุงเทพก็เพราะเห็นความสำคัญของการศึกษา
>>ตอนเด็กๆ ฉันเคยขอพ่อแม่เรียนพิเศษ เพราะอยากอยู่กับเพื่อนมากกว่าอยู่บ้าน แล้วยังเข้าใจเนื้อหาในห้องได้เร็ว แต่พ่อแม่ไม่สนับสนุนเพราะเห็นว่ายังไม่จำเป็น ก่อนจะเข้ามหาวิทยาลัย ฉันเลือกเรียนพิเศษในวิชาที่ฉันอ่อนจริงๆ ไม่เคยเรียนพร่ำเพรื่อ หรือเรียนเพราะเห็นคนอื่นเรียน แต่ฉันเรียนเพราะฉันอยากจะเรียนจริงๆ
ปล.กระทู้นี้ไม่ได้เขียนขึ้นมาเพราะแอนตี้โรงเรีนกวดวิชาแต่อย่างใด แต่ฉันแค่อยากเป็นกระจกบานเล็กๆที่สะท้อนให้เห็นค่านิยมที่ผิดๆในสังคมการศึกษาไทย ในฐานะคนที่เป็นพ่อเป็นแม่ ขอให้เข้าใจว่า "เกรด"เป็นเพียงตัวแค่ตัวเลข ไม่ได้ตัดสินว่าลูกของคุณโง่หรือฉลาดกว่าเด็กคนอื่น อย่าพยายามสร้างให้เขาเป็นคนชอบเอาชนะ อย่าให้เรื่องนี้กลายเป็นเครื่องมือทำร้ายเด็ก พวกเขาบริสุทธิ์และไร้เดียงสา ในฐานะพ่อแม่ ให้โอกาสเขาได้เลือกทำในสิ่งที่ชอบน่าจะดีกว่า ให้เขาได้เรียนรู้ไปตามพัฒนาการ วันหนึ่งเมื่อเขาเข้าใจโลก เขาจะเห็นความสำคัญของการศึกษาและเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่พร้อมจะรับผิดชอบต่อสังคม
ทุกวันนี้ฉันชื่นชมพ่อแม่ที่ให้ลูกได้เล่นซนตามประสาเด็กมากกว่าผู้ปกครองที่ส่งลูกเรียนเสริมอย่างเอาเป็นเอาตายมากกว่า หรือแม้แต่การบ้าน ก็ควรหาเวลาได้สอนเขา ให้เขาได้ทำด้วยตัวเอง แม้ว่าสถาบันดูแลการบ้านที่กำลังเป็นธุรกิจที่กำลังเติบโตในสังคมเมือง อาจจะดูเหมือนฉวยโอกาสจากประโยชน์ตรงนี้ แต่มันก็ขึ้นอยู่กับตัวพ่อแม่เองเสียมากกว่า ที่นี่มีพ่อแม่หลายคนที่เขากลับไปทบทวนการบ้านกับลูก ถามกับลูกว่าคำตอบนี้มาได้อย่างไร มากกว่าที่จะถามว่า การบ้านเสร็จหรือยัง????
เตือนใจคนเป็นพ่อเป็นแม่ อย่ารังแกลูกคุณเลย
>>ใช่แล้ว ฉันคิดแค่นั้นจริงๆ จนเมื่อได้เข้าไปทำงานจริง จึงรู้ว่าจริงๆแล้วที่นี่ไม่ใช่แค่โรงเรียนกวดวิชา แต่เป็นสถานที่รับดูแลการบ้าน คำว่า "ดูแลการบ้าน" พูดง่ายๆก็คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้เด็กทำการบ้านเสร็จ เวลาในการทำงานมีทั้งหมดสองชั่วโมง อาจจะดูเหมือนเพียงพอ แต่ลองจินตนาการถึงคุณตอนเด็กๆสิ กว่าจะเข้าใจ กว่าจะทำเสร็จ บางทีเริ่มทำตั้งแต่กลับจากบ้าน ตอนละครหลังข่าวจบยังทำไม่เสร็จเลย แล้วนับประสาอะไรกับเวลาแค่สองชั่วโมง เด็กที่มาดูแลการบ้าน มีตั้งแต่ ป.1 ถึง ม.ต้น แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กประถมมากกว่า
>>ใช่แล้ว หน้าที่ของฉัน คือ สอนการบ้านเด็กให้เสร็จทันภายในสองชั่วโมง แต่มันไม่ใช่แค่เด็กคนเดียวน่ะสิ คนที่ทำงานที่นี่ทุกคนจะได้รับมอบหมายให้ดูแลเด็กมากกว่าสี่คน สำหรับฉันเองส่วนใหญ่จะหกคน ฉันต้องช่วยให้เด็กหกคนทำการบ้านให้เสร็จภายในสองชั่วโมง มีตัวช่วยคือเฉลย และคีย์ในบางวิชา ความจริงที่นี่อยากจะให้สอนมากกว่าการบอกเฉลยกับเด็ก แต่ในเมื่อเวลาจำกัด ฉันก็พยายามทำให้ดีที่สุดเท่าที่ครูคนหนึ่งจะสามารถช่วยเด็กๆได้
>>เมื่อจบหนึ่งภาคการศึกษา พ่อแม่ของเด็กที่ส่งลูกมาทำการบ้านที่นี่ จะโทรมาต่อว่าถ้าเกิดคะแนนสอบกลางภาคได้น้อย แต่การบ้านไม่มีผิดสักข้อ แถมงานยังส่งครบทุกชิ้น ปัญหานี้เป้นปัญหาที่ตัวฉันมองว่าไม่ได้เกิดเพราะทางสถาบันกวดวิชา แต่เป็นปัญหาที่เกิดจากค่านิยมของพ่อแม่ในสมัยนี้เองต่างหาก การบ้าน ถือเป้นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการประเมินลูกตัวเอง และเป็นการทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างลูกกับพ่อแม่ หรือพีกับน้องนั้นแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น แต่พ่อแม่บางคนกลับโยนมันให้คนอื่นไปทำ ทั้งๆที่เป็นหน้าที่ที่สำคัญ ตัวเองมีหน้าที่เพียงแค่มารับลูกตอนเกือบจะทุ่ม แล้วก็ชื่มชมกับผลคะแนนของลูกเท่านั้นหรือ??? ฉันเคยถามนักเรียนคนหนึ่งที่เรียนพิเศษว่า "เรียนพิเศษสนุกมั๊ย" คำตอบที่ได้รับกลับคือ "มีคนเขาชอบกันด้วยเหรอพี่ เรียนพิเศษเนี่ย" ฉันฟังแล้วตกใจเล็กน้อย และทำให้ฉันเข้าใจโลกของเด็กกรุงเทพมากขึ้น ตอนแรกๆที่ฉันสอนการบ้านพวกเขา พวกเขามักบ่นว่าขี้เกียจ บางคนง่วง บางคนไม่ยอมทำเลย มันทำให้ฉันรู้สึกโมโหและหลายครั้งที่เอ็ดเสียงดัง หลังจากนั้นฉันเริ่มเข้าใจความรู้สึกของพวกเขา การที่พวกเขาเรียนในโรงเรียนตั้งแต่แปดโมงเช้าถึงสี่โมง บางคนโดนครูจากที่โรงเรียนด่า แล้วยังต้องมานั่งให้ครูจี้ให้ทำการบ้านอีก คงเป็นอะไรที่เกินกว่าเด็กตาดำๆจะแบกรับได้ ฉันเคยคุยกับเด็กผู้ชายคนหนึ่งถึงสาเหตุที่ชอบหลับในห้องตอนที่เพื่อนกำลังทำการบ้าน เด็กคนนั้นบอกฉันว่า เขาแทบจะไม่ค่อยได้นอน เพราะหลังจากดูแลการบ้านเสร็จก็ต้องรอพี่สาวเรียนพิเศษให้เสร็จตอนสองทุ่ม กว่าจะกลับถึงบ้านก็สี่ห้าทุ่ม แล้วกว่าจะได้นอนอีก แถมยังต้องตื่นเช้าแต่ตีห้า เพราะบ้านอยู่ไกลจากโรงเรียนมาก ฉันรู้สึกสงสารพวกเขา แต่ในฐานะลูกจ้าง ฉันก็ต้องทำงานที่นายจ้างสั่งให้เสร็จ แม้จะเป็นการบังคับ ยัดเยียดก็ต้องทำ
>>ถ้าพูดกันตามตรง เด็กสมัยนี้โชคดีที่เกิดมาในยุคโลกาภิวัฒน์ การศึกษาเป็นเรื่องง่ายๆที่ใครก้สามารถเข้าถึงได้ แต่ในสังคมเมือง สังคมที่ถือเป็นแหล่งของคนมีความคิด เด็กในสังคมเหล่านี้กลับถูกป้อนความรู้จนเกินพอดี บางทีอะไรที่ได้มาง่ายๆ อาจทำให้คนเห็นคุณค่าน้อยลงก็คงจะจริง แต่อะไรที่ได้มาง่ายๆของพวกเขากลับกลายเป็นการศึกษา ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาคน ฉันยังคิดไม่ออกว่าถ้าพวกเขาเหล่านี้โตขึ้น อนาคตประเทศจะเป้นอย่างไร ฉันเป้นเด็กต่างจังหวัด โตมากับทุ่งนา แต่มีโอกาสได้มาเรียนในกรุงเทพก็เพราะเห็นความสำคัญของการศึกษา
>>ตอนเด็กๆ ฉันเคยขอพ่อแม่เรียนพิเศษ เพราะอยากอยู่กับเพื่อนมากกว่าอยู่บ้าน แล้วยังเข้าใจเนื้อหาในห้องได้เร็ว แต่พ่อแม่ไม่สนับสนุนเพราะเห็นว่ายังไม่จำเป็น ก่อนจะเข้ามหาวิทยาลัย ฉันเลือกเรียนพิเศษในวิชาที่ฉันอ่อนจริงๆ ไม่เคยเรียนพร่ำเพรื่อ หรือเรียนเพราะเห็นคนอื่นเรียน แต่ฉันเรียนเพราะฉันอยากจะเรียนจริงๆ
ปล.กระทู้นี้ไม่ได้เขียนขึ้นมาเพราะแอนตี้โรงเรีนกวดวิชาแต่อย่างใด แต่ฉันแค่อยากเป็นกระจกบานเล็กๆที่สะท้อนให้เห็นค่านิยมที่ผิดๆในสังคมการศึกษาไทย ในฐานะคนที่เป็นพ่อเป็นแม่ ขอให้เข้าใจว่า "เกรด"เป็นเพียงตัวแค่ตัวเลข ไม่ได้ตัดสินว่าลูกของคุณโง่หรือฉลาดกว่าเด็กคนอื่น อย่าพยายามสร้างให้เขาเป็นคนชอบเอาชนะ อย่าให้เรื่องนี้กลายเป็นเครื่องมือทำร้ายเด็ก พวกเขาบริสุทธิ์และไร้เดียงสา ในฐานะพ่อแม่ ให้โอกาสเขาได้เลือกทำในสิ่งที่ชอบน่าจะดีกว่า ให้เขาได้เรียนรู้ไปตามพัฒนาการ วันหนึ่งเมื่อเขาเข้าใจโลก เขาจะเห็นความสำคัญของการศึกษาและเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่พร้อมจะรับผิดชอบต่อสังคม
ทุกวันนี้ฉันชื่นชมพ่อแม่ที่ให้ลูกได้เล่นซนตามประสาเด็กมากกว่าผู้ปกครองที่ส่งลูกเรียนเสริมอย่างเอาเป็นเอาตายมากกว่า หรือแม้แต่การบ้าน ก็ควรหาเวลาได้สอนเขา ให้เขาได้ทำด้วยตัวเอง แม้ว่าสถาบันดูแลการบ้านที่กำลังเป็นธุรกิจที่กำลังเติบโตในสังคมเมือง อาจจะดูเหมือนฉวยโอกาสจากประโยชน์ตรงนี้ แต่มันก็ขึ้นอยู่กับตัวพ่อแม่เองเสียมากกว่า ที่นี่มีพ่อแม่หลายคนที่เขากลับไปทบทวนการบ้านกับลูก ถามกับลูกว่าคำตอบนี้มาได้อย่างไร มากกว่าที่จะถามว่า การบ้านเสร็จหรือยัง????